Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2545








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2545
คอมพิวเตอร์ กับการปฎิวัติการเรียนการสอนในห้องเรียน             
 


   
search resources

Research




ต้องใช้เวลาถึง 350 ปี นับตั้งแต่แท่นพิมพ์แท่นแรกของ โลกถูกประดิษฐ์ขึ้นในปี 1452 กว่าโรงเรียนจะตระหนักถึงคุณค่า ของหนังสือ และยอมรับการใช้ตำราเรียนในโรงเรียน คอมพิวเตอร์ ส่วนบุคคล (PC) เพิ่งถูกประดิษฐ์ขึ้นเมื่อ 25 ปีที่แล้วมานี้เอง แม้ว่า ตั้งแต่นั้นมาก็ได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่แทรกเข้าเป็นส่วนหนึ่ง และมีอิทธิพลอย่างสูงในชีวิตประจำวันของเราแทบทุกด้าน แต่มาดู กันซิว่า คราวนี้โรงเรียนจะใช้เวลานานเท่าไร จึงจะตระหนักใน คุณค่าของคอมพิวเตอร์ที่มีต่อการเรียนการสอนถึงขั้นปฏิวัติวิธี การเรียนการสอนอย่างสิ้นเชิง

ปัญหาอุปสรรคของการนำคอมพิวเตอร์เข้าสู่โรงเรียนใน คราวนี้ ไม่ได้อยู่ที่ราคาอีกต่อไป ทุกวันนี้พ่อแม่สามารถซื้อหา คอมพิวเตอร์แบบ laptop ซึ่งมีน้ำหนักเบา และเป็นคอมพิวเตอร์ ประเภทที่เหมาะสมกับเด็กๆ มากที่สุดได้ ในราคาที่ต่ำกว่า 1,000 ดอลลาร์ รัฐบาลเองก็สามารถจะจัดหาคอมพิวเตอร์ให้แก่นักเรียน ในโรงเรียนรัฐได้อย่างสบายๆ ด้วยงบที่มีอยู่แล้ว โดยไม่ต้องตั้ง งบใหม่

แล้วปัญหาอยู่ที่ไหน ปัญหาอยู่ที่ความเฉยเมยไม่ไยดีของ บรรดาผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องในแวดวงการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ ซึ่งต่อต้านการเปลี่ยนแปลง เพียงเพราะว่านั่นไม่ใช่วิธีที่พวกเขา เคยเรียนกันมา สถาบันผลิตครูซึ่งเหนียวแน่นในการอนุรักษ์วิธีเรียน วิธีสอนแบบเก่าๆ ผู้บริหารโรงเรียนที่มองไม่เห็นความสำคัญของ การกันงบส่งครูเข้าคอร์สฝึกอบรม เพื่อเรียนรู้ทักษะการสอนใหม่ๆ ที่ทันสมัย จนกระทั่งถึงตัวครูเองที่ไม่เต็มใจจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การสอนของตนที่เคยใช้กันมาชั่วชีวิต

ผลก็คือ แม้ว่าจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ในโรงเรียนจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ประสิทธิผลที่น่าจะได้กลับจำกัด เครื่อง คอมพิวเตอร์ในโรงเรียนมักจะเป็นแบบ desktop ซึ่งมีน้ำหนักมาก และเคลื่อนย้ายไม่สะดวกเหมือนแบบ laptop ทั้งยังมักจะตั้งรวม กันอยู่ในห้องๆ เดียว ซึ่งนักเรียนจะมีโอกาสได้ใช้ก็เพียงในชั่วโมง เรียนคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีแค่ 1 หรือ 2 คาบต่อสัปดาห์เท่านั้น

ในโรงเรียนประถมและมัธยมต้น คอมพิวเตอร์มักถูกนำ ไปใช้ทำงานพื้นๆ ที่ไม่สมกับศักยภาพอันมหาศาลของมัน เช่น ใช้ทำงานซ้ำๆ หรือใช้เล่นเกมเสริมการศึกษาและเพื่อความเพลิด เพลิน ส่วนในโรงเรียนมัธยมปลาย นักเรียนที่เลือกเรียนคอมพิวเตอร์ ซึ่งก็มักจะมีจำนวนเพียงน้อยนิด เลือกเรียนวิชานี้เพียงเพื่อหวังจะได้เรียนรู้ทักษะทางด้านสายอาชีพ ซึ่งนับเป็นการใช้ประโยชน์จาก คอมพิวเตอร์อย่างแคบๆ เท่านั้น

ทำอย่างไรจึงจะสามารถเอาชนะความเฉยเมยไม่แยแสของ บรรดาผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาได้ งานนี้เห็นจะพึ่งพา สหรัฐฯ เป็นผู้นำไม่ได้ เพราะว่าคราวนี้ สหรัฐฯ ซึ่งเป็นศูนย์กลาง เทคโนโลยีสารสนเทศ ไม่ได้เป็นผู้นำในเรื่องการปฏิวัติการศึกษา ด้วยคอมพิวเตอร์แต่อย่างใด ผู้คนในแวดวงการศึกษาที่นั่นกำลัง สนุกกับการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการจัดสอบได้ง่ายขึ้นเท่านั้น ด้วยว่าการใช้คอมพิวเตอร์ในห้องเรียนมากขึ้นทำให้การสอบเป็นไปอย่าง สะดวกสบายและง่ายดาย แต่ประเด็นมีอยู่ว่า การใช้คอมพิวเตอร์ มาพัฒนาการเรียนการสอนในเชิงปริมาณนั้นเป็นการคุ้มค่าแล้วหรือ ตรงข้าม คอมพิวเตอร์ควรถูกนำมาใช้เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพและคุณภาพของการเรียนการสอนมิใช่หรือ

เช่นเดียวกับนวัตกรรมอื่นๆ ที่เคยเกิดขึ้นมาในโลกนี้ การคิดค้นสิ่งใหม่ๆ มักจะเริ่มต้นขึ้นจากสถานที่ที่ไม่ใช่ศูนย์กลาง ความเจริญ หากคุณต้องการเห็นเทคโนโลยีการเรียนการสอน ที่ก้าวหน้าที่สุดในปัจจุบันนี้แล้วล่ะก็ คุณจะต้องไปดูสิ่งที่กำลัง เกิดขึ้นที่ Melbourne ในออสเตรเลีย และที่ประเทศคอสตาริกา ประเทศเล็กๆ ในละตินอเมริกา ซึ่งมีประชากรเพียง 4 ล้านคน

ในทั้ง 2 ประเทศ ความคิดริเริ่มที่จะใช้คอมพิวเตอร์มาเพิ่ม ประสิทธิภาพการเรียนรู้ของนักเรียนมาจากคนเพียงคนเดียว ใน กรณีของ Melbourne คือ David Loader อาจารย์ใหญ่โรงเรียน สตรีล้วนแห่งหนึ่ง ส่วนในกรณีของคอสตาริกา คือประธานาธิบดี Oscar Arias แห่งคอสตาริกา

คอสตาริกา เริ่มโครงการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเรียน การสอนตั้งแต่ปี 1988 แต่มีวิธีนำมาใช้ที่แปลกแตกต่างจากประเทศ กำลังพัฒนาทั้งหลาย กล่าวคือ เน้นการนำมาใช้เตรียมเด็กนักเรียน ในชั้นเล็กกว่าให้มีทักษะด้านคอมพิวเตอร์ แทนที่จะเน้นการนำ คอมพิวเตอร์ไปใช้สอนทักษะสายอาชีพให้แก่เด็กนักเรียนในชั้น โตกว่า เพื่อเตรียมตัวเข้าสู่ตลาดแรงงาน วิชาคอมพิวเตอร์ที่ใช้สอน ในชั้นเด็กเล็กของคอสตาริกา เน้นการพัฒนาทักษะเชิงสติปัญญา ให้แก่เด็กเป็นสำคัญ เช่น ทักษะการแก้ปัญหา จนถึงวันนี้ มีนักเรียนมากกว่า 250,000 คนในโรงเรียนอนุบาลและประถมของ คอสตาริกา ที่ได้รับประโยชน์จากโครงการดังกล่าว หรือคิดเป็น ครึ่งหนึ่งของจำนวนนักเรียนทั้งหมดในโรงเรียนอนุบาลและประถม ของรัฐ

ผลการวิจัยของ Omar Dengo Foundation ซึ่งเป็นองค์กร เอกชนในคอสตาริกาพบว่า นักเรียนในประเทศนี้ได้รับประโยชน์ จากโครงการดังกล่าวโดยถ้วนหน้า ไม่ว่าครอบครัวของเด็กจะมี ฐานะทางเศรษฐกิจสังคมอย่างไร ผลก็คือ โครงการนำคอมพิวเตอร์ มาสอนเด็กเล็กช่วยทำให้คอสตาริกา ก้าวกระโดดพรวดเดียว จากประเทศที่มีเศรษฐกิจแบบพึ่งพาการเกษตร เข้าสู่ยุคสารสนเทศ ทันที พิสูจน์ได้จากการที่ประเทศนี้สามารถดึงดูดเงินทุนจากต่าง ประเทศในด้าน IT ได้เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในระยะหลังๆ โดย เฉพาะยิ่งจากผู้ผลิตชิปรายใหญ่อย่าง Intel ซึ่งในปี 1998 ได้เลือก คอสตาริกาเป็นที่ตั้งโรงงานแห่งแรกของตนในภูมิภาคละติน อเมริกา โดยตั้งอยู่ใกล้ๆ กับกรุง San Jose เมืองหลวงของประเทศ

ในคอสตาริกา การริเริ่มนำคอมพิวเตอร์มาปฏิวัติวิธีการ เรียนการสอนเริ่มต้นในห้องเรียนคอมพิวเตอร์เท่านั้น ทว่าใน Melbourne การปฏิวัติทำนองเดียวกันนี้ก้าวไปไกลยิ่งกว่า เมื่อโรงเรียนชื่อ Methodist Ladies College ซึ่งเป็นโรงเรียน เอกชนสตรีล้วน ได้จัดหาคอมพิวเตอร์แบบ laptop ให้แก่นักเรียน ทุกคนในชั้นเกรด 5 ของโรงเรียนในปี 1990 และหลังจากนั้นอีก เพียงไม่กี่ปีนักเรียนทุกคนในโรงเรียนนี้ซึ่งมีทั้งสิ้น 2,000 คน ก็มีเครื่องคอมพิวเตอร์กันครบทุกคน

โรงเรียนแห่งนี้ยังเน้นฝึกอบรมพัฒนาครูให้มีทักษะด้าน คอมพิวเตอร์อีกด้วย การริเริ่มของโรงเรียนดังกล่าวส่งผลให้ โรงเรียนเอกชนอื่นๆ ใน Melbourne ทนอยู่เฉยไม่ไหว และต้องทำตามอย่างบ้าง เพราะไม่เช่นนั้นคงไม่มีผู้ปกครองส่งนักเรียน มาเรียนกับตนแน่ ส่วนโรงเรียนรัฐบาลก็ไม่อาจจะทำไม่รู้ไม่ชี้ได้ เพราะเหล่านักการเมืองกลัวที่จะสูญเสียคะแนนเสียงจากบรรดา พ่อแม่ผู้ปกครอง จึงต้องรีบตาลีตาลานขอแปรงบเพื่อซื้อเครื่อง คอมพิวเตอร์ให้แก่นักเรียนในโรงเรียนของรัฐบ้าง

ด้วยเหตุนี้ ขณะนี้จึงมีนักเรียนมากกว่า 30,000 คนใน โรงเรียนต่างๆ ใน Melbourne ที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์แบบ laptop ประจำตัวกันทุกคนเมื่ออยู่ที่โรงเรียน ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงที่สุดในโลก อย่างไรก็ตาม การมีเครื่องคอมพิวเตอร์มากๆ ไม่ได้หมายความว่า คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องถูกใช้อย่างฉลาด กระนั้นก็ตาม การที่มี จำนวนเครื่องมากมายนั้น ก็เป็นปัจจัยที่สนับสนุนให้เด็กๆ เกิด ความคิดใหม่ๆ เกี่ยวกับการเรียนการสอนขึ้นมาอย่างไม่ขาดสาย เช่น การใช้เสียงประกอบเข้ามาช่วยในการเล่าเรื่องของนักเรียนใน ชั้นเรียนภาษาอังกฤษ วิธีการเรียนการสอนในห้องเรียนกำลัง เปลี่ยนไปแล้ว ครูไม่ได้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้อีกต่อไป แต่เป็น เพียงผู้คอยช่วยสนับสนุนให้นักเรียนเรียนรู้ที่จะทำงานร่วมกัน

ต่อเมื่อสายไปแล้ว คนอเมริกันจึงเพิ่งตื่นขึ้น และในเดือน กันยายนที่จะถึงนี้ รัฐ Maine จะเป็นรัฐแรกในสหรัฐฯ ที่จะจัด หาเครื่อง laptop ให้แก่นักเรียนชั้นเกรด 7 และเกรด 8 ทุกคน ในโรงเรียนรัฐบาล ความคิดริเริ่มนี้มาจากคนเพียงคนเดียวเช่นเดียว กับในคอสตาริกา และ Melbourne คนผู้นั้นคือ Angus King ผู้ว่าการรัฐดังกล่าว

เพื่อเป็นการโหมโรง Maine กำลังจะจัดการประชุมนานา ชาติราวกลางเดือนสิงหาคมนี้ ชื่อการประชุม "Learners, Laptops & Powerful Ideas" ไม่มีรางวัลให้สำหรับผู้ที่เดาได้ถูกว่า ในจำนวน ผู้ที่ได้รับเชิญให้แสดงปาฐกถาแก่ที่ประชุมดังกล่าว มี Loader จาก Melbourne และผู้แทนจากคอสตาริการวมอยู่ด้วย


แปลและเรียบเรียงจาก Forbes, June 24, 2002
โดย เสาวนีย์ พิสิฐานุสรณ์
linpeishan@excite.com

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us