Ford สร้างรถในเยอรมนีมาตั้งแต่ทศวรรษ 1930 แต่เพิ่งจะเมื่อ 8 ปีก่อนนี้เองที่ตัดสินใจตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาขึ้นที่ประเทศ
นั้น โดยตั้งอยู่ในเมือง Aachen ซึ่งเป็นเมืองอันเป็นที่ตั้งของ มหาวิทยาลัยด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของเยอรมนี
ศูนย์วิจัยดังกล่าวมีวิศวกรและนักวิจัยทั้งหมดถึง 150 คน ทำงาน วิจัยและพัฒนาโครงการต่างๆ
มากมาย ในจำนวนนี้รวมถึงการ คิดค้นเครื่องยนต์ดีเซลสายพันธุ์ใหม่ อันคาดว่าจะสามารถนำไป
ติดตั้งใช้ในรถใหม่ที่กำลังจะผลิตขึ้นถึง 40% ของรถใหม่ทั้งหมด ที่จะผลิตขึ้นในยุโรป
Said Deep โฆษกของ Ford ซึ่งมีสำนักงาน ใหญ่อยู่ในเมือง Dearborn มลรัฐ Michigan
ในสหรัฐฯ กล่าวถึง การตั้งศูนย์ R&D ดังกล่าวว่า เป็นเพราะ Ford ได้ตระหนักแล้วว่า
"คนเก่งที่สุดทั้งหมดไม่ได้อยู่แต่ในบ้านของเราเท่านั้น"
Ford เพิ่งได้ค้นพบสิ่งที่มี บริษัทเพียงน้อยรายเคยได้ค้นพบมา แล้วตั้งแต่หลายสิบปีก่อน
หนึ่งใน จำนวนบริษัทไม่กี่รายดังกล่าว ได้แก่ ยักษ์ใหญ่ด้านคอมพิวเตอร์ อย่าง
IBM "เรามองหาแหล่งใหม่ๆ ที่จะ จัดตั้งห้องปฏิบัติการวิจัยและพัฒนา อยู่เสมอ
เพื่อที่จะดึงดูดเทคโนโลยี ที่ดีที่สุดที่มีอยู่ในโลกเข้าสู่ธุรกิจ ของเรา"
Vijay Lund กรรมการ รองผู้จัดการใหญ่สายยุทธศาสตร์ และการปฏิบัติการเพื่อการวิจัยของ
IBM กล่าว
ปัจจุบัน IBM มีนักวิจัย รวมกันทั้งหมดถึงประมาณ 1 พันคน กระจายอยู่ในห้องปฏิบัติการวิจัย
ในประเทศต่างๆ เช่น สวิตเซอร์แลนด์, อิสราเอล, ญี่ปุ่น และ อินเดีย
โลกเปรียบเสมือนขุมทรัพย์ทางปัญญาให้ IBM ขุดค้นได้ไม่มี ที่สิ้นสุด ยักษ์ใหญ่รายนี้รุกไปแทบทุกที่ในโลกเพื่อเสาะแสวงหามัน
สมองที่ดีที่สุดเท่าที่จะมีอยู่ในโลก อิสราเอลเป็นผู้นำในด้านเทคโน โลยี
เข้ารหัสซอฟต์แวร์ (software encryption) ซึ่งเป็นผลพลอย ได้มาจากอุตสาหกรรมทหารของอิสราเอลเอง
เช่นเดียวกับเทคโน โลยีอีกหลายอย่าง ที่อิสราเอลมีความเป็นเลิศก็ล้วนเป็นผลพลอย
ได้มาจากอุตสาหกรรมดังกล่าว IBM ก็เข้าไปดำเนินธุรกิจในประเทศ นี้มาตั้งแต่ปี
1972 และเพิ่งจะย้ายห้องปฏิบัติการวิจัยด้านการเข้า รหัสซอฟต์แวร์ไปอยู่ที่มหาวิทยาลัย
Haifa ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัย วิศวกรรมศาสตร์ชั้นนำแห่งหนึ่งของอิสราเอล
สหรัฐฯ ถูกระบุว่ามีความเป็นเลิศในเทคโนโลยีด้านต่างๆ อย่างหลากหลายเพียงพอที่จะเป็นประเทศที่มีนวัตกรรมมากที่สุด
ในโลก ทั้งนี้จากผลการศึกษาในปี 2001 ที่ได้นำเสนอในที่ประชุม World Economic
Forum ณ กรุงเจนีวา อันเป็นการศึกษาของ Michael Porter แห่ง Harvard Business
School ร่วมกับ Scott Stern แห่งมหาวิทยาลัย Northwestern ทั้งสองนักวิชาการชื่อดัง
ได้จัดอันดับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของประเทศต่างๆ มาก กว่า 70 ประเทศ
ในการเปรียบเทียบความสามารถและทักษะทางเทคโนโลยีของประเทศต่างๆ ทั่วโลกนั้น
พวกเขาใช้เกณฑ์วัด อย่างเช่น จำนวนสิทธิบัตรที่ประเทศนั้นมีต่อจำนวนประชากร
และสัดส่วนของนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรต่อจำนวนประชากร
ฟินแลนด์ ตามมาเป็นอันดับสอง จากอานิสงส์การเป็นเจ้า แห่งเทคโนโลยีไร้สายของ
Nokia ญี่ปุ่นแม้จะเป็นผู้นำในเทคโนโลยี หลายๆ ด้าน ซึ่งรวมถึงกล้องดิจิตอล
และรถยนต์ที่สามารถใช้ได้ ทั้งน้ำมันและไฟฟ้าเป็นพลังงานขับเคลื่อน แต่กลับได้เพียงอันดับ
ที่ 12 ในผลการศึกษาดังกล่าว เนื่องจากผู้วิจัยระบุว่า ญี่ปุ่นยัง แสดงออกถึงการตระหนักในคุณค่าความสำคัญของนักประดิษฐ์
น้อยเกินไป
เกณฑ์วัดง่ายๆ อย่างหนึ่งในการวัดความก้าวหน้าทาง เทคโนโลยีของประเทศต่างๆ
ที่ Porter และ Stern นำมาใช้ ในการศึกษานี้คือ จำนวนสิทธิบัตรทั้งหมดที่ประเทศหนึ่งๆ
มีอยู่ จากหลักเกณฑ์อันนี้ สหรัฐฯ ยังคงมาเป็นอันดับหนึ่งสำหรับ จำนวนสิทธิบัตรต่อจำนวนประชากรรายหัว
ประเทศอื่นๆ อีก หลายประเทศ ก็มีการจดสิทธิบัตรเพิ่มขึ้นมากอย่างน่าสนใจ
ในจำนวนนี้รวมถึงไต้หวัน ซึ่งขณะนี้กลายเป็นศูนย์รวมของนัก ออกแบบเซมิคอนดักเตอร์ไปแล้ว
ในช่วงทศวรรษ 1980 ไต้หวัน มีการจดทะเบียนสิทธิบัตร โดยเฉลี่ยเพียง 13
สิทธิบัตรต่อประชากร ล้านคนต่อปีเท่านั้น แต่ในปี 2000 จำนวนสิทธิบัตรที่จดทะเบียนในไต้หวันพุ่งขึ้น
เป็น 210 สิทธิบัตร ตามหลังเพียงสหรัฐฯ กับญี่ปุ่นเท่านั้น ประเทศอื่นๆ นอกเหนือจากไต้หวันที่มีพัฒนาการดีขึ้นตาม
เกณฑ์นี้ก็ได้แก่ กลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย เกาหลี และสิงคโปร์
ทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรปตะวันตก ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สิงคโปร์ ไต้หวัน และอิสราเอล
มีจำนวนสิทธิบัตรรวมกันเป็น สัดส่วนถึง 99% ของจำนวนสิทธิบัตรทั้งหมดที่ออกโดยทางการ
สหรัฐฯ ในสหรัฐฯ มีการยื่นขอจดสิทธิบัตรเพิ่มขึ้นจนล้นสำนักงาน จดสิทธิบัตร
ไม่ต่ำกว่าครึ่งหนึ่งของสิทธิบัตรที่ออกโดยทางการ สหรัฐฯ เป็นสิทธิบัตรที่ออกให้แก่นักประดิษฐ์ที่อยู่นอกสหรัฐฯ
Porter และ Stern ระบุต่อไปว่า ประเทศที่ได้รับคะแนน สูงในการจัดอันดับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในครั้งนี้
นอกจาก จะเป็นเพราะภาคเอกชนมีการลงทุนทางด้านเทคโนโลยีอย่างคึกคัก แล้ว ยังเป็นเพราะรัฐบาลของประเทศนั้นมักให้การสนับสนุน
อย่างเต็มที่ อย่างเช่นในกรณีของอิสราเอล ตั้งแต่ในช่วงทศวรรษ 1980 มาแล้วที่อิสราเอลได้ร่วมกับสหรัฐฯ
ดำเนินนโยบายลดหย่อน ภาษีให้แก่โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับอุตสาหกรรม
เพื่อการส่งออก รัฐบาลอิสราเอลยังจัดตั้งโครงการเงินกู้สำหรับนัก วิจัย เพื่อให้นักวิจัยมีแหล่งเงินทุนที่จะสนับสนุนการวิจัยของตน
โดยสามารถกู้ได้ 50% เกณฑ์การตัดสินใจให้เงินกู้แก่โครงการใด ของรัฐบาลอิสราเอลมีเกณฑ์สำคัญอยู่ประการเดียวคือ
ผลิตภัณฑ์ที่ จะทำการวิจัยและพัฒนานั้นจะต้องมีศักยภาพสูงที่จะเจาะตลาดไป
ทั่วโลกได้
ฟินแลนด์ ซึ่งรั้งอันดับสองของประเทศที่ก้าวหน้าทาง เทคโนโลยีสูงสุดในผลการศึกษานี้
มีรัฐบาลที่มีนโยบายเพิ่มจำนวน นักวิทยาศาสตร์และวิศวกรอย่างชัดเจน โดยรัฐบาลให้ทุนไปเรียน
ต่อปริญญาโทหรือปริญญาเอกสาขาวิศวกรรมศาสตร์ยังต่างประเทศ โดยมีข้อแม้ว่าจะต้องเดินทางกลับมาอยู่ในฟินแลนด์
และใช้ทุน โดยทำงานให้แก่รัฐบาลเป็นระยะเวลาหนึ่ง ฟินแลนด์ยังได้ปรับปรุง
กฎหมายคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อปกป้องคุ้มครองสิทธิ ของเจ้าของสิทธิบัตรให้รัดกุมขึ้นด้วย
Stern ชี้ต่อไปว่า ตรงกันข้ามกับประเทศที่อยู่ในอันดับต้นๆ ของผลการศึกษานี้
ประเทศที่อยู่อันดับท้ายๆ อย่างเช่นประเทศ ในละตินอเมริกา นโยบายของรัฐบาลมักไม่ได้สะท้อนให้เห็นว่า
รัฐบาลให้ความสำคัญกับการคิดค้นนวัตกรรม ดังจะเห็นได้จาก ในช่วงทศวรรษ 1970
เศรษฐกิจของประเทศในละตินอเมริกา ไม่มีนวัตกรรมเลย ประเทศในเอเชียตะวันออกก็เคยเป็นเช่นเดียว
กับละตินอเมริกา แต่ขณะนี้ไต้หวันและ "สิงคโปร์มีนโยบายใหม่ๆ ที่มุ่งสู่ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีแล้ว
ในขณะที่ละตินอเมริกายัง คงเฉื่อยชาอยู่เหมือนเดิม สิงคโปร์ได้กลายเป็นประเทศนวัตกรรม
ชั้นนำประเทศหนึ่งในโลกไปแล้ว แต่ประเทศในละตินอเมริกาอย่าง ชิลี หรืออาร์เจนตินายังมีการยื่นขอจดสิทธิบัตรเพียงไม่กี่ใบต่อปี"
Stern กล่าว ในการจัดอันดับครั้งนี้ประเทศในละตินอเมริกา ที่ได้ อันดับดีที่สุดคือ
บราซิล แต่ก็ยังคงทำได้แค่อันดับที่ 33 เท่านั้น
Boeing ยักษ์ใหญ่ด้านการผลิตเครื่องบินของสหรัฐฯ เป็นบริษัทที่ค่อนข้างเชื่องช้ามาตลอดในการออกเสาะแสวงหา
คนเก่งๆ ในต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ Boeing กำลังเร่ง สปีดด้วยการส่งผู้บริหารรุ่นใหม่ๆ
ออกไปเป็นแมวมองค้นหาคนเก่ง ทั่วโลก
ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมนอกสหรัฐฯ แห่งแรกของ Boeing ได้เริ่มดำเนินการแล้วเมื่อปีกลายที่ประเทศสเปน
"แมว มองของเราในสเปน มีหน้าที่ที่จะต้องไปทำความรู้จักกับระดับ ผู้นำในรัฐบาลของสเปน
และจะต้องศึกษาโครงการสนับสนุนด้าน เทคโนโลยีต่างๆ ของรัฐบาลสเปนว่ามีมาตรการอะไรบ้างที่จูงใจ"
George Muellner ผู้บริหารสูงสุดของบริษัท Phantom Works ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยและพัฒนาในเครือของ
Boeing กล่าว
ขณะนี้ Boeing สามารถดึงดูดคนที่เก่งที่สุดในสเปน รวม ไปถึงประเทศใกล้เคียงได้แล้ว
Miguel Hernan หัวหน้าศูนย์ วิจัยของ Boeing ในสเปน เปิดเผยว่า มีใบสมัครหลั่งไหลเข้าสู่
ศูนย์ฯ มากกว่าตำแหน่งงานที่ศูนย์ฯ มีอยู่ ทำให้ทางศูนย์ฯ มีคน เก่งๆ มากมายให้เลือกสรร