Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน19 กรกฎาคม 2545
ศาลสั่งไม่แก้แผนฯTPI ประชัยสบช่องพ้นฟื้นฟู             
 


   
search resources

อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย, บมจ.
ประชัย เลี่ยวไพรัตน์
ปีเตอร์ โกธาร์ด




ศาลล้มละลายกลางสั่งไม่เห็นชอบแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการของทีพีไอตามที่อีพีแอล ยื่นเสนอ โดยวินิจฉัยว่าหลักเกณฑ์ ที่กำหนดไว้ในแผนฟื้นฟูฯไม่ขัดกับกฎหมาย

ส่งผลให้การเลื่อนระยะเวลาขายสินทรัพย์รองและแก้ เกณฑ์ในแผนฯตกไป "ประชัย" สบช่องจี้คณะกรรมการเจ้าหนี้และ จพท. ยื่นคำร้องขอให้ทีพีไอออกจากแผนฟื้นฟูกิจการทันที

เพราะพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าแผนฯไม่สามารถปฏิบัติได้ มิฉะนั้น ทีพีไอ จะดำเนินการยื่นขอออกจากแผนฯ เอง ส่วน "อีพีแอล" ขอเวลาปรึกษา ทนายความว่าจะดำเนินการอย่างไร ต่อไป

ยอมรับการตัดสินของศาลฯ จะมีผลกระทบต่อการขายโรงไฟฟ้า ทีพีไอแน่นอน วานนี้ (18 ก.ค.) คณะผู้ พิพากษา ศาลล้มละลายกลางได้พิจารณาคดีหมายเลขแดงที่ ฟ8/2543 กรณีที่บริษัท เอ็ฟเฟ็คทีฟ

แพลนเนอร์ส จำกัด (อีพีแอล) ในฐานะผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการของ บริษัท อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) หรือทีพีไอ ได้ ยื่นคำร้องขอแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการ ของทีพีไอและบริษัทในเครืออีก

7 บริษัท โดยคณะผู้พิพากษาได้อ่านคำสั่งไม่เห็นชอบกับคำร้องดังกล่าว โดยคำร้องเพื่อขอแก้ไขแผนฉบับแรก เป็นคำขอแก้ไขวิธีการและเกณฑ์การลงมติยอมรับการแก้ไขแผน ส่วนคำร้องเพื่อขอแก้ไข

แผนฉบับที่สอง คือการขอเลื่อนกำหนดระยะเวลาการจำหน่ายทรัพย์สินที่ไม่ใช่สินทรัพย์หลักมูลค่า 200 ล้านเหรียญสหรัฐจากวันที่ 31 ธันวาคม 2544 เป็น 31 ธันวาคม 2546 โดยเจ้าหนี้ทีพีไอร้อยละ

96.98 ของมูลหนี้ ลงมติเห็นชอบให้มีการแก้ไขตามคำร้องเพื่อแก้ไขแผนฉบับที่หนึ่ง และเจ้าหนี้ร้อยละ 97.22 ของมูลหนี้ ลงมติ เห็นชอบให้มีการแก้ไขแผนฉบับที่สองเมื่อวันที่ 7-8 พฤษภาคม 2545 นายวีระ

คำมี ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย บริษัท ที่ปรึกษากฎหมายสากล จำกัด ในฐานะที่ปรึกษาทางด้านกฎหมายบริษัท อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า

เมื่อศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งไม่ให้แก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการทีพีไอตามที่อีพีแอลร้องขอนั้น ในแง่กฎหมายแสดงว่า อีพีแอลไม่สามารถดำเนิน การตามแผนฟื้นฟูฯได้ ซึ่งตามพ.ร.บ.ล้มละลาย มาตรา 90/67

เปิดช่องให้ลูกหนี้สามารถยื่นคำร้องต่อศาลล้มละลายกลางให้ยกเลิกแผนฟื้นฟู และเพิกถอนอีพีแอลออกจากการเป็นผู้บริหารแผนได้ "ในฐานะที่ตนเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านกฎหมายมากว่า 20 ปี

มีความเชื่อมั่นว่า จะสามารถเพิกถอนอีพีแอลออกจากการเป็นผู้บริหารแผนได้ ซึ่งเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ด้มีกรณีตัวอย่างของบริษัท ยูบี-เฮเวิร์ท (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งถือเป็นลูกหนี้รายแรกในประวัติ

ศาสตร์ของศาลล้มละลายกลาง ที่สามารถต่อสู้จนเอาชนะเจ้าหนี้ได้ โดยได้ยื่นคำร้องต่อศาลให้เปลี่ยนผู้บริหารแผนฟื้นฟูจนสำเร็จ เพราะผู้บริหารแผนไม่สามารถบริหารแผนได้

และการบริหารแผนโดยทุจริต ไม่มีประสบการณ์และความชำนาญในการบริหารกิจการของลูกหนี้ ซึ่งในเรื่องนี้จะต้องฟังคำชี้ขาดต่อศาลต่อไป" นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารทีพีไอ

กล่าวว่า หลังจากศาลล้มละลายกลางได้พิพากษาเรื่องดังกล่าว ตนเห็นว่าเรื่องนี้ทางคณะกรรมการเจ้าหนี้และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ (จพท.)

จะต้องดำเนินการยื่นคำร้องต่อศาลล้มละลายกลางทำการพิจารณายกเลิกทีพีไอออกจากแผนฟื้นฟูกิจการทันที เพราะพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า ที่ผ่านมาแผนฟื้นฟูกิจการไม่สามารถปฏิบัติได้

หากคณะกรรมการเจ้าหนี้และจพท.ไม่ดำเนินการดังกล่าว ทีพีไอจะดำเนินการยื่นคำร้องขอยกเลิกทีพีไอออกจากแผนฟื้นฟูกิจการต่อไป "ที่ผ่านมา ผมได้ต่อสู้มาโดยตลอดว่า แผน

ฟื้นฟูกิจการทีพีไอไม่สามารถทำได้ในทางปฏิบัติ ซึ่งตนได้สู้และคัดค้านมาตลอด เพราะถ้าปล่อยให้อีพีแอลขยายเวลาขายทรัพย์สินรองออกไป จะทำให้ฐานะทางการเงินของทีพีไอย่ำแย่กว่าที่เป็นอยู่

จนถึงขั้นไม่สามารถชำระเงินให้เจ้าหนี้ได้ เรื่องนี้นายสิปปนนท์ เกตุทัต ประธานกรรมการบริษัทอีพีแอล จะต้องรับผิดชอบไปเต็มๆ ที่ทำให้ทีพีไอเสียหายโดยไม่สามารถปฏิเสธได้ " อีพีแอลมืดแปดด้าน

นายปีเตอร์ กอทธาร์ด กรรมการผู้จัดการ อีพีแอล กล่าวว่า แผนฟื้นฟูกิจการของทีพีไอ ได้ระบุว่า ในการแก้ไขแผนที่เป็นสาระสำคัญจะต้องไม่มีเจ้าหนี้รายใดรายหนึ่งคัดค้าน ซึ่งหลักเกณฑ์ดังกล่าว

อีพีแอลเห็นไม่มีความยืดหยุ่นในทางปฏิบัติ จึงต้องการที่จะแก้ไขหลักเกณฑ์ให้มีความเหมาะสมในทางปฏิบัติมากกว่า และเป็นแนวทางเดียวกับที่กำหนดไว้ในพ.ร.บ.ล้มละลาย

แต่ศาลล้มละลายได้ปฏิเสธที่จะเห็นชอบ คำร้องนี้ โดยวินิจฉัยว่าหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในแผนฟื้นฟูฯไม่ได้ขัดแย้งกับพ.ร.บ.ล้มละลาย "คำร้องขอแก้ไขแผนฉบับแรก

เป็นการขอความเห็นชอบให้มีการยกเลิกเงื่อนไขที่กำหนด ว่า ในการประชุมเจ้าหนี้ตามแผนการปรับโครงสร้างทางการเงิน เพื่อลงมติให้มีการแก้ไขแผนนั้น

หากมีการคัดค้านจากเจ้าหนี้รายใดรายหนึ่งการแก้ไขแผนในเรื่องนั้นจะต้องตกไป โดยหลักเกณฑ์การขอแก้ไขแผนใหม่ที่อีพีแอลนำเสนอคำร้องที่ยื่นต่อจพท.นั้น

เป็นไปตามข้อกำหนดที่ระบุไว้ในพ.ร.บ.ศาลล้มละลายกลาง แต่ศาลล้มละลายได้ปฏิเสธที่จะเห็นชอบคำร้องนี้ โดยวินิจฉัยยึดตามข้อกำหนดที่ระบุไว้ในแผนฟื้นฟูฯข้อที่ 13.5

และระบุว่าหลักเกณฑ์ที่กำหนด ไว้ในแผนฟื้นฟูฯไม่ได้ขัดแย้งกับกฎหมายล้มละลาย" สำหรับคำร้องเพื่อขอแก้ไขแผนฉบับที่สอง ในการขอเลื่อนขายสินทรัพย์รองออกไปเป็น 31 มีนาคม 2546

หรือวันอื่นที่อาจมีการขยายออกไปตามที่เสียงส่วนใหญ่ในที่ประชุมเจ้าหนี้ทาง การเงินที่เข้าร่วมแผนปรับโครงสร้างหนี้เห็นชอบ

ซึ่งการเลื่อนกำหนดเวลาไปจนถึงวันดังกล่าว ได้คำนึงถึงเวลาที่ใช้ในการแก้ไขแผน และเวลาที่ผู้บริหารแผนประเมินว่าจะใช้ในการสรุปการขายสินทรัพย์รองทั้งหมด

เมื่อศาลฯมีคำสั่งไม่รับการแก้ไขแผนฟื้นฟูฯ ดังกล่าวข้างต้น ทางอีพีแอลก็คงต้องหารือเจ้าหนี้ ร่วมกับทนายความเพื่อหาแนวทางอื่นๆในการแก้ไขแผนฯต่อไป

ซึ่งคำตัดสินในครั้งนี้ไม่มีผลต่อการดำเนินงานของทีพีไอ นายเจษฎ์ เจษฎ์ปิยะวงศ์ ที่ปรึกษาอีพีแอล กล่าวว่า ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งไม่เห็นชอบให้อีพีแอลเลื่อนระยะเวลาการขายสินทรัพย์รองมูลค่า

200 ล้านเหรียญสหรัฐออกไปเป็นวันที่ 31 มีนาคม 2546 ย่อมส่งผลกระทบต่อแผนการขาย สินทรัพย์รองของทีพีไออย่างแน่นอน ซึ่งหลังจากนั้นจะมีการประชุมเพื่อหาแนวทางออกต่อไป

เนื่องจากขณะนี้ไม่มีระยะเวลาแน่นอนว่าจะขายสินทรัพย์รองถึงเวลาใด เพราะขณะนี้ก็เลยเวลาสิ้นสุดเดิมเมื่อ 31 ธันวาคม 2544 มาแล้ว "ยอมรับว่าการขายโรงไฟฟ้าให้กลุ่มบ้านปูก็คงต้องชะลอลงแน่

รวมทั้งต้องขอคำยืนยันจากกลุ่มบ้านปูว่าจะยังสนใจที่จะซื้อโรงไฟฟ้าต่อไปหรือไม่ เพราะที่ผ่านมาทุกฝ่ายต่างรอคำสั่ง ศาลฯก่อนที่จะมีการลงนามสัญญาซื้อขายโรงไฟฟ้า" แหล่งข่าวอีพีแอลกล่าว

นายเจษฎ์ กล่าวต่อไปว่า อีพีแอลคงต้องหา วิธีแก้ไขแผนฟื้นฟูฯให้มีความสมบูรณ์ขึ้น เนื่อง จากขณะนี้ไม่มี Deadline ในการขายสินทรัพย์รอง ซึ่งเสมือนว่าแผนฟื้นฟูฯไม่สมบูรณ์

ทำให้ผู้ที่จะซื้อสินทรัพย์รองเกิดไม่มีความมั่นใจ และไม่กล้าเสี่ยง ซึ่งจะเป็นวิธีการใดนั้น คงต้องหารืออย่างละเอียด ก่อนยื่นต่อศาลล้มละลายกลาง ต่อไป

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us