นักวิชาการธรรมศาสตร์วิเคราะห์ศักยภาพผู้ประกอบการ SMEs จีน-ญี่ปุ่น-ไทย
พบดาวรุ่งเดิมอย่างญี่ปุ่นเริ่มลดบทบาทลงอันเนื่อง จากภาวะเศรษฐกิจและข้อจำกัดค่าแรงที่เพิ่มมากขึ้นทุกวัน
ส่งผลแรงงานไหลออกนอกประเทศเพิ่มมากขึ้น ขณะที่จีนเริ่มส่อแววรุ่ง SMEs
พัฒนาศักยภาพการผลิตโตวันโตคืน ชี้ไทยต้องรีบก้าวกระโดดให้ทันประเทศเพื่อนบ้าน
รองศาสตราจารย์ ไว จามรมาน
ประธานโครงการปริญญาโท บริหารธุรกิจ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรม
ศาสตร์ กล่าวเปรียบเทียบการทำงานของผู้ประกอบการในระดับกลางและขนาดย่อมของประเทศจีน-
ญี่ปุ่นเมื่อเทียบกับประเทศไทยจากประสบการณ์ที่ได้เดินทางไปสอนในประเทศญี่ปุ่นว่าทั้งประเทศญี่ปุ่น
และจีนผู้ประกอบการของทั้ง 2 ประเทศมีการพัฒนาไปอย่างมากและก้าวหน้ากว่า
ประเทศไทยหลายเท่า โดยพบว่าเศรษฐกิจของญี่ปุ่น ยังไม่ฟื้นตัวขึ้นมากนัก
ส่วนหนึ่งเป็น เพราะภาครัฐยังไม่นำประเด็นทางเศรษฐกิจเข้าในการประชุมสภามาก
นักส่งผลให้ผู้ประกอบการยังไม่แน่ใจในนโยบายของภาครัฐเท่า ที่ควร ยิ่งเมื่อต้องเจอกับการขยาย
ตัวของเศรษฐกิจจีนที่ทวีความรุน แรงมากขึ้นทุกวันญี่ปุ่นตกอยู่สภาพ ที่ไม่ดีนัก
ในขณะที่จีนเริ่มเข้ามามีบท บาทในธุรกิจส่งออกมากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะแข่งขันในตลาดเดิมของญี่ปุ่น
ทั้งผู้ประกอบการก็เริ่มย้ายฐาน การผลิตไปในจีน
ผลที่ตามมาคือญี่ปุ่นเริ่มมีปัญหาการว่างงานเป็นประเด็นหลักให้เศรษฐกิจญี่ปุ่น
ยังไม่ฟื้นตัว "เป็นไปได้ว่าขณะนี้ญี่ปุ่นมีปัญหาในเรื่องโครงสร้าง
ญี่ปุ่นกลาย เป็นสังคมของคนชรา ความสามารถ
ลดลงอันเนื่องจากไม่มีคนรุ่นใหม่ มีคนแก่มากขึ้น โดยเฉลี่ยแล้วเด็กหนุ่ม
1 คนต้องรับภาระคน 3 คน ส่งผลให้คนหนุ่มไม่อยากทำงาน ทรัพยากรคนจึงไหลไปที่จีนมากยิ่งขึ้น
หากจะมองในกลุ่มภาคธุรกิจ
SMEs ของจีนแล้วจะเห็นได้ว่าผู้ประกอบการของจีนเริ่มพัฒนาความสามารถในการผลิตอะไหล่ซึ่ง
อาจมีคุณภาพไม่ดีนักแต่สามารถทดแทนได้อย่างดีกับสินค้าของญี่ปุ่นได้มากยิ่งขึ้นทุกวัน
ซึ่งเรื่องนี้
เป็นประเด็นที่น่าจับตามอง โดยจีน สามารถผลิตเครื่องจักรที่ใช้ในการเกษตรเช่นเดียวกับที่ประเทศไทยเราใช้แต่จีนสามารถผลิตได้ในราคาถูกกว่าไทยครึ่งหนึ่ง
ส่งผลให้สินค้าตลอดจนเครื่องใช้ไฟฟ้าของจีนเริ่มไหลเข้ามาในประทศไทย เรามากยิ่งขึ้น
โดยคาดว่าอีกไม่นาน สินค้าของจีนจะเริ่มเข้ามาท่วมตลาด เอเชียตอนใต้ อาจารย์
ไว
กล่าวว่าความได้เปรียบทางด้านศักยภาพที่ส่งผลให้จีนเริ่มเข้ามามีบทบาทมากยิ่งขึ้น
ส่วนหนึ่งเป็นเพราะจีนดำเนินนโยบายไม่เหมือนประเทศอื่นโดยไม่ได้เริ่มจากอุตสาหกรรมการผลิต
เพื่อทดแทนการนำเข้า (ทั้งที่เป็นเรื่องที่ผิด) แต่จีนเริ่มที่อุตสาหกรรม
การผลิตเพื่อการส่งออกเลยจีนดำเนินนโยบายการส่งออกเมื่อเริ่มพัฒนาอุตสหากรรมทำให้จีนมีความได้เปรียบประเทศอื่น
โดยปัจจุบันนี้ประชากรจีนอยู่ในภาคอุตสาหกรรมกว่า 200 ล้านคน จุดเริ่มต้นของการพัฒนา
การผลิตของผู้ประกอบการของ จีนเริ่มจากอุตสาหกรรมประกอบของเล่น สิ่งทอ
และพัฒนามาสู่อุตสาหกรรมประกอบเครื่องไฟฟ้า มาในปัจจุบันจีนเอาจริงเอาจังกับอุตสาหกรรมรถยนต์เป็นอย่างยิ่ง
เรียกได้ว่า 3 อุตสาหกรรมนี้จีนพัฒนาไปไกลมาก อาจารย์ ไว
กล่าวว่าพื้นฐานการพัฒนาที่สำคัญของผู้ประกอบการ SMEs อยู่ที่การพัฒนาจะเห็นได้จีนมีมหาวิยาลัยเป็นจำนวนมากที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพกำลังคนของประเทศ
พื้นฐานของวิศวกรของจีนจึงอยู่ในระดับดี เมื่อบวกความเข้มแข็งในเรื่องอุตสาหกรรมและการปรับตัวที่เป็นไปอย่างรวดเร็วของจีนทำให้จีนได้เปรียบประเทศอื่น
ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมสามารถผลิตชิ้นส่วนเพื่อส่งให้อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ได้มาตรฐาน
ในขณะที่ญี่ปุ่นปัจจุบันผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมขนาดกลาง และขนาดย่อมประสบกับปัญหาค่าแรงที่สูงมาก
และเป็นจุดที่ทำให้ญี่ปุ่นเสียเปรียบประเทศอื่นอย่างมาก
เพราะแรงงานเริ่มไหลออกไปต่างประเทศเนื่องจากนักลงทุนหนีค่าแรงที่แพง เมื่อธุรกิจขนาดใหญ่หนีไปต่างประเทศ
ส่งผลให้ SMEs ซึ่งเป็นอุต-
สาหกรรมต่อเนื่องก็เริ่มตามออกไปตั้งโรงงานตามธุรกิจขนาดใหญ่ด้วยต่างกับประเทศจีนที่ค่าแรงถูกและพัฒนาเทคโนโลยีได้รวดเร็วเป็นจุดแข็ง
"ทางออกที่ญี่ปุ่นจะทำได้ ในขณะนี้คือต้องสร้างธุรกิจใหม่
ขึ้นมา แต่ก็ติดปัญหาที่ว่าความสามารถของญี่ปุ่นก็ยังไม่เท่า เทียมสหรัฐอเมริกาที่สามารถสร้างอุตสาหกรรมใหม่ขึ้นมาทดแทน
ได้ในทันที
เมื่อเปรียบเทียบศักยภาพของผู้ประกอบการจีนและญี่ปุ่นแล้วจะเห็นได้ว่าแม้นว่าญี่ปุ่นจะ
ได้รับการกล่าวขวัญมาก่อนในเรื่องความสำเร็จของผู้ประกอบ การ SMEs แต่นับถึงทุกวันนี้
จีนกลายเป็นประเทศที่เริ่มเข้ามามีบทบาทในเวทีการค้าโลกมากยิ่งขึ้นด้วยข้อได้เปรียบที่มีอยู่เดิม
ซึ่งหากจะมองในแง่ศักยภาพของ ผู้ประกอบการคนไทยแล้วจะพบได้ว่าต้องมีการพัฒนาอีกมาก
จึงควรให้ความร่วมมือกันทุกฝ่ายเพื่อให้ผู้ประกอบการ SMEs ของไทยพัฒนาศักยภาพการผลิตได้ทัดเทียมประเทศอื่น