ท่ามกลางความเสียเปรียบของผู้ประกอบการไทยเมื่อเทียบกับประเทศอื่นไม่ว่าจะเป็นจีน
หรือญี่ปุ่น นักวิชาการธรรมศาสตร์เสนอทาง ออกของการแก้ปัญหาพัฒนาศักยภาพ
SMEs
ไทยทัดเทียมต่างชาติ เชื่อมโยงข้อมูล 3 ด้านการค้า การศึกษา การท่องเที่ยว
ระหว่างจังหวัดกับจังหวัดกับประเทศที่ต้องการหวังถ่ายทอดข้อมูลที่มีประโยชน์พัฒนาขีดความสามารถผู้ประกอบการไทยไปพร้อมต่างชาติ
รองศาสตราจารย์ ไว จามรมาน อาจารย์ประจำ
คณะพาณิชย ศาสตร์ และการบัญชี มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ กล่าวถึงศักยภาพในการประกอบการธุรกิจของผู้ประกอบการไทยทุกวันนี้ว่ายัง
เสียเปรียบประเทศอื่นอยู่มากทั้งนี้เป็นเพราะประเทศไทยไม่ให้ความสำคัญในการพัฒนาบุคลากรมาตั้งแต่ต้น
เมื่อเทียบกับประเทศอื่นที่ปู พื้นฐานการพัฒนาประเทศด้วยการ
พัฒนาบุคลากรตั้งแต่อยู่ในระดับมหาวิทยาลัย "เราต้องปรับความรู้ความสามารถของพนักงานโดยเฉพาะ
ในระดับ SMEs เสียใหม่ ภาครัฐต้องเข้ามาช่วยเหลือในการปรับระดับการศึกษาทั้งโดยรวม
และเฉพาะเจาะจงลงไปในแต่ละธุรกิจ โดยเฉพาะศึกษาลึกลงไปในธุรกิจ SMEs ที่เป็นดาวรุ่งมีโอกาสพัฒนา
ได้อีกมาก" อาจารย์ไว กล่าวว่า แนวทางการพัฒนา SMEs
ด้วยการพัฒนาระบบการศึกษานั้นเราอาจนำต้นแบบจากประเทศที่ประสบความสำเร็จแล้วมาเป็นแบบอย่าง
เช่น องค์กรธุรกิจในประเทศ เยอรมนีที่ให้พนักงานทำงานเพียง 4 วันส่วนที่เหลืออีก
2
วันเป็นเวลาที่ให้ไปศึกษาต่อในโรงเรียนอาชีวะโดยภาครัฐเข้ามาช่วยเหลือในเรื่องค่าใช้จ่าย
"เราต้องปรับระบบใหม่จะให้ SMEs มานั่งพัฒนาโดยลำพังเพียงอย่างเดียวไม่ได้ต้องทำให้เกิด
ความเป็นหนึ่งเดียวเริ่มจากการร่วมมือกับสถาบันการศึกษาอย่างโรงเรียนอาชีวะที่เข้มแข็งในจังหวัด
ต่างๆ เพื่อเปิดโอกาสให้คนที่อยู่ใน ภาคธุรกิจ SMEs ได้เรียนรู้จากเทค
โนโลยีใหม่ผ่านทางสถาบันการศึกษาที่อยู่ใกล้ๆ และนำความรู้กลับ ไปพัฒนางานที่ทำอยู่ได้
การสร้างความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษากับ SMEs หรือสถาบันที่เป็น
เทคโนโลยีเองจะเป็นประเด็นสำคัญ ในอนาคต" ในความคิดของอาจารย์ ไว มองว่าตัวผู้ประกอบการเองต้องมองให้ออกว่าในแต่ละเขตหรือจังหวัดอยากทำอุตสาหกรรมอะไร
เพื่อสร้างให้เกิดแหล่งผลิตแต่ละด้านขึ้นในแต่ละจังหวัด เช่นชิ้นส่วน รถจักรยานยนต์ผลิตที่จังหวัดหนึ่ง
ขณะที่อีกจังหวัดหนึ่งผลิตชิ้นส่วนของอีกอุตสาหกรรมหนึ่งเข้าคอน-
เซ็ปท์คัสเตอร์เหมือนที่ประเทศอื่นทำกัน " ผมมองว่าหนึ่งหมู่บ้านหนึ่งตำบลมันเล็กเกินไป
น่าจะทำให้ใหญ่ กว่านี้เป็นหนึ่งจังหวัด"
หลังจากมองแนวทางการพัฒนาออกแล้วว่าต้องออกในรูปของคัสเตอร์ระดับจังหวัดแล้วก็ต้อง
มาดูในเรื่องเดิมที่เป็นปัญหาอยู่คือ คน เทคโนโลยี และตลาด โดยทั้ง 3 ปัญหาอาจารย์ไวมองทางออกว่า
ของการแก้ปัญหาว่าน่าจะมีการเชื่อมระหว่างเมืองต่อเมืองเข้าด้วยกัน เช่น
นครพนมเชื่อมกับอากาชิของญี่ปุ่นเชื่อมกับเมืองวินของเวียด นามและเชื่อมกับอีกเมืองในอิตาลี
เหมือนเป็นระบบเมืองพี่เมือง
น้อง ในคอนเซ็ปต์การเชื่อมโยงของอาจารย์ไวคือ แต่ละจังหวัดต้อง วิเคราะห์ตัวเองให้ออกว่าต้องการเทคโนโลยีอะไรก็ไปเชื่อมกับเมืองที่มีเทคโนโลยีนั้น
ซึ่งระบบนี้หอ
การค้าจังหวัดต้องเข้ามามีบทบาทในการประสานงานด้วย การเชื่อมกันระหว่างประเทศกับประเทศด้วยกันอย่างทุกวันนี้ไม่เป็นผล
โดยมองว่าการเชื่อมกันระหว่างกับจังหวัดอีกประเทศด้วยกันจะเป็นผลมากกว่า
"ต่อจากนี้ไปต้องเป็นระบบกระจายอำนาจที่ผ่านมากรุงเทพเท่านั้นที่โต
หากระบบนี้เกิดได้ประเทศไทยทุกจังหวัดทั่วประเทศก็จะโตไปพร้อมกันด้วย"
ในการเชื่อมโยงระหว่าง เมืองนั้นในมุมมองของอาจารย์ไว มองว่าต้องเชื่อมโยงกัน
3 เรื่อง คือ เชื่อมการค้า เชื่อมการศึกษา
เชื่อมการท่องเที่ยว โดยเอาคนแต่ละจังหวัดที่ต้องการเชื่อมโยงมาทำการค้าร่วมกันแลกเปลี่ยนกัน
สร้างความสามารถเฉพาะขึ้นจากการแลกเปลี่ยนระหว่างเมือง
และถ่ายทอดเทคโนโลยีระหว่างเมืองกันได้ การประสานงานในเรื่องเหล่านี้จะเป็นการตัดปัญหาเดิมๆของผู้ประกอบการในเรื่องการข้อมูล
ข่าวสาร
ซึ่งแต่เดิมนั้นใช้กรุงเทพเป็นศูนย์กลางก่อนแล้วจึงกระจายข้อมูลออกไปยังภูมิภาคต่างๆ
ซึ่งก็ไม่ทำให้เกิดผลดีกับผู้ประกอบการอย่างที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม อาจราย์
ไว กล่าวว่าต่อไปในอนาคต
สภาอุตสาหกรรมและหอการค้า จังหวัดในแต่ละจังหวัดจะต้องเข้ามามีบทบาทมากยิ่งขึ้นในการ
เป็นตัวกลางประสานงานระหว่างจังหวัดกับจังหวัดในประเทศที่ต้องการ นอกจากนี้กระทรวง
การต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ก็ควรเป็นหน่วยงานของรัฐที่น่าจะเข้ามามีบทบาทในการทำงานเหล่านี้ด้วยเพื่อให้เกิดการประสานงานกันทุกฝ่ายตามแนว
ทางการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการของไทย