Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน16 กรกฎาคม 2545
เซ็นทรัลงัดซัปพลายเออร์ ลอจิสติกลดสต็อก4 พันล.             
 

   
related stories

ปัญหายืดกระทบ 2 ฝ่าย

   
www resources

โฮมเพจ เซ็นทรัลกรุ๊ป

   
search resources

เซ็นทรัลกรุ๊ป




เซ็นทรัลรีเทล แจง ปัญหาขัดแย้งกับซัปพลายเออร์เรื่อง บริการลอจิสติกหรือ RC (Replenishment Center) พบมีเพียงกลุ่ม น้อยที่ไม่เข้าใจ และปฏิเสธการส่งสินค้ามายัง RC

เผยทำเพื่อให้การบริหารสินค้ามีประสิทธิภาพ ช่วยลดสต็อกของซัปพลายเออร์ที่มีสินค้าอยู่ในเซ็นทรัลและโรบินสันกว่า 8,000 ล้านบาทให้เหลือเพียงครึ่งหนึ่ง เพื่อให้เงินกลับคืนสู่ซัปพลายเออร์

และเพื่อเพิ่มยอดขายให้แก่ทั้งซัปพลายเออร์ และเซ็นทรัลรีเทล นายทศ จิราธิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เซ็นทรัล คอร์ปอเรชั่น จำกัด เปิดเผยถึงกรณีที่มีซัปพลายเออร์บางกลุ่มออกมาให้ข้อมูล

ต่อสื่อมวลชนเกี่ยวกับบริการลอจิสติก หรือที่เรียกว่า RC (Replenishment Center) ของเซ็นทรัลในลักษณะที่ไม่เห็นด้วยกับระบบดังกล่าว โดยเฉพาะเรื่องการเรียกเก็บค่าบริการขนส่งสินค้าที่แพงไปนั้น

ในความเป็นจริงระบบ RC และระบบขนส่ง เป็นส่วนหนึ่งของระบบซัปพลายเชน หรือระบบที่จะดูแลสินค้าให้ได้คุณภาพตามความต้องการของลูกค้าตั้งแต่แหล่งผลิตจนถึงปลายทางคือผู้บริโภค

ซึ่งเป็นวิธีการที่จะตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยวัตถุประสงค์หลักของการจัดทำ RC นั้นก็เพื่อเพิ่มยอดขายและสามารถให้บริการที่ดีขึ้นแก่ผู้บริโภค

เนื่องจากระบบลอจิสติก จะทำให้ซัปพลายเออร์ สามารถส่งสินค้าไปยังที่เดียวได้ทุกวัน และทาง RC ก็สามารถส่งสินค้าไปยังทุกสาขาได้ทุกวันเช่นกัน หน้าร้านก็ไม่ต้องสต็อกสินค้ามากเกินไป ทำให้ซัป-

พลายเออร์สามารถวางสินค้าที่ขายดีได้มากขึ้น โอกาส ในการขายย่อมเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย นอกจากนี้ยังช่วยลดจำนวนสต็อกสินค้าทั้งหมดของซัปพลายเออร์ 2,200 ราย ที่ส่งสินค้าให้แก่เซ็นทรัลรีเทล

จำนวน 30 สาขาทั่วประเทศ โดยคิดเป็นมูลค่าของสต็อกทั้งหมดกว่า 8,000 ล้านบาท หรือเท่ากับ 4 เดือน โดยทางเซ็นทรัลรีเทลจะพยายามลดลงให้เหลือ 3 เดือน 2 เดือน และ 1 เดือน ตามลำดับ หรือจาก

8,000 ล้านบาทให้เหลือเพียง 4,000 ล้านบาท โดยมูลค่าที่ลดลงได้ถึง 4,000 ล้านบาทนั้นก็จะกลับคืนไปสู่ซัปพลายเออร์นั่นเอง นอกจากนี้ยังช่วยให้การขนส่งมีประสิทธิภาพมากขึ้น

โดยสาขาในกรุงเทพฯจะใช้เวลาในการจัดส่ง 24 ชั่วโมง ส่วนต่างจังหวัด 48 ชั่วโมง และสามารถส่งสินค้าให้แต่ละสาขาได้เป็นประจำทุกวัน ซึ่งจะส่งผลดีในการช่วยลดปัญหาเรื่องสินค้าขาดตลาด

หรือไม่มีสินค้าให้ลูกค้า เช่น กรณีสินค้าประเภทรองเท้า พบว่าลูกค้าที่เข้ามาซื้อสินค้าแล้วไม่ได้สินค้ามีประมาณ 30% ทำให้เสียโอกาสในการขายเป็นอย่างมาก

"ระบบนี้จะช่วยสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ซัปพลายเออร์รายกลางและรายเล็กที่จะทำให้มีความแข็งแกร่งมากขึ้น อันเนื่องจากประสิทธิภาพในการจัดส่งสินค้าดีขึ้น

รวมทั้งการบริหารสินค้าภายในก็จะเกิดการไหลเวียนสินค้าดี ทำให้ผู้ประกอบการสามารถใช้เวลาที่เหลือในการพัฒนาสินค้าใหม่ให้ดียิ่งขึ้นได้ โดยที่ผ่านมาเราได้นำวิธีการจัดส่งสินค้าแบบ

นี้มาใช้กับเพาเวอร์บาย ผลปรากฏว่าสามารถลดสต็อก ลงได้ถึง 500 ล้านบาท" นายทศกล่าว อย่างไรก็ตาม จะมีซัปพลายเออร์กว่า 400 รายที่ไม่ต้องเข้ามาใช้บริการในระบบ RC ของบริษัท ได้แก่

ซัปพลายเออร์ที่ส่งสินค้าเข้ามาขายในเครือซีอาร์ซีไม่กี่สาขา เช่น 2-3 สาขา, ซัปพลายเออร์ที่ขายสินค้าขนาดใหญ่ เช่น เฟอร์นิเจอร์ รวมถึงสินค้าประเภทกาละมังพลาสติก

หรือสินค้าที่ปริมาตรมากแต่ราคาน้อย และซัปพลายเออร์ที่จำหน่ายสินค้าราคาแพงมากๆ อาทิ เครื่องเพชร นาฬิกาหรู เป็นต้น นายทศกล่าวอีกว่า หลังจากที่ได้เริ่มระบบอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 ก.ค.

2545 ที่ผ่านมา ปรากฏว่ามีซัปพลายเออร์ที่ได้เซ็นสัญญาที่จะส่งสินค้ามายัง RC แล้ว 1,400 ราย คิดเป็น 65% ของซัปพลายเออร์ทั้งหมด และมี 4% ที่อยู่ระหว่างเจรจา ส่วนอีก 31%

สมัครใจที่จะส่งสินค้าไปยังสาขาในเวลากลางคืน ซึ่งในกลุ่มสุดท้ายนี้ คิดเป็นจำนวน 112 รายที่ปฏิเสธจะเข้าระบบ RC ของเซ็นทรัล เช่น กลุ่มไอ.ซี.ซี. ของเครือสหพัฒน์

ที่มีระบบการจัดส่งสินค้าที่มีประสิทธิภาพอยู่แล้ว โดยปัจจุบันสามารถลดสต็อกได้เหลือเพียง 2 เดือน และในอนาคตจะพยายามลดสต็อกลงเหลือเพียง 45 วัน

"ในรายที่มีปัญหาไม่ยอมเข้าระบบส่วนใหญ่จะเป็นซัปพลายเออร์รายใหญ่ แต่ทางซีอาร์ซีก็ยังต้องเจรจาต่อไปเพราะเชื่อว่าการเข้ามาอยู่ในระบบทั้งหมดน่าจะส่งผลดีมากกว่า

เพราะในอนาคตเราจะต้องพัฒนาไปสู่ระบบซัปพลายเชน แมเนจเม้นท์ ที่สมบูรณ์แบบเพื่อให้การบริหารจัดการสินค้าไปถึงมือผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด" นายทศ กล่าวว่า

ปัญหาที่เกิดขึ้นในทุกวันนี้ก็คือ เรื่องของการเก็บค่าใช้จ่ายในการกระจายสินค้าไปยังสาขาต่างๆทั้ง 30 สาขา โดยเบื้องต้น ซีอาร์ซีได้คิดค่าเฉลี่ยในการขนส่งสินค้าจากซัปพลายเออร์ที่ 0.6-0.8%

จากราคาสินค้า ซึ่งเมื่อคำนวณเป็นค่าขนส่ง แล้วซัปพลายเออร์อาจมองว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าขนส่งเอง ซึ่งเรื่องนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าซัปพลายเออร์แต่ละ

รายจะมีมาตรฐานหรือหลักในการพิจารณาต้นทุนค่าขนส่งอย่างไร เช่น มีการนำค่าเสียเวลาของพนักงานขับรถที่ต้องไปรถส่งของเข้าสาขาครั้งละ 2-3 ชั่วโมงมารวมอยู่ในต้นทุนค่าขนส่งด้วยหรือไม่

เป็นต้น "สินค้าที่จำหน่ายในห้างกว่า 2 แสนรายการ มีราคาที่แตกต่างกันไป ดังนั้น การคิดค่าขนส่งก็อาจ จะไม่เท่ากัน แต่จะไม่ใช้วิธีการชั่งน้ำหนักเพราะจะทำให้เสียเวลาและไม่สะดวกในทางปฏิบัติ

สิ่งที่นำมาใช้ในการคำนวณราคาก็คือ การเอาราคาสินค้าในเอกสารมาใช้คำนวณค่าขนส่งซึ่งน่าจะสะดวกกับทุกฝ่าย ทำให้การส่งสินค้าไม่ต้องรอคิว ไม่ต้องเสียเวลา และสินค้าไปถึงสาขาเร็วขึ้น"

นอกจากซีอาร์ซีจะให้บริการในการจัดส่งสินค้า แล้ว ยังมีบริการรับสินค้าคืนจากสาขา รวมทั้งบริการส่งสินค้าแถมเมื่อมีโปรโมชั่น โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย และยังรับประกันสินค้าที่ราคาทุน 100% นายทศ

กล่าวว่า สิ่งหนึ่งที่ทำให้เกิดความไม่เข้าใจระหว่างซัปพลายเออร์และบริษัทก็คือ ซัปพลายเออร์เข้าใจว่าเซ็นทรัลรีเทลตั้งขึ้นมาเพื่อต้องการหากำไรจากการสร้างระบบ RC

ซึ่งในความเป็นจริงซีอาร์ซีไม่ได้ทำเพื่อผลกำไร แต่ต้องการสร้างยอดขายให้เพิ่มขึ้นและต้องการคุมสต็อก รวมทั้งการลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นลง ซึ่งเชื่อว่าจะส่งผลให้ผู้ประกอบการมียอดขายเพิ่มขึ้น 1-15%

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us