บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทยออกบทวิเคราะห์เกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยน กรณีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าส่งผลให้ค่าเงินสกุลอื่นๆ
แข็งค่า ไม่เว้นเงินบาทไทย
บริษัทฯได้ชี้ให้เห็นผลดีพร้อมข้อเสนอแนะเพื่อเศรษฐกิจไทยสามารถตั้งรับสถานการณ์ที่หลีกเลี่ยงลำบาก
ผลกระทบเศรษฐกิจไทย การที่เงินดอลลาร์สหรัฐมีค่าอ่อนตัวลงนับตั้งแต่ต้นปี
2545 ส่งผล
ให้เงินบาทมีค่าแข็งขึ้นเป็นลำดับเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐแตะระดับ
เฉลี่ยราว 41.37 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2545 นับเป็นค่าเงินบาทเข้มแข็งที่สุดในรอบ
22 เดือน
และคิดเป็นอัตราเพิ่ม 6.7% เมื่อเทียบ กับค่าเงินบาท ณ ระดับเฉลี่ย 44.34
บาท/ดอลลาร์สหรัฐตอนต้นปี 2545 ขณะเดียวกันเงินบาทกลับมีค่าอ่อนตัวลงเมื่อเทียบกับเงินเยนและเงินยูโร
ในช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมา โดยค่าเงินบาทลดลง 3.8% อยู่ในระดับเฉลี่ยราว
35 บาทต่อ 100 เยน และอ่อนตัวลง 3.5% แตะระดับเฉลี่ย 41 บาท/ยูโร เมื่อ วันที่
9 กรกฎาคม 2545 บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
จำกัด ประเมินผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ไทยจากการที่เงินบาทมีค่าเข้มแข็งขึ้นเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐคาดว่า
จะส่งผลกระทบด้านบวกสรุปได้ดังนี้ ผลดี 1. ตลาดหุ้นไทย
ความอึมครึมของตลาดหุ้นสหรัฐฯ ตั้งแต่ต้นปี 2545 อันเนื่องมาจากวิกฤตศรัทธาระบบบัญชีธุรกิจของบริษัทอเมริกัน
ได้ส่งผลให้นักลงทุนและกองทุนรวม ต่างประเทศชะลอการลงทุนในตลาดสหรัฐฯ
และหันมาลงทุนในตลาดย่านเอเชีย รวมถึงตลาดหุ้นไทย ส่งผลสนับสนุนตลาดหุ้นไทยกระเตื้องขึ้นเป็นลำดับในช่วงครึ่งปีแรก
2545 โดยดัชนีราคาหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทยทำสถิติสูงสุดในรอบกว่า 2
ปี ณ ระดับ 426.45 จุด เมื่อวันที่ 13 มิถุนายนที่ผ่านมา และเคลื่อน ไหวอยู่ในระดับราว
400 จุด ในช่วงต้นเดือนกรกฎาคม นับว่าตลาดหุ้นไทยฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว ดัชนีราคาหลักทรัพย์พุ่งขึ้น
31%
เมื่อเทียบกับดัชนีราคาหลักทรัพย์ในระดับ 305.19 จุดตอนต้นปี 2545 อย่างไรก็ตาม
กรณีอื้อฉาวของบริษัทสหรัฐฯที่ ปะทุมากขึ้นเรื่อยๆ และก่อให้ความปั่นป่วนในตลาด
หุ้น Wall Street
อาจส่งผลเสียหายแก่ตลาดหุ้นทั่วโลกได้รวมถึงตลาดหุ้นไทยด้วย หากนักลงทุนตื่นตระหนกในวิกฤตตลาดหุ้นสหรัฐฯ
อาจพากันเทขาย หุ้นในตลาดหุ้นแห่งอื่นๆ เพื่อรักษาเม็ดเงินลงทุนของ ตน
ตลาดหุ้นสหรัฐฯ จึงเป็นปัจจัยเสี่ยงภายนอกที่นักเล่นหุ้นไทยต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด
2. ท่องเที่ยวไทย ธุรกิจท่องเที่ยวเป็นกิจกรรม
ทางเศรษฐกิจที่มักได้รับผลกระทบทันทีจากการเปลี่ยนแปลงของเงินตราสกุลหลักต่างๆ
คาดว่าธุรกิจ ท่องเที่ยวของไทยน่าจะได้รับผลดีจากการที่เงินเยนและเงินยูโรมีค่าแข็งแกร่งขึ้น
เนื่องจากนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นและชาวยุโรปส่วนหนึ่งจะรู้สึกว่ามีกำลังซื้อเพิ่มขึ้น
กระตุ้นการเดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศ
ประเทศไทยนับเป็นจุดหมายปลายทางแห่งหนึ่งที่นักท่องเที่ยวต่างชาติกลุ่มนี้สนใจเดินทางมาเยี่ยมเยี่ยน
จึงคาดว่าจะช่วยให้การท่องเที่ยวไทยดีขึ้น โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวญี่ปุ่นที่เดินทางมาไทยลดลง
7.5% ในช่วง 4 เดือนแรก 2545 เหลือจำนวนนักท่องเที่ยว 414,534 คน การที่เงินเยนมีค่าแข็ง
อาจมีส่วนช่วยจูงใจให้ชาวญี่ปุ่นเดินทางมาไทยเพิ่มขึ้นใน ช่วงครึ่งหลังของปีนี้
ทางการไทยควรรณรงค์ส่งเสริม การท่องเที่ยวมุ่งจับตลาดนักท่องเที่ยวญี่ปุ่นควบคู่ไป
ด้วย เนื่องจากชาวญี่ปุ่นเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติ ที่มีกำลังซื้อสูง
โดยทำรายได้ด้านการท่องเที่ยวแก่ไทยสูงถึง
31,446 ล้านบาทในปี 2544 ส่วนตลาดนักท่องเที่ยวชาวยุโรปอยู่ในภาวะแจ่มใสมาตั้งแต่ต้นปีนี้
และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ในช่วงครึ่งปีหลัง 2545 เพราะค่าเงินยูโรที่แข็งแกร่งขึ้น
เป็นแรงเกื้อหนุนด้านการท่องเที่ยวที่สำคัญประการหนึ่ง นักท่องเที่ยวกลุ่มยูโรโซนที่เดินทางมาไทยเพิ่มขึ้นในช่วงต้นปี
2545 ได้แก่ เนเธอร์แลนด์ เพิ่มขึ้น 9.6% เบลเยียม 3.2% เยอรมนี ขยายตัว
2.7%
เป็นต้น กลุ่มนักท่องเที่ยวชาวยูโรโซนทำรายได้ด้านการท่องเที่ยวแก่ไทยรวมกันสูงกว่า
50,000 ล้านบาท ในปีที่ผ่านมา ข้อพึงระวัง : การที่เงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลง
อาจส่งผลกระทบด้านลบต่อการท่องเที่ยวของ ไทยบางส่วน โดยเฉพาะตลาดอเมริกัน
คาดว่านักท่อง เที่ยวสหรัฐฯ มีแนวโน้มเดินทางมาเที่ยวไทยลดลงในช่วงครึ่งหลังของปีนี้
หลังจากที่นักท่องเที่ยวเดินทาง มาไทยลดลง 3.7% ในช่วง 4 เดือนแรก 2545
เหลือ จำนวนนักท่องเที่ยว 175,191 คน 3. รักษาอัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำ การที่เงินบาทมีค่าแข็งขึ้นในช่วงนี้
ประกอบกับอัตราเงินเฟ้อต่ำ ของไทยอยู่ในระดับต่ำ โดยประมาณว่าอัตราเงินเฟ้อ
ของไทยจะชะลอตัวลงอยู่ในระดับราว 1% ในปีนี้ ทำ ให้ทางการไทยสามารถรักษาอัตราดอกเบี้ยในระดับที่ต่ำต่อไป
ส่งผลดีในการช่วยกระตุ้นความต้องการบริโภคและการลงทุนภายในประเทศ สนับสนุนเศรษฐกิจโดยรวมของไทยให้เติบโตต่อเนื่อง
นอก จากนี้ การที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ
ยังมิได้มีท่าทีจะปรับอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นในขณะนี้ โดยังคงอัตราดอก เบี้ยระยะสั้น
ณ ระดับ 1.75% ก็มีส่วนลดแรงกด ดันด้านอัตราดอกเบี้ยของไทยอีกประการหนึ่งด้วย
ถึงแม้ธนาคารพาณิชย์ไทยบางแห่งได้มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากบางประเภท
แต่เป็น การบริหารจัดการสภาพคล่องทางการเงินในแต่ละธนาคารเท่านั้น
ไม่ได้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายด้านอัตราดอกเบี้ยของธนาคารแห่งประเทศไทยแต่ประการใด
ดังนั้นความมั่นคงของค่าเงินบาท ในระยะนี้ จึงไม่มีอิทธิพลโดยรวมต่อการเคลื่อน
ไหวของอัตราดอกเบี้ยทั่วไปของไทย ข้อเสนอแนะ 1. ติวเข้มกลยุทธ์ส่งออกอาหารไทย
อาหารของ ไทยจัดเป็นสินค้าส่งออกที่มีศักยภาพสูง โดยทำรายได้ให้แก่ประเทศเฉลี่ยประมาณ
12,000 ล้านดอลลาร์
สหรัฐ/ปีในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา คิดเป็นสัดส่วนราว 1 ใน 5 ของมูลค่าส่งออกทั้งหมดของไทยในแต่ละปีแต่
น่าเสียดายที่อัตราการขยายตัวในการส่งออกสินค้ากลุ่มอาหารไม่สม่ำเสมอนัก
ทางการไทยจึงควรส่งเสริมอุตสาหกรรมผลิตอาหารอย่างต่อเนื่องและจริงจัง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการส่งออกสินค้าประเภทอาหารของไทยในตลาดโลก
อาทิ เร่งรัดแผน
แม่บทอุตสาหกรรมอาหารให้เป็นรูปเป็นร่างโดยเร็ว เน้นความสะอาด ปลอดภัย และปราศจากสารปนเปื้อนทุกขั้นตอนการผลิตอาหาร
ส่งเสริมการผลิตและส่งออกอาหารสากล (อาหารสำหรับชาวมุสลิม)
โดยทางการไทยควรรับรองคุณภาพมาตรฐานอาหาร ฮาลาล เพื่อสร้างความไว้วางใจในกลุ่มผู้บริโภคชาวมุสลิมในต่างประเทศ
สร้างจุดแข็งเอกลักษณ์สินค้าไทย ป้องกันการลอกเลียนแบบ
โดยจดลิขสิทธิ์ชื่อเฉพาะตามแหล่งกำเนิดสินค้า เช่น ข้าวหอมมะลิ 2. ระดมสมองวิจัยและพัฒนา
(R&D) ทาง การไทยต้องปลูกฝังการศึกษาให้ตระหนักถึงความสำคัญของการวิจัยและพัฒนา
เพื่อเสริมจุดแข็งในการผลิตสินค้าและบริการ เนื่องจากไทยมีค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาคิดเป็นสัดส่วนประมาณ
0.26% ของมูลค่า GDP เท่านั้น ซึ่งนับว่าน้อยมากเมื่อ เปรียบเทีบกับเม็ดเงินด้าน
R&D ของประเทศพัฒนา แล้ว ซึ่งมีสัดส่วนประมาณ 1.2-2.3% ของ GDP ถึงแม้ทางการไทยกำลังพยายามเพิ่มแรงจูงใจให้ผู้ประกอบธุรกิจแขนงต่างๆ
สนใจปรับปรุงด้าน R&D อย่างจริงจัง
โดยสามารถนำเงินค่าใช้จ่ายด้าน R&D ไปลดหย่อนภาษีได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย
รวมทั้งจัดตั้งโครงการกลุ่มผู้ประกอบการรุ่นใหม่ เพื่อ ช่วยเหลือด้าน R&D
แก่ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม
(SMEs) ที่ผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ แต่โครงการประเภทนี้ควรที่จะกระจายความช่วย
เหลือไปยังธุรกิจประเภทอื่นๆ ด้วย เพื่อวางรากฐานด้าน R&D ของกลุ่มผู้ประกอบการ
SMEs อย่างสม่ำ เสมอต่อไป 3.
ขยายวงการค้าเสรี การค้าขายสินค้าภายใต้ กรอบความร่วมมือการค้าเสรี น่าจะช่วยบรรเทาความ
ผันผวนทางการค้าอันเนื่องมาจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเคลื่อนไหวขึ้นๆ
ลงๆ
ได้ในระดับหนึ่ง ขณะนี้ ทางการไทยได้เจรจากับประเทศคู่ค้าสำคัญๆ เพื่อหาลู่ทางจัดตั้งเขตการค้าเสรีระหว่างกัน
อาทิ เขตการค้าเสรีไทย-จีน ความร่วมมือทางด้านการค้าเสรีไทย-ญี่ปุ่น
เขตการค้าเสรีไทย-อินเดีย เขตการค้าเสรีไทย-เกาหลีใต้ ความร่วมมือทางการเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดมากขึ้นระหว่างไทยกับออสเตรเลียและนิวซีแลนด์
เป็นต้น
ทางการไทยควรไตร่ตรองกรอบความร่วมมืออย่างรอบคอบ เพื่อ ให้เกิดผลประโยชน์ร่วมกันอย่างยุติธรรมและให้เป็น
รูปเป็นร่างโดยเร็วเพื่อคลี่คลายบรรยากาศการกีดกัน
ทางการค้าที่เริ่มปกคลุมเวทีการค้าโลกในระยะนี้ 4. เร่งรัดการค้าแบบหักบัญชี
กลยุทธ์การค้าแบบหักบัญชี (Account Trade) ระหว่างไทยกับประเทศคู่ค้าต่างๆ
เป็นมาตรการหนึ่งที่จะช่วยบรรเทา
ผลกระทบจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ตราต่างประเทศ เพราะระบบการค้าแบบหักบัญชีจะช่วยลดการพึ่งพาเงินตราสกุลหลักในการติดต่อค้า
ขายระหว่างกันลงอย่างมาก
เนื่องจากการค้าขายจะกระทำให้รูปเงินตราสกุลท้องถิ่นของแต่ละประเทศเป็นหลัก
และบันทึกบัญชีเอาไว้ก่อน จนกว่าจะถึงกำหนดเวลาชำระบัญชี
โดยจะจ่ายเป็นเงินตราต่างประเทศสกุลหลัก เฉพาะส่วนต่างระหว่างการส่งออกและการนำเข้าเท่านั้น
ทางการไทยควรเร่งดำเนินการระบบการค้าแบบหักบัญชีให้มีผลบังคับใช้โดยเร็ว
เพราะจวบจนถึงบัดนี้ระบบการค้าดังกล่าวยังไม่สามารถลงมือปฏิบัติได้จริงจัง
5. เจียระไนจุดแข็งท่องเที่ยวไทย ประเทศไทย มีความได้เปรียบด้านการท่องเที่ยวเป็นพื้นฐานสำคัญ
ทั้งในด้านสถานที่ท่องเที่ยวที่มีความงดงามตามธรรม ชาติ แหล่งโบราณสถานที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์
ความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง และความเป็นมิตร ของคนไทยทั่วไป
แต่ไทยควรวางจุดขายให้ชัดเจน มี แผนการตลาดแก่กลุ่มตลาดนักท่องเที่ยวให้เหมาะสม
และมีการประชาสัมพันธ์อย่างแพร่หลาย เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติให้เดินทางมาประเทศไทยมากขึ้น
อาทิ
ชูจุดขายพักผ่อนระยะยาว การเป็นเจ้าภาพจัดประชุม-สัมมนา-นิทรรศการระหว่างประเทศ
ที่เรียก กันย่อๆ ว่า MICE (Meeting Incentives, Cnven tions, Exhibitions)
เป็นต้น 6.
ส่งเสริมการลงทุนระยะยาว การแข่งขันในการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศของชาติต่างๆ
ใน เอเชียทวีความรุนแรงขึ้นทุกขณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่จีนเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก
(WTO) เรียบร้อยแล้ว ส่งผลให้เม็ดเงินลงทุนจากต่าง ชาติจำนวนมากหลั่งไหลเข้าสู่จีน
มาตรการที่คาดว่าจะช่วยบรรเทาผลกระทบด้านการลงทุนจากต่างชาติของไทย อาทิ
ส่งเสริม one-stop service
ให้แพร่ หลาย ขจัดปัญหาคอร์รัปชั่นอย่างเป็นรูปธรรม ปรับปรุงประสิทธิภาพแรงงานไทยให้สูงขึ้นเรื่อยๆ
เพื่อเสริมสร้างความได้เปรียบด้านฝีมือและความชำนาญ งานของคนงานไทย
ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่ง ที่ดึงดูดให้ต่างชาติเข้ามาจัดตั้งโรงงานในไทย
แม้ว่าค่าจ้างแรงงานไทยจะสูงเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน แต่สร้างความรู้สึกที่คุ้มค่า
และน่าเชื่อถือ เป็นต้น