เอ็ฟเฟ็คทีฟฯยอมถอย ลดกระแสต้านขายโรงไฟฟ้า รับ 5 ข้อเสนอของสหภาพแรงงานทีพีไอ
โดย ยินยอมให้สหภาพฯเข้ามีส่วนร่วมร่างสัญญาขายโรงไฟฟ้า ดังกล่าว
แต่ปฏิเสธข้อเรียกร้องในการเข้าร่วมลงนามในสัญญาซื้อ-ขายโรงไฟฟ้า "จาตุรนต์"
เสนอจัดตั้งคณะอนุกรรมการชุดใหม่ โดยมีตัวแทนสหภาพฯร่วมด้วย วานนี้ ( 9
ก.ค.)คณะทำงานพิจารณาแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัท อุตสาหกรรมปิโตรกัล ไทย จำกัด
(มหาชน) หรือ ทีพีไอ ที่จัดตั้งขึ้นจากความร่วมมือของ 5 ฝ่าย คือ กระทรวงยุติธรรม
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
กรมบังคับคดี สหภาพแรงงาน ทีพีไอ และบริษัท เอ็ฟเฟ็คทีฟ แพลนเนอร์ส ในฐานะผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการทีพีไอได้ประชุมนัดแรกร่วมกันเพื่อหาแนวทางแก้ไขตามคำเรียกร้องของสหภาพแรงงานทีพีไอ
โดยมีนาย จาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธาน นายจาตุรนต์
กล่าวภายหลังการประชุมว่า ในที่ประชุมได้ข้อตกลงร่วมกันใน 3 ประเด็นหลักดังนี้
ประเด็นแรก คือ
การยินยอมให้สหภาพ แรงงานทีพีไอเข้ามามีส่วนร่วมในการพิจารณาสัญญาการขายโรงไฟฟ้าให้กลุ่มบ้านปู
โดยจะ มีการแต่งตั้งตัวแทนของสหภาพแรงงานทีพีไอจำนวน 6 คน
เข้ามาร่วมเป็นคณะทำงาน ชุดที่มีนายสิปปนนท์ เกตุทัต ผู้จัดการใหญ่ทีพีไอเป็นประธาน
ประเด็นที่สอง คือ การจัดตั้งคณะอนุกรรม การอีก 1 ชุด เพื่อพิจารณารายละเอียด
และเงื่อนไขการขายโรงไฟฟ้า
โดยประกอบด้วย นักวิชาการ เอ็ฟเฟ็คทีฟ แพลนเนอร์ส สหภาพ แรงงานทีพีไอ และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
ซึ่งจะพิจารณาผลดี-ผลเสีย และผลที่ตามมาจากการขายโรงไฟฟ้าดังกล่าว ซึ่งคณะอนุกรรม
การชุดนี้จะทำงานภายใต้กรอบของกฎหมาย หากพบว่าไม่มีความเป็นธรรม ก็จะส่งเรื่องให้ศาลล้มละลายเป็นผู้พิจารณาแก้ไขดำเนินการต่อไป
ประเด็นที่สาม คือ
เสนอให้พนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการตรวจสอบผู้บริหารแผนฯว่าดำเนินการไปตามแผนฟื้นฟูกิจการ
และมีความเป็นธรรมหรือไม่ โดยได้มอบ
หมายให้สหภาพแรงงานทีพีไอไปรวบรวมประเด็นต่างๆที่จะให้เจ้าพนักงานพิทักษ์
ทรัพย์ตรวจสอบ เช่น ค่าบริหารแผนฟื้นฟูกิจการที่สูงเกินไป การดำเนินการไม่เป็นไป
ตามเป้าของแผนฟื้นฟูฯตลอดช่วง 2
ปีที่ผ่าน มา เป็นต้น หากพบว่าการดำเนินงานไม่เป็น ไปตามแผนฟื้นฟู ก็จะให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการส่งต่อให้กับศาลล้มละลายกลางเป็นผู้พิจารณาต่อไป
"หากการตรวจสอบของเจ้าพนักงานพิทักษ์ ทรัพย์ไม่มีความชำนาญในเรื่องใด
ก็ให้ไปขอความเห็นจากผู้ที่มีความรู้ เช่นสำนักงานตรวจสอบหรือก.ล.ต."
ส่วนประเด็นที่ยังไม่ได้ข้อสรุปร่วมกัน คือ
กรณีที่สหภาพแรงงานทีพีไอเรียกร้องที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในการลงนามในสัญญาซื้อขายโรงไฟฟ้าทีพีไอ
เนื่องจากข้อกำหนดของกฎ หมายระบุว่า ผู้ที่จะลงนามในสัญญาได้นั้นจะต้อง
เป็นบุคคลที่มีส่วนได้/เสีย และมีอำนาจลงนามแทนบริษัทฯ "คณะทำงานฯจะมอบหมายให้เลขาฯไป
จัดทำและยกร่างระเบียบการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการชุดใหม่ว่าจะมีองค์ประกอบ
อย่างไร
และอำนาจหน้าที่ครอบคลุมแค่ไหน เพื่อจะนำมาเสนอที่ประชุมฯพิจารณาใน การประชุมครั้งต่อไป
ซึ่งคาดว่าจะจัดขึ้นในอีก 2 สัปดาห์ข้างหน้า" นายเจษฎ์ เจษฎ์ปิยะวงศ์
ตัวแทนบริษัท เอ็ฟเฟ็คทีฟ
แพลนเนอร์ส กล่าวว่า ผู้บริหารของ เอ็ฟเฟ็คทีฟ แพลนเนอร์สได้ทำหนังสือถึงสหภาพ
แรงงานทีพีไอ ลงวันที่ 3 กรกฎาคมที่ผ่านมา โดยยอมรับข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงานฯเกือบทั้งหมด
ยกเว้นการเข้าไปมีส่วนร่วมในการ ลงนามสัญญาซื้อขายโรงไฟฟ้าทีพีไอ เนื่องจากติด
ข้อกำหนดของกฎหมาย บริษัทฯยอมให้สหภาพฯเข้าไปร่วมใน การร่างรายละเอียดสัญญาซื้อขายโรงไฟฟ้า
และ
เข้าร่วมในการลงนามสัญญาด้วย สำหรับข้อเรียกร้องที่เอ็ฟเฟ็คทีฟฯ ยินยอม
คือ อนุญาตให้สหภาพแต่งตั้งตัวแทนจำนวน 6 คน เป็นคณะทำงานพิจารณาการ ขายโรงไฟฟ้า
,
มีการชี้แจงผลกระทบจากการขายโรงไฟฟ้า, รับฟังความเห็นของสหภาพฯและพนักงานเกี่ยวกับการขายโรงไฟฟ้า
และจัดทำสัญญาซื้อขายโรงไฟฟ้าเป็นฉบับภาษา ไทย นายเจษฎ์ กล่าวต่อไปว่า
ผู้บริหารแผนฯจะไม่ยอมลงนามขายโรงไฟฟ้าเด็ดขาด หากพิจารณาพบว่าสัญญาไม่เป็นธรรมต่อทีพีไอ
หรือ มีความโต้แย้งจากสหภาพฯ เพื่อแสดงความจริงใจของผู้บริหารแผนฯ
การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการชุดใหม่นั้น ตนจะนำข้อเรียกร้องของสหภาพฯนำไปหารือกับผู้บริหารของเอ็ฟเฟ็คทีฟฯ
และคณะกรรม การเจ้าหนี้อีกครั้งหนึ่ง ก่อนที่จะให้คำตอบเป็นลายลักษณ์อักษร
ประชัย โต้อีพีแอลมั่วหนี้ 6 พันล. จากกรณีที่บริษัท เอ็ฟเฟ็คทีฟ แพลน-เนอร์ส
ในฐานะผู้บริหารแผนทีพีไอ จะทำการฟ้องนายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่
บริหารทีพีไอ
เพื่อเรียกชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน 3 ฉบับ รวมเงินต้นและดอกเบี้ยที่ระบุวงเงิน
6,388 ล้านบาทนั้น นายศิลปิน บูรณศิลปิน ฝ่ายประชาสัมพันธ์ บริษัท ทีพีไอโพลีน
จำกัด (มหาชน) กล่าวชี้แจงว่า
กรณีที่อีพีแอลออกมาให้ข่าวในลักษณะสร้างความเสียหายให้กับนายประชัยดังกล่าว
กล่าวได้ ว่าเป็นเรื่องไร้สาระ สำหรับข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ นายประชัย จะเป็นผู้ชี้แจงข้อเท็จจริงทั้งหมด
หลังจากที่เดินทางกลับจากต่างประเทศ "กรณีที่อีพีแอลออกมาเปิดประเด็นการฟ้องร้องนายประชัย
คิดว่าคงต้องการออกมาประโคมข่าว เพื่อดับกระแสข่าวการขายโรงไฟฟ้า ทีพีไอให้กับกลุ่มบ้านปู
ซึ่งในสัญญาซื้อขายโรงไฟฟ้าทีพีไอ มีเงื่อนงำที่น่าสงสัย จนทำให้สหภาพ แรงงานทีพีไอกับพนักงานออกมาประท้วงที่ปิดถนนที่หน้าโรงไฟฟ้าที่จังหวัดระยอง
และกลุ่มพนักงานทีพีไอกว่า 1,000 คน
ได้เดินทางมาประท้วงเรียกร้องความเป็นธรรมที่หน้าทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่
4 กรกฎาคม 2545 ที่ผ่านมา จนส่งผลให้รัฐบาลต้องลงมาดูปัญหากรณีดังกล่าวด้วยตนเอง
โดยกระทรวงยุติธรรมได้แต่งตั้งคณะทำงานชุดพิเศษขึ้นมาพิจารณาปัญหา ดังกล่าวโดยตรง
ซึ่งได้นัดประชุมนัดแรกในวันที่ 9 กรกฎาคม 2545 เวลา 15.00 ที่กระทรวงยุติธรรม"
นอกจากนี้
ผู้บริหารระดับสูงของบริษัท อีพีแอลหลายคนก็อยู่ระหว่างการดำเนินคดีหลายราย
โดยเฉพาะคดีที่สถานีตำรวจนครบาลทุ่งมหาเมฆ ได้ออกหมายจับที่ 104/2545 ในคดีอาญา
ตามที่กรมการจัดหางานกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ได้แจ้งความดำเนินคดีกับนายเอียน
ดักลาส เฟอร์เรียร์ ในข้อหาไม่ได้รับอนุญาตให้ทำงานในประเทศ ไทย
ซึ่งขณะนี้นายเอียนได้หลบหนีไปอยู่ต่างประเทศ ส่วนนายปีเตอร์ เจมส์ กอธทาร์ดก็ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจออกหมายจับที่
103/2545 เป็นคดีอาญาเช่นกัน
ในข้อหาเป็นคนต่างด้าวที่ทำงานอื่นใดนอกจากที่ระบุไว้ในใบอนุญาต ซึ่งบุคคลทั้งสองได้กระทำผิดตามพ.ร.บ.การทำงาน
ของคนต่างด้าว พ.ศ. 2521 ซึ่งเมื่อวันศุกร์ที่ 4 กรกฎาคม 2545 ที่ผ่านมา
นายปีเตอร์ได้ เดินทางไปมอบตัวกับเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ทุ่งมหา เมฆแล้ว "อีพีแอลเป็นบริษัทต่างด้าวมีสัญชาติออสเตรเลีย
แต่ไปจดทะเบียนอยู่ที่บริติช เวอร์จิน ไอร์แลนด์ ซึ่งเป็นเกาะสววรค์ของ นักฟอกเงิน
แต่ทำไมสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนหรือบีโอไอ จึงได้ออกใบอนุญาตส่งเสริมการลงทุนให้บริษัทอีพีแอล
และจริงๆ แล้ว อีพีแอลเป็นเพียงบริษัทนัก การบัญชีต่างด้าว มีทุนจดทะเบียนเพียง
1 ล้านบาท ไม่ใช่บริษัทอินเวสเมนท์ที่นำเงินมา ลงทุนในประเทศไทย ตรงกันข้ามตั้งแต่อีพีแอลเข้ามาบริหารแผนฟื้นฟูกิจการทีพีไอ
กลับขนเงินทีพีไอที่ระบุว่าเป็นค่าที่ปรึกษาแผนและค่า ใช้จ่ายอื่นๆ
กลับไปต่างประเทศแล้วกว่า 1,000 ล้านบาท"