|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
เปิดแผน e-Business กสท ปีนี้หวังรายได้ 100 ล้านบาท จากการให้บริการประมูลอิเล็กทรอนิกส์ พร้อมแผนให้บริการ CAT Pay Point ในเดือนพ.ย. ด้วยเทคโนโลยีซีดีเอ็มเอ 1 หมื่นจุด ให้บริการทั่วประเทศในการรับชำระค่าบริการออนไลน์ และใช้เป็นจุดรองรับ บริการ e-Goverment เพื่อเดินไปสู่เป้าหมายใหญ่การเป็น ICT Super HUB ในภูมิภาค
นายยอดชาย แก้วเพ็ญศรี ที่ปรึกษา บริษัท กสท โทรคมนาคมกล่าวถึงแผนธุรกิจด้าน e-Business ของกสทว่า ในเดือนพ.ย.ที่จะถึงนี้กสทจะเปิดให้บริการชำระเงินออนไลน์ผ่านโครงข่ายโทรศัพท์มือถือซีดีเอ็มเอ ในลักษณะการเป็น CAT Pay Point โดยวางเป้าหมายว่าจะติดตั้งอุปกรณ์ปลายทางที่สามารถอ่านข้อมูลบัตรสมาร์ทการ์ด บัตรแถบแม่เหล็ก การสแกนบาร์โค้ด รวมทั้งการแสดงตัวตนด้วยลายนิ้วมือ จำนวนประมาณ 1 หมื่นจุดทั่วประเทศ กระจายยังที่ทำการอบต.ที่มีอยู่ประมาณ 8 พันแห่ง ชุมชนขนาดใหญ่ๆ ตามอาคารสำนักงานต่างๆ
"จุดชำระเงินดังกล่าวจะรับชำระค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าบริการอื่นๆรวมทั้งเป็นจุดที่ตอบสนองบริการต่างๆ ตามนโยบาย e-Goverment ของรัฐบาล"
สำหรับอุปกรณ์ปลายทางจะเป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาร่วมกันระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีน ซึ่งปัจจุบันในจีนมีการใช้งานในลักษณะดังกล่าวอย่างแพร่หลาย
บริการ CAT Pay Point เป็น 1 ใน 5 บริการหลักด้าน e-Business ของกสท ที่คาดว่าในอนาคตจะทำรายได้ในระดับหลายพันล้านบาท ส่วนบริการด้านอื่น ประกอบด้วยบริการที่ 1.e-Procurement Solution ที่จะเปิดให้บริการประมูลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Auction) ภายในเดือนนี้ โดยเริ่มจากการประมูลภายในของกสทด้วยโครงการระบบบิลลิ่ง และ CRM มูลค่า 2,100 ล้านบาท ในวันที่ 20 มิ.ย. ที่จะถึงนี้ และโครงการเคเบิลใต้น้ำระบบ DWDM มูลค่า 1,500 ล้านบาท วันที่ 23 มิ.ย. ซึ่งกสทหวังใช้ทั้ง 2 โครงการแสดงให้เห็นศักยภาพของกสทในการให้บริการด้าน e-Auction กับหน่วยราชการ
เขากล่าวว่า กระทรวงพาณิชย์มีแผนที่จะใช้บริการ e-Auction ของกสทในการประมูลขายสินค้าเกษตรอาหารอย่างกุ้งกุลาดำแช่แข็ง เมล็ดข้าวโพด มัน ข้าวสารซึ่งอยู่ระหว่างการวางแผนรายละเอียดร่วมกันอยู่ โดยมีมูลค่าหลายหมื่นล้านบาท นอกจากนี้กระทรวงการคลังก็มีนโยบายว่าในการประมูลโครงการขนาดใหญ่มูลค่าหลายหมื่นล้านบาทที่มีการประมูลซับซ้อนในลักษณะ e-Tendering ก็จะให้หน่วยงานมาใช้บริการของกสท อย่างโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
กสทจะใช้สำนักงานสาขาที่มี 104 สาขาทั่วประเทศ ในการเป็นตัวแทนการตลาดหรือ Marketing Arm ในการเข้าไปให้ความรู้กับหน่วยราชการต่างๆ ในการประมูลอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นการสนับสนุนนโยบายของรัฐบาล เนื่องจากส่วนราชการในภูมิภาคยังขาดความรู้และความเข้าใจในการประมูลอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งผู้ให้บริการรายใหญ่ของเอกชนยังกระจุกตัวให้บริการเฉพาะในกรุงเทพฯ หรือจังหวัดใหญ่ๆ ไม่สามารถเข้าไปให้บริการอย่างทั่วถึง
"e-Auction ของกสท มีถึง 12 รูปแบบ สามารถเลือกผู้ชนะรายเดียวหรือมากกว่ารายเดียวก็ได้ และการที่เรามีสำนักสาขา 104 แห่งเท่ากับเราสามารถให้บริการได้ทั่วทุกแห่งของ พื้นที่ ซึ่งเอกชนไม่สามารถให้บริการได้ แต่ตลาด e-Auction ใหญ่มาก และเพียงพอสำหรับผู้ให้บริการทุกราย ต่างจาก 1-2 ปีที่ผ่านมา ที่แข่งกันดัมป์ราคาจนบางรายอยู่ไม่ได้"
นอกจากนี้ กสทจะให้บริการ e-Catalog RFP/RFQ ภายในเดือนต.ค.ที่จะถึงนี้ ส่วนบริการประเภทที่ 2 คือบริการด้าน Retail & Wholesale Online หรือบริการ อี-คอมเมิร์ซ ในลักษณะ B2C หรือธุรกิจกับผู้บริโภคที่จะเริ่มให้บริการในเดือนพ.ย.เพื่อรองรับ CAT Pay Point บริการที่ 3 คือ Multimedia Hub เพื่อเป็นศูนย์กลางให้บริการด้านมัลติมีเดียไม่ว่าจะเป็น e-Learning คอนเทนต์ด้านบันเทิงต่างๆ ผ่านโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วทั้งพื้นฐานและ ไร้สาย โดยที่กสทคาดว่าจะให้บริการในปี 2549
ซึ่งในขณะนี้อยู่ระหว่างทดลองนำร่องการส่งคอนเทนต์ด้าน e-Learning ไปยังจังหวัดในภาคเหนือ รวมทั้งส่งคอนเทนต์ด้านบันเทิงไปตามโรงแรมใหญ่ๆ ทั้งสารคดีและภาพยนตร์เพื่อทดสอบระบบของกสท ซึ่งต่อไปในอนาคตกสทจะเป็นศูนย์กลางหรือตลาดกลางคอนเทนต์ ที่จะรวบรวมคอนเทนต์ของบริษัทต่างๆ ทั้งเก็บเงินและฟรี เพื่อให้บริการผ่านเว็บท่าของกสท
บริการที่ 4 คือการเป็น Application service Provider หรือการให้บริการเช่าใช้ซอฟต์แวร์ ซึ่งอยู่ระหว่างการเลือกซอฟต์แวร์ที่จะให้บริการไม่ว่าจะเป็นด้าน CRM หรือ ERP รวมทั้งต้องคุยกับพาร์ตเนอร์ที่ร่วมลงทุนอย่างธนาคาร SME และบริษัท ดาต้าแมท ว่าจะเดินหน้าธุรกิจนี้อย่างไร
ส่วนเป้าหมายในอนาคตของ e-Business Unit นี้วางตัวเองเป็น ICT Super HUB ในระดับภูมิภาค ด้วยเป้าหมายให้บริการ e-Business ครบวงจร เป็นธุรกิจแสนล้านบาทบนโครงข่ายของกสท เนื่องจากกสทถือว่าเป็นองค์กรที่มีความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานสำหรับให้บริการด้านนี้ไม่ว่าจะเป็นโครงข่ายเคเบิลใยแก้ว ดาวเทียม อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง รวมทั้งการให้บริการบนเว็บเซอร์วิส โดยมี 2 บริการหลักที่จะทำให้เป็น ICT Super HUB
อย่างโครงสร้างการให้บริการบนเว็บเซอร์วิส และการให้บริการ Internet Data Center หรือ IDC ซึ่งจะเป็นศูนย์ข้อมูลที่ใหญ่มาก ที่หน่วยงานรัฐและเอกชนสามารถใช้เป็นที่เก็บข้อมูลหรือเป็นระบบสำรองได้ โดยที่ไม่ต้องลงทุนเองนอกจากนี้การให้บริการในลักษณะเว็บเซอร์วิส จะช่วยในการเชื่อมโยงฐานข้อมูลสำหรับการซื้อขายสินค้าต่างๆ ได้มาก
"รายได้ของกสท ในปีนี้จาก e-Auction กับ e-Catalog ประมาณ 100 ล้านบาทแล้ว ปลายปีนี้ภาพของกสทจะไม่ใช่แค่การให้บริการโทรศัพท์ต่างประเทศ แต่จะเห็นถึงการพัฒนาธุรกิจเกี่ยวกับ ICT ซึ่งเป็นภาพที่เปลี่ยนไปของกสท"
|
|
 |
|
|