Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน9 กรกฎาคม 2545
พบบ.อเมริกันแต่งบัญชีอีก ดอลลาร์-หุ้นตก             
 


   
www resources

Merck Homepage

   
search resources

Merck & Co
รีไล แอนต์ รีซอร์เซส




กรณีบริษัทใหญ่อเมริกันใช้ลูกเล่นแต่งบัญชีโผล่ขึ้นมาอีก 2 ราย ได้แก่ ยักษ์ใหญ่ผู้ผลิตยา เมอร์ค แอนด์ โค กับบริษัทซื้อขายพลังงาน รีไล แอนต์ รีซอร์เซส

กลายเป็นแรงเหวี่ยงทำให้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนยวบเมื่อวานนี้ (8) และดึงเอาหุ้นเอเชียกับหุ้นยุโรปดำดิ่งตาม ขณะ ที่ประธานธนาคารเพื่อการชำระบัญชีระหว่างประเทศ (บีไอเอส)

ออกมาเตือนว่าการที่บริษัทต่างๆ ให้ข้อมูลทางการเงินซึ่งมีคุณภาพต่ำเป็นหนึ่งในบรรดาปัจจัยเสี่ยงใหญ่ๆ ที่อาจบ่อนทำลายการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก

เมอร์คกลายเป็นบริษัทอเมริกันชั้นนำรายล่าสุดถัดจากเอนรอน , เวิลด์คอม , และซีร็อกซ์ ซึ่งต้องออกมายอมรับว่างบดุลบัญชีของตัวเองมีความผิดพลาด บริษัทยายักษ์ใหญ่แห่งนี้ แถลงยอมรับข่าว

ของหนังสือพิมพ์วอลล์สตรีทเจอร์นัลฉบับวันจันทร์ (8) ที่ว่าตนได้ยื่นหนังสือแจ้งคณะกรรม การกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ (เอสอีซี) ว่าได้บันทึกว่ามีรายได้ 12,560 ล้านดอล

ลาร์จากกิจการด้านผลประโยชน์ทางเวชภัณฑ์ของ ตนในระหว่างช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ทั้งที่ข้อเท็จจริงแล้วกิจการในเครือแห่งนั้นไม่เคยเก็บเงินอะไรได้เลย ข่าวนี้เมื่อผสมโรงเข้ากับอีกข่าวหนึ่งซึ่งแพร่

ออกมาในคืนวันศุกร์(5) ที่ว่า รีไลแอนต์ รีซอร์เซส บริษัทใหญ่ด้านซื้อขายพลังงานและผลิตไฟฟ้า กำลังปรับตัวเลขงบดุลบัญชีในรอบระยะ 3 ปีของ ตนใหม่ ซึ่งจะตัดลดรายได้ของบริษัทลงมา 7,900

ล้านดอลลาร์ ก็ทำให้ตลาดการเงินโลกช็อกกันทั่วถ้วนอีกรอบหนึ่ง และยิ่งเพิ่มความหวาดผวา เกี่ยวกับฐานะทางการเงินอันแท้จริงของพวกบริษัทในอเมริกา ดอลลาร์อ่อนยวบ เงินดอลลาร์นั้น

ได้ดีดตัวกระเตื้องขึ้นในสัปดาห์ที่แล้ว ภายหลังตกลงมาแรงๆ จนแทบจะเหลือมูลค่าเท่ากับ 1 ดอลลาร์แลกได้เพียง 1 ยูโร แต่เมื่อเจอกับข่าวบริษัทใหญ่อเมริกันแต่งบัญชีทับทวีเข้ามาอีก

เงินตราสหรัฐฯก็ยุบตัว ในช่วงเที่ยงที่ตลาดลอนดอนเมื่อเทียบกับ เงินยูโร ดอลลาร์อยู่แถวๆ 1 ยูโรแลกได้ 0.9835 ดอลลาร์ลดค่าลงมาราว 1% จากในวันศุกร์ และ

ทำท่าหวนกลับไปสู่ระดับอ่อนสุดในรอบสองปีที่ 0.9990 ดอลลาร์ ซึ่งทำไว้เมื่อเดือนที่ผ่านมา ส่วนเมื่อเทียบกับเงินเยนตอนเที่ยงในลอน ดอน 1 ดอลลาร์แลกได้ 118.80 เยน

เหลืออีกไม่ถึงครึ่งเยนก็จะถึงระดับต่ำสุดในรอบ 9 เดือน บรรดาดีลเลอร์บอกว่า ความเคลื่อนไหวใน ตลาดเงินตราเช่นนี้ เป็นผลเนื่องมาจากความอ่อน แอของดอลลาร์

มากกว่าเป็นเพราะตลาดเห็นว่าเงินตราสกุลอื่นๆ แข็งค่าขึ้น "ภาวะตลาดหมีของเงินดอลลาร์ กำลังเป็น ตัวซัปพอร์ตเงินตราสกุลสำคัญๆ อื่นๆ ทุกสกุล

จุดที่ให้ความสนใจกันมากที่สุดคือเรื่องที่มีการปรับแก้รายงานผลกำไรของบริษัทสหรัฐฯกันใหม่" มอนิกา แฟน นักยุทธศาสตร์อาวุโสแห่งค่ายแบงก์ อเมริกาให้ความเห็น

เงินดอลลาร์ยังอ่อนยวบเนื่องจากคำพูดของ รัฐมนตรีคลังญี่ปุ่น มาซาจูโร ชิโอกาวะ ซึ่งพูดใน ช่วงที่เขาไปประชุมกลุ่มความร่วมมือเอเชีย-ยุโรป (อาเซม) เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า

บรรดาผู้รับผิดชอบทางการเงินของโลกเชื่อว่า เงินดอลลาร์สามารถหล่นลงมาจนอยู่ราว 115 เยน อันเป็นระดับที่เกิดขึ้นภายหลังเหตุการณ์วินาศกรรมสหรัฐฯ 11 กันยายน

พวกดีลเลอร์ต่างงงงวยกันมากต่อคำพูดของขุนคลังซามูไร เพราะดูจะกลับตาลปัตรกับการที่ญี่ปุ่นได้ใช้ความพยายามในช่วงเร็วๆ นี้ เพื่อ ดึงรั้งไม่ให้เงินเยนมีค่าแข็งขึ้น

เนื่องจากจะไปกระทบกระเทือนภาคส่งออกของประเทศ เวลาต่อมา ชิโอกาวะได้ออกมาพูดอธิบายว่า "ผมขอยืนยันว่า ถึงแม้ (เงินดอลลาร์) กำลังเดิน ไปสู่ทิศทางดังกล่าว

แตก็จำเป็นจะต้องใช้เวลาอีกจำนวนหนึ่งทีเดียว และไม่ควรที่เงินดอลลาร์จะไปถึงระดับนั้นอย่างฉุกระหุก" หุ้นร่วงกราว การที่เงินดอลลาร์อ่อนตัวลงมา บวกกับข่าว บริษัทเมอร์คกับบริษัทรีไลแอนต์

รีซอร์เซส ยังส่ง ผลกระทบถึงตลาดหุ้น โดยในแถบเอเชียนั้น ตลาดใหญ่ๆ เปิดวานนี้ยังอยู่ในแดนบวก เนื่อง จากในวันศุกร์ (5) วอลล์สตรีทสามารถทะยานพุ่งลิ่ว ดัชนีหุ้นอุตสาหกรรมดาวโจนส์บวกถึง

3.58% หรือ 324.53 จุด ทว่าเมื่อเห็นภาวะปั่นป่วนของอัตราแลกเปลี่ยน ราคาหุ้นโดยเฉพาะของพวกบริษัทส่งออกก็ไหลรูดลงมา ดัชนีหุ้นนิกเกอิของตลาดโตเกียวปิดต่ำลง 56.89 จุด หรือ 0.5% อยู่ที่

10,769.20 หลังจากที่ช่วงเช้าไต่ขึ้นไปอยู่เหนือระดับ 11,000 สำหรับ ดัชนีฮั่งเส็งของฮ่องกงติดลบเล็กน้อย 2.71 จุด หรือ 0.03% ส่วนดัชนีหุ้นสเตรทส์ไทมส์ของสิงคโปร์ หล่น 1.2% หรือ 20.25 จุด

ครั้นเมื่อตลาดยุโรปเปิดทำการ ราคาหุ้นก็หล่นวูบทันที ตอนเที่ยงที่ลอนดอน ดัชนีฟุตซี่ ยูโร ท็อป 300 อันเป็นดัชนีของบริษัทใหญ่ๆ ทั่วยุโรป ถลาลงมากว่า 1% จากที่ไต่ขึ้นไปได้เกือบ 4% ใน วันศุกร์

บีไอเอสเตือน ภาวะวุ่นๆ ของตลาดการเงินสืบเนื่องจากความไม่โปร่งใสของภาคบริษัทอเมริกันระลอกล่า สุด มีขึ้นในจังหวะที่บีไอเอส ซึ่งเป็นเสมือนกับธนาคารกลางของบรรดาธนาคารกลางทั่วโลก

จัดการประชุมประจำปีขึ้น และนูต เวลลิงก์ ประธานบีไอเอสตลอดจนเป็นประธานคณะกรรม การอำนวยการบีไอเอส ก็ได้เสนอกล่าวเตือนถึงอันตรายจากเรื่องนี้ ในคำปราศรัยต่อที่ประชุมประจำปีบีไอเอส

เวลลิงก์ได้วิพากษ์ "ความเสี่ยงพิเศษ" อันเกิดขึ้น จากการประดิษฐ์คิดสร้างสิ่งใหม่ๆ ในอุตสาห-กรรมการเงิน เขายังเสนอว่าอาจจำเป็นต้องมี "การกระทำอย่างแข็งขัน"

เพื่อแก้ไขปัญหาธรรมาภิบาลในภาคบรรษัท แต่เขาก็มิได้ให้ รายละเอียดเจาะจงว่าการกระทำดังกล่าวคืออะไรบ้าง เวลลิงก์ซึ่งเป็นผู้ว่าการธนาคารกลางเน-

เธอร์แลนด์ด้วยกล่าวว่าความเสี่ยงพิเศษเช่นนี้ "อาจส่งผลทำให้ผลประกอบการทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับน่าพึงพอใจน้อยลงกว่าที่ดูจะปรากฏอยู่ในปัจจุบัน" เขาบอกว่า คุณภาพของข้อมูลข่าวสารที่

จะเป็นตัวชี้นำตลาดทุนนั้น บ่อยครั้งทีเดียวที่ถูกปล่อยทิ้งเอาไว้ให้ทำอะไรกันตามใจ ขณะที่การล้มละลายของเอนรอน และความหายนะของ เวิลด์คอม

สาธิตให้เห็นว่าข้อมูลข่าวสารที่ไม่สมบูรณ์และทำให้เข้าใจผิด สามารถทำลายธรรมาภิบาลภาคบริษัทได้ขนาดไหน เวลลิงก์เรียกร้องให้ที่ประชุมเน้นความสนใจไปที่เรื่องความเสี่ยงซึ่งเพิ่มมากขึ้น สืบเนื่อง

จากแนวโน้มการประดิษฐ์คิดสร้างสิ่งใหม่ๆ ในอุตสาหกรรมการเงินในช่วงหลังๆ มานี้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us