|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
ธปท.คาดประกาศใช้มาตรการคุมเข้มการปล่อยสินเชื่อส่วนบุคคลของนอนแบงก์ภายใน 2- 3 วันนี้ หลังประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา ด้านรองผู้ว่าฯ แบงก์ชาติ "ธาริษา วัฒนเกส" เผยเตรียมเรียกผู้บริหารธนาคารพาณิชย์ และผู้ประกอบการนอนแบงก์หารือ และทำความเข้าใจให้นอนแบงก์ต้องส่งข้อมูลให้ ธปท. ตามกำหนดของแบงก์ชาติ ส่วนกรณีที่แบงก์พาณิชย์ถือหุ้นบริษัทในเครือลงเกิน 10% ธปท.ผ่อนปรนให้ถือเกินได้ เหตุเป็นธุรกิจที่สนับสนุนด้านการเงินของแบงก์เอง
นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการสายเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศ ไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการประกาศใช้มาตรการเพื่อควบคุมการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ (นอนแบงก์) ว่า ขณะนี้หลักเกณฑ์ดังกล่าวกำลังอยู่ระหว่างรอลงประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา และคาดว่าธปท.จะสามารถออกประกาศรายละเอียดให้สถาบันการเงินรับทราบได้ภายใน 2-3 วันนี้
หลังจากที่ออกประกาศแล้ว ธปท.จะเรียกผู้ประกอบการที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับสินเชื่อส่วนบุคคลทั้งธนาคารพาณิชย์ และนอนแบงก์มาหารือ เพื่อชี้แจงในรายละเอียดเกี่ยวกับรูปแบบในการดำเนินธุรกิจตามกฎเกณฑ์ควบคุมสินเชื่อส่วนบุคคลที่นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ลงนามอนุมัติเรียบร้อยแล้ว
กระทรวงการคลังได้ส่งเรื่องไปแล้ว ซึ่งธปท.ต้องรอก่อน อีกไม่กี่วันก็คงบังคับใช้ได้ หลังจากออกประกาศแล้วก็ต้องเชิญแบงก์พาณิชย์ และนอนแบงก์มาฟังรายละเอียดให้เข้าใจ ซึ่งนอนแบงก์จะต้องส่งรายงานผลการดำเนินงานมายัง ธปท.เป็นข้อมูลเริ่มต้น และต่อไปจะต้องส่งรายงานเป็นประจำตามระยะเวลาที่ ธปท.กำหนด ตอนนี้สถาบันการเงินคงอึดอัดว่าเกณฑ์จะออกมาเป็นอย่างไร รออีกไม่นานก็จะเห็น" นางธาริษากล่าว
สำหรับสาระสำคัญในร่างที่ ธปท.ส่งไปยังกระทรวงการคลังและได้รับการอนุมัติแล้ว และเป็นไปตามแนวทางที่ธปท.ส่งไป ซึ่งก่อนหน้านี้กระทรวงการคลังได้ระบุว่า ผู้ประกอบการสามารถเรียกเก็บอัตราดอกเบี้ยกับลูกค้าได้ไม่เกิน 28% ต่อปี และวงเงินที่ให้กู้ต้องไม่เกิน 5 เท่าของรายได้ในแต่ละเดือน ซึ่งผู้ประกอบที่เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด จะต้องมีทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วไม่ต่ำกว่า 50 ล้าน บาท
นางธาริษากล่าวต่อถึงการที่กระทรวงการคลังมีแนวทางจะให้ธนาคารพาณิชย์ลดสัดส่วนการถือหุ้นบริษัทในเครือลงไม่เกิน 10% โดยจะแก้ไขในร่าง พ.ร.บ.ธุรกิจสถาบันการเงินที่กำลังจะร่างขึ้นมาใหม่ว่า ธนาคารพาณิชย์ถือหุ้นเกิน 10% ได้ เนื่องจากได้มาขออนุญาตจาก ธปท.ซึ่งพิจารณาแล้วเห็นว่าเหมาะสม เพราะเป็นธุรกิจที่สนับสนุนด้านการเงิน
"พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ มาตรา 10 กำหนดเกณฑ์ว่าต้องถือไม่เกิน 10% อยู่แล้วก็จริง แต่ตอนนี้ธนาคารส่วนใหญ่ต่างถือหุ้นบริษัทในเครือ เกิน 10% ซึ่งถ้าเป็นธุรกิจด้านการเงินที่สนับสนุนธุรกิจของแบงก์ เช่น ธุรกิจคอมพิวเตอร์, บริษัทหลักทรัพย์, แฟกเตอริ่ง ลีสซิ่ง ธปท.ก็ผ่อนผันให้ได้ เพราะเขาต้องให้บริการลูกค้าที่หลากหลาย ซึ่ง ธปท. ก็เข้าใจ แต่ต้องแยกออกจากตัวแบงก์ให้ชัด" นางธาริษา กล่าว
อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าการที่กระทรวงการคลังต้องการจำกัดการถือหุ้นไม่ให้เกิด 10% นั้น คงมีสาเหตุมาจากต้องการจำกัดหุ้นของบริษัทที่ไม่ใช่ธุรกิจหลักของสถาบันการเงิน ทั้งนี้ในช่วงที่ผ่านมา สถาบันการเงินก็ได้ทยอยขายหุ้นในบริษัทเหล่านี้ออกมาบ้างแล้ว
|
|
 |
|
|