Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน14 มิถุนายน 2548
ทักษิณอุ้มซีพีไม่ทำเสียประกันไร้ทุจริตกล้ายาง             
 


   
www resources

โฮมเพจ เครือเจริญโภคภัณฑ์
โฮมเพจ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

   
search resources

เครือเจริญโภคภัณฑ์
เจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์
กรมวิชาการเกษตร
Agriculture
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์




"ทักษิณ" ยืนยันไร้ทุจริตกล้ายาง โดดอุ้ม "ซีพี" ไม่เกี่ยวกล้ายางด้อยคุณภาพ โยน ส.ส.ไม่ฟัง ก.เกษตรฯ เร่งแจกก่อน เลือกตั้งเป็นเหตุให้กล้ายางตาย ส่วนคณะ กก.สอบข้อเท็จจริงทุจริตกล้ายางไร้เงาคนนอก "เนวิน" เซ็นคำสั่งมุ่งปมยางเฉาเรื่องเดียว เมินประเด็นคุณภาพกล้า-ส่งมอบล่าช้า ประธานสอบข้อเท็จจริงฯ ครวญยางเฉาตายแล้วหาหลักฐานยาก ด้านการส่งมอบปี 48 สะดุด ซีพีระบุเกษตรกรขุดหลุมไม่ทัน แต่มั่นใจส่งเกินสัญญา เผยเกษตรกรแบกรับค่าลงทุนสูญเปล่านับร้อยล้าน

วานนี้ (13 มิ.ย.) ที่โรงแรมเกทเวย์ จ.พะเยา พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ให้สัมภาษณ์ถึงโครงการนำร่องปลูกยางล้านไร่ใน จ.พะเยา ว่า ไม่มีปัญหาอะไร เพราะตนได้บอกกับทางซีพีซึ่งเป็นผู้รับเหมาและเขายืนยันว่าจะดูแลไม่ยอมให้เสียชื่อ ขาดทุนไม่เป็นไร ไม่ต้องห่วงเขาจะดูแลอย่างดี และตรงไหนที่มันเสียหายหรือตายก็จะเปลี่ยนหมด ฉะนั้นไม่ต้องห่วงว่าเกษตรกรจะเดือดร้อนเพราะเขายืนยันว่าไม่ยอมเสียชื่อแน่นอนขาดทุนเขาก็ไม่ว่า

"บังเอิญมันเกิดในช่วงหนึ่งที่ใกล้เลือกตั้ง ซึ่งผู้แทนฯ เร่งเอาไปแจกชาวบ้านโดยที่ช่วงนั้นเขาไม่แนะนำให้นำไปปลูกเพราะฝนมันไม่มีแต่ก็ยังรีบไปแจก พอแจกไปก็ตาย พอมันตายชาวบ้านก็เลยเดือดร้อน เพราะไปปลูกแล้วตาย อันนี้ทางกระทรวงเกษตรฯ กับทางซีพีจะประสานกันไปแก้ไข" พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าว

เมื่อถามว่าแสดงว่าความผิดอยู่ที่ผู้แทนฯ เร่งไปแจก พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวว่า คนมันรีบเอาไปแจกกันพอดีช่วงนั้นก่อนเลือกตั้งนิดหน่อยคล้ายๆ กับคงบอกว่าประชาชนทวงแล้วถึงเวลาแล้วต้องเอาไปให้ขณะที่ทางกระทรวงเกษตรฯ ก็ไปเบรกว่าฝนมันไม่มีเดี๋ยวไปปลูกแล้วตาย และมันก็ตายจริงๆ แต่ทั้งหมดก็มีไม่มาก

เมื่อถามว่าเกี่ยวกับการทุจริตหรือไม่ พ.ต.ท.ทักษิณกล่าวว่าไม่เกี่ยว ถ้าเป็นเรื่องทุจริต ทางซีพีก็ไม่ต้องมารับผิดชอบหรอก ซีพีเขายืนยันเลยว่าพร้อมที่จะมาทดแทนให้โดยที่ขาดทุนเขาก็ยอม เพราะเขาไม่ยอมให้เสียชื่อ ถ้าเป็นการทุจริตเรื่องอะไรซีพีเขาจะมารับผิดชอบ

เมื่อถามว่าที่บอกว่านำไปแจกก่อนเลือกตั้งเป็นช่วงเดือนไหน พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวว่า แถวๆ เดือนกันยายนหรืออะไรจำไม่ได้แล้ว มันเป็นช่วงนั้นช่วงก่อนเลือกตั้งที่ไม่ผิดกฎหมายเลือกตั้งก่อนหน้าโน้นแล้ว โครงการกล้าพันธุ์ยาง 90 ล้านต้น มูลค่า 1,400 ล้านบาท ทำการประมูลในสมัยที่นายเนวิน ชิดชอบ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับผิดชอบกรมวิชาการเกษตรโดยกล้าพันธุ์ยางนำมาแจกในสมัยที่นายสมศักดิ์ เทพสุทิน เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ และมีการทุจริตสวมสิทธิ์เกษตรกร

ตั้งคณะ กก.สอบฯ ไร้เงาคนนอก

นายศุภชัย บานทับทอง ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานสอบข้อเท็จจริงการทุจริตโครงการขยายพื้นที่ปลูกยางพารา 1 ล้านไร่ กล่าวว่า ได้รับคำสั่งกรอบการตรวจสอบประเด็นทุจริตในโครงการดังกล่าว ซึ่งลงนามโดย นายเนวิน ชิดชอบ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อวานนี้ (13 มิ.ย.) โดยคำสั่งดังกล่าวลงนามเมื่อวันที่ 9 มิ.ย. ที่ผ่านมา

ทั้งนี้คำสั่งดังกล่าวได้ตีกรอบการสอบสวนกรณีปัญหายางพาราในปี 2547 กรณีที่เกษตรกรระบุว่ายางที่ได้รับมอบเป็นยางเฉาประเด็นเดียว ซึ่งก็ต้องไปพิสูจน์ว่าที่เกษตรกรระบุว่ายางในโครงการตายเพราะเฉานั้น เฉาก่อนส่งมอบหรือหลังส่งมอบ ส่วนสาเหตุเกี่ยวกับคุณภาพของกล้ายาง หรือการส่งมอบล่าช้า ไม่อยู่ในกรอบของการสอบสวนดังกล่าว

สำหรับแนวทางการสอบสวนก็ต้องดูว่ามีการพาดพิงไปถึงบุคคลใดบ้าง แต่ไม่อยากให้ไปกำหนดว่าจะต้องเป็นคณะกรรมการในการส่งมอบเท่านั้น แต่จะต้องดูว่าคณะกรรมการพาดพิงไปถึงบุคคลใด อย่างไร แต่ปัญหาในการตรวจสอบเรื่องดังกล่าวคือ ต้นยางตายไปแล้ว จึงไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าก่อนการส่งมอบเฉาจริงหรือไม่ หาหลักฐานยาก อย่างไรก็ตาม ก็ต้องพึ่งนักวิชาการด้านยางพาราจากกรมวิชาการเกษตรร่วมตรวจสอบเรื่องดังกล่าว

อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 2 มิ.ย. นายเนวิน ชิดชอบ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แถลงข่าวความเสียหายของกล้ายาง จากการให้เจ้าหน้าที่กรมวิชาการเกษตรและเจ้าหน้าที่สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ออกแบบสอบถามเพื่อให้เกษตรกรระบุปัญหากล้ายางตาย โดยเกษตรกรระบุว่าได้รับต้นยางที่มีความสมบูรณ์ดี 10,973 ราย ในจำนวนนี้ระบุว่าต้นยางตาย 25.72% และเกษตรกรได้รับต้นยางที่มีสภาพเหี่ยวเฉา 1,201 ราย ในจำนวนนี้ต้นยางตาย 33.34% เช่นกัน

ในการแถลงข่าว นายเนวินระบุว่า ต้นยางที่ตายจากการรับมอบต้นยางที่อยู่ในสภาพเหี่ยว เฉาประมาณ 4 แสนต้น จากจำนวนยางที่ส่งมอบในปี 2547 ทั้งหมดจำนวน 16 ล้านต้น ตามสัญญา ทั้งสิ้น 18 ล้านต้น ให้ทางกรมวิชาการเกษตรเจรจากับทางบริษัทเจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ เพื่อทำการชดใช้ความเสียหาย และตั้งกรรมการสอบเจ้าหน้าที่ในขั้นตอนการส่งมอบดังกล่าว

ส่งมอบงวดใหม่สะดุด

นายขุนศรี ทองย้อย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ กลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร เครือเจริญโภคภัณฑ์ เปิดเผยว่า จากการประชุมร่วมกับ กรมวิชาการเกษตร สำนักงานสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) ที่ประชุมเห็นชอบให้ปรับแผน การส่งมอบกล้ายางของงวดปี 2548 ใหม่ เนื่องจากช่วงเดือน เม.ย.-พ.ค. ฝนตกน้อย ทำให้เกษตรกรขุดหลุมไม่ทัน จึงไม่ยอมมารับกล้ายาง

ทั้งนี้ ตามสัญญาในปี 2548 ทางบริษัทจะต้องส่งมอบกล้ายางทั้งสิ้น 27 ล้านต้น นอกจากนี้ ยังต้องส่งมอบของเดิมที่ค้างส่งมอบจากเมื่อปีที่ผ่านมาอีก 2.6 ล้านต้น ชดใช้กรณีที่ตายจากภัยแล้งอีก 8 แสนต้น ตามกำหนดการเดิมจะต้องส่งมอบในช่วงเดือน มิ.ย. 50% และเดือน ก.ค. 50% แต่เมื่อเกิดปัญหาดังกล่าวจึงต้องปรับแผนการส่งมอบใหม่

นายขุนศรีกล่าวต่อว่า ถึงแม้จะมีปัญหาดังกล่าวทางบริษัทก็จะส่งมอบได้ครบกำหนดสัญญาแน่นอน โดยจนถึงขณะนี้บริษัทได้ส่งมอบ ยางในปีนี้ไปแล้วทั้งสิ้น 8.9 ล้านต้น นอกจากนี้บริษัทยังเตรียมแผนการส่งมอบนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในสัญญาด้วย โดยคาดว่าจะสามารถส่งมอบในปีนี้ได้ทั้งสิ้น 37 ล้านต้น

สำหรับแนวทางในการแก้ปัญหาทางบริษัท จะแจ้งกำหนดวันให้เกษตรกรมารับกล้ายางก่อนกำหนด โดยให้ทาง สกย. จัดเกษตรกรมารับตามจุดที่กำหนดไว้ เพื่อไม่ให้การรับมอบต้องล่าช้าออกไปจนเลยฤดูฝน ขณะเดียวกันทาง สกย. จะต้องเตรียมให้เกษตรกรขุดหลุมยางเตรียมเอาไว้เพื่อไม่ให้เสียเวลา รวมทั้งจะต้องเตรียมการอบรมเกษตรกรเกี่ยวกับวิธีการคัดเลือกต้นกล้าที่สมบูรณ์

แหล่งข่าว สกย. จังหวัดในภาคเหนือและอีสานกล่าวว่า ยังมีพื้นที่หลายจังหวัดที่ยังไม่ได้รับกล้ายางในปีนี้ เช่น น่าน ลำพูน กำแพงเพชร และบางพื้นที่ส่งมอบไม่ครบตามงวดสัญญาเดือน พ.ค. เช่น ศรีสะเกษ อุบลราชธานี เป็นต้น

เกษตรกรแบกค่าเสียหายนับร้อยล้าน

รายงานการตรวจสอบต้นยางตายและผลดำเนินงานโครงการปลูกยางล้านไร่ เมื่อปี 2547 จาก สกย. ระบุว่า ต้นยางที่ปลูกในปี 47 จำนวน 13.4 ล้านต้น ตายเพราะกระทบแล้งกว่า 20% หรือ 2.62 ล้านต้น (90 ต้น/ไร่ รวม 29,124 ไร่) ส่วนเกษตรกรซึ่งเตรียมพื้นที่พร้อมปลูกยางแต่ไม่ได้รับยางชำถุงเมื่อปีที่แล้ว รวม 3.45 ล้านต้น (38,385 ไร่)

จากตัวเลขดังกล่าวเมื่อประมาณการค่าลงทุน เตรียมพื้นที่ปลูกและค่าต้นยางชำถุงประมาณ 1,500 บาท/ไร่ คิดเป็นมูลค่าความเสียหายร่วม 100 ล้านบาท ซึ่งค่าลงทุนเตรียมพื้นที่และค่าเสียโอกาสของเกษตรกรทางกระทรวงเกษตรฯ และบริษัทซีพีไม่รับผิดชอบแต่อย่างใด   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us