บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้ออกบทวิจัยเรื่อง การออกพันธบัตรเพื่อชดเชยความ
เสียหายกองทุนฟื้นฟูฯที่ได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี โดยมีข้อที่น่าสังเกตเกี่ยวกับการออกพันธบัตรดังนี้
หลังจากการประชุมคณะรัฐมนตรีวาระพิเศษช่วงที่ผ่านมา ออกพระราชกำหนด (พ.ร.ก.)
3 ฉบับ เพื่อแก้ไขภาระหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
บริษัท
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเห็นว่าเป็นทาง ออกที่เกิดความชัดเจนแก้ไขปัญหากองทุนฟื้นฟูฯ
รวมถึงได้ข้อสรุปชดเชยภาระความสูญ เสียกองทุนฟื้นฟูฯ ทั้งสิ้น 1.4 ล้านล้านบาท
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
จะมีส่วนร่วมชดเชยความเสียหายดังกล่าว จะทำ ให้ปริมาณหนี้สาธารณะอยู่ในระดับที่รัฐบาลบริหารได้
ยังต่ำกว่าเพดานขั้นสูง 65% ตามที่รัฐบาลกำหนด แนวทางแก้ไขภาระหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ
ดังกล่าว
สำคัญอย่างยิ่งต่อการเงิน และการคลังประเทศ ข้อสรุปชดเชยความเสียหายกองทุนฟื้นฟูฯ
เบื้องต้น ภาระเงินต้นและดอกเบี้ยทั้งหมด วางแนวทางรองรับ ดังนี้:
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมีข้อสังเกตบางประการการออกพันธบัตรดังกล่าว ดังนี้:
1. ผลกระทบธนาคารพาณิชย์ และทิศ ทางดอกเบี้ยเงินฝาก-กู้ การออกพันธบัตรรัฐบาล
3.05 แสนล้านบาทปีนี้ ที่ทางการเลือก
จะกระจายพันธบัตรให้ประชาชน มูลนิธิ และ สหกรณ์ เต็มจำนวน รวมถึงการที่กองทุนฟื้นฟูฯจะนำเงินที่ได้รับจากการกระจายพันธ
บัตรชำระหนี้ 1)
ส่วนบัตรเงินฝากตามโครงการแลกเปลี่ยนตั๋วธนาคารกรุงไทยและไทยธนาคาร (NCD)
ที่จะทยอยครบกำหนดช่วงครึ่งหลังปีนี้ประมาณ 1.15 แสนล้านบาท และ 2)
ส่วนกู้ยืมเงินระยะสั้นตลาดซื้อคืนพันธบัตรส่วนที่เหลือจากชำระตั๋ว NCD
ประมาณ 1.85 แสนล้านบาท สิ้นไตรมาสแรก ปี 2545 กองทุนฟื้นฟูฯ กู้สุทธิประมาณ
3 แสน ล้านบาท
จากยอดคงค้างธุรกรรมทั้งหมดประมาณ 3.24 แสนล้านบาท ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า
การออก พันธบัตรออมทรัพย์ดังกล่าวจะกระทบธนาคารพาณิชย์ด้านต่างๆ รวมถึงทิศทางดอก
เบี้ยเงินฝาก-กู้
ดังนี้: งบดุลระบบธนาคารพาณิชย์ : ด้านหนี้สิน ธนาคารพาณิชย์จะมีหนี้สินสุทธิลดประมาณ
1.85 แสนล้านบาท จากยอดเงินฝาก ลดลง 3.05 แสนล้านบาทขาแรก หลังประชาชนถอนเงินซื้อพันธบัตร
หักการไถ่ถอน บัตรเงินฝาก 56 บริษัทเงินทุนที่ถูกปิดกิจการ ระหว่างช่วงวิกฤตการณ์การเงินปี
2540 (NCD) ที่จะทยอยครบกำหนดสิงหาคมถึงธันวาคม อาจทำให้ธนาคารพาณิชย์เงินฝากเพิ่มประมาณ
1.15 แสนล้านบาท กรณีผู้ถือบัตรเงินฝาก นำเงินที่ได้รับกลับมาฝากที่ธนา-คารพาณิชย์ทั้งจำนวน
ด้านสินทรัพย์ ธนาคารพาณิชย์จะมียอด คงค้างสินทรัพย์ลดสุทธิประมาณ 1.85 แสนล้านบาท
จากการลงทุนที่ลดลง หลังจากได้รับคืนเงินกู้ยืมระยะสั้นตลาดซื้อคืนพันธบัตร
จากกองทุนฟื้นฟูฯ งบดุลระบบธนาคารพาณิชย์จะไม่กระทบมากนัก จากกิจกรรมดังกล่าว
เนื่อง
จากปรับตัวลดสัดส่วนเท่าๆ กัน ทั้งด้านหนี้สิน และสินทรัพย์ ธนาคารพาณิชย์
การถือครองสินทรัพย์สภาพคล่องระบบธนาคารพาณิชย์ : เมื่อกล่าวถึงปริมาณ
สภาพคล่องรูปเงินบาทระบบธนาคารพาณิชย์ กรณีนี้หมายถึง เงินสด เงินฝากที่ธปท.
การกู้ยืมเงินระยะสั้นระหว่างธนาคาร กู้ยืมเงินระยะสั้นตลาดซื้อคืนพันธบัตร
และถือครองพันธบัตร และตราสารหนี้
ที่ใช้ทำสำรองสภาพคล่องได้ ที่ธนาคารพาณิชย์นำส่วนต่างระหว่างเงิน ฝากและสินเชื่อลงทุน
การออกพันธบัตรดังกล่าว จะทำให้ปริมาณ เงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์ลดประมาณ 3.05
แสน
ล้านบาทขาแรก ขณะที่ชำระคืนเงินกู้ประมาณ 1.85 แสนล้านบาทส่วนกองทุนฟื้นฟูฯ
กู้จากธนาคารพาณิชย์ ผ่านตลาดซื้อคืนพันธบัตรน จะทำให้ธนาคารพาณิชย์ยอดคงค้างลงทุนลดลง
แต่ธนาคารพาณิชย์จะมีเงินสดเพิ่มขึ้นสัดส่วนเท่ากัน เมื่อรวมยอดเงินฝากที่อาจเพิ่มขึ้น
หลังไถ่ถอนบัตรเงินฝากอีกประมาณ 1.15 แสนล้านบาท จะทำให้ยอดเงินสดที่ธนาคารพาณิชย์ไม่เปลี่ยนแปลง
คือเงินฝากออก 3.05 แสนล้านบาท แต่ได้เงินกลับคืน 3.05 แสนล้านบาท ยอดการให้กู้ในตลาดซื้อคืนพันธบัตรจะลด
ประมาณ 1.85 แสนล้านบาท จะเท่ากับการลดลง ยอดเงินฝาก กล่าวคือ
ปริมาณสินทรัพย์สภาพคล่องในรูปให้กู้ยืมในตลาดซื้อคืนพันธบัตรจะ ลดประมาณ
1.85 แสนล้านบาท
ผลกระทบที่จะมีต่อปริมาณสภาพคล่องธนาคารพาณิชย์ที่เกิดขึ้นจริงทางปฏิบัติขึ้นกับจำนวนพันธบัตรที่กองทุนฟื้นฟูฯขายออก
รวมถึง
การกลับมาเป็นเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์ของบัตรเงินฝากที่ไถ่ถอนว่ามากน้อยเพียงใด
ผลกระทบต่อทิศทางดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ระบบธนาคารพาณิชย์ : แม้การออกพันธบัตรออมทรัพย์
อาจส่งผลให้การถือครองสินทรัพย์สภาพคล่องส่วนเกินธนาคารพาณิชย์ลดลง แต่ตัวเลขปลายเมษายน
ชี้ว่าสินทรัพย์สภาพคล่องส่วนเกินรูปเงินบาทระบบธนาคารพาณิชย์ นับรวมเงินฝากที่
ธปท.
เงินสด และตรา สารหนี้ที่ใช้ทำสำรองสภาพคล่องได้ หักสำรองสภาพคล่อง 6% ของเงินฝากและเงินกู้ระยะ
สั้นฯ ยังสูงถึงประมาณ 1.15 ล้านล้านบาท หรือประมาณ 5-6
แสนล้านบาทเมื่อหักตราสารหนี้ที่มีสภาพคล่องน้อยกว่าตราสารหนี้รัฐบาล กิจกรรม
ดังกล่าว จึงไม่น่าส่งผลกระทบสภาพคล่องส่วนเกินระบบธนาคารพาณิชย์ลดลง จนจำเป็นต้องขึ้นดอกเบี้ยเงินฝาก-กู้
ทิศทางดอกเบี้ยปีต่อๆ ไป อาจเปลี่ยนแปลง ขึ้นกับปัจจัยต่างๆ เช่น ระดับการฟื้นตัวเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลก
ทิศทางดอกเบี้ยต่างประเทศ อัตราเงินเฟ้อ รวมถึงแผนออกพันธบัตรในอนาคต
อัตราดอกเบี้ยประเภทอื่น เช่น อัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ตลาดรอง คาดว่าอาจไม่กระทบมากนักจากการออกพันธบัตรออมทรัพย์
เนื่องจากธปท.วางมาตรการป้องกันเพื่อจำกัดผลกระทบต่อตลาดรอง
โดยให้ผู้ถือพันธบัตรออมทรัพย์ขายพันธบัตรคืนให้ธนาคารพาณิชย์ เพื่อให้ธนาคารขายต่อให้ผู้ซื้อรายอื่น
ซึ่งไม่ใช่สถาบันการเงิน หรือ ผู้ที่ไม่มีสิทธิซื้อวันแรกที่พันธบัตรออกจำหน่าย
หรือขายคืน ธปท.ก็ได้
ระหว่างถือครองพันธบัตรดังกล่าว ธนาคาร จะไม่สามารถนำพันธบัตรสำรองสินทรัพย์สภาพ
คล่อง และต้องตีมูลค่าพันธบัตรดังกล่าวตามราคาตลาด (mark to market)
ซึ่งอาจส่งผลธนาคารต้องบันทึกผลขาดทุน หากราคาพันธ บัตรตกจากราคาที่รับซื้อต่อ
จึงคาดว่าข้อกำหนด ดังกล่าว จะลดแรงจูงใจธนาคารพาณิชย์ถือครอง พันธบัตรออมทรัพย์เพื่อการลงทุนลง
แผนออกพันธบัตรอีกเกือบ 5 แสนล้านบาท ปีถัดๆ ไป อาจส่งผลต่อแนวโน้มอัตราผลตอบแทนตลาดรองตราสารหนี้
ขึ้นกับสภาพคล่องส่วนเกินสถาบันการเงิน จังหวะ จำนวน
และคุณสมบัติพันธบัตรในอนาคต ผลกระทบสุทธิต่อฐานะดำเนินงานธนาคาร พาณิชย์
: การถอนเงินฝากออกซื้อพันธบัตรของ ผู้ฝากเงิน จะส่งผลดีระบบธนาคารพาณิชย์
ผ่าน
ภาระต้นทุนดอกเบี้ยฝากที่ลดลง และเงินนำส่งกองทุนฟื้นฟูฯ ที่ลดลง กลับกัน
ผลเสียคือ การชำระคืนหนี้ในตลาดซื้อคืนพันธบัตรกองทุนฟื้นฟูฯกลับมาให้เจ้าหนี้ใหญ่
เช่น ธนาคารพาณิชย์ จะลดราย
รับดอกเบี้ยจากตลาดเงิน ผลสุทธิจะเป็นบวก แต่ขนาดจะเป็นเท่าใดขึ้นกับยอดเปลี่ยนแปลงเงินฝาก
เมื่อเทียบการลงทุนในตลาดซื้อคืนพันธบัตร ผลกระทบต่อแต่ละธนาคาร อาจแตก ต่างกัน
ตามฐานเงินฝาก และฐานะปล่อยกู้ในตลาดซื้อคืนพันธบัตรว่าสัดส่วนสมดุลกันมากน้อยเพียงใด
ข้อมูลธ.พ.1.1 ณ 31 พฤษภาคม ธนาคารรัฐฐานเงินฝาก และฐานะปล่อยกู้ในตลาดซื้อคืนพันธบัตร
สัดส่วนดีกว่ากลุ่มธนาคาร พาณิชย์ขนาดใหญ่ และกลุ่มธนาคารขนาดเล็ก กลุ่มธนาคารรัฐสัดส่วนเงินลงทุนตลาด
ซื้อคืนพันธบัตรต่อปริมาณเงินฝากประมาณ 6.5%
เทียบกับของกลุ่มธนาคารเอกชนขนาดใหญ่ประมาณ 4% และกลุ่มธนาคารขนาดเล็ก 0.9%
2. ผลกระทบต่อปริมาณเงินและค่าเงิน บาทเนื่องจากพ.ร.ก.ฉบับใหม่ ระบุให้ธปท.
สามารถนำผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นทุกปีในบัญชีทุนสำรองเงินตราที่ฝ่ายออกบัตร
บันทึกในบัญชีผลประโยชน์ประจำปี ใช้ชดเชยต้นเงิน กู้พันธบัตร 780 และ 112
พันล้านบาท ที่เฉลี่ยประมาณปีละ 1
พันล้านดอลลาร์ ประมาณ 43 พันล้านบาทได้ แนวทางดังกล่าว สร้างคำถามตามมาว่าการ
นำรายได้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศดังกล่าวแลกเป็นเงินบาท จะส่งผลกระทบค่าเงินบาท
หรือก่อเกิดการพิมพ์ธนบัตรหรือไม่ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเห็นว่าอัตราแลกเปลี่ยน/ค่าเงินบาทอาจกระทบขึ้นกับระยะเวลา
กลุ่มผู้ทำธุรกรรมอัตราแลกเปลี่ยนกับธปท.
และขนาดดอลลาร์ที่แลกเป็นบาทกรณีที่ฝ่ายการธนาคาร ธปท.นำเงินดอลลาร์ที่ได้จากฝ่ายออกบัตร
แลกเป็นเงินบาทในระบบ อาจส่ง ผลบาทแข็งค่าขึ้น อาจไม่ใช่แนวทางที่ทางการปรารถนา
เนื่องจากจะทำให้ผลประโยชน์จากฝ่าย ออกบัตรรูปบาทเพื่อชดเชยต้นเงินกู้พันธบัตร
ลดลงตาม กรณีดังกล่าวเกรงว่าธปท.อาจโดนกดดัน ให้พิมพ์ธนบัตรเพิ่ม เพื่อรักษาสมดุลระหว่างปริมาณเงินบาท
และเงินตราต่างประเทศในระบบ และรายได้รูปบาทจากการแลกเงินธปท. ซึ่งอาจส่งผลเงินเฟ้อได้
ประเด็นอัตราเงินเฟ้อ คาดว่ายังไม่น่า กังวล
เนื่องจากธปท.ยังคงยืนยันจะใช้กรอบดำเนินนโยบายการเงินแบบ Inflation Targeting
ต่อไป ประเด็นอื่นที่เกี่ยวข้อง พ.ร.ก.ฉบับที่ 3 ผ่อนผันกรณีการพิมพ์ธนบัตรใหม่
ธปท.สามารถ
โอนสินทรัพย์จากบัญชีสำรองพิเศษเข้าบัญชีสำรองเงินตรา ฝ่ายออกบัตร ที่ใช้หนุนหลังธนบัตรที่หมุนเวียนออกใช้
โดยฝ่ายการธนาคาร ยังคงต้องหาสินทรัพย์เท่ากับจำนวนธนบัตรที่เพิ่มขึ้น
แต่ไม่ต้องโอนสินทรัพย์เข้าฝ่ายออกบัตรเหมือนแต่ก่อน เพื่อเพิ่มความคล่องตัวจัดสรรสินทรัพย์ภายในธปท.
และเพื่อฝ่ายการธนาคารจะมีโอกาสหาดอกผลจากสินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว
เป็นประโยชน์ต่อการนำส่งเงิน เพื่อชำระคืนเงินต้นพันธบัตรรัฐบาลก้อน 5 แสน
ล้านบาท ที่ออกตั้งแต่ปี 2541 การตรากฎหมายดังกล่าว จะส่งผลวิธีการจัดการสินทรัพย์
เพื่อหนุนหลังพิมพ์ธนบัตรหมุน
เวียน ปรับเปลี่ยนจากเดิม ประเด็นคือ เมื่อพิมพ์ธนบัตรเพิ่มเติม ฝ่าย การธนาคารจะหาสินทรัพย์รูปบาทหรือดอลลาร์ก็ได้
โดยสินทรัพย์รูปบาท จะนับรวมพันธบัตรรัฐบาล ตั๋วเงินคลัง
ตั๋วเงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ และพันธบัตรรัฐวิสาหกิจ ที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน
เป็นต้น กรณีดังกล่าว อาจกระทบความเชื่อมั่นได้ หาก ธปท.เลือกถือพันธบัตร
780 ล้านบาทบางส่วน
เพื่อจุดประสงค์พิมพ์ธนบัตร ขณะที่ธนบัตรที่หมุนเวียน ยังคงหนุนหลังจากสิน
ทรัพย์ต่างประเทศบัญชีสำรองเงินตรา ที่ฝ่ายออกบัตรสูงกว่า 60% ตามพ.ร.บ.เงินตราเดิม
เพราะสินทรัพย์เพิ่มเติมจากบัญชีสำรองพิเศษฝ่ายออกบัตร ส่วนมากประกอบด้วยสินทรัพย์ต่างประเทศระยะยาว
การใช้สินทรัพย์บัญชีสำรองพิเศษหนุนหลังพิมพ์ธนบัตร อาจเผชิญขีดจำกัด
สิ้นพฤษภาคม สินทรัพย์บัญชีสำรองพิเศษประมาณ 15.9 พันล้านดอลลาร์ คิดเป็นประมาณ
1.5 เท่าของสินทรัพย์บัญชีสำรองเงินตราที่ใช้หนุนหลังธนบัตรออกใช้ หมายความว่า
หากให้ปริมาณธนบัตรหมุน เวียนเพิ่มปีละ 6% ใกล้เคียงกับอัตราขยายตัวจีดีพี
ณ ราคาปัจจุบัน (Nominal GDP) โดยเพิ่มจากการโอนสินทรัพย์บัญชีสำรองพิเศษ
ภายใน 15 ปี
จะถึงระดับที่จำกัดโดยปริมาณทุนสำรองบัญชีสำรองพิเศษปัจจุบัน ประมาณ 1.59
พันล้าน ดอลลาร์ หลังจากนั้น ธปท.คงต้องหามาตรการรองรับ โดยอาจใช้วิธีเดิมที่ฝ่ายการธนาคารต้องหาสินทรัพย์ใหม่
เพื่อโอนเข้าฝ่ายออกบัตรธนาคาร รองรับพิมพ์ธนบัตรใหม่ 3. ผลกระทบภาระการคลัง
จากการประ- มาณการบริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย มาตรการแก้ไขปัญหาชดเชยภาระหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ
ด้วยให้ธปท.แบกรับภาระเงินต้นจากการออกพันธ บัตร 780 และ 112 พันล้านบาท
และให้รัฐบาลรับภาระดอกเบี้ยก้อน 780 พันล้านบาท เพิ่มเติมจากภาระดอกเบี้ยก้อนพันธบัตรที่ออก
แล้วประมาณ 500
และ 112 พันล้านบาท สามารถชะลอปัญหาการเพิ่มสัดส่วนหนี้สาธารณะ ต่อจีดีพีและภาระดอกเบี้ยต่องบประมาณรายจ่าย
กรณีธปท.ชดเชยเงินต้นพันธบัตรสัดส่วน หนี้สาธารณะจะเพิ่มจากประมาณ
58% ปลายปี 2545 ณ มีนาคม หนี้สาธารณะสัดส่วนประมาณ 53.5% ของจีดีพี สูงสุดที่ประมาณ
59.9% ปี 2549 ไม่เกินเพดานขั้นสูง 65% ก่อนจะทยอยลดลงหลังจากนั้น
ขณะที่ภาระชำระหนี้ต่องบประมาณรายจ่าย จะสูงสุดที่ 14.5% ปี 2550-51 ไม่เกิน
16% ตามที่รัฐบาลกำหนดเพดานขั้นสูง โดยรัฐบาลน่าจะกลับมาทำงบเกินดุลได้ประมาณปี
2552 กลับกัน
กรณีธปท.ไม่ชดเชยเงินต้น สัดส่วนหนี้สาธารณะ ต่อจีดีพีจะขยับขึ้นที่ 63.5%
ปี 2549 โดยภาระชำระหนี้ต่องบประมาณรายจ่าย จะเพิ่มถึง 17.1% ประมาณปี 2551
เกินเพดานขั้นสูงที่รัฐบาลกำหนด
การทำงบประมาณสมดุลหรือเกินดุลจะ ต้องยืดออกไปอีกจากกรณีแรก มาตรการแก้ไขปัญหาหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ
ดังกล่าว จึงมีประสิทธิภาพลดระดับหนี้สาธารณะ และภาระชำระหนี้ต่องบประมาณได้จริง
โดยไม่ต้องอาศัยเงินภาษีจากประชาชนทั้งหมด แก้ไขปัญหากองทุนฟื้นฟูฯ พร้อมทั้งยังช่วยให้รัฐบาลมีความยืดหยุ่นบริหารงบประมาณมากขึ้น
4. การออกพันธบัตรเพื่อชดเชยความเสียหายกองทุนฟื้นฟูฯ
อาจก่อผลกระทบตราสาร หรือเครื่องมือระดมเงินออมสถาบันต่างๆ ในระบบ (Crowding
Out) การออกพันธบัตรออม ทรัพย์อาจดูดซับเงินออมจำนวนมากออก จากระบบ
ซึ่งอาจกระทบการระดมทุนภาคเศรษฐกิจและสถาบันการเงินอื่น เช่น บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม
บริษัทเอกชนขนาดใหญ่ที่ต้องการระดมทุนด้วยการออกหุ้นกู้ขายนักลงทุนรายย่อย
การระดมทุนในตลาด หลักทรัพย์ การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ และตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่กำลังมีปริมาณอุปทานใหม่ออกสู่ตลาด
ทำให้สถาบันเหล่านั้น อาจต้องยอมเสนอผลตอบแทนสูงขึ้น/เงื่อนไขลงทุนดี
ขึ้น เพื่อแย่งกันดึงเงินออมจากประชาชนที่เหลือน้อยลง 5. ประเด็นควรพิจารณาสำหรับผู้ซื้อพันธ
บัตรออมทรัพย์ แผนขายพันธบัตรก้อนใหม่ วงเงิน 780 พันล้านบาท
รวมถึงโครงการขายพันธบัตรออมทรัพย์ประมาณ 3 แสนล้านบาท ให้ ประชาชน สหกรณ์
และมูลนิธิที่จดทะเบียนกับกระทรวงมหาดไทย ภายในปี 2545 ประเภทอายุ 5 7 และ
10 ปี มูลค่าหน้าตั๋ว 1
หมื่นบาท และต้องซื้อขั้นต่ำ 5 หมื่นบาท อัตราผลตอบแทนหน้าตั๋วจะเท่ากับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลประเภทอายุเดียว
กัน บวกอัตราส่วนเพิ่มประมาณ 0.6-0.8% สำหรับพันธบัตร 5 7 และ10 ปี
ตามลำดับ การจ่ายดอกเบี้ยปีละ 2 ครั้ง และหักภาษี ณ ที่จ่ายจะให้ธนาคารพาณิชย์ทำหน้าที่ตัวแทนจำหน่ายผ่านสาขาธนาคาร
โดยจะได้รับค่าธรรม-เนียมตอบแทน
ผู้ถือพันธบัตรออมทรัพย์จะขายคืนให้ธนาคารพาณิชย์ เพื่อให้ธนาคารถือต่อ
หรือขายคืนธปท. เมื่อถือพันธบัตรดังกล่าวไม่ต่ำกว่า 1 ปี ผู้ซื้อพันธบัตร
ต้องพิจารณาเงื่อนไขสำคัญคือ
ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยในอนาคต แม้ทางการเสนอผลตอบแทนพันธบัตรออมทรัพย์ที่กำลังจะนำออกสู่ตลาด
สูงกว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรประเภทเดียวกันที่ซื้อขายกันตลาดรองปัจจุบัน
และดีกว่าเงื่อนไขฝากเงินส่วนใหญ่ที่ธนาคารพาณิชย์ เช่น พันธบัตรอายุ 5 ปี
จะได้รับผลตอบแทนสูงกว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรประเภทเดียว กันที่ซื้อขายในตลาดรองประมาณ
0.6% หรือประมาณ 4.2% ซึ่งคิดเป็นประมาณ 3.6% หลังหักภาษี ณ ที่จ่าย
แต่การถือพันธบัตรระยะปานกลางถึงยาว ควรคำนึงความเสี่ยงการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตลาดในอนาคตด้วย
เนื่องจากอัตราผลตอบ แทนพันธบัตรออมทรัพย์จะถูกตรึงเท่าอัตรา ณ
วันประกาศขายพันธบัตรดังกล่าว ไม่ใช่อัตราผลตอบแทนตลาด ณ วันที่ขายคืน หมายความว่า
หากอัตราดอกเบี้ยตลาดใน อนาคตปรับตัวสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยที่พันธบัตรออมทรัพย์เสนอ
จะทำให้ผู้ถือพันธบัตรเสียโอกาส นำเงินออมดังกล่าปลงทุนถือสินทรัพย์ประเภทอื่นที่ได้ผลตอบแทนดีกว่า
เงื่อนไขขายพันธบัตรคืน การขายพันธ บัตรออมทรัพย์คืนก่อนกำหนดจะไม่ได้รับ
เงินต้นคืนเท่าเดิม เนื่องจากต้องจ่ายคืนดอกเบี้ยที่ได้รับเกินจำนวนที่ควรจะได้
เช่น พันธ บัตรอายุ 7 ปี แต่ถือเพียง 5 ปี ระหว่างนั้นรับดอกเบี้ยรายปีเท่ากับอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋วพันธบัตรอายุ
7 ปี ไม่ใช่ 5 ปี
จึงต้องจ่ายคืนดอกเบี้ยที่รับเกินช่วงระหว่าง 5 ปีที่ผ่านมา โดยหักจากเงินต้น
หรือมูลค่าหน้าตั๋ว 1 หมื่นบาท ประเด็นนี้ ธปท.จะชี้แจงในรายละเอียดให้ผู้ซื้อพันธบัตรทราบราคาที่ได้รับ
เมื่อขายคืนพันธ
บัตรช่วงต่างๆ กันต่อไป ความต้องการใช้เงิน เนื่องจากการลงทุนพันธบัตรออมทรัพย์
ลงทุนระยะปานกลางถึงยาว นักลงทุนจึงควรพิจารณาความต้องการใช้เงินในอนาคตอย่างรอบคอบ
เปรียบเทียบทางเลือกการ ออมหลายๆ ทาง เพื่อเลือกวิธีการออมเหมาะสม ที่สุด
ให้ได้กระแสรายรับจากดอกเบี้ยที่พอเพียง จังหวะรายจ่ายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
บทสรุป
หลังจากการประชุมคณะรัฐมนตรีวาระพิเศษช่วงที่ผ่านมา ออกพระราชกำหนด (พ.ร.ก.)
3 ฉบับ เพื่อแก้ไขภาระหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
บริษัท ศูนย์ วิจัยกสิกรไทย
เห็นว่าเป็นทางออกที่ชัดเจนแก้ไข ปัญหากองทุนฟื้นฟูฯ รวมถึงได้ข้อสรุปชดเชยภาระความสูญเสียกองทุนฟื้นฟูฯ
ทั้งสิ้น 1.4 ล้าน ล้านบาท ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
จะมีส่วนร่วมชดเชยความเสียหายดังกล่าว จะทำให้ปริมาณหนี้สาธารณะอยู่ในระดับที่รัฐบาลสามารถบริหารได้
ยังคงต่ำกว่าเพดานขั้น แนวทางแก้ไขภาระหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ ดังกล่าว สำคัญอย่างยิ่งต่อ
การจัดการการเงิน และการคลังของประเทศ บริษัท ศูนย์ วิจัยกสิกรไทยมีข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับการออกพันธบัตรเพื่อชดเชยความเสียหายกองทุน
ฟื้นฟูฯ ดังนี้ : ผลกระทบธนาคารพาณิชย์
และทิศทาง ดอกเบี้ยเงินฝาก-กู้ แม้การออกพันธบัตรออมทรัพย์ รวมถึงการชำระคืนหนี้ของ
กองทุนฟื้นฟูฯ ในตลาดซื้อคืนพันธบัตร
และบัตรเงินฝากตามโครงการแลกเปลี่ยนตั๋วธนาคารกรุงไทยและไทยธนาคาร จะไม่กระทบงบดุลธนาคารพาณิชย์
เนื่องจากส่งผลด้านทรัพย์สินปรับตัวขนาดเท่ากับหนี้ สิน
แต่อาจส่งผลกระทบสภาพคล่องส่วนเกินระบบธนาคารพาณิชย์รูปการลงทุนในตลาดซื้อคืนพันธบัตรลดลง
ขณะที่ฐานะเงิน สดธนาคารไม่เปลี่ยนแปลง เนื่องจากเงินฝาก ที่ไหลออก 3.05
แสนล้านบาท
เท่ากับเงินที่ได้รับคืน เนื่องจากสภาพคล่องส่วนเกินปัจจุบัน ยังทรงตัวสูงถึงประมาณ
5-6 แสนล้านบาท กิจกรรมดังกล่าว จึงไม่กระทบระดับสภาพคล่องส่วนเกินระบบธนาคารมาก
จนทำให้ธนาคารต้องเพิ่มดอกเบี้ยเงินฝาก-กู้ ทิศทางอัตราดอกเบี้ยปีต่อๆ ไป
อาจเปลี่ยนแปลงขึ้นกับระดับการฟื้นตัวเศรษฐ กิจไทย-โลกทิศทางอัตราดอกเบี้ยต่างประเทศ
อัตราเงินเฟ้อ
และแผนออกพันธบัตรในอนาคต ผลกระทบต่อปริมาณเงินและค่าเงิน บาท การโอนผลประโยชน์จากบัญชีผลประโยชน์ประจำปี
รูปดอลลาร์ มาที่ฝ่ายการธนาคาร เพื่อชดใช้ต้นเงินกู้พันธบัตร
เกรงว่าอาจก่อแรงจูงใจเพิ่มปริมาณเงิน เพื่อไม่ให้ค่าเงินบาทแข็งเกินไป
รักษาสมดุลระหว่างปริมาณเงินบาท เงินตราต่างประเทศในระบบ และรายได้รูปบาทจากการแลก
เงินดังกล่าว
อาจกระทบอัตราเงินเฟ้อ ประเด็นเงินเฟ้อ ยังไม่น่ากังวล เนื่องจาก ธปท.ยังคงยืนยันจะคงกรอบดำเนินนโยบายแบบ
Inflation Targeting ต่อไป ผลกระทบภาระการคลัง จากการประมาณการบริษัท
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มาตรการแก้ไข ภาระหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ คาดว่าจะลดภาระหนี้สาธารณะ
และสัดส่วนภาระดอกเบี้ยต่องบประมาณรายจ่ายได้ พร้อมทั้งทำให้การบริหารงบประมาณยืดหยุ่นมากขึ้น
กรณี ธปท.ชดเชยเงินต้นพันธบัตร สัดส่วนหนี้สาธารณะจะเพิ่มจากประมาณ 58%
ปลายปี 2545 สูงสุด 59.9% ปี 2549 ขณะที่ภาระชำระหนี้ต่องบประมาณรายจ่ายจะสูงสุด
14.5% ปี 2550-51
เทียบกับกรณีธปท.ไม่ชดเชยต้นเงินกู้ฯ ที่สัดส่วนหนี้สาธารณะจะพุ่งเป็น 63.5%
ปี 2549 ภาระชำระหนี้ต่องบประมาณรายจ่าย เพิ่มเป็น 17.1% ปี 2551 การออกพันธบัตรอาจกระทบการออกตราสาร
และการระดมเงินทุนสถาบันต่างๆ ใน ระบบ (Crowding Out) การออกพันธบัตรออมทรัพย์
จะดูดซับเงินออมปริมาณมากออกจากระบบ อาจกระทบการระดมทุนภาคเศรษฐกิจ และสถาบันการเงินอื่น
ระยะต่อไป เช่น กองทุนรวม บริษัทเอกชนขนาดใหญ่ที่ต้องการออกหุ้นกู้ขายรายย่อย
ตลาดหลัก ทรัพย์ การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ และตลาดอสังหาริมทรัพย์ สถาบันเหล่านั้น
ต้องเสนอเงื่อนไขลงทุนดีขึ้น
เพื่อแย่งกันดึงเงินออมใน ระบบที่ลดลง ประเด็นที่ควรพิจารณาสำหรับผู้ซื้อพันธบัตรออมทรัพย์
การเลือกลงทุนระยะปาน กลางถึงยาวพันธบัตรออมทรัพย์ที่กำลังจะออก
แม้ทางการเสนออัตราดอกเบี้ยระดับค่อนข้างดีเมื่อเทียบการลงทุนประเภทอื่น
ที่ความเสี่ยงใกล้เคียงกัน แต่ผู้ซื้อควรพิจารณา ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยในอนาคตด้วย
เนื่องจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรออมทรัพย์จะตรึงเท่ากับอัตรา ณ วันที่ประกาศขายพันธบัตรดังกล่าว
ไม่ใช่อัตราผล ตอบแทนตลาด ณ วันที่ขายคืน หากอัตราดอกเบี้ยในตลาดเปลี่ยนแปลงในอนาคต
ผู้ซื้อ อาจเสียโอกาสลงทุน รับดอกเบี้ยสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋วพันธบัตรออมทรัพย์ได้
ผู้ซื้อยังควรพิจารณาเงื่อนไขขายคืนพันธบัตรก่อนกำหนด รวมถึงแผนความต้อง
การใช้เงินในอนาคต
เปรียบเทียบทางเลือกการออมต่างๆ กัน เพื่อเลือกลงทุนวิธีการออม ที่ให้รายได้เหมาะสมกับกระแสรายจ่ายที่จะเกิดขึ้นมากที่สุด
?