|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
"ประชัย" งัดแผนผนึกกับ "ซิติก กรุ๊ป" โชว์เทียบแผนคลัง ยันคิดแบบเจ้าของธุรกิจไม่ใช่เข้ามากอบโกยผลประโยชน์ของบริษัทฯ ยืนกรานฟ้องกราวรูด หากประมูลขายหุ้น TPIPL ต่ำกว่าหุ้นละ 40 บาท ด้านผู้บริหารแผนฯ ทีพีไอโวย "ประชัย" เดินเกมนอกกรอบแผนฟื้นฟูฯ ลั่นขายหุ้น TPIPL ให้เสร็จภายใน 1 เดือน ไม่สนราคาจะต่ำกว่า 40 บาทหรือไม่
นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) (ทีพีไอ) ในฐานะผู้บริหารลูกหนี้และผู้ค้ำประกันหนี้ เปิดเผยถึงกรณีที่ได้ยื่นคำร้องต่อศาลล้มละลายกลางในฐานะผู้ค้ำประกันเมื่อวันที่ 25 พ.ค. ที่ผ่านมา เพื่อขอชำระหนี้ทีพีไอจำนวน 2.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยดึงซิติก กรุ๊ป จากจีนเข้ามาร่วมทุนในบริษัทร่วมค้าว่า แนวทางการแก้ปัญหาทีพีไอของบริษัทร่วมค้าที่ถือหุ้นโดยซิติก กรุ๊ป และกลุ่มเลี่ยวไพรัตน์นั้น ดีกว่าแผนฯ ของกระทรวงการคลัง เพราะเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ทั้งหมด 2.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเจ้าหนี้ไม่ต้องตั้งสำรองหนี้สูญอีกต่อไป โดยทีพีไอไม่จำเป็นต้องออกหุ้นเพิ่มทุนใหม่ แต่จะใช้หุ้นที่เจ้าหนี้ถืออยู่ 5899 ล้านหุ้น มาจัดสรร โดยผู้ถือหุ้นเดิมจะได้หุ้นเพิ่ม 5% หรือประมาณ 392 ล้านหุ้น เสนอขายหุ้นละ 6.54 บาท เพื่อรักษาสัดส่วนผู้ถือหุ้นเดิมไว้ที่ 30% แต่ใส่เงินน้อยกว่าเพียง 392 ล้านบาท ทำให้ราคาตามบัญชีอยู่ที่ 12 บาท/หุ้น
ขณะที่แผนฟื้นฟูกิจการฯของกระทรวงการคลัง เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้ทันทีเพียง 1,448 ล้านเหรียญสหรัฐ และจะทยอยรับการชำระหนี้ไป 12 ปี ขณะเดียวกันทีพีไอจะต้องออกหุ้นใหม่ 11,651 ล้านหุ้น เสนอขายหุ้นละ 3.30 บาท ทำให้ผู้ถือหุ้นเดิมต้องใช้เงินถึง 12,870 ล้านบาท เพื่อให้สัดส่วนการถือหุ้นอยู่ที่ 30% แต่ราคามูลค่าตามบัญชีอยู่ที่ 4 บาท/หุ้น
"แนวทางดังกล่าวนี้ เป็นการคิดแบบคนที่เป็นเจ้าของธุรกิจคิด เพราะใช้เวลาทำดิว ดิลิเจนซ์เพียง 90 วัน ชำระหนี้ทั้งหมด แล้วออกจากแผนฟื้นฟูฯ แต่แนวคิดของผู้บริหารแผนฯ เป็นวิธีคิดแบบคนที่ปล้นบริษัทฯ"
นายประชัยกล่าวยืนยันว่า บริษัทร่วมทุนดังกล่าวจะเป็นนิติบุคคลไทย ที่กลุ่มเลี่ยวไพรัตน์จะถือหุ้น 51% และซิติก กรุ๊ปถือหุ้น 49% และดำเนินการบริหารงานโดยคนไทย ส่วนกรณีที่ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้บริหารลูกหนี้และสำนักงานกฎหมายสากลสยามพรีเมียร์เข้าไปตรวจสอบข้อมูลและสถานะกิจการ (ดิว ดิลิเจนซ์) คงต้องรอให้ศาลมีคำสั่งชี้ขาด ซึ่งศาลจะนัดพิจารณาคำร้องในวันที่ 27 มิ.ย.นี้
"หากผมนำเงินไปชำหนี้ 2.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ แล้วจะทำให้เรากลายเป็นเจ้าหนี้ และลูกหนี้จะกลับมาเป็นผู้บริหารแผนฯ หลังจากนั้นจะยื่นขอออกจากแผนฟื้นฟูกิจการ แต่ทั้งนี้คงต้องรอคำสั่งศาลในวันที่ 27 มิ.ย.นี้"
นายประชัยกล่าวถึงความไม่ยุติธรรมในการออกจากกระบวนการฟื้นฟูกิจการว่า หากผู้บริหารแผนฯ จัดหาเงินมาชำระหนี้ได้ 900 ล้านเหรียญ ก็สามารถออกจากแผนฟื้นฟูฯ ได้ แต่ตนต้องใช้เงินถึง 2.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ มาวางไว้ที่ศาลฯ จึงจะออกจากแผนฟื้นฟูได้
รอบอร์ดไฟเขียวประมูลซื้อหุ้น TPIPL
นายประชัย กล่าวถึงกรณีที่ผู้บริหารแผนฯ ทีพีไอจะดำเนินการนำหุ้นบมจ.ทีพีไอโพลีน (TPIPL) จำนวน 249 ล้านหุ้นหรือ 30% ของหุ้นทั้งหมดมาประมูลภายใน 1 เดือนว่า ตนไม่มีสิทธิคัดค้านผู้บริหารแผนฯ แต่เห็นว่าไม่จำเป็นต้องขายหุ้นดังกล่าว เพราะตนยื่นคำร้องขอชำระหนี้ทั้งหมดอยู่แล้ว หากผู้บริหารแผนฯ ยืนยันที่จะขายหุ้นดังกล่าวออกไป ตนก็ไม่สามารถคัดค้านได้ แต่จะขอเตือนว่า หากราคาเสนอขาย TPIPL ต่ำกว่าหุ้นละ 40 บาท ตนจะฟ้องทุกคนที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้
ส่วนกลุ่มเลี่ยวไพรัตน์จะเข้าไปประมูลซื้อหุ้น TPIPL หรือไม่นั้น ยังตอบไม่ได้ ขึ้นอยู่กับบอร์ด TPIPL ซึ่งความจริงไม่มีความจำเป็นต้องซื้อ แต่ขอยืนยันว่า ถ้านักลงทุนรายอื่นที่ซื้อประมูลหุ้น TPIPL จะไม่มีสิทธิเข้ามาบริหารงานใน TPIPL เพราะตนยังเป็นผู้บริหารแผนฯ TPIPL อยู่
"ศิริ" ชี้ TPI มีพันธะผูกพันขายหุ้นให้ปตท.
ด้านนายศิริ จิระพงษ์พันธ์ ทีมคณะผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการทีพีไอ กล่วถึงกรณีที่นายประชัยยื่นคำร้องต่อศาลฯ เพื่อขอชำระหนี้ 2.7 พันล้านเหรียญสหรัฐว่า กระทำของนายประชัยครั้งนี้ ถือเป็นการดำเนินการนอกกรอบแผนฟื้นฟูฯทีพีไอ ซึ่งคำร้องที่ยื่นต่อศาลฯ ถือเป็นการปลดเปลื้องภาระการค้ำประกันของตัวเอง แล้วสวมสิทธิ์เป็นเจ้าหนี้แทน แต่บริษัทยังคงมีหนี้อยู่เท่าเดิม โดยไม่มีหุ้นเพิ่มทุนให้พนักงานและผู้ถือหุ้นรายย่อย ขณะที่แผนฟื้นฟูฯ ทีพีไอที่มีคลังเป็นผู้บริหารแผนฯ จะนำหุ้นเพิ่มทุนจัดสรรให้พันธมิตรใหม่ เพื่อสร้างความเข้มแข็งทางธุรกิจ ทำให้ภาระหนี้ลดลงเหลือ 900 ล้านเหรียญสหรัฐ หลังจากออกจากแผนฟื้นฟูฯ โดยหนี้จะหมดภายใน 7 ปี
นอกจากนี้ ทีพีไอได้มีพันธะผูกพันที่จะต้องจัดสรรหุ้นให้ผู้ร่วมทุน คือ ปตท. กบข. ธ.ออมสิน กองทุนวายุภักษ์ 1 หลังจากได้ลงนามสัญญาซื้อขายหุ้นทีพีไอกับผู้ร่วมทุนใหม่เมื่อวันที่ 1 มิ.ย. 2548 ดังนั้นทีพีไอจึงไม่มีอิสระที่จะไปเจรจาร่วมทุนกับรายอื่นได้ อย่างไรก็ตาม ศาลล้มละลายกลางได้นัดพิจารณาคำร้องดังกล่าวในวันที่ 27 มิ.ย.นี้ หากศาลมีคำสั่งอย่างใด ผู้บริหารแผนฯ ก็ยินดีที่ปฏิบัติตาม
"เมื่อคลังได้เซ็นสัญญากับผู้ซื้อไปแล้ว เมื่อวันที่ 1 มิ.ย. ทีพีไอมีภาระผูกพันตามสัญญาที่ได้เซ็นไว้กับกลุ่มผู้ซื้อ ระหว่างนี้ทีพีไอจะไปเจรจาขายหุ้นให้กับคนอื่นไม่ได้" นายศิริกล่าว
ประมูลขายหุ้น TPIPL 1 เดือนเสร็จ
นายศิริ กล่าวถึงความคืบหน้าในประมูลขายหุ้น TPIPL 249 ล้านหุ้นว่า ขณะนี้บริษัทได้เตรียมคัดเลือกที่ปรึกษาทางการเงินเพื่อทำหน้าที่ประมูลขายหุ้น TPIPL ทั้งจำนวนให้นักลงทุนที่สนใจ โดยมีบริษัทหลักทรัพย์ 4 ราย ได้เสนอตัวเข้ามา ได้แก่ บล.ซิมีโก้ บล.ทิสโก้ ยูไนเต็ด แอ๊ดไวเซอรี และบล.กิมเอ็ง ซึ่งจะคัดเลือกเหลือเพียง 1 ราย หลังจากนั้นจะดำเนินการขายหุ้น TPIPL ให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือน โดยจะเป็นการประมูลทั้งจำนวน เชื่อว่าผู้ที่จะเข้าประมูลจะเป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจปูนซีเมนต์
สำหรับราคาขายหุ้น TPIPL นั้น อาจจะได้ราคาไม่สูงมาก ซึ่งตามแผนประเมินไว้ที่หุ้นละ 40 บาท เนื่องจากมีข้อจำกัดในการทำดิว ดิลิเจนซ์ และผู้ที่จะเข้ามาถือหุ้นใหม่นี้จะไม่สามารถเข้ามาบริหารหรือขัดขวางกระบวนการฟื้นฟูกิจการ TPIPL ได้ จนกว่า TPIPL จะออกจากกระบวนการฟื้นฟูกิจการ
"ราคาเราไม่ห่วงว่าราคาเสนอขายหุ้น TPIPL จะต่ำหรือสูงกว่าหุ้นละ 40 บาท เพราะตามแผนการขายหุ้น TPIPL เจ้าหนี้จะตัดหนี้ออกไป 250 ล้านเหรียญสหรัฐ หากเสนอขายได้ต่ำกว่า 250 ล้านเหรียญสหรัฐ เจ้าหนี้มีสิทธิที่จะรับโอนหุ้น TPIPL เอง แล้วหักชำระหนี้ไป 250 ล้านเหรียญสหรัฐ" นายศิริกล่าว
|
|
 |
|
|