Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน3 กรกฎาคม 2545
อ.ธรรมศาสตร์เสนอ7แนวคิดธุรกิจสร้างโอกาส"SMEs"สู่กิจการใหญ่             
 


   
search resources

SMEs




นักวิชาการมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ชี้ผู้ประกอบการ SMEs

ของไทยยังไม่สามารถพัฒนาขนาดของธุรกิจ สู่กิจการระดับใหญ่ได้ทัดเทียมต่างชาติ ท่ามกลางแนวทางการพัฒนาธุรกิจที่หลากหลายนำเสนอ 7 แนว

ทางที่จะเป็นกลยุทธ์หลักของการปรับเปลี่ยนธุรกิจแบบก้าวกระโดดสู่องค์กร อีกระดับที่เห็นผลได้ชัดจากที่ผู้ประสบความสำเร็จในตลาดมากแล้ว ผศ.วิทวัส รุ่งเรืองผล

อาจารย์ประจำคณะพาณิชยศาสตร์ และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กล่าวในมุมมองของการพัฒนาธุรกิจของผู้ประกอบการ SMEs

ของไทยในปัจจุบันว่ายังปรับตัวในช้ามากโดยเฉพาะการปรับขนาดของกิจการจากขนาดเล็ก พัฒนาไปสู่กิจการที่ใหญ่ขึ้นและเป็นกิจการระดับใหญ่ในที่สุด

ซึ่งเมื่อเทียบกับประเทศอื่นแล้วพัฒนาการของผู้ประกอบการในระดับ SMEs ไปสู่กิจการที่ใหญ่ขึ้นเป็นไปอย่างรวดเร็ว ในความคิดเห็นของผศ. วิทวัสมองว่าแนวความคิดแบบก้าว

กระโดดจะเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญที่ส่งผลให้ผู้ประกอบการที่นำไปใช้ สามารถพัฒนาธุรกิจของตนเองได้ และเป็นแนวทางที่หลายคนนำมาใช้กันมากแล้วหรือนำมาปรับใช้ ส่ง ผลให้องค์กรเหล่านี้ใช้เวลาไม่ถึง

10 ปีก็สามารถสร้างชื่อเสียงให้องค์กรได้ "การปฏิวัติทางการตลาด เป็นหนึ่งในแนวทางการเติบโตแบบ ก้าวกระโดดของหลายบริษัท โดยการปฏิวัติทางการตลาดเป็นแนวคิด

การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ทั้งทางด้านนโยบายและกลยุทธ์ขององค์กรนั้นๆ ซึ่งมีความแตกต่างจาก การเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไปที่กว่าจะเห็นผลก็ต้องใช้เวลานาน

การปฏิวัติทางการตลาดแบบก้าวกระโดดที่ผศ.วิทวัส นำเสนอไว้มี 7 แนวทางคือ 1.

เป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงของตลาด เพื่อให้ธุรกิจของไทยได้รับความสนใจขึ้นในทันที ซึ่งเท่ากับเป็นการประสบความสำเร็จทางการตลาดแบบหนึ่ง กรณีของ D-TAC

เป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดของการปฏิวัติทางการตลาดโดยการนำเสนอการเก็บค่าบริการตามจริงเป็นวินาที กลยุทธ์นี้สร้างความปั่นปวนให้กับ AIS ซึ่ง

เป็นเจ้าตลาดอยู่พอสมควรพร้อมทั้งต้องหันกลับมานั่งทบทวนแผน การตลาดใหม่อีกครั้ง เข่นเดียวกับ Amazon.com ที่เปิดตัวเข้ามาในธุรกิจร้านหนังสือในรูปแบบของเว็บไซต์ทั้งที่มี BAN &NOBEL

เป็นเจ้าตลาดหนังสือโดยรวมอยู่ก่อนหน้านี้ ด้วยการใช้กลยุทธ์มีหนังสือให้เลือกมากกว่าร้านอื่นๆ ในโลกพร้อมบริการจัดส่ง ด้วยรูปแบบใหม่ที่ไม่เคยมีใครทำมา ก่อนทำให้ ส่งผลให้ BAN&NOBEL

ต้องปรับลงมาทำธุรกิจทางเว็บไซต์บางแต่ก็ดูเหมือนช้ากว่า Amazon ซึ่งกลายเป็นที่หนึ่งในวงการหนังสือ ทั่วโลกไปเสียแล้ว

อีกตัวอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือแลนด์แอนด์เฮ้าส์ที่ช่วงหนึ่งหันมาโปรโมตกลยุทธ์การ ทำตลาด "บ้านเสร็จก่อนขาย" ครั้ง นั้นสร้างความฮือฮาให้กับวงการอสังหาริมทรัพย์เป็นอย่างยิ่ง

เพราะก่อนหน้านี้เจ้าของบ้านจัดสรร จะเรียกเงินดาวน์ลูกค้าก่อนที่จะสร้างบ้านเสร็จ แต่แลนด์แอนด์เฮ้าส์ใช้กลยุทธ์สร้างบ้านเสร็จแล้วถึงจะขาย โดยอาศัยความ

ได้เปรียบของการมีเงินทุนมากกว่าผู้ประกอบการรายอื่นมาลงทุนสร้าง บ้านให้ก่อน

ลูกค้าก็เกิดความน่าเชื่อถือ เพราะได้เห็นสินค้าก่อนซึ่งไม่เคยมีใครทำมาก่อน และส่งผลให้เจ้าของไอเดียนั้นประสบความสำเร็จเป็นอย่างยิ่ง

ซึ่งในความเป็นจริงแล้วแลนด์แอนด์เฮ้าส์ก็ได้ประโยชน์ด้วย เพราะแทนที่จะต้องมานั่งรอกว่าลูกค้าจะส่งเงินดาวน์ให้หมด แต่การขายบ้านที่เสร็จแล้วก็คือลูกค้าต้องโอนและเป็นเจ้า

ของเลยทำให้เจ้าของธุรกิจได้เงินเร็ว ยิ่งขึ้น ทั้งได้ความน่าเชื่อถือของธุรกิจอีกด้วย กลยุทธ์ในการปรับตัวอย่างก้าวกระโดดอย่างที่ 2. เป็นการรุกขึ้นมาโปรโมตธุรกิจอย่างจริงจัง

นับเป็นการปฏิวัติทางการความคิดของผู้บริหารโดยเฉพาะในระดับ SMEs ที่มองว่าการโฆษณาและประชาสัมพันธ์เป็นค่าใช้จ่ายโดยเปล่าประโยชน์แต่ควรมองว่าเป็นเงินลงทุนมากกว่า

ตัวอย่างของธุรกิจที่หันมาให้ความสำคัญ กับการโฆษณาประชาสัมพันธ์อย่างมาก ในระยะหลังจนทำให้ธุรกิจสามารถสร้างรายได้และ ยกระดับธุรกิจได้อย่างมากคือปลากระป๋องซีเล็คทูน่า จากเมื่อ 4-5

ก่อน น้อยคนนักที่จะรู้จักเขาแต่จากการโหมโฆษณาอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ส่งผลให้ยอดขายเพิ่มขึ้นอย่างมาก กลยุทธ์ที่ 3 เป็นการสร้างความแปลกใหม่ให้กับวงการอย่างที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน

เป็นการปฏิวัติเพื่อสร้างความแตกต่าง เช่นโซนี่ปฏิวัติวงการโทรทัศน์จอแบนเป็นเจ้าแรก หรือแม้แต่มิสทีน ที่หันมาใช้การโฆษณาทางสื่อโทร-ทัศน์ขัดต่อรูปแบบเดิมๆ ของธุรกิจ ขายตรงที่ไม่เคยทำมาก่อน

ส่งผลให้มิสทีนเป็นผู้นำในตลาดเครื่องสำอางประเภทขายตรงในเมืองไทย ด้วยสื่อโฆษณาที่สร้างความจดจำให้กับผู้พบเห็นได้อย่างดีหลายตอนที่ผ่านมา

การหาพันธมิตรเข้ามาร่วมธุรกิจก็เป็นอีกกลยุทธ์หนึ่งที่ส่งผลให้ผู้ประกอบการในระดับ SMEs สามารถพัฒนาขนาดขององค์กรธุรกิจจนเองได้เป็นอย่างดี เป็น

การก้าวกระโดดของการพัฒนาธุรกิจอย่างแท้จริง เช่นเครือเจริญโภคภัณฑ์เคยประสบความสำเร็จแบบก้าวกระโดดในธุรกิจค้าปลีกด้วยการซื้อแฟรนไชส์ 7-Elevenเข้า

มาดำเนินกิจการในไทยและร่วมทุน กับ Makro ในธุรกิจค้าส่งโดยใช้เวลาไม่นานก็สามารถก้าวกระโดดธุรกิจได้ นอกจากนี้ยังมีกลยุทธ์อื่นที่น่าสนใจอีกคือ การเปลี่ยนระบบการ

บริหารจากระบบครอบครัวมาเป็นมืออาชีพ อย่างที่แกรมมี่นำมาใช้โดย การจ้างมืออาชีพอย่างอภิรักษ์ เข้ามาเป็นประธานกรรมการ ส่งผลให้ภาพลักษณ์ขององค์กรเปลี่ยนในแง่ บวกเป็นอย่างยิ่ง

,ขยายสายธุรกิจใหม่เพื่อให้เป็นเรื่องของบริษัท และการเข้าระดมทุนในตลาด หลักทรัพย์ ซึ่งเป็นการก้าวกระโดด

ของธุรกิจอย่างข้ามขั้นโดยการใช้ความน่าเชื่อถือของกิจการเมื่ออยู่ในตลาดหลักทรัพย์แล้วเป็นใบเบิก ทางให้กับธุรกิจ อย่างไรก็ตามผศ. วิทวัส กล่าว ว่าที่ผ่านมาปัญหาของผู้ประกอบการ SMEs

อยู่ที่ความไม่กล้า และ กลัวต่อการปรับเปลี่ยน ทั้งมักจะพอ ใจในสิ่งที่อยู่หรือในระดับที่ทำอยู่แล้ว ไม่กล้าเสี่ยงกับความท้าทายใหม่ที่ส่งต่อการปรับขนาดของกิจการให้ใหญ่ขึ้นได้ ทั้งพบว่าบาง

รายมีโอกาสในการก้าวกระโดดแล้ว แต่ผู้บริหารกับทำไม่เป็นไม่รู้ว่าจะฉวยโอกาสนั้นได้อย่างไร นับเป็นจุด บอดที่เราต้องรีบแก้ไข

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us