Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน3 กรกฎาคม 2545
ดอกหญ้าหวังทุนใหม่ชุบชีวิต ปลดแอกเพื่อขยายธุรกิจต่อ             
 


   
www resources

ร้านหนังสือดอกหญ้าโฮมเพจ

   
search resources

ดอกหญ้า
Printing & Publishing




ดอกหญ้าหวังกลุ่มทุนใหม่เข้ามาชุบชีวิตธุรกิจร้านหนังสือ "ดอกหญ้า" ซื้อกิจการ ต่อจากเจ้าหนี้เพียง 240 ล้านบาท เพื่อขยายกิจการ ต่อเพราะเป็นธุรกิจที่ยังมีอนาคต

เผยหากไม่มีใครอุ้มชูอนาคตดอกหญ้าคงเหลือแต่ตำนาน นายณรงค์ศักดิ์ ตันติพินิจวงศ์ ผู้บริหารแผน บริษัท สามัคคีสาร ดอกหญ้า จำกัด (มหาชน)

เปิดเผยว่าปัจจุบันการดำเนินกิจการร้านหนังสือดอกหญ้า ภายใต้แผนฟื้นฟูดำเนินมาสู่ปีที่ 2 ซึ่งผลประกอบการ เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยในช่วง 6 เดือนแรก ของปีนี้สามารถทำกำไรได้เพิ่มขึ้น

ยกเว้นช่วงที่มีการ แข่งขันฟุตบอลโลกที่ส่งผลกระทบต่อยอดขายบ้าง อย่างไรก็ตาม ภายใต้แผนฟื้นฟูดังกล่าว บริษัท มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินให้แก่เจ้าหนี้เป็นเวลา 15 ปี คิดเป็นมูลค่าหนี้ 600 ล้านบาท

จากมูลค่าหนี้ทั้งหมด 1,000 ล้านบาท โดยหนี้ 400 ล้านบาท ได้หักออกจากการตีมูลค่าทรัพย์สินไปแล้ว และหากคิดมูลค่าหนี้ในปัจจุบันจะเหลือหนี้อยู่เพียง 240 ล้านบาทเท่านั้น

(หากสามารถจ่ายคืนเป็นเงินสดได้ทั้งหมดในขณะนี้) เท่ากับว่าดอกหญ้าจะได้ลดมูลค่าหนี้ลง ถึง 60% แต่ในช่วงระหว่างแผนฟื้นฟูกิจการนี้ ดอกหญ้า จะมีสิทธิ์ขยายสาขาได้เพียง 1

สาขาต่อปีเท่านั้นซึ่งคิดเป็นจำนวนที่น้อยมาก และยิ่งมองในภาพรวมของ ธุรกิจร้านหนังสือที่มีคู่แข่งขันเข้ามาเปิดร้านเป็นจำนวนมากแล้ว

เชื่อว่าในอนาคตดอกหญ้าจะไม่สามารถแข่งขันกับผู้ประกอบการรายใหม่ได้ และใน ที่สุดอาจเหลือเป็นเพียงตำนานร้านหนังสือดอกหญ้า เท่านั้น "ปัจจุบันมีกลุ่มผู้สนใจอย่างน้อย 5

รายที่ส่งนายหน้าเข้ามาติดต่อเพื่อขอลงทุนในกิจการร้านหนังสือดอกหญ้า แต่ว่าในขณะนี้บริษัทมีภารกิจ ในการจัดงานฉลองครบรอบ 20 ปีดอกหญ้า ซึ่ง จะต้องดำเนินการให้สำเร็จลุล่วงเสียก่อน

และหลังจากนั้นทางผู้บริหารแผนจะมาเริ่มเจรจากับผู้สนใจแต่ละราย" นายณรงค์ศักดิ์ กล่าวอีกว่าร้านหนังสือดอกหญ้า ยังถือว่าเป็นธุรกิจที่มีอนาคต แต่สถาน

การณ์ในปัจจุบันบีบบังคับให้บริษัทไม่สามารถขยายกิจการได้ เพราะเจ้าหนี้ไม่ต้องการให้ก่อหนี้ เพิ่ม ซึ่งจะเห็นได้จากการทำธุรกิจในปัจจุบันจะเน้นที่การลด แลก แจก แถม หรือ Hard Sale

เป็นหลักเพื่อให้มีรายได้เข้ามา ด้วยข้อจำกัดนี้ทำให้บริษัทต้องใช้ช่องทางที่มีอยู่เดิมสร้างรายได้ ให้เกิดขึ้นมากที่สุด ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายว่าในกรณี ของร้านรองเท้าบาจา ก็เข้ามาเสนอพื้นที่เพื่อให้เข้า

ไปขายหนังสือได้ถึง 20 สาขา แต่เปิดได้เพียง 1 สาขาเท่านั้น เพราะการขยายสาขาทั้งหมดต้องใช้เงินลงทุนมาก "ถ้าเราสามารถหาพันธมิตรเข้ามาซื้อกิจการ ดอกหญ้าได้ ผู้เข้ามาซื้อจะเสียเงินเพียง 240

ล้าน บาทให้แก่เจ้าหนี้เท่านั้น และจะทำให้ดอกหญ้าหลุดพ้นจากการฟื้นฟูกิจการ และสามารถขยายธุรกิจต่อไปได้ ซึ่งเราตั้งใจที่จะเปิดให้ได้ 100 สาขา หรือมีครบทุกจังหวัด ทุกอำเภอ

แต่ภายใต้การเข้ามาซื้อกิจการต่อนี้แม้ว่าผมจะไม่ได้เป็นเจ้าของแล้วก็ตาม แต่ก็จะมีเงื่อนไขว่าขอให้ผมเป็นผู้บริหารกิจการต่อไป" นายณรงค์ศักดิ์ กล่าวและว่า

ที่ผ่านมาดอกหญ้าต้องเสียโอกาสจากการขยายธุรกิจเป็นอย่างมาก เพราะได้เคยเจรจากับทางเทสโก้โลตัส และบิ๊กซี ที่จะเข้าไปเปิดร้าน หนังสือดอกหญ้าทั้งสองช่องทางในทุกสาขา

แต่หลังจากที่เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ ทั้งสองห้างได้ตัดสินใจให้ร้านหนังสืออื่นเข้าไปเปิดแทน เช่น เทสโก้โลตัส ก็ให้ร้านซีเอ็ดเข้าไปเปิดแทบทุก สาขา ในขณะที่ช่วงที่อยู่ในกระบวนการฟื้นฟูกิจ การ

ก็เคยติดต่อกับทางกลุ่มชินวัตรเพื่อให้เข้ามา ซื้อกิจการ แต่ช่วงนั้นจำนวนหนี้สินยังไม่ยุติทางกลุ่มชินวัตร จึงยังไม่เจรจาต่อ แต่ในขณะนี้ปัญหาเรื่องหนี้ยุติลงแล้ว และทราบจำนวนหนี้ที่เกิดขึ้นจริง

ซึ่งเชื่อว่าน่าจะมีกลุ่มที่สนใจเข้ามาซื้อกิจการต่อ ทั้งนี้ นายณรงค์ศักดิ์ ให้ความเห็นว่าก่อน หน้าที่จะเกิดวิกฤตเช่นนี้ ดอกหญ้าเคยขยายสาขา ในประเทศไทยได้ถึง 95 สาขา

เป็นทั้งร้านของบริษัทเองและร้านของแฟรนไชส์ และทำยอดขาย ได้เกือบ 1,000 ล้านบาท แต่ปัจจุบันดอกหญ้าเหลือร้านที่เป็นของบริษัท 20 สาขา และของแฟรน ไชส์ 40 สาขา มียอดขายในปีนี้ประมาณ

400 ล้าน บาท ซึ่งหากมีเงินทุนเข้ามาน่าจะทำให้ขยายสาขา เพิ่มขึ้น และเชื่อว่ายอดขายน่าจะเพิ่มขึ้นได้ถึง 1,000 ล้านบาทด้วย สำหรับในปีนี้ ดอกหญ้าได้พยายามหาพันธมิตรเข้ามาร่วมทำกิจกรรม

เพื่อสร้างให้ร้าน หนังสือดอกหญ้าเป็นช่องทางในการจำหน่ายสินค้า เช่นในกรณีของร้านเซ่เว่นฯ ที่มีสินค้าจำนวนมากอาศัยเป็นช่องทางจำหน่ายสินค้า

ซึ่งที่ผ่านมาดอกหญ้าได้จับมือเป็นพันธมิตรกับหลายราย เช่น วอร์เนอร์ บราเธอร์ ในการพิมพ์หนังสือระบายสีภาพยนตร์เรื่องแฮรี่ พอร์ตเตอร์ ออกจำหน่าย หรือการร่วมกับ บริษัท มูฟวี่ โฮม จำกัด

ผู้ผลิตซีดีภาพยนตร์เรื่อง 3 ก๊ก เพื่อจำหน่ายในร้านหนังสือดอกหญ้าพ่วงกับเครื่องเล่นวีซีดี ของบริษัท ฮาร์แวร์ สตาร์ ในราคาเพียง 5,000 บาทเท่านั้น โดยตั้งเป้าการจำหน่ายไว้ปีละ 10,000 ชุด

ซึ่งได้เริ่มจำหน่ายมาได้ 2 เดือน และมียอดขายแล้ว 2,000 ชุด นอกจากนี้ ภายในเดือนกรกฎาคม ดอกหญ้ายังตั้งเป้ารายได้ไว้ถึง 40 ล้านบาท เนื่อง

จากเป็นช่วงที่อายุของสมาชิกดอกหญ้าจะหมดอายุลงและจะต้องมีการต่ออายุใหม่ โดยปัจจุบัน ดอกหญ้ามีฐานสมาชิกอยู่แล้ว 3 แสนราย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us