สหภาพทศท. อัดไกรสร พรสุธี รองปลัดกระทรวงคมนาคม อาศัยสวมหมวกหลายใบ มั่วนิ่มตั้งโฮลดิ้งคัมปานี
คุมทศท. ให้ทำธุรกิจในประเทศ หวังช่วยอุ้มกสท.ทำต่างประเทศ และเอาเงินมา
อุดหนุนไปรษณีย์ฯ ฝืนนโยบายรัฐที่จะมีการจัดตั้งบรรษัท วิสาหกิจแห่งชาติอยู่แล้ว
ส่วนเรื่องสรรหาผู้อำนวยการทศท.คนใหม่เตรียมประชุม 8 ก.ค.นี้ นายมิตร เจริญวัลย์
ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย(สรท.) ในฐานะกรรมการสรรหาผู้อำนวยการทศท.กล่าวว่านายศุภชัย
พิศิษฐ-วานิช ประธานบอร์ดองค์การโทร-
ศัพท์แห่งประเทศไทย(ทศท.)ได้แจ้ง เรื่องไปยังนายกิตติ อยู่โพธิ์ ประธานคณะกรรมการสรรหาฯ
เมื่อวันที่ 27 มิ.ย.ที่ผ่านมา ให้เดินหน้าสรรหาผู้อำนวยการที่จะมาเป็นซีอีโอ
ของทศท.หลังการแปรสภาพเป็นบริษัท โดยที่คณะกรรมการสรรหาจะเรียกประชุมในวันที่
8 ก.ค.ที่จะถึงนี้ ซึ่งคาดว่าวาระสำคัญคือจะพิจารณาขยายเวลารับสมัครออกไป
อีกหรือไม่
เพราะหากมีการขยายเวลารับสมัครออกไป ผู้สมัครหลาย คนน่าจะเกิดอาการเสียความรู้สึกมากในทำนองว่าคนที่สมัครไปแล้ว
มันไม่ดีหรืออย่างไร โดยเฉพาะนายอรัญ เพิ่มพิบูลย์
รองผู้อำนวยการทศท.ซึ่งเป็นผู้มีคุณสมบัติครบตามเงื่อนไขรอบแรก แต่พอมีการยืดเวลารอบที่
2 ก็ลดคุณสมบัติลง ทำให้มีคนเข้ามาสมัครเพิ่มอีก 4 คน คือ1.ดร.สมควร บรูมินเหนทร์
ผู้ช่วยผู้อำนวยการทศท.2.นายไพโรจน์ วงศ์เจริญ อดีตผู้อำนวยการระดับฝ่ายทศท.
และใช้ตำแหน่ง ที่ปรึกษาส่วนตัวนายประชา มาลี-นนท์ รมช.คมนาคมมาสมัคร 3.
นายอรณพ จันทรประภา
ประธานกรรมการบริษัท สยามฟิวเจอร์ ดีเวลลอปเมนต์ อดีต กรรมการผู้จัดการไออีซี
รองผู้จัดการใหญ่ทีทีแอนด์ที และ4.นายมัชฌิมา กุญชร ณ อยุธยา รองกรรมการผู้จัดการสายบริหารและการเงิน
บริษัท ผลิตไฟฟ้า การเดินหน้าสรรหาต่อเป็นเพราะนโยบายที่ชัดเจนของรัฐบาลที่ให้แยกทศท.และกสท.ออกจากกันในการแปรสภาพเป็นบริษัท
แต่อย่างไรก็ตามยังมีความพยายามที่ซ่อนเร้นบางประการของนายไกรสร พรสุธี
รองปลัดกระทรวงคมนาคมด้านสื่อสารที่สวมหมวกหลายใบจน เกิดความสับสนในการปฏิบัติหน้า
ที่ไม่ว่าจะเป็นหมวกของประธานบอร์ดการสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.)หรืออยู่ในกลุ่มผู้บริหารสมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทยที่มีบริษัทเอกชนอยู่ในนั้นเกือบทุกราย
ความพยายามของนายไกรสร
คือต้องการให้มีการจัดตั้งบริษัท โฮลดิ้งหรือบริษัทรวมทุน โดยได้เรียกผู้อำนวยการทศท.และผู้ว่า
การกสท.เข้าร่วมประชุมเมื่อวันศุกร์ที่ 28 มิ.ย.ที่ผ่านมา โดยข้อเสนอ ของกสท.ต้องการให้โฮลดิ้ง
คัมปานีมีอำนาจเบ็ดเสร็จ 2 ประการคือ 1. กำกับนโยบายการทำงานของบริษัท ทศท.
คอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) และบริษัท กสท. โทรคมนาคม
ไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนในการบริการงานกล่าวคือต้องการควบคุมให้บริษัท ทศท.ดำเนินธุรกิจเฉพาะในประเทศและให้บริษัท
กสท.โทร-คมนาคม ดำเนินธุรกิจโทรศัพท์ระ หว่างประเทศ 2.ต้องการให้บริษัท
ทศท.และกสท.โทรคมนาคมนำเงินส่งโฮลดิ้ง คัมปานี เพื่อสนับสนุนกิจการบริษัท
กสท.ไปรษณีย์ ในขณะที่ข้อเสนอหรือความต้องการของทศท. ไม่ต้องการให้มีบริษัท
รวมทุนหรือโฮลดิ้งคัมปานี
เพราะรัฐบาลมีนโยบายจัดตั้งบรรษัท วิสาหกิจแห่งชาติ ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการออกกฎหมายแต่หากจะต้องการให้มีโฮลดิ้งคัม-ปานี
ทศท.ต้องการให้โฮลดิ้ง คัม-
ปานีไม่มีอำนาจในการกำกับดูแลแต่อย่างใด นายมิตรกล่าวว่าสรุปผลประ ชุมคณะทำงานดังกล่าวจึงไม่สามารถ
ได้ข้อยุติ เนื่องจากทศท.และกสท. โดยนายไกรสร พรสุธี
ประธานบอร์ดกสท.มีความเห็นที่แตกต่างกัน จึงนำข้อเสนอทั้ง 2 ด้านส่งต่อไปยังคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัท
ที่มีนายศรีศุข จันทรางศุ ปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประ ธานเพื่อพิจารณาต่อไป
"เป้าหมายที่นายไกรสรต้อง การตั้งโฮลดิ้ง เพราะต้องการกำกับดูแลลิดรอนสิทธิในการให้บริการของทศท.ให้จำกัดอยู่แต่ในประเทศ
แล้วให้กสท.ทำต่างประเทศ เพื่อจะได้กอดคอตายด้วยกัน ซึ่งทศท.ยอม
ไม่ได้อยู่แล้วเพราะเมื่อเปิดเสรีทศท. พร้อมทำทุกอย่างที่กสท.ทำได้อยู่แล้ว
นอกจากนี้ทศท.ยังมีภาระเงินกู้อีกมากที่เป็นรายจ่ายเพื่อสังคมอย่างโครงการโทรศัพท์สาธารณะทางไกลชนบทหรือ
TDMA
การจะให้มาสนับสนุนกิจการไปรษณีย์อีก ดูจะไม่สมเหตุสมผล"