Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน9 มิถุนายน 2548
"ดีแทค-ทรู"ถล่มกทช.             
 


   
www resources

โฮมเพจ กสท โทรคมนาคม
โฮมเพจ DTAC
โฮมเพจ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย
โฮมเพจ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

   
search resources

โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น, บมจ.
กสท โทรคมนาคม, บมจ.
สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
ทรู คอร์ปอเรชั่น, บมจ.
Telecommunications
ทีโอที, บมจ.




ดีแทค-ทรู ประสานเสียงถล่มกทช. เรื่องการออกใบอนุญาตต้องเท่าเทียมและเป็นธรรม ไม่ควรรีบร้อนและต้องปลดแอกเอกชนจากสัญญาร่วมการงาน ซึ่งกทช.สามารถทำได้ด้วยการกำหนดในเงื่อนไขใบอนุญาต เตรียมแผน B ตั้งบริษัทขอใบอนุญาตใหม่ โอนลูกค้าเดิมเช่าโครงข่าย ด้านประธานกทช.ย้ำใบอนุญาตจะไม่ทำให้ทีโอทีและกสท ผูกขาดในลักษณะเอกชนคุมเอกชน

นายซิคเว่ เบรกเก้ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วม บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือดีแทคกล่าวถึงการออกใบอนุญาตของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ว่า กทช.ไม่ควรรีบออกใบอนุญาตให้บริษัท ทีโอที กับบริษัท กสท โทรคมนาคมในเดือนก.ค.ที่จะถึงนี้ แต่ควรจะมีเงื่อนไขที่ชัดเจนใน License Framwork ก่อน เพราะจะทำให้เอกชนสามารถรู้ว่าจะขอใบอนุญาตในลักษณะเดียวกันหรือไม่

ดีแทคเห็นว่าหากต้องการให้เกิดความชัดเจนเพื่อเป้าหมายการแข่งขันที่เสรีและเป็นธรรมบนพื้นฐานเดียวกัน กทช.ควรดำเนินการใน 3 ขั้นตอนคือ 1. แผนแม่บทซึ่งกำลังจะมีการประชาพิจารณ์ในวันนี้ (9 มิ.ย.) ถือเป็นเรื่องที่ถูกต้อง 2. กทช.ควรออกเงื่อนไขรายละเอียดในใบอนุญาต หรือ License Framwork พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้มีการประชาพิจารณ์ โดยเฉพาะโอเปอเรเตอร์ เพื่อให้เงื่อนไขที่เป็นธรรม และ 3. เป็นขั้นตอนการออกใบอนุญาตให้ทีโอทีและกสท ซึ่งจะทำให้เอกชนรู้ว่าควรเดินหน้า เรื่องการขอใบอนุญาตอย่างไร

"ทั้ง 3 ขั้นตอนคาดว่าจะใช้เวลาแค่ 3-4 เดือน ซึ่งกทช.ไม่ควรเร่งรัดออกใบอนุญาตให้ทีโอทีกับกสท โดยยังไม่มีรายละเอียดที่ชัดเจนรอบด้าน ควรชะลอไปก่อนเพื่อไม่ให้เกิดความสับสน"

นายซิคเว่กล่าวว่าหากมีการทำประชาพิจารณ์ License Framwork ดีแทคจะเสนอให้มีการเพิ่มเงื่อนไขให้ทีโอทีและกสทยุติบทบาทการใช้อำนาจในการกำกับดูแลบริษัทคู่สัญญาอย่างดีแทคหรือเอไอเอส และต้องให้ผู้ให้บริการทุกรายอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกทช.ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการทุกรายต้องจ่ายค่าใบอนุญาต, ค่าใช้จ่ายการให้บริการสาธารณะ USO (Universal Service Obligation), ค่าเชื่อมโครงข่าย (อินเตอร์คอนเน็กชัน ชาร์จ) และค่าธรรมเนียมอื่นๆเท่าเทียมกันหมด หมายถึงจะทำให้ค่าเชื่อมโยงหรือแอ็กเซสชาร์จ และส่วนแบ่งรายได้หมดไป

นายวิชัย เบญจรงคกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วมดีแทคกล่าวว่าเดิมสัญญาร่วมการงานที่รัฐทำกับเอกชน ไม่ใช่เป็นสัญญาการค้าหรือ Business Contract แต่เป็นการทำสัญญาด้านการปกครอง ด้วยการอาศัยอำนาจการกำกับดูแลของรัฐผ่านรัฐวิสาหกิจ ซึ่งปัจจุบันอำนาจกำกับดูแลเปลี่ยนไปอยู่ภายใต้กทช. ซึ่งทำให้สัญญาดังกล่าวสมควรที่จะโอนไปอยู่ภายใต้กทช.เช่นเดียวกัน

"เราจะทำเรื่องเสนอไปที่กทช.เพื่อหารือในประเด็นดังกล่าว เพราะดีแทคเชื่อว่าสัญญาร่วมการงานเป็นสัญญาปกครองที่อาศัยอำนาจการเป็นผู้กำกับดูแล ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนไปอยู่ภายใต้อำนาจกทช.แล้ว ซึ่งในอดีตกรมไปรษณีย์ที่เปลี่ยนสถานะเป็นสำนักงานเลขากทช. เคยศึกษาและมีความเห็นในทิศทางเดียวกันมาแล้ว"

เขาย้ำว่าหากกทช.ให้ใบอนุญาตทีโอทีและกสท โดยที่สัญญาร่วมการงานยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง ก็จะนำไปสู่การผูกขาดเหมือนเดิมไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง สิ่งที่ดีแทคเรียกร้องคือต้องการอยู่บนกรอบการแข่งขันที่เสรีและเป็นธรรม และเป็นผู้ประกอบการที่ได้รับใบอนุญาตเหมือนกัน

นายซิคเว่กล่าวว่าหากดีแทคยังไม่ได้รับความชัดเจนหรือได้รับความเป็นธรรมในเรื่องการได้รับใบอนุญาตที่ทัดเทียมกับทีโอทีและกสท นอกจากดีแทคจะใช้กระบวนการด้านกฎหมายเรียกร้องความเป็นธรรมแล้ว ดีแทคจะใช้แผน B ด้วยการตั้งบริษัทใหม่ เพื่อขอใบอนุญาตใหม่ แล้วโอนลูกค้ามายังบริษัทใหม่นี้ทั้งหมด แล้วใช้วิธีเช่าโครงข่ายแทนซึ่งหากวิธีนี้ ทีโอทีและกสท ก็จะไม่ได้อะไร

"เราไม่ต้องการทำร้ายทีโอทีหรือกสท เพียงแต่หากสัญญามีความชัดเจนจะเป็นผลดีกับทีโอทีและกสท ในการเข้าตลาดและการวางแผนธุรกิจในอนาคต"

พล.อ.ชูชาติ พรหมพระสิทธิ์ ประธานกทช.กล่าวว่าภายในวันที่ 15 มิ.ย.จะต้องรวบรวมเงื่อนไขหลักๆ ที่อยู่ในใบอนุญาตให้แล้วเสร็จไม่ว่าจะเป็นเรื่อง USO, ค่าเชื่อมโครงข่าย แผนเลขหมายโทรคมนาคม (Numbering Plan) ค่าธรรมเนียมต่างๆ และเงื่อนไขในการแข่งขันที่เป็นธรรม ซึ่งภายหลังจากที่ได้กรอบเงื่อนไขใบอนุญาต กทช.จะนำออกมาทำประชาพิจารณ์เพื่อรับฟังความเห็นของเอกชน ก่อนที่จะออกใบอนุญาตให้ทีโอทีและกสท ซึ่งต้องให้ความเป็นธรรมกับผู้ประกอบการทั้งรายเก่าและรายใหม่ รวมทั้งรายที่เป็นคู่สัญญากับทีโอทีและกสท ไม่ใช่มุ่งแต่จะออกใบอนุญาตให้ทีโอทีกับกสทเท่านั้น

"ขอให้สบายใจ กทช.จะต้องดูให้รอบคอบเพื่อให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรม ไม่ใช่เป็นการบล็อกหรือถูกผูกขาดโดยทีโอทีและกสท ซึ่งเป็นเรื่องที่เราระวังมาก"

นอกจากนี้ยังมีความเป็นไปได้ที่ในเงื่อนไขใบอนุญาตจะมีการระบุไม่ให้ทีโอทีและกสท ใช้อำนาจในการกำกับดูแลเอกชนในลักษณะเอกชนคุมเอกชนเอง

นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่าทรูมองว่ากทช.มีหน้าที่โดยตรงที่ทำให้เกิดการแข่งขันที่เสรีและเป็นธรรม ประเด็นที่มีความเป็นห่วงมากคือเรื่องใบอนุญาตที่จะออกให้ทีโอทีและกสท ไม่ควรนำไปสู่การให้เช่าช่วงหรือให้สัมปทานต่อทั้งความถี่และเรื่องเลขหมาย

"ผมอยากเห็นการเปิดเสรีจริงๆ ไม่ใช่แบบลูบหน้าปะจมูก ยังผูกขาดหมือนเดิมหรือมากกว่าเดิม เพราะการให้ใบอนุญาตในขณะที่สัญญายังไม่มีการเปลี่ยนแปลง จะเกิด Conflict of Interest 100% เพราะกลายเป็นให้เอกชนคุมเอกชนด้วยกัน"

เขาย้ำว่าสัญญาร่วมการงานที่มีอยู่ในปัจจุบันต้องปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงตามรัฐธรรมนูญที่ต้องการให้เกิดการแข่งขันเสรีและตามกฏเกณฑ์ใบอนุญาตที่กทช.จะกำหนดขึ้น ซึ่งการที่กทช.บอกว่าสัญญาไม่เกี่ยวกับกทช.ถือว่ากทช.พูดผิด

กทช.สามารถระบุในเงื่อนไขใบอนุญาตเพื่อนำไปสู่การแปรสัญญาได้อย่างเช่นให้ใบอนุญาตกับผู้ประกอบการแต่ไม่สามารถไปให้เช่าช่วงต่อได้ไม่ว่าความถี่หรือเลขหมาย หรือกำหนดให้ส่วนแบ่งรายได้มาจ่ายให้กทช.ทั้งหมดเพื่อนำไปให้บริการสาธารณะ (USO)

"ถ้าไม่เปิดเสรีจริง เราจะสู้ถึงที่สุดไม่ใช่สู้ปีเดียว แต่อีก 10 ปี เราก็จะสู้ เพราะเราถือว่าตอนนี้เป็นช่วงการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม"

ปัจจุบันกลุ่มทรูจ่ายส่วนแบ่งรายได้ให้รัฐประมาณ 1.2 หมื่นล้านบาท และมองว่าแนวทางแก้ปัญหาเรื่องสัญญาร่วมการงานทำได้โดยกทช.ออกใบอนุญาตใหม่มาทับสัญญาร่วมการงาน ภายใต้เงื่อนไขเดียวกับทีโอทีและกสท พร้อมทั้งโอนลูกค้ามาบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตใหม่ และใช้วิธีเช่าโครงข่ายแทน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us