"กอบชัย จิราธิวัฒน์" นั่งแท่นคุมเซ็นทรัลพัฒนา ประกาศแผนเชิงรุกพร้อมขยายสาขาเพิ่มอีกเท่าตัวในช่วง
6 ปี จากปัจจุบันที่มีศูนย์การค้าเซ็นทรัล พลาซ่า แล้วถึง 7 แห่ง ส่วนแผนงานช่วงดำรงตำแหน่ง
4
ปี นำโครงการเก่ามา ปัดฝุ่น 3 โครงการ คือ ที่สี่แยกพระราม 9, ขอนแก่น และศรีราชา
คาดใช้เงินลงทุน 4,000 ล้านบาท พร้อมกับเปิดกว้างรับพันธมิตรเข้าร่วมทำธุรกิจ
นายกอบชัย จิราธิวัฒน์ กรรม
การผู้จัดการใหญ่ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอ็น เปิดเผยว่า
ได้เข้ามาดำรงตำแหน่งใหม่อย่างเป็นทางการตั้งแต่เดือนเมษายน 2545 ที่ผ่านมา
แทนนายสุทธิธรรม จิราธิวัฒน์
ที่ไปดำรงตำแหน่งกรรมการบริหาร-ปฏิบัติการ ของเซ็นทรัลกรุ๊ป ซึ่งการรับตำแหน่งในครั้งนี้จะมีวาระการบริหารงาน
4 ปี ในช่วง 4 ปีนี้ ซีพีเอ็นมีแผน ที่จะขยายธุรกิจแบบก้าวกระโดด
หลังจากช่วงที่ผ่านมาได้ขยายธุรกิจ แบบค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจของประเทศอยู่ในภาวะที่ตกต่ำ
ซึ่งในช่วง 4 ปีนับจาก นี้ บริษัทมีแผนที่จะนำโครงการเก่า
ที่เคยดำเนินการมาก่อนแล้วและหยุดโครงการลงในช่วงปี 2540 มาดำเนินการใหม่
ประกอบด้วย 3 โครงการ คือ ที่บริเวณสี่แยกพระ ราม 9 ตรงข้ามฟอร์จูน ทาวน์,
โครงการที่ชลบุรี และที่ขอนแก่น
ซึ่งคาดว่าจะใช้เงินลงทุนรวมกันประมาณ 4,000 ล้านบาท ในจำนวน นี้จะเป็นเงินทุนของบริษัท
2,000 ล้านบาท ส่วนที่เหลือจะกู้จากสถา-บันการเงิน "ปัจจุบันซีพีเอ็นนับเป็นกลุ่ม
พัฒนาพื้นที่ค้าปลีกที่มีความแข็ง แกร่งในเรื่องเงินทุนเป็นอย่างมาก และในพื้นที่เช่าที่บริหารอยู่ก็มีผู้เช่าเต็มหมดทุกศูนย์
จึงทำให้รายได้ของบริษัทมีรายรับที่แน่นอน
ซึ่งส่งผลต่อความน่าเชื่อถือในองค์กรและทำให้สถาบันการเงินหลายแห่ง มีความต้องการที่จะเข้ามาเป็นพันธ-มิตรเพื่อทำโครงการร่วมกับซีพีเอ็น
นอกจากนี้ ซีพีเอ็น ยังวาง
แผนที่จะเติบโตแบบก้าวกระโดด โดยแผนงานในช่วง 6 ปีนับจากนี้ คาดว่าจะมีศูนย์การค้าแห่งใหม่เกิดขึ้นอีกเท่าตัว
หรืออีก 7 โครง การ จากปัจจุบันที่มีอยู่แล้ว 7 โครง การ ประกอบด้วย ศูนย์การค้าเซ็น-
ทรัล พลาซ่า ลาดพร้าว,รามอินทรา, ปิ่นเกล้า, พระราม 3, เซ็นทรัล เฟส-ติวัล
เซ็นเตอร์ พัทยา, เซ็นทรัล แอร์พอร์ต พลาซ่า เชียงใหม่, และเซ็น-ทรัล พลาซ่า
พระราม 2 ที่จะเปิดปลายปีนี้
สำหรับโครงการใหม่ที่จะมีเพิ่มอีกประมาณ 4 โครงการ นอกเหนือจากโครงการเก่าที่นำมาดำเนิน
การใหม่แล้ว จะมีทั้งที่สร้างขึ้นมาใหม่และการร่วมเข้าไปบริหารโครง
การเก่าที่เจ้าของโครงการเดิมทำแล้วไม่ประสบความสำเร็จ ซึ่งที่อยู่ระหว่างการเจรจา
เช่น ศูนย์การค้าเวิลด์เทรด เซ็นเตอร์ และอีกหลาย โครงการที่ยังไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้
แต่เป็นโครงการที่ซีพีเอ็นเห็นว่ามีศักยภาพและสนใจจะเข้าไปพลิกฟื้นให้กลับมาเป็นศูนย์การค้าชั้นนำอีกครั้งหนึ่ง
นายกอบชัย กล่าวว่า
การที่ซีพีเอ็นมีแผนขยายธุรกิจมากเช่นนี้เป็นผลมาจากการแข่งขันที่รุนแรงของศูนย์
การค้า โดยเฉพาะการที่ค้าปลีกข้ามชาติที่เข้ามาเปิดดิสเคานต์สโตร์
ต่างก็นำรูปแบบของพลาซ่าหรือศูนย์การค้าเข้ามาใช้ ประกอบกับบริษัทเห็นว่าสภาพเศรษฐกิจนับจากนี้ไปจะสดใสยิ่งขึ้น
ซึ่งศูนย์การค้ายังมีโอกาสขยายตัวได้อีกมาก
ดังนั้นบริษัทจึงต้องรีบขยายเข้าไปยังพื้นที่ที่ยังไม่มีใครเข้าไปก่อน เพื่อจับจองพื้นที่และสร้างการเป็น
ผู้นำในการทำศูนย์การค้า โดยปี 2545 ซีพีเอ็นมีส่วนแบ่งการตลาดพื้นที่ศูนย์การค้า
18%
คิดเป็นจำนวน 633,076 ตารางเมตร ส่วนอันดับสอง คือ กลุ่มเดอะมอลล์ ที่มีส่วนแบ่ง
12% จำนวนพื้นที่ 433,542 ตารางเมตร ตางด้วยเทสโก้โลตัส มีส่วนแบ่ง 7% จำนวนพื้นที่
260,500 ตารางเมตร
ทำให้ซีพีเอ็นจะต้องเร่งขยายพื้นที่เพื่อให้ส่วนแบ่งการตลาดทิ้งห่างคู่แข่งขันให้มากขึ้น
"ในการลงทุนทำศูนย์การค้าในจังหวัดใหญ่ๆนั้น บริษัทจะนำเสนอรูปแบบใหม่ที่อาจไม่ได้เป็นศูนย์ที่ใหญ่มาก
อาจมีขนาดพื้นที่ประมาณ 20,000 ตารางเมตร และพัฒนารูปแบบให้เหมาะกับประชากรในจังหวัดนั้นเป็นหลัก
ซึ่งโครงการที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ เซ็นทรัล เฟสติวัล เซ็นเตอร์ พัทยา
ที่มีรูปแบบต่างจากศูนย์ในกรุงเทพฯ ซึ่งประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก นายกอบชัย
กล่าวว่า ในการขยายธุรกิจของซีพีเอ็น จะเน้นที่การร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจเป็นหลัก
ซึ่งซีพีเอ็นมีความได้เปรียบที่มีพันธมิตรที่แข็งแกร่งอย่างกลุ่มเซ็นทรัล
รีเทล เช่น ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล โรบินสัน ร้านขายสินค้าเฉพาะทางอย่าง
เพาเวอร์บาย ซูเปอร์สปอร์ต บีทูเอส โฮมเวิร์ค
มีธุรกิจร้านอาหาร เช่น เคเอฟซี มิสเตอร์โดนัท บาสกิ้นรอบบิ้น และพันธมิตรนอกเครืออย่าง
บิ๊กซี ท็อปส์ ซูเปอร์ มาร์เก็ต เป็นต้น และบริษัทยังเปิดรับพันธมิตรรายใหม่ที่มีศักยภาพเข้ามาด้วย
ซึ่งที่ผ่านมาได้ร่วมมือกับ กองทุนโรแดมโก้ ซึ่งเป็นกองทุนที่เข้าไปถือหุ้นในศูนย์การค้าชั้นนำในหลายประเทศ
เข้ามาร่วมถือหุ้นในโครงการศูนย์การค้าเซ็นทรัล พระราม 3 ด้วย "การที่มีกลุ่มพันธมิตรเข้ามา
ช่วยเสริมให้ซีพีเอ็นมีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น อย่างเช่น กลุ่มโรแดมโก้
ที่ได้นำเอาประสบการณ์และมุมมองในการทำศูนย์การค้ามาถ่ายทอดให้กลุ่มซีพีเอ็น
ซึ่งทำให้บริษัทสามารถนำมาใช้ในการวางแผนทางธุรกิจในอนาคตได้" ด้านการบริหารงานนั้นก็ได้เปลี่ยนแปลงจากเดิมที่การตัดสินใจส่วนใหญ่จะอยู่ที่นายสุทธิธรรมเป็นหลัก
แต่เมื่อนายกอบชัยเข้ามารับ
ตำแหน่งผู้บริหารคนใหม่ ได้กระจายอำนาจการ ตัดสินใจไปยังผู้บริหารในแต่ละสายงาน
เพื่อให้ การบริหารที่ความคล่องตัว และรวมเร็วทันต่อเหตุการณ์มากยิ่งขึ้น
ซึ่งจะส่งผลให้นโยบายการบริหารงานเชิงรุกเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว