ในหลักการใช้เงินนั้น ผู้รู้ท่านมักจะแนะนำว่าให้ใช้เงินอย่างประหยัดและเก็บหอมรอมริบเอาไว้ แล้วเมื่อแก่เฒ่าก็จะสบายเอง
แต่ผู้รู้ก็ลืมบอกไปว่าวิธีการเก็บหอมรอมริบนั้นมันควรจะเก็บหอมรอมริบอย่างไร เงินทองมันถึงจะงอกเงยเพิ่มพูนขึ้นมาเรื่อยๆ อย่างน้อยก็ต้องเพิ่มพูนเกินกว่าอัตราเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นอยู่ทุกวันนี้
ในการสร้างสมฐานะขึ้นมานั้น สำหรับคนที่มีรายได้ประจำหรือที่เป็นลูกจ้างนั้น มักจะไม่ค่อยมีทางเลือกอะไรมากมายนัก นอกจากการเก็บสะสมออมเงินที่มีต่อเดือนหลังจากหักค่าใช้จ่ายไปเรื่อยๆ
ถ้าโชคดีมีเงินออมก็ดีไป แต่ส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยมีเงินออมเหลือ มักจะต้องเกินดุลที่ตัวเองมีอยู่
ปัญหาที่ว่านั้นมักจะเกิดขึ้นเพราะเราขาดการวางแผนการใช้เงินหรือภาษาที่ทันสมัยทุกวันนี้คือขาดวินัยการใช้เงิน
การวางแผนใช้เงินนั้น ควรจะเริ่มจากจุดพื้นฐานก่อน นั่นคือการประเมินรายได้ที่เราควรจะได้ในรอบหนึ่งปี
รายได้ในที่นี้หมายถึงเงินเดือนและโบนัสพิเศษ ส่วนรายได้อื่นที่ไม่แน่นอน เช่น รายได้ที่คาดว่าจะได้
จากการเป็นนายหน้าขายที่ดิน ฯลฯ อย่าเอาเข้ามารวมเพราะเมื่อรวมแล้วและจัดสรรเป็นรายจ่ายก็จะไม่ลงตัวถ้ารายได้นั้นเกิดไม่ได้ขึ้นมา
สมมุติว่าสามีภรรยาคู่หนึ่งมีรายได้รวมต่อปีประมาณ 280,000 บาท โดยแบ่งเป็นเงินเดือน 20,000 บาท (คนละหนึ่งหมื่นบาท) โบนัส 40,000 บาท (คนละ 2 เดือน)
เงินเดือน 20,000 บาท ได้รับทุกเดือน
โบนัส 40,000 บาท ได้รับเดือนมีนาคมของทุกปี
ตารางรับจ่ายต่อเดือน
* รายรับ
- 20,000
* รายจ่าย
- ค่าผ่อนบ้าน 5,000 บาท
- ค่าผ่อนรถ 5,000 บาท
- ค่าน้ำมันรถและค่าซ่อม 3,000 บาท
- ค่าน้ำไฟ ค่าอาหาร 3,000 บาท
- ค่าใช้จ่ายประจำตัว 4,000 บาท
- ค่าประกันรถ 800 บาท
รวม 20,800 บาท
ในกรณีเช่นนี้ก็จะพอเห็นอนาคตของสามีภรรยาคู่นี้ได้ชัดว่าคงจะต้องมีหนี้สินแล้วค่อยรอเอาเงินโบนัสมาจ่ายหนี้ และถ้าเป็นเช่นนี้แล้ววงจรหนี้สินแบบนี้ก็คงต้องหมุนเวียนตลอดไป
สมมุติว่าเราจะมานั่งวิเคราะห์กันใหม่ เราจะเห็นว่า
ค่าผ่อนรถ ค่าน้ำมันและค่าซ่อมมีสัดส่วนเป็น 40% ของฐานเงินเดือนซึ่งเป็นสัดส่วนเดียวกับค่าที่อยู่อาศัยและอาหารซึ่งเป็นความจำเป็นของผู้อยู่มากกว่า
ถ้าจะพูดถึง COST & BENEFIT แล้ว ค่าผ่อนรถและค่าน้ำมัน เป็น UNPRODUCTIVE SPENDING เพราะถ้าสามีภรรยาคู่นี้ทำงานประจำก็น่าที่จะสละความสบายที่ความจริงก็สบายกว่ากันไม่มากเท่าไร และมานั่งรถเมล์แทน ซึ่งจะลดลงได้ถึง 7,000 บาทต่อเดือน
แน่นอนที่สุดจะให้สบายเหมือนมีรถยนต์นั้นย่อมเป็นไปไม่ได้ แต่การมีรถยนต์นั้นมักจะมีรายการใช้จ่ายต่อเนื่องกัน เช่น
- การสังคมที่มากขึ้น
- การออกไปเที่ยวเตร่ที่ถี่ขึ้น
- การบำรุงรักษาตลอดจนการตกแต่งที่ต้องใช้เงิน
ถ้าการมีรถยนต์ไม่ได้ช่วยให้การงานได้เลื่อนตำแหน่งเร็วขึ้นแล้วก็น่าจะกำจัดไปเสีย
การจัดสรรเงินโดยไม่มีรถยนต์ก็จะออกมาในรูปนี้ :-
* รายได้
20,000 บาท
* รายจ่าย
ค่าผ่อนบ้าน :
- 5,000 บาท
ค่าน้ำไฟอาหาร :
- 3,000 บาท
ค่าใช้จ่ายประจำตัว :
- 4,000 บาท
ค่ารถไปทำงาน :
- 2,000 บาท (รวมค่าแท็กซี่บางครั้ง)
รวม : 14,000 บาท
เงินเหลือต่อเดือน : 6,000 บาท
รายได้และรายจ่ายต่อไป
* รายได้
- 240,000 (เงินเดือน) 14,000 x 12
- 40,000 (โบนัส)
- 280,000 บาท
* รายจ่าย
- 168,000
เงินคงเหลือต่อปี 112,000 บาท
ข้อเปรียบเทียบระหว่างการมีรถใน 3 ปี กับการไม่มีรถจะเห็นได้ชัดว่าการไม่มีรถนั้นเมื่อสิ้นสุดปีที่ 3 ถ้าสามีภรรยาคู่นี้ไม่มีรถและรู้จักเอาเงินที่เหลือเก็บมาลงทุนในรูปอัตราดอกเบี้ยแล้วจะมีเงินเหลือ 381,002.50 บาท ในขณะที่ฝ่ายมีรถจะมีเงินสดเหลือเพียง 91,200 บาท ซึ่งส่วนแตกต่างกันจำนวน 290,402.50 คือค่าใช้จ่ายในเรื่องรถ ซึ่งเมื่อสิ้นสุดปีที่ 3 แล้วรถคันนั้นก็คงมีมูลค่าเพียง 50% ของราคาที่ซื้อมาปีแรก ทั้งนี้ค่าใช้จ่ายยังไม่คิดค่าประกันรถอีกต่างหาก !
การเก็บออมของคนไม่มีรถ
ปีที่หนึ่ง
เงินเก็บต่อเดือน 6,000x12 = 72,000
โบนัส = 40,000
รวมเงินเก็บ = 112,000 ต่อปี
การลงทุนต่อปี
ฝากเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินอัตราดอกเบี้ย 14.5% สิ้นสุดปีที่ 3 (ฝากเพียง 100,000 บาทต่อปี) 345,602.5
นอกจากนั้นยังมีเงินสดสำรองไว้ใช้อีกปีละ 12,000 บาท ซึ่งสามารถเอาไปซื้อประกันชีวิตให้ครอบครัวได้อีกเป็นการสะสมทรัพย์ไปในตัว
ที่เขียนมาทั้งหมดนี้ ไม่ใช่ว่าการมีรถจะไม่จำเป็น หากแต่ว่าการดู PRIORITY ของชีวิตนั้นจำเป็นกว่า
มีคนอยู่มากที่ทั้งชีวิตทำงานเพียงเพื่อมาผ่อนส่งของหรือซื้อแต่ความสะดวกสบาย
การซื้อความสะดวกสบายนั้นเป็นการปรับปรุงมาตรฐานคุณภาพของชีวิตให้ดีขึ้นอย่างหนึ่ง
แต่มักจะมีคนเร่งซื้อมันเมื่อตัวเองยังไม่พร้อม !
กรณีของสองสามีภรรยาคู่นี้พอจะเห็นได้ชัดว่าการเร่งหาความสะดวกสบายนั้นคือการตัดอนาคตตัวเองไปสิ้นเชิง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อครอบครัวต้องขยายมีบุตรมีธิดาเป็นสมาชิกเพิ่มขึ้นมาอีก
อุทาหรณ์นี้น่าจะประยุกต์เข้ากับคนหนุ่มคนสาวที่กำลังโตขึ้นไปในหน้าที่การงานและกำลังอยู่ในช่วงการสร้างตัวให้เป็นปึกแผ่น
การสร้างตัวก็เหมือนการประกอบธุรกิจอย่างหนึ่งตรงที่ว่าถ้ายังไม่พร้อมแล้วก็อย่าเพิ่งขยายหรือจับจ่ายอะไรที่แท้จริงแล้วไม่มีความจำเป็นเลย
นอกจากการลงทุนในตั๋วสัญญาใช้เงินแล้วก็ยังมีการลงทุนในประเภทอื่นหรือก็ยังมีวิธีการใช้เงินส่วนที่เหลือให้เป็นประโยชน์ เช่น
1. อาจจะเอาเงินส่วนที่เหลือไปลดยอดเงินต้นของการผ่อนบ้านเพื่อให้ภาระดอกเบี้ยน้อยลง หรือ
2. เอาเงินไปดาวน์ที่ดินแล้วใช้เงินที่เหลือจากการไม่มีรถผ่อนที่ดินผืนนั้นเพื่อสร้างทรัพย์สินขึ้นมาที่จะมีราคา 2-3 เท่าใน 5-10 ปีข้างหน้าหรือ
3. เอาเงินไปซื้อหุ้นที่เป็น BLUE CHIPS เช่น หุ้นปูนซิเมนต์ไทย หรือธนาคารกสิกรไทย ฯลฯ แล้วเอาเงินปันผลมาจับจ่ายใช้สอย หรือ
4. ค่อยซื้อรถด้วยเงินกู้จากธนาคารโดยเอาเงินฝากค้ำประกันก็จะประหยัดดอกเบี้ยจากการผ่อนรถได้ถึงเกือบ 10% ต่อปี ฯลฯ
แต่ทั้งหมดนี้จะทำไม่ได้ถ้าเราไม่มีการวางแผนการบริหารเงิน
สังคมไทยทุกวันนี้เรามี UNPRODUCTTIVE SPENDING อยู่มาก ฉะนั้นสำหรับคนฉลาด
ถ้ารู้ว่าสิ่งใดเป็น UNPRODUCTTIVE SPENDING แล้วถ้าหลีกเลี่ยงได้ก็จะเป็นการดีที่สุด
|