สมาคมโฆษณาฯ แจงอุตสาหกรรมโฆษณา ครึ่งปีแรกโตกระฉูด 10-12% รับอานิสงส์
มาตรการภาครัฐ ฟื้นธุรกิจอสังหาฯ เทศกาลบอลโลก คาดสิ้นปีอาจโตได้ 12-15%
สร้างเม็ดเงิน 60,000 ล้านบาท
เผยเป็นตัวบ่งชี้ว่าเศรษฐ-กิจประเทศเริ่มฟื้นตัว ประชาชนมีความมั่นใจใช้จ่ายเงิน
กลุ่มมือถือครองแชมป์ใช้เงินสูงสุด วอนรัฐช่วยเจรจาประเทศมาเลเซีย แก้กฎ
เหล็กผลิตโฆษณาในประเทศไทยรับผลกระทบเอเยนซี่ต่างประเทศเริ่มย้ายฐานการผลิตไปมาเลเซีย
เพื่อลดต้นทุน ชี้หากรัฐไม่แก้ไข ไทย สูญเงินนับพันล้านบาทต่อปี นายปารเมศร์
รัชไชยบุญ
นายกสมาคมโฆษณาธุรกิจแห่งประเทศไทย และประธานบริษัทเทิร์น อราวนด์ จำกัด
เปิดเผยว่า การใช้เม็ดเงินในอุตสาหกรรมโฆษณาในช่วง 5 เดือนแรก (ม.ค.-พ.ค.2545)
มีอัตราการเติบโตเฉลี่ย 11%
เป็นมูลค่าประมาณ 23,900 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากมูลค่า 21,600 ล้านบาทในปีที่ผ่านมา
อัตราการเติบ โตดังกล่าวถือว่าสูงกว่าประมาณการที่ตั้งไว้เมื่อต้นปีนี้
ที่คาดว่าอุตสาหกรรมโฆษณาโดยรวมของปีนี้น่าจะเติบโตประมาณ 8-10% ทั้งนี้การขยายตัวของอุตสาห-กรรมโฆษณาในไตรมาส
1 ที่เติบโต 8-10% ถือว่าเป็นไปตามประมาณการที่ตั้งไว้ แต่ในไตรมาส
2 ซึ่งปกติ เป็นช่วงที่การใช้เม็ดเงินโฆษณาจะลดลง และไตรมาส 3 จะลดลงมาก
กว่า และจะกลับมาฟื้นตัวอีกครั้งในช่วงไตรมาส 4 แต่ปรากฏว่าในช่วงไตรมาส
2
ของปีนี้การใช้เม็ดเงินโฆษณายังมีอัตราการเติบโตเพิ่ม ขึ้นกว่า 10% ทำให้ในช่วง
6 เดือนแรกของปีนี้ภาพรวมอุตสาหกรรมโฆษณาเติบโตราว 10-12% ซึ่งถือ ว่าสูงมากเมื่อเทียบกับทุกปี
ปัจจัยที่ทำให้อุตสาหกรรมมีการขยายตัวสูง น่าจะมาจากประชา- ชน และผู้ประกอบท้องถิ่นในประ
เทศไทย มีความเชื่อมั่นที่จะจับจ่าย ใช้สอยเงินมากขึ้น ถึงแม้ว่าภาพของ
การใช้จ่ายเงินจะยังไม่เห็นชัดเจนมากขึ้นในขณะนี้ก็ตาม นอกจากนี้การเติบโตของธุรกิจยังได้รับอานิสงส์จากมาตร-การภาครัฐ
โดยเฉพาะมาตรการทาง คลัง ในรูปของการลดดอกเบี้ยเงินกู้ซื้อบ้าน
ทำให้ธุรกิจอสังหาริม- ทัพย์ฟื้นตัว การเติบโตของสินค้าเฉพาะฤดูกาล เช่น
เสื้อผ้า รองเท้านักเรียน ในช่วงเปิดเทอม การแข่ง ขัน และกิจกรรมส่งเสริมการขายของธุรกิจมือถือ
และเทศกาลแข่งขันฟุตบอลโลก ที่มีผู้สนับสนุนอย่าง เป็นทางการ เช่น โค้ก
ฟูจิ อาดิดาส ได้ออกมาจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายมากขึ้น
ทำให้คู่แข่งในแต่ละกลุ่มสินค้าต้องออกมาจัดกิจกรรมแข่งขันเพื่อรักษาฐานลูกค้าเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม หากในช่วงไตรมาส 3 ของปีนี้ ที่ปกติธุรกิจโฆษณาจะชะลอตัวลงมากที่สุด
เมื่อเทียบกับการใช้เม็ดเงินทั้งปี แต่หากยังมีการอัตราการเติบโตได้ ก็จะส่งผลให้ภาพรวมของอุตสาหกรรมทั้งปีสามารถขยายตัวได้ในระดับ
12-15% หรือมีมูลค่าประมาณ 60,000 ล้านบาท
ซึ่งเป็นตัวเลขอัตราการเติบโตและมูลค่าเม็ดเงินสูงที่สุดในอุตหสากรรมโฆษณาประเทศไทย
และถือว่าสูงกว่าในช่วงที่ประเทศไทยเกิดวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 ทั้งนี้
ปัจจัยลบที่อาจส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมโฆษณาในช่วงไตรมาส 3 คือ การที่ลูกค้านำเม็ดเงินโฆษณาที่เตรียมไว้มาใช้ล่วงหน้าในไตรมาส
2 ซึ่งเป็นช่วงการแข่งขันฟุตบอล โลกก่อนล่วงหน้า
และอาจจะไม่ใช้เงินโฆษณาอีกในไตรมาส 3 ก็จะทำให้ อัตราการเติบโตลด ลงมากกว่าปกติ
แต่ก็ยังเชื่อว่าในปีนี้ มีสัญญาณ การขยายตัวที่ดีของอุตสาหกรรม โดยอาจจะดูได้จากอัตราการเติบโตของ
จีดีพี ประเทศ ที่คาดว่าจะขยายตัวประมาณ 4% ก็คาดการณ์ได้ว่าอุตสาหกรรมโฆษณาน่าจะขยาย
ตัวได้มากกว่า เพราะที่ผ่านมาอุตสาหกรรมโฆษณาจะเป็นดัชนีบ่งชี้อัตราการเติบโตของภาพ
รวมเศรษฐกิจได้ตัวหนึ่ง คือหากเศรษฐกิจตก โฆษณาก็จะตกต่ำมากกว่า เพราะเป็นงบประ-
มาณตัวแรกที่เจ้าของสินค้าจะตัดทิ้ง เพื่อลดค่าใช้จ่าย
ในทางกลับกันก็จะเป็นงบประมาณที่จะใช้เพิ่มขึ้นเป็นตัวแรก หากเศรษฐกิจมีแนวโน้มขยาย
ตัวดีขึ้น สำหรับในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ธุรกิจ ที่ใช้เม็ดเงินโฆษณาสูงสุดได้แก่
1. มือถือ เพิ่มขึ้น 100% จำนวน
1,283 ล้านบาท 2.หน่วยงานราช-การ เพิ่มขึ้น 46%จำนวน 659 ล้านบาท 3.เบียร์
ลดลง 9% จำนวน 601 ล้านบาท ส่วนแบรนด์สินค้าที่มีการใช้เม็ดเงินโฆษณา สูงสุด
คือ 1. ทีเอ ออเร้จน์ 375 ล้านบาท 2.
จีเอสเอ็ม 315 ล้านบาท 3. ดีแทค 253 ล้านบาท ส่วนบริษัทที่มีการใช้เงินโฆษณาสูงสุดคือ
1. ยูนิลีเวอร์ 782 ล้านบาท ลดลง 39% 2.เอไอเอส 690 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5%
3.พีแอนด์จี 449 ล้านบาท เพิ่มขึ้น
20% ทีบีดับบลิวเอชี้ลูกค้าไทยใช้เงินเพิ่ม นายชัยประนิน วิสุทธิผล กรรมการผู้จัดการ
บริษัท ทีบีดับบลิวเอ ไทยแลนด์ จำกัด เปิดเผย ว่าในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้
บริษัทมีอัตราการ ขยายตัวเพิ่มขึ้นถึง
20% การเพิ่มขึ้นดังกล่าวมาจากลูกค้าเก่า และลูกค้าใหม่ที่ได้เพิ่มขึ้นในปีนี้
โดยเฉพาะลูกค้าท้องถิ่น มีการใช้เงินโฆษณาเพิ่ม ขึ้นอย่างมาก จากการขยายธุรกิจ
การออกสินค้า และบริการใหม่
ขณะที่ลูกค้าต่างประเทศกลับมีการใช้เงินคงที่ เนื่องด้วยยังไม่มั่นใจในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศไทย
ทั้งนี้สิ่งที่น่าจับตามองในอุตสาหกรรมโฆษณาขณะนี้ คือการขยายตัวของกิจกรรม
Below the
line เพราะหลังจากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจประเทศไทย และเหตุการณ์ก่อวินาศกรรมประเทศสหรัฐอเมริกา
ลูกค้าได้เปลี่ยนพฤติกรรม การใช้สื่อใหม่ ด้วยการหันมาจัดกิจกรรมการตลาด
และกิจกรรมส่งเสริมการขายมากขึ้น เพราะต้องการเหตุผลด้านยอดขาย ณ จุดขายที่จัดกิจกรรมทันที
คาดว่ากิจกรรมประเภทดังกล่าวมีการขยายตัวไม่ต่ำกว่า 40-50%
ซึ่งไม่ได้นับรวมมูลค่าอยู่ในการใช้เม็ดเงินอุตสาหกรรมโฆษณาผ่านสื่อ วอนรัฐกดดันมาเลเซียแก้กฎผลิตโฆษณา
นายปารเมศร์ กล่าวต่อว่า
ปัญหาสำคัญที่กำลังส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมโฆษณาในประเทศไทยขณะนี้ คือการที่ประเทศมาเลเซียได้ออกกฎระเบียบให้ภาพยนตร์โฆษณา
ที่จะฉาย ในทีวีมาเลเซียจะต้องถ่ายทำในมาเลเซีย
และใช้คนมาเลเซียแสดงเท่านั้น ซึ่งระเบียบดังกล่าวถือ เป็นการกีดกันทางการค้าตามนโยบายเขตการค้าเสรีอาเซียน
(อาฟต้า) ซึ่งทำให้ประเทศไทยเสีย ประโยชน์อย่างมาก
เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศที่มีศักยภาพมากที่สุดในภูมิภาคนี้ ที่เอเยนซี่โฆษณาจากต่างประเทศ
จะใช้เป็นฐานการ ผลิตภาพยนตร์โฆษณา เพราะมีจุดเด่นด้านสถาน ที่ถ่ายทำ
และค่าจ้างแรงงานถูก แต่การที่มาเลเซียออกกฎระเบียบดังกล่าว และมีความเข้มข้นเรื่อยๆ
ในช่วง 7-8 ปีที่ผ่านมา ขณะนี้ได้ส่งผลให้เอเยนซี่จากต่างประเทศ
เริ่มย้ายการผลิตภาพยนตร์โฆษณาไปที่มาเลเซีย มากขึ้น เพราะต้องการประหยัดต้นทุนการใช้
จ่าย เนื่องจากสามารถใช้เผยแพร่ในประเทศอื่นๆได้ ขณะที่หากผลิตภาพยนตร์โฆษณาในประเทศอื่นๆ
ไม่สามารถนำไปฉายในมาเลเซียได้ ทาง สมาคมได้ทำหนังสือไปถึง นายสิทธิชัย
ชัยยันต์ ผู้อำนวยการสำนักกิจการ กรมประชาสัมพันธ์ ฝ่ายภาพยนตร์ และผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรม
การส่งเสริมภาพยนตร์ไทย ให้ทำจดหมายและเอกสารเรื่อง MIM (Made In Malaysia)
ไปยังกระทรวงต่างประเทศแล้ว เพื่อให้มีการพูดคุยกันในระดับรัฐมนตรีของประเทศ
เพื่อให้มาเลเซียแก้ไขกฎระเบียบดังกล่าว ไม่เช่นนั้นในอนาคตประเทศไทยจะสูญเสียเม็ดเงินจากการเข้ามาถ่ายทำภาพยนตร์โฆษณา
และภาพยนตร์ทั่วไปปีละกว่า 1,000 ล้านบาท ซึ่งไม่รวมถึงการ
เข้ามาใช้บุคลากร แรงงานในประเทศไทยที่จะมีเงิน หมุนเวียนในระดับ 10,000
ล้านบาทต่อปี