Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน8 มิถุนายน 2548
"วงศ์สวัสดิ์" รุกธุรกิจลอจิสติกส์ครบวงจรรองรับ FTA ลั่น 3 ปีกระจายทั่วอาณาจักร             
 


   
search resources

Real Estate
Logistics & Supply Chain
วินโคสท์ อินดัสเตรียล พาร์ค, บมจ.




ตระกูล"วงศ์สวัสดิ์" เดินหน้าปั๊มวินโคสท์ฯ (WIN) จากธุรกิจหลักรับจ้างประกอบรถโกคาร์ทและจักรยานแอลเอสู่การขยายอาณาจักรการทำธุรกิจให้เช่าพื้นที่ในรูปแบบ เขตปลอดอากร (Free Zone) และเสริมบริการภายใต้คอนเซ็ปต์ลอจิสติกส์ครบวงจร ระบุยอดจองพื้นที่ในนิคมอุตสาหกรรมวินโคสท์ฯกว่า 80% ชี้ทำเลอยู่ใกล้สนามบินสุวรรณภูมิ วางเป้า 3 ปี ครอบคลุมทั่วราชอาณาจักร และเล็งขยายสู่ตลาดเอเชีย เร่งทำมาสเตอร์แพลนด้านการเงิน การลงทุน และโครงการเฟสใหม่ ยันภายในไตรมาส 3 เข้าซื้อขายในหมวดปกติ จากปัจจุบันอยู่ในกลุ่มรีแฮบโก

ปัจจุบันบริษัทจดทะเบียนที่อยู่ระหว่างแก้ไขการดำเนินงาน (รีแฮบโก) ต่างเร่งจัดทำแผนและแก้ไขผลการดำเนินงานให้ได้ตามหลักเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลท.มี นโยบายอย่างชัดเจนที่จะให้บริษัทเหล่านี้ กลับเข้าไปซื้อขายหุ้นได้ตามปกติอย่างโดยเร็ว ซึ่งขณะนี้มีหลายบริษัทที่เตรียมเดินเข้ามาเทรด เช่น บริษัท เค.ซี.พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) ที่คาดว่าภายในเดือนก.ค.นี้จะดำเนินการได้ รวมถึงบริษัท วินโคสท์ อินดัสเตรียล พาร์ค จำกัด (มหาชน) หรือ WIN ที่วางแผนจะเข้าซื้อขายภายในไตรมาส 3 ของปีนี้ ซึ่งปัจจุบันกลุ่มทุนตระกูล "วงศ์สวัสดิ์" กลายเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ถือหุ้นรวม 62.41% ประกอบด้วย น.ส.ชินณิชา วงศ์สวัสดิ์ 22.27%, น.ส.ชยาภา วงศ์สวัสดิ์ 20.25% และนายยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ 19.89%

นายภัทรลาภ ทวีวงศ์ ณ อยุธยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วินโคสท์ฯ เปิดเผยว่า หลังจากที่บริษัทฯ ได้เข้าซื้อกิจการบริษัท เคพโทรนิค อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เมื่อประมาณกลางปี 2547 ที่แล้ว และมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างผู้ถือหุ้นใหม่เข้ามา ทำให้บริษัทมีความแข็งแกร่งในการดำเนินธุรกิจมากขึ้น ซึ่งจากเดิมที่ธุรกิจหลักจะมาจากรับจ้างประกอบรถโกคาร์ท และจักรยานให้แก่กลุ่ม บริษัท แอล เอ ไบซิเคิ้ล (ประเทศไทย) เพียงอย่างเดียว ได้ปรับแผนมาบุกสู่ธุรกิจการให้เช่าและขายพื้นที่ในเขตปลอดภาษี (Free Zone) ปัจจุบันมีเพียงนิคมอุตสาหกรรมวินโคสท์ บนพื้นที่ 65 ไร่ บนถนนบางนา-ตราดกม.51.7 สามารถปล่อยเช่าได้กว่า 80% ซึ่งลูกค้าคู่สัญญาจะเป็นผู้ประกอบการชิ้นส่วนยานยนตร์รายใหญ่ 3 บริษัท และเต็มพื้นที่ประมาณไตรมาส 3 ของปีนี้
เหตุผลที่ยอดจองเกือบเต็มที่พื้นที่ เนื่องจากลูกค้าเล็งเห็นการใช้ประโยชน์จากข้อตกลงเขตการค้าเสรี (FTA) ที่ประเทศไทยมีกับคู่สัญญา เช่น ธุรกิจนำเข้าชิ้นส่วนและประกอบเป็นสินค้าสำเร็จรูปเพื่อการส่งออก และหรือธุรกิจที่เกี่ยวกับลอจิสติกส์ เช่น การบริหารคลังสินค้า เป็นต้น

"เรามองเห็นโอกาสในการขยายธุรกิจ จากเดิมที่รับจ้างประกอบชิ้นส่วนรถจักรยานและรถโกคาร์ท ซึ่งกระบวนการดังกล่าวได้เริ่มปลายไตรมาสสุดท้ายของปี 2547 แต่ในช่วงไตรมาสแรกของปี 48 บริษัทได้หันมาเพิ่มธุรกิจใหม่ คือ ขายหรือให้เช่าพื้นที่ในเขตปลอดอากร และคาดว่าจะยิ่งเติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในแนวทางของการพัฒนาธุรกิจใหม่ ผู้ถือหุ้นใหม่คือกลุ่มตระกูลวงศ์สวัสดิ์ สนใจทำนิคม Free Zone เนื่องจากความต้องการในธุรกิจนี้มีเยอะ และเป็นธุรกิจที่มีบทบาทต่อประเทศสูง อีกทั้งในระยะอันใกล้นี้ประเทศไทยจะเปิดการค้าเสรี ทำให้ธุรกิจนี้จะมีการเจริญเติบโตอย่างก้าวกระโดด รวมถึงผู้ถือหุ้นให้คำแนะนำในการรวบรวมทีมมาบริหารธุรกิจ ทั้งนี้คาดว่าปลายเดือนมิ.ย.นี้ทางกรมศุลกากรจะอนุมัติเป็นนิคมเขตปลอดอากร"

สาเหตุที่ทำให้นิคมอุตสาหกรรมวินโคสท์มีความพร้อม เนื่องจากทรัพย์สินเดิมที่ในนิคมจะมีอาคาร โรงงานเดิมที่ใช้ผลิตจอภาพ LCDs ตั้งอยู่มาปรับปรุง ซึ่งธนาคารนครหลวงไทย (SCIB) ได้สนับสนุนสินเชื่อประมาณ 100 ล้านบาท และผลจากการปรับเปลี่ยนแนวทางธุรกิจ ทำให้ผลประกอบการของบริษัทปรับตัวดีขึ้น ซึ่งจะเห็นได้จากในไตรมาสแรกของปี 48 บริษัทมีรายได้รวมเท่ากับ 20.29 ล้านบาท มีกำไรสุทธิ 6.68 ล้านบาท

นายภัทรลาภกล่าวถึงทิศทางในอนาคตของบริษัทว่า อยู่ระหว่างการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ในการบริหารบริษัทได้เดินไปตามทิศทางที่ผู้ถือหุ้นได้วางเป้าหมายไว้ โดยจะแบ่งเป็นการทำแผนทางการเงิน การลงทุนในโครงการใหม่ๆ ในแต่ละทำเลที่จะเข้าไป ซึ่งอาจจะเป็นในส่วนที่อยู่ในพื้นที่เขตปลอดภาษี หรือนอกเหนือเขตปลอดภาษี แต่จะวางกลยุทธ์ที่จะลงทุนทำพื้นที่นิคมเขตปลอดอากรภายใน 3 ปีให้ครอบคลุมทั่วประเทศไทย และหลังจากนั้นในอีก 5 ปีข้างหน้า จะรุกสู่ตลาดต่างประเทศในภูมิภาคเอเชีย

"เราต้องการผลักดันให้บริษัทกลายเป็นผู้นำในธุรกิจการให้บริการด้านลอจิสติกส์ ซึ่งจะมีบริการด้านศุลกากรสนับสนุนธุรกิจการขายและให้เช่าพื้นที่ในเขตปลอดอากร อย่างไรก็ตามแผนธุรกิจหลักจะชัดเจนภาย ในไตรมาส 3 ซึ่งจะเป็นช่วงจังหวะที่คาดว่าหุ้นของบริษัทจะกลับเข้าไปซื้อขายได้อีกครั้ง สำหรับราคาหุ้นคงไม่สามารถระบุได้ เพียงแต่ช่วงที่หยุดการซื้อขายก่อนหน้านี้ราคาอยู่ที่ 2.6 สตางค์ ในราคาพาร์ 10 บาท แต่ปัจจุบันได้ลดราคาหุ้นเหลือพาร์ 1 บาท"   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us