Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2528








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2528
2528 ปีแห่งการแตกหัก พอประดาบก็เลือดเดือด             
 

   
related stories

คนแซ่ก่าวจากไหหลำ มาเป็นมหาดำรงค์กุลในสยาม
ปลายปี 2525 เมื่อมรสุมเริ่มตั้งเค้า
อดีตที่ผ่านมาเมื่อ10 ปีที่แล้ว
ซิตี้แลนด์ รับซื้อแลนด์หลุดจากแบงก์
“ไอ้ตา-มึงไม่เคยทำอะไรให้กูสบายใจเลย...”
คนอะไรก็ไม่รู้ บุญหล่นทับ 152 ล้านบาท ! แล้วใครจะรับผิดชอบ !!!
ข้าวมันไก่มื้อนั้นเมื่อกำจรเปลี่ยนน้ำเสียง
หนังสือยืนยันข้อตกลง
แบงก์นครหลวงไทย ก่อนถึงวันแตกหัก บุญชู-มหาดำรงค์กุล
เราได้เรียนรู้อะไรบ้างในกรณีธนาคารนครหลวงไทย?
ศึกชิงสำนักน่ำใฮ้ “ผมจะสู้เพื่อหลักการ” บุญชู โรจนเสถียร

   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย
โฮมเพจ ธนาคารกรุงเทพ
โฮมเพจ ธนาคารนครหลวงไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
ธนาคารกรุงเทพ, บมจ.
ธนาคารนครหลวงไทย, บมจ.
ชัยโรจน์ มหาดำรงค์กุล
Financing
บุญชู โรจนเสถียร
ดิลก มหาดำรงค์กุล




ตลอดระยะเวลาของปี 2527 ความขัดแย้งในด้านวิธีการทำงาน ตลอดจนหลักการและความถูกต้องระหว่างบุญชู โรจนเสถียร กับกลุ่มมหาดำรงค์กุล มีมาตลอด หากแต่มหาดำรงค์กุลมักจะเป็นผู้ให้ข่าวกับสื่อมวลชนอยู่เสมอว่าทุกฝ่ายยังชื่นมื่นกันดี การให้ข่าวนั้นดิลก มหาดำรงค์กุล มักจะเป็นคนให้ข่าว และบางครั้งการให้สัมภาษณ์เมื่อปี 2527 เมื่อมาอ่านดูอีกครั้งในวันนี้ก็สามารถพบได้ว่า ดิลกพูดจาขัดแย้งกับสิ่งที่ตัวเองเคยพูดเอาไว้เมื่อปีที่แล้วอย่างขาวเป็นดำ

บุญชูเองก็ยังเคยพูดว่า “การแสดงละครอย่างนี้ต่อผมมีมาหลายครั้งแล้ว ผมจึงชาชิน”

ปัญหาการขัดแย้งในต้นปี 2528 นั้นก็ได้เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นของการทำงบดุลซึ่งเป็นหลักการใหญ่หลักการหนึ่งในเรื่องความถูกต้องที่บุญชูไม่ยอม

“ในที่สุดพวกมหาดำรงค์กุลที่มีคนเก่าของธนาคารชาติเป็นที่ปรึกษา ในตำแหน่งผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ก็ได้แต่งบัญชีหลอกประชาชนขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่ทำมาแล้วในปีที่แล้ว ซึ่งไม่ต่างกับผู้บริหารชุดเดิมที่เคยทำเละเทะมา” คนในธนาคารนครหลวงไทยพูดให้ฟัง

เริ่มด้วยจากตัวเลขรายได้และส่วนลดเป็นเงิน 1,166 ล้านบาท หมายเหตุประกอบงบการเงินบอกว่า “ธนาคารคิดดอกเบี้ยค้างรับจากลูกหนี้บางราย ที่ธนาคารได้หยุดคิดดอกเบี้ยไว้ นำมาเป็นรายได้ในงวดนี้...วิธีการบัญชีดังกล่าวเป็นการปฏิบัติหลักการบัญชีที่ไม่สม่ำเสมอ”

และตัวเลขงบหนี้สงสัยจะสูญที่ตั้งไว้ 46 ล้านบาทนั้น หมายเหตุประกอบงบการเงินบอกว่า “จากการทดสอบฐานะของลูกหนี้แต่ละประเภทของเงินให้กู้ยืมแล้วเห็นว่า หนี้สงสัยจะสูญที่ธนาคารตั้งไว้ไม่เพียงพอ...”

นอกจากนั้นยังมีดอกเบี้ยค้างจ่ายที่หมายเหตุประกอบงบการเงินบอกว่า “ในงวด นี้ธนาคารได้คำนวณดอกเบี้ยค้างจ่าย ที่ตั้งไว้ไม่ครบ ในงวดบัญชีก่อนๆ เพิ่มไว้ส่วนหนึ่ง ซึ่งยังไม่ครบตามข้อผูกพันทำให้ดอกเบี้ยค้างจ่ายน้อยกว่าที่ควร”

สรุปในภาษาที่ไม่ใช่ภาษาบัญชี แปลว่า “ธนาคารนครหลวงไทยได้แสดงตัวเลขรายได้ ที่มากไปกว่าข้อเท็จจริงและได้แสดงรายจ่ายที่น้อยไปกว่าข้อเท็จจริง”

หรือพูดตามภาษาแม่ค้า “งบการเงินธนาคารนครหลวงไทยคือ งบตอแหล”

สักวันหนึ่งถ้ามีคนที่ถือกฎหมายอยู่จะเอาเรื่องงบดุลพวกนี้ ก็คงจะต้องมีคนติดคุกติดตะรางกันบ้าง

ที่น่าประหลาดใจที่สุดคือ คุณภาพของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ยอมให้งบดุลเช่นนี้ตีแผ่ออกมาสู่สายตาสาธารณชน

และเขาก็ยอมให้ตีแผ่ออกมาอย่างนี้เป็นเวลาหลายต่อหลายปีแล้ว!

ไม่ทราบว่าทุกคนแถวบางขุนพรหมยังนอนหลับฝันหวานกันสบายดีอยู่เหมือนเดิมหรือเปล่า?

ดูเหมือนว่าบ้านเราเมืองเรามันสิ้นหวังกันจริงๆ!

คำว่า “ความถูกต้อง” มันช่างหาได้ยากหาได้เย็นในสังคมไทยทุกวันนี้เสียจริง!!!!!

ทันทีที่ตัวเลขปลอมนี้ถูกตกแต่งได้เรียบร้อย ดิลกและชัยโรจน์ มหาดำรงค์กุล ก็ไม่รีรอที่จะออกประชาสัมพันธ์คุยโอ่กับสื่อมวลชนอย่างเต็มที่ ในการแถลงข่าวที่ธนาคารเมื่อต้นเดือนมกราคม ซึ่งบุญชู โรจนเสถียร ไม่อยู่เพราะไม่ยอมเข้าร่วมเล่นบท “แหกตาประชาชน”

บุญชูเองก็พูดอย่างใช้ขันติพอสมควร

“การใช้วิธีปรับปรุงตัวเลขทางบัญชีเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าอยู่เรื่อย ไม่ยอมรับฐานะที่เป็นจริง ชอบคุยโม้แม้ในสิ่งที่ไม่เป็นความจริง บางครั้งผมก็หน้าชาเพราะหลอกตัวเองตลอด การตกแต่งบัญชีเพื่อให้ดูสวยบ้างเป็นครั้งคราวนั้นเขาก็ทำกัน แต่ก็มีขอบเขต ไม่ใช่จะทำกันได้ทุกกรณีและทำกันตลอดเวลา เรื่องนี้ผมในฐานะนักบัญชีทนให้เกิดขึ้นตลอดเวลาไม่ได้แน่ เมื่อตอนปิดบัญชีที่ผ่านมาก็ต้องขอร้องให้ผู้สอบบัญชีกรุณาทำหมายเหตุซึ่งเป็นเงื่อนไขการรับรองงบดุลไว้อย่างเบาที่สุดแล้ว”

“ผู้จัดการ” เอางบดุลล่าสุดให้นายธนาคารต่างชาติที่อยู่เมืองไทยดู ทุกคนร้องเรียกพระเจ้ากันให้ลั่น คนที่เกรงใจมากๆ ก็สั่นหัวแบบไม่เชื่อว่ามันจะออกมาแบบนี้ให้ประชาชนอ่านได้

สำหรับมหาดำรงค์กุลแล้ว ต้นปี 28 ก็เป็นระยะเวลาที่ตัวเองรู้ว่าสถานการณ์กำลังบีบรัดเข้ามาทุกๆ วัน และกลุ่มตัวเองต้องหาทางออกโดยด่วน

เพราะ 200 กว่าล้านที่เอามาจากธนาคารกรุงเทพเป็นเวลาสองปีกว่าโดยที่ดอกเบี้ยไม่ได้ส่ง กำลังถูกสำนักบัวหลวงเร่งรัดอย่างกระชั้นชิด

นอกจากนั้นแล้วภาวะกิจการในเรื่องนาฬิกา

ภาระหนี้สินที่ไปกู้มาเพื่อเป็นเจ้าของธนาคารแห่งนี้ เป็นภาระที่ปฏิเสธและหลีกเลี่ยงไม่ได้เลย เพราะเจ้าหนี้คือบุคคลที่สามที่มหาดำรงค์กุล control ไม่ได้

จดหมายของธนาคารกรุงเทพที่ส่งมาให้ไปจดจำนองที่ดินนั้น เร่งเร้าให้มหาดำรงค์กุลรู้เกมดีว่า พอจดจำนองเสร็จก็ต้องมีการบังคับจำนองหนี้ทันที

ไหนจะเป็นศึกด้านหน้าที่ธนาคารกรุงเทพกำลังก่อ และศึกด้านหลังที่กำลังจะเกิดขึ้นเร็วๆ นี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

นั่นคือ การเพิ่มทุนตามคำสั่งของธนาคารชาติ!

แต่มันอาจจะมีทางออก ถ้าบุญชูยอมทำตามแผนที่วางเอาไว้!!!

แผนนั้นต้องสำเร็จแน่ถ้าบุญชูยอมทำตาม!

มหาดำรงค์กุลพากันไปพบบุญชูอีกครั้งหนึ่ง ในบรรยากาศของการขอความช่วยเหลือตามแผน นั่นคือ

- การจะให้บุญชูติดต่อขอกู้เงินต่างประเทศมา 500 ล้านบาท โดยให้ธนาคารนครหลวงไทย เป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้นี้

- แล้วเอาเงินไปคืนธนาคารกรุงเทพสองร้อยกว่าล้าน เอาที่ดินคืนมา ทิ้งไว้ที่ธนาคารนครหลวงไทยเป็นหลักค้ำประกันเงินนอกก้อนนี้

- ส่วนเงินที่เหลืออีก 200 กว่าล้านบาทก็เก็บไว้ซื้อหุ้นชุดใหม่ที่จะต้องเพิ่มทุน

แต่ทั้งหมดนี้จะทำได้ต้องพึ่งบุญชูในแง่การติดต่อเงินและในแง่ของ Bridge Financing (ซึ่งหมายถึงแหล่งเงินที่จ่ายคืนธนาคารกรุงเทพก่อ เพื่อเอาที่ดินมา แล้ว ค่อยเอาที่นี้มาเข้าธนาคารนครหลวงไทย) เมื่อหนี้ก้อนนี้มาอยู่นครหลวงไทยมันก็ง่ายต่อการดูแลไม่ให้ถูกทวงและถูกบีบ หมากนี้เป็นหมากที่ออกมาได้สวยเพราะ:-

- อำนาจการบริหารก็ยังอยู่เหมือนเดิม มีแต่จะเพิ่มมากกว่าเก่า

- ทรัพย์สินที่จำนองก็จำนองกับธนาคารที่ตัวเองบริหาร


แต่เผอิญคนชื่อ บุญชู โรจนเสถียร ไม่เล่นด้วย!!!

“เขาเข้ามาหาผมทั้ง 3 คน แล้วบอกว่าจะให้ผมหาเงินกู้มา 500 ล้านบาท แล้วเอา 250 ล้านบาทให้แบงก์ และให้ทางโน้นออกหนังสือค้ำประกันไป เหลือเงินอีกจำนวนหนึ่งก็จะฝากเอาไว้และนำเงินมาซื้อหุ้น ผมก็ว่า ถ้าจะให้ทำจริงๆ ก็ทำได้ แต่ถ้าทำอย่างนี้ แบงก์ชาติต้องเอ็ดแน่ และมันเสียเครดิตแน่นอน เพราะเราเพิ่งฟ้องพวกนายวิศิษฐ์ ศรีสมบูรณ์ ไปหยกๆ ที่ทำวิธีนี้แล้วนี่เรากลับจะมาทำเสียเอง” บุญชูพูดให้ฟังอย่างขมขื่น

มันก็เลยแตกหักตรงนี้เพราะ

“เขาก็เลยบอกผมว่า เรื่องแค่นี้ทำให้พวกผมไม่ได้ พวกนี้ไม่เข้าใจว่า แบงก์นี้มันเอาเงินฝากประชาชนมาใช้ การเป็นผู้บริหารนั้นไม่ได้หมายความว่า เราจะมีสิทธิ์มาเล่นกันเอง นี่มันก็เป็นสาเหตุใหญ่นอกจากเหตุอื่นๆ เช่น ถ้าต้องการมีการตกแต่งบัญชี ผมอยู่ไม่ได้ก็ต้องมีการทะเลาะกันอีก เพราะวิธีการที่เขาบริหารแบงก์อยู่ในขณะนี้ เขากุมอำนาจอยู่คนเดียว เดี๋ยวนี้ก็ยังเป็นอย่างนี้อยู่ คือ เขาไม่มีความรู้ด้านนี้ คือแบงก์นี้มันไม่ใช่แบงก์ปกติ เพราะแบงก์มันป่วยอยู่

มันป่วยอยู่อย่างไรจะเล่าให้ฟังซะด้วย คือแบงก์ชาติเขาเขียนมาก่อนที่ผมจะเข้ามาบริหาร เป็นการตราวจสอบครั้งที่ พ.ศ.2525 เขาบอกว่า แบงก์นี้เมื่อเอาทรัพย์สินที่มันไม่เป็นตัวทรัพย์แล้วก็เอาค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่มันค้างจ่ายอยู่ คุณจะต้องตัดบัญชีเป็นรายจ่าย ไม่ตัดเป็นบัญชีดอกเบี้ยค้างจ่ายเอาไว้ ด้วยบัญชีรายได้ที่ไม่ควรจะได้มาทำเป็นบัญชีสะสมเข้าไป คือแบงก์นี้เมื่อมาดูเงินทุนแล้ว มันหมดไม่สามารถจะชำระหนี้ได้ ผมเขียนไปอย่างนั้นจริงๆ

เพราะฉะนั้นจะต้องเริ่มดำเนินการเพิ่มทุนอะไรพวกนี้อีกร้อยแปด แสดงว่าอันนั้นเป็นสิทธิของแบงก์ชาติ และก็จำเป็นที่จะต้องดำเนินการอย่างนั้น อย่างใดอย่างหนึ่งที่จะต้องทำการดำเนินการแก้ไข และเมื่อเราคิดจะแก้จะทำให้ มันกลับมีอุปสรรคมาขัดขวางต่างๆ

สภาพการณ์มันก็เลยกลายเป็นว่า ระหว่างที่เราอยู่ที่นี่แล้วยัดเอาทุนเข้ามาบ้างแล้วเนี่ย การดำเนินงานมันก็ยังขาดทุนอยู่ หรือสภาพที่แท้จริงแล้ว มันยังขาดทุนอยู่ เพราะยังเอารายได้ที่ไม่ควรจะได้เข้ามาเป็นรายได้ หรือเอาบัญชีที่ไม่ดีที่เขาไม่คิดดอกเบี้ยแล้วมาไว้ในบัญชี

ไอ้ดอกเบี้ยค้างจ่ายที่ต้องจ่ายยังตั้งค้างเอาไว้ จ่ายไปเพียงบางส่วนและยังมีบางส่วน ในระหว่างนี้ค่าใช้จ่ายต่างๆ หลายอย่างที่ต้องปรับปรุงแก้ไข

นอกจากนั้นยังมีเรื่องการค้าเงินตราต่างประเทศ ซึ่งเขาบอกว่า เมื่อก่อนนี้แบงก์นี้ไม่ได้ค้าเงินตราต่างประเทศ พอเขาได้คนที่ค้าขายดี ลูกของอาจารย์เสริมมานั่งเป็นกุนซือคนหนึ่ง ที่เป็นกุนซือที่ดีตรงที่กู้เงินเก่ง หาเงินมาให้กู้เรื่อย ปริมาณการค้าเงิน ตอนนี้ขึ้นเป็นอันดับที่ 4 แล้ว

อยากจะถามว่า แล้วมันขาดทุนไปทุกเดือนนั้นไม่ถามมั่ง แล้วการขาดทุนมหาศาลนี้ยกมันไว้ข้างหลังฉาก แล้วเราลองเอาทั้งหมดนี้มาคิดรวมๆ กันหมด มันก็มีลักษณะว่า รายได้ที่เราหามาได้ไม่พอกับที่จะไปจ่ายดอกเบี้ย เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ต้องอาศัยเงินฝากใหม่ที่เข้ามา ก็ต้องเร่งเงินฝากเข้ามา เพื่อที่จะให้เงินเข้ามาจ่ายค่าใช้จ่ายต่างๆ มากขึ้น ก็เหมือนแม่ชม้อยนะ คือต้องอาศัยเงินใหม่เข้ามา ไอ้ที่ว่ามีสภาพคล่องมันยังอยู่ โดยอาศัยเงินกู้เข้ามา เพราะฉะนั้นมันจึงมีโอเวอร์โพซิชั่น ก็เลยทำให้ ดีวาลูเอชั่นมันขาดทุน”

เมื่องานนี้บุญชูไม่เล่นด้วย ก็ต้องไม่เล่นกับบุญชูเหมือนกัน!

สำหรับบุญชูแล้วการเพิ่มทุนเป็นเรื่องของหลักการและความถูกต้อง นอกจากนั้นแล้ว ยังเป็นเรื่องของชื่อเสียงที่ตัวบุญชูเองเอายี่ห้อไปติดไว้กับแผนพัฒนาธนาคาร 5 ปี ที่ส่งให้ธนาคารชาติว่า จะมีการเพิ่มทุนกันเป็นระยะตามที่กำหนดเอาไว้

วันที่ 17 เมษายน คือวันที่ประชุมกรรมการธนาคาร เพื่อจะพูดถึงวาระการประชุมสามัญที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 29 เมษายน 2528

ในการประชุมวันนั้น หลังจากที่ขอให้บุญชูหาเงินมาให้ 500 ล้านบาทไม่สำเร็จแล้ว ทางกลุ่มมหาดำรงค์กุลจำเป็นจะต้องต่อต้านการเอาวาระเพิ่มทุนเข้าไปในการประชุมสามัญ วันที่ 29 เมษายน

“มันไม่ได้สำคัญว่าจะขายหุ้นกันอย่างไร ราคาเท่าไร ขายให้ใครเท่าไร แต่ประเด็นอยู่ที่ว่าจะเพิ่มหรือไม่เพิ่มทุน เรื่องขายราคาเท่าไรนั้นเป็นเรื่องรายละเอียดที่จะต้องเอามาคุยกันอีกในคณะกรรมการ หลังจากที่ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นเขายอมรับมตินี้กันแล้ว” บุญชูเล่าให้ฟัง

แต่มหาดำรงค์กุลก็ตั้งป้อมค้านอย่างเต็มที่ พร้อมกับหาทางออกว่า ให้เพิ่มอย่างค่อยเป็นค่อยไป ที่พวกตัวเองจะได้กู้ยืมเงินมาทันต่อการสืบทอดมรดกการเป็นเจ้าของธนาคารต่อไป

บุญชูเองก็พยายามรุกสอบถามวันเวลาที่แน่ชัดของการเพิ่มทุน แต่ก็ไม่ได้รับคำตอบที่แน่ชัด คงแต่ตอบมาว่า เรื่องเพิ่มทุนนี้จะนำเสนอต่อที่ประชุมใหญ่ในวันที่ 29 เมษายน

การคัดค้านแผนเพิ่มทุน ทำให้บุญชูลมเสีย ถึงกับบอกว่า ถ้าไม่มีการเพิ่มทุนเขาจะลาออก

“เดิมทีวาระการประชุมน่ะร่างเสร็จแล้วว่าให้เพิ่ม 2 ล้านหุ้น หุ้นละ 100 บาท นายชาติชายเป็นคนร่างเอง และผมบอกว่าถ้าไม่มีการเพิ่มทุนผมจะลาออก เห็นนายชัยโรจน์บอกว่า จะเอาเทปมาเปิดให้ฟังว่า ผมประกาศลาออกไปแล้ว ผมก็อยากให้เขาเปิดตั้งแต่ต้นจนจบถ้าแน่จริง จะได้รู้ว่าใครโกหกกันบ้าง” บุญชูพูดถึงเรื่องการลาออก ในที่ประชุมกรรมการ

19 เมษายน 2528 มีจดหมายปิดซองจ่าหน้าถึงประธานกรรมการ จากธนาคารแห่งประเทศไทย พร้อมทั้งคำว่าด่วนมากและลับมาก แต่จดหมายนั้นไม่ถึงมือบุญชู เพราะไปติดอยู่ที่สารบรรณ และมหาดำรงค์กุลก็นำจดหมายฉบับนี้มาให้ชมพู อรรถจินดา ในฐานะรองประธานกรรมการเปิดอ่าน โดยให้ชมพูเขียนไว้หน้าซองว่า “โดยที่ท่านประธานกรรมการได้ลาออกในที่ประชุมกรรมการ วันที่ 17-4-28 และไม่มาทำงาน ทราบว่าไปพักที่หัวหิน...ฉะนั้นเพื่อประโยชน์ของธนาคาร จึงทำงานแทนและมีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่เปิดซองนี้เพื่อดำเนินการต่อไป”

ในซองนั้นคือจดหมายของกำจร สถิรกุล ที่ตอบรับแผนพัฒนา 5 ปีของบุญชู และยอมอนุมัติผ่อนผันตามคำขอของบุญชู เพื่อให้มีการปันผลบ้าง รวมทั้งการอนุมัติให้ขยายสาขา เมื่อทำตามเงื่อนไขต่างๆ ที่แจ้งมา

โดยไม่คิด มหาดำรงค์กุลหัวร่อร่า รีบเอาข้อความบางข้อความที่กำจรเขียนมา จ้างบริษัทโฆษณา ประกิตแอนด์แอสโซซิเอทส์ บรรเลงอย่างสนุกมือว่า ผลประกอบการธนาคารดีจนธนาคารชาติชมเชย และให้รางวัลด้วยการขยายสาขาพร้อมทั้งมีรูปของดิลก มหาดำรงค์กุล ติดอยู่มุมซ้ายของโฆษณาชิ้นนั้น

“เขาทำผิดมารยาทมากๆ เป็นลักษณะของพ่อค้ามากกว่าเป็นนายธนาคาร ความจริงเอกสารนั้นเป็นเอกสารลับ การแถลงข่าวเขาควรจะมีมารยาทรู้ว่า อันไหนไม่ควรแถลง” เจ้าหน้าที่ธนาคารชาติระดับสูงพูดออกมาอย่างเซ็งๆ

ในขณะเดียวกัน ในวงการธนาคารพาณิชย์ได้แสดงความกังขาต่อเรื่องที่เกิดขึ้น

“ธนาคารชาติเขาปล่อยผ่านมาได้อย่างไร ถึงธนาคารนี้อ้างว่ามีกำไรแต่นี่อยู่ๆ มีการจ่ายเงินปันผลแล้วเอามาโฆษณาอีก” นายธนาคารคนหนึ่งกล่าว

“ผู้จัดการ” ได้ไปงานเลี้ยงนายธนาคารที่มาประชุม ADB มีนายธนาคารต่างชาติเห็นโฆษณาธนาคารนครหลวงไทย ในหนังสือพิมพ์ฝรั่งแล้วหัวเราะ พูดว่า “Some kind of new marketing strategy, eh!”

ในวันที่ 8 พฤษภาคม 2528 “ผู้จัดการ” ได้พบและสัมภาษณ์ดิลก มหาดำรงค์กุล ในงานเปิดธนาคารทหารไทยสาขามาบุญครอง ดังนี้

“มีคนสงสัยว่านครหลวงไทยสามารถจ่ายเงินปันผลได้อย่างไร ในเมื่อรายได้บางตัวยังไม่เคลียร์?

“ต้องเคลียร์สิครับ...ไม่เคลียร์ก็จ่ายเงินปันผลไม่ได้”

“มีการเรียกไปสอบถามหรือเปล่า หลังจากที่มีข่าวออกไป?”

เอ้อ!...ไม่มีครับ...ไม่มีครับ”

“การที่เราล้อมกรอบโฆษณาในหน้าหนังสือพิมพ์มีผลอะไรบ้าง?

นั่นเป็นการประชาสัมพันธ์ของเรานะครับ ก็ได้รับผลสำเร็จมากครับ เพราะสื่อมวลชนก็ช่วยกัน แต่เป็นไปไม่ได้ใช่ไหมครับที่บัญชีไม่เคลียร์...?

เป็นไปไม่ได้ครับ ไม่เคลียร์แล้วธนาคารชาติจะอนุญาตได้อย่างไร ก็ทางธนาคารชาติเขามีการตรวจสอบธนาคารพาณิชย์กันอยู่เสมอ...ทุกธนาคาร

แสดงว่าดิลก มหาดำรงค์กุล ในฐานะกรรมการผู้จัดการยืนยันว่า รายได้ที่ระบุลงในงบดุลนั้นถูกต้องไม่ผิด

ก็ขอให้เป็นหลักฐานในวันนี้ไว้ เพราะถ้าจะมีการฟ้องร้องคดีอาญากันในอนาคต จะได้ให้ดิลกรับผิดชอบ!

บุญชูเองบอกว่า จดหมายฉบับที่กำจรส่งให้นั้นเป็นข้อตกลงลับที่ธนาคารชาติมอบให้ แต่ถูกนำไปทำประโยชน์อย่างที่ดิลกพูดให้สัมภาษณ์ “ผู้จัดการ” ว่า “นั่นเป็นการประชาสัมพันธ์ของเรานะครับ ก็ได้รับผลสำเร็จมากครับ”

ดิลกคงติดนิสัยการขายนาฬิกาไซโก้กับราโด้มาจนเลิกนิสัยแบบนี้ไม่ได้!

และในที่สุด การประชุมสามัญก็ผ่านไปอย่างชนิดที่วุ่นวายพอสมควร โดยที่ประชุมลงมติให้มีการเพิ่มทุน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us