|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ พฤษภาคม 2528
|
|
มหาดำรงค์กุลเป็นตระกูลที่มีสมาชิกเด่นๆ เป็นที่รู้จักกันทั่วไปอยู่ 3 คน คือ พี่ใหญ่-ดิเรก พี่กลาง-ดิลก และน้องเล็ก-ชัยโรจน์ ดิเรก มหาดำรงค์กุล คือ ก่าว โล พก
ดิลก มหาดำรงค์กุล คือ ก่าว โด ลก
ชัยโรจน์ มหาดำรงค์กุล คือ ก่าว โด เจ็ง
ต้นตระกูลมหาดำรงค์กุล เป็นจีนไหหลำ แซ่ก่าว ตามสำเนียงท้องถิ่นหรือแซ่โง้วตามสำเนียงแต้จิ๋ว ส่วนถ้าอ่านตามสำเนียงจีนกลางก็แซ่อู๋
ภูมิลำเนาเดิมบนเกาะไหหลำของพวกมหาดำรงค์กุล อยู่ที่หมู่บ้านกวาเลา ตำบลโล่วเดา อำเภอบุ่นเชียง
ทั้งดิเรก ดิลก และชัยโรจน์ มีพ่อชื่อ ก่าวคนเหย่งและแม่ใช้แซ่คอไม่ทราบชื่อเมื่อแม่ตายแล้วพ่อแต่งงานใหม่ เป็นคนไหหลำอีกเหมือนกัน
ก่าวคนเหย่ง อพยพจากเกาะไหหลำเข้ามาในประเทศไทยเมื่ออายุได้ 20 ปีเศษ ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 จะเกิดไม่กี่ปี
“เขาอพยพเข้ามาเพื่อตามหาพ่อ เพราะพ่อหรือก๋งของดิเรก ดิลก และชัยโรจน์ เคยไปๆ มาๆ ระหว่างเกาะไหหลำกับเมืองไทย แต่ครั้งสุดท้ายพอมาแล้วก็ไม่กลับไปไหหลำ จนก้าวคนเหย่งเป็นหนุ่ม จึงได้หอบลูกเมียติดตามพ่อเข้ามาบ้าง...” คนไหหลำรุ่นเก่าที่พอจะทราบพื้นเพของต้นตระกูลมหาดำรงค์กุลเล่าให้ฟัง
ว่ากันว่า เมื่อตอนที่อพยพเข้ามานั้น ชัยโรจน์ลืมตาออกมาดูโลกแล้ว
เพราะฉะนั้นทั้ง 3 พี่น้องนี้จึงเกิดที่เกาะไหหลำ แต่ดิลกเคยให้สัมภาษณ์ว่า เขาเกิดที่กรุงเทพฯ แถวๆ ปทุมวัน!
ในระยะแรกๆ ที่อพยพเข้ามาตั้งรกรากในประเทศไทย ก่าวคนเหย่งมีฐานะยากจนมากต้องต่อสู้หาเลี้ยงครอบครัวชนิดที่เรียกได้ว่า ปากกัดตีนถีบ
ดิเรก-พี่ใหญ่ ต้องไปอาศัยเป็นเด็กรับใช้ช่วยทำงานบ้านให้กับช่างซ่อมนาฬิกาคนหนึ่งและฝึกหัดซ่อมนาฬิกาพร้อมๆ ไปด้วย
ก้าวคนเหย่ง ต่อมาเริ่มมีฐานะกระเตื้องขึ้นเมื่อเขากับเพื่อนๆ ร่วมกันก่อตั้งโพยก๊วน บริการส่งเงินจากเมืองไทยไปเกาะไหหลำ
ทั้งดิลกและชัยโรจน์จึงได้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียน ไม่ต้องมีชีวิตที่ยากลำบากเหมือนกับดิเรก
ดิลกเมื่อเล็กๆ เคยเรียนหนังสือที่โรงเรียนจีนชื่อกว่างสิว เป็นโรงเรียนของสมาคมกวางตุ้งในประเทศไทย และมาเรียนภาษาอังกฤษตอนกลางคืนที่โรงเรียนทักษิณวิทยา หรือคนจีนเรียก “หนานฟัง” แปลว่า ทิศใต้ แต่เรื่องว่าเคยเรียนหนังสือที่ไหนบ้างนี้ ดิลกกลับให้สัมภาษณ์นิตยสาร 2 ฉบับว่า เขาจบชั้นประถม 4 ที่โรงเรียนอักษรเจริญ และจบชั้นมัธยม 6 ที่โรงเรียนทักษิณวิทยา
ส่วนชัยโรจน์เริ่มเรียนหนังสือที่โรงเรียนจีน ชื่อยกหมิ่นกงสวย ซึ่งเป็นโรงเรียนของสมาคมไหหลำ จากนั้นมาต่อชั้นมัธยมที่โรงเรียนอัสสัมชัญ และไปเรียนวิศวกรรมศาสตร์ต่อที่ประเทศอังกฤษ การส่งเสียให้ชัยโรจน์ไปเรียนที่อังกฤษเป็นภาระของดิเรกและดิลก เพราะตอนนั้นทั้งดิเรกและดิลกมีกิจการขายนาฬิกาที่พอจะตั้งตัวได้แล้ว
กิจการขายนาฬิกาเป็นกิจการที่เริ่มต้นจากดิเรกแล้วดึงดิลกเข้าไปช่วย
ดิเรกเป็นช่างซ่อมนาฬิกาที่มีฝีมือมากในสมัยนั้น หลังจากเคยเป็นเด็กรับใช้และฝึกงานกับช่างซ่อมนาฬิกาอยู่หลายปี ดิเรกเมื่อย่างเข้าวัยหนุ่มก็แยกตัวออกมาตั้งตู้รับซ่อมนาฬิกาเล็กๆ อยู่ที่ถนนเจริญกรุงแถวๆ ปากตรอกโรงแรมโอเรียนเต็ล
ต่อมาก็ร่วมกับ “เสี่ยเม้ง” หรือมงคล กาญจนพาสน์ และ “เสี่ยเซ้ง” หรือ ทรง วงศ์สงวน ตั้งร้านขายนาฬิกาชื่อ “เมืองทอง”
กลุ่ม “เมืองทอง” ในสมัยนั้นยังเป็นร้านขายนาฬิการ้านเล็กๆ มีช่างซ่อมนาฬิกาที่มีฝีมือดีอย่างดิเรก มีคนค้าขายหน้าร้านเก่งอย่าง “สี่ยเม้ง” และมี “เสี่ยซ้ง” บิดาของบุรินทร์ วงศ์สงวน เป็นคนตกแต่งร้านให้ดูสวยงามดึงดูดสายตาลูกค้า
เมื่อดิลกกำลังย่างเข้าวัยหนุ่มดิเรกก็ดึงตัวมาช่วยงานที่เมืองทองและเพราะพอจะมีความรู้ทางภาษาอังกฤษใช้ได้ ดิเรกจึงใช้เขาทำหน้าที่เป็น เลขาของ “เสี่ยเม้ง” มีหน้าที่ติดต่อกับบริษัทผู้ผลิตนาฬิกามิโด้ ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
ช่วงนั้นเป็นช่วงที่เมืองทองเพิ่งจะติดต่อขอเป็นตัวแทนจำหน่ายนาฬิกามิโด้ในประเทศไทย
ทำงานเป็นเลขา “เสี่ยเม้ง” ได้หลายปี ดิลกก็มีโอกาสเดินทางไปฝึกงานเกี่ยวกับนาฬิกาที่สวิตเซอร์แลนด์
จากนั้นก็แยกตัวมาตั้งร้านชื่อ ศรีทองพาณิชย์ เป็นตัวแทนขายนาฬิกายี่ห้อราโด้ ส่วนดิเรกยังอยู่ที่เมืองทองกับ “เสี่ยเม้ง” และแม้จะขายนาฬิกาเหมือนกันแต่เมืองทองกับศรีทองพาณิชย์ก็มีความสัมพันธ์กันเป็นอย่างดี
ต่อมาเมื่อหมดยุคนาฬิกาสวิสเปลี่ยนมาเป็นยุคของนาฬิกาญี่ปุ่น เมืองทองได้เป็นตัวแทนจำหน่ายไซโก้ ส่วนศรีทองพาณิชย์เป็นตัวแทนจำหน่ายซิติเซ่น
หลังจากนั้นเมื่อชัยโรจน์สำเร็จวิศวกรรมจากอังกฤษแล้ว มหาดำรงค์กุลก็ตั้งโรงงานทำกล่องนาฬิกาและขยับขยายมาทำตัวเรือน หน้าปัด และชิ้นส่วนตามลำดับ
โรงงานแห่งนี้ชื่อ คอสโม เป็นธุรกิจหลักของมหาดำรงค์กุลก่อนจะก้าวเข้ามาเป็นเจ้าของและบริหารธนาคารนครหลวงไทย
ที่จริงมหาดำรงค์กุลไม่ใช่เพียงจะมีแต่กิจการนาฬิกา หลายปีมาแล้วที่มหาดำรงค์กุลเป็นผู้ได้สัมปทานเกาะรังนกหลายเกาะแถวๆ ภาคใต้ ซึ่งบางทีเมื่อไม่มีเวลาไปดูแลเพราะไม่ใช่ฤดูเก็บรังนก เกาะเหล่านี้ก็กลายเป็นสถานที่ขนถ่ายสินค้าเถื่อนไป
นอกจากนี้ก็มีกิจการป่าไม้ กิจการจัดสรรที่ดินซึ่งร่วมกับ “เสี่ยเม้ง” และอีกมาก
รวมทั้งกิจการในเกาะไหหลำ พวกมหาดำรงค์กุลก็ยังมีอีกด้วย
ว่ากันว่าพวกมหาดำรงค์กุลมีความสนิทชิดเชื้อกับประเทศจีนแผ่นดินใหญ่อย่างลึกซึ้งมานานพอควร
มหาดำรงค์กุลมีวัฒนธรรมประจำตระกูลอยู่ 2 อย่างที่ทุกคนยึดถือเหนียวแน่นมากคือ
หนึ่ง-เคารพอาวุโส น้องต้องเชื่อฟังพี่ เพราะฉะนั้นทั้งดิลกและชัยโรจน์จึงต้องเชื่อฟังดิเรก และสำหรับชัยโรจน์เองต้องเชื่อฟังทั้งดิเรกและดิลก
สอง- ความสามัคคีระหว่างคนในตระกูล
|
|
|
|
|