|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ มกราคม 2528
|
|
เมื่อผมมามองย้อนหลังดูเหตุการณ์ครั้งนั้นก็ได้ข้อคิดบางประการที่น่าสังเกต และทำให้ผมคิดว่า บางครั้งบางอย่างในการทำงานมันก็ไม่ได้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่เราวางไว้เช่น พร สิทธิอำนวย เป็นยอดนักบริหาร เพราะเขาเน้นในเรื่องการบริหารโดยใช้เป้าหมายเป็นหลัก เขาใช้การฝึกอบรมเป็นเครื่องมือ เขาเน้นการตลาด การเงิน และการจัดการ แต่การตัดสินใจทำหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษขึ้นมาสักฉบับหนึ่ง กลับใช้สัญชาตญาณในการตัดสินใจ แทนที่เราจะใช้ Research ดูว่าโครงการนี้น่าจะออกมาในรูปไหน? แต่เรากลับคุยกันแค่ 3 คนเท่านั้น แล้วเราก็บอกว่าทำได้
และแล้ว Business Times ก็เป็นรูปร่างขึ้นมาโดยที่แต่ละคนก็ยังไม่รู้ว่ามันจะออกมาในรูปไหน และอย่างไร? ในการทำโครงการนั้นผมบอกพรไปว่า เราจะทำ Business Times ให้เกิดขึ้นภายใน 2 ปี หรือภายในวงเงิน 20 ล้านบาท ถ้าถึงเวลานั้นแล้วยังไม่มีอนาคตหรือมองไม่เห็นแสงสว่างก็ควรจะหยุด ผมจำได้ว่าผมบอกไปว่า "Let's spend 20 million in 2 years and see how it goes instead of spending 20 million in 5 years and the result is the same we'll save 3 years. "
ผมเชื่อว่าเวลาที่เราประหยัดไป 3 ปีนั้นทำให้เราสามารถจะทำอย่างอื่นขึ้นมาแก้ไขได้ ถ้าภายใน 2 ปี และเงินอีก 20 ล้านบาทแล้ว Business Times ก็ยังไปไม่ได้
ปัญหาใหญ่ที่สุดของการเริ่ม Business Times ช่วงนั้นไม่ใช่เรื่องเงินแต่เป็นเรื่องหาคนมาทำ ในขณะนั้นค่ายหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษมีอยู่ 2 ค่าย คือค่ายของ Allied Newspaper ซึ่งมีบางกอกโพสต์กับค่าย Nation
ตัวบุคคลที่ทำหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษนั้นแทบจะนับตัวกันได้ในเมืองไทย เพราะเรามีกันอยู่ไม่เกิน 2-3 คน ที่เราสามารถจะมองเห็นว่าพอจะมาเป็นบรรณาธิการได้
แต่ก่อนอื่นเราต้องการบรรดานักข่าวเข้ามาเสียก่อน
เราวางโครงสร้างว่านักข่าวจะต้องเป็นงานและจะต้องเขียนภาษาอังกฤษได้ดีพอสมควร ที่สามารถจะให้ Rewriter ไม่ต้องนั่งปวดหัวกับภาษาให้มากนัก
ผมโชคดีที่ได้ไพศาล ศรีจรัสจรรยา ซึ่งเคยเป็นบรรณาธิการข่าวบางกอกโพสต์ แต่ออกมาพักหนึ่งแล้วเข้ามาเป็นบรรณาธิการข่าว นอกจากนั้นเรายังดึงตัว John Leicester ซึ่งเป็นบรรณาธิการฉบับพิเศษของโพสต์เข้ามาร่วมด้วย ส่วนนักข่าวอื่นๆ นั้นเราใช้วิธีเปิดรับสมัครเอา
พร สิทธิอำนวย ต้องการให้นักข่าวของ Business Times มีการฝึกฝนที่ดีก็เลยส่งนักข่าวเหล่านี้ไปฝึกงานที่หนังสือพิมพ์ Business days ในฟิลิปปินส์ที่เมือง Quezon City โดยการแนะนำของ Gil Santos อดีตหัวหน้าสำนักข่าว AP ในประเทศไทยยุคหนึ่งและเป็นเพื่อนสนิทของพรด้วย
ส่วนผมถูกมอบหมายให้สรรหาคนที่จะมาเป็นบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์ฉบับนี้ Gil Santos แนะนำคนให้ผม 2-3 คน
ผมมองคน 2-3 คนนั้นรวมทั้งคนในเมืองไทยด้วย แต่มองไม่เห็นว่าจะดึงคนในระดับบรรณาธิการบริหารมาได้ เพราะคงไม่มีใครมา
พรให้เป็นนโยบายมาว่า เขาต้องการลักษณะข่าวของ Business Times ที่แตกต่างไปจากลักษณะข่าวของ Post และ Nation คือให้มีความน่าอ่านและภาษาต้องเป็นภาษาที่ฝรั่งเขียนไม่ใช่ภาษาที่แปลมาจากภาษาไทยให้เป็นภาษาฝรั่ง
ในที่สุดผมตัดสินใจเลือก Dan Coggin จากการพิจารณาดูข้อเขียนของเขาเปรียบเทียบกับคนหลายๆ คน Dan เป็นอดีตนักข่าวนิตยสาร Times ในฮ่องกง และเป็นบรรณาธิการบริหารของนิตยสารธุรกิจรายเดือนที่ชื่อ Insight ในฮ่องกง
Dan อายุ 40 กว่าแล้วเป็นคนอเมริกัน อดีตเคยเป็นนาวิกโยธิน ลักษณะทั้งหมดเป็นลักษณะของผู้ใหญ่ที่สามารถจะทำงานกันได้ด้วยเหตุผลและอายุที่เลย 40 แล้วพอจะเชื่อได้ว่าคงไม่เป็นคนหุนหันพลันแล่นที่ไม่ยอมจะประนีประนอมส่วน Background ที่เคยเป็นนาวิกโยธินมาก่อนก็คงจะทำให้สบายใจได ้ในเรื่องการรายงานข่าวที่จะไม่ถูกเพ่งเล็งว่าเป็นแนวร่วมของเขมรหรือเวียดนาม เพราะการทำหนังสือพิมพ์ในเมืองไทยนั้น ต้องระวังในเรื่องนี้อย่างที่สุด
ผมไปเซ็นสัญญากับ Dan Coggin ที่ฮ่องกง โดยให้เงินเดือนเขา 30,000 บาท พร้อมบ้านเช่าและรถยนต์ประจำตำแหน่งหนึ่งคัน
นอกจาก Dan แล้วก็ยังมี Tim Atkinson นักหนังสือพิมพ์ชาว Australia ที่เคยอยู่ Nation แล้วลาออกไปอยู่ฮ่องกง เข้ามาร่วมทีมด้วย โดย Tim ทำหน้าที่เป็น Chief sub-editor
ในระยะแรกของการเตรียมงานนั้นทุกคนตื่นเต้นกันหมด เพราะทุกคนรู้ว่าหนังสือพิมพ์นี้มี PSA เป็นเจ้าของและ PSA ในเวลานั้นกำลังเป็นกลุ่มธุรกิจที่ถูกกล่าวถึงอย่างมากที่สุดกลุ่มหนึ่ง
หลายคนที่ลาออกจากหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์และมาอยู่ Business Times เพราะเชื่อว่า PSA ทำหนังสือพิมพ์จริงไม่ได้ทำเล่นๆ
"ผมอยู่ Post มาสิบกว่าปี การที่ผมตัดสินใจออกมานี้ผมต้องคิดหนักมาก เพราะที่ใหม่ต้องมั่นคงพอดู ผมถึงจะลาออก และผมเห็นว่า PSA เป็นองค์กรธุรกิจที่มีหลักฐานจริง " ราฟ บาโช นักหนังสือพิมพ์ชาวพม่าคนหนึ่งเล่าถึงการตัดสินใจมาอยู่ Business Times ของเขาให้ผมฟัง
ในที่ประชุมของ staff พรเองเมื่อถูกถามถึงความตั้งใจในการทำหนังสือพิมพ์ฉบับนี้เขาก็บอกว่า เขาพร้อมจะสนับสนุนหนังสือพิมพ์เล่มนี้ไปให้ถึงที่สุด
การทำหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าไม่มีแท่นพิมพ์เป็นของตัวเอง และยังเป็นหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษด้วยนั้นจำเป็นจะต้องมีการเตรียมงานกันและวางแผนให้ลงตัวมากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ผมจำได้ว่าในระยะ 30 วันแรกที่หนังสือออกทั้งผมและพร สิทธิอำนวย แทบจะไม่ได้กินไม่ได้นอนคลุกกันอยู่ในกองบรรณาธิการเพื่อเข็นหนังสือพิมพ์ ให้ออกตรงเวลา
เมื่อมองย้อนกลับไปถึง Business Times ในช่วงนั้นก็พอจะเห็นข้อผิดพลาดหลายประการในการทำงาน ซึ่งพอจะเอามาเล่าสู่กันฟังได้เพื่อเป็นอุทาหรณ์ในการทำงาน
ข้อผิดพลาดข้อแรกคือ ความขัดแย้งในกลุ่มผู้ทำงาน
พรมีเพื่อนชาวฟิลิปปินส์ที่เป็นนักหนังสือพิมพ์เก่าอยู่ 2-3 คน และเขาก็จ้างเข้ามาทำงานด้วยก็มี Gil Santos และ Toni Esgoda ทั้งคู่เข้ามาในลักษณะของเพื่อนพร และก็พาคนฟิลิปปินส์เข้ามาอีก 2-3 คนจากฟิลิปปินส์เพื่อมาทำงาน ความขัดแย้งระหว่างฟิลิปปินส์กับฝรั่งก็เลยเกิดขึ้นโดยธรรมชาติของมัน และในการแก้ปัญหานี้ ผมไม่ได้มีส่วนในเรื่องนี้เพราะเป็นเรื่องเพื่อนของพร ที่พรต้องการจะแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง ซึ่งผมเชื่อว่าถ้ามีการแก้ปัญหาโดยเด็ดขาดแล้ว ปัญหาความขัดแย้งก็จะไม่ลุกลามไปจนกระทั่งทำให้การทำงานไม่มีเอกภาพ ถ้าจะให้ผมเลือกตอนนั้น ผมก็คงจะเลือกฝรั่ง เพราะมีลักษณะไม่คิดเล็กคิดน้อยและต้องการจะทำงานจริง เพราะกลุ่มฟิลิปปินโนในขณะนั้นดูเหมือนว่าจะมีลักษณะของการมาพักผ่อนชั่วคราวในเมืองไทยเท่านั้นเอง
ข้อผิดพลาดประการที่สองคือ Positioning ของหนังสือพิมพ์
Business Times เกิดขึ้นมาเพราะเราคิดว่าข่าวสารทางธุรกิจนั้นยังขาดอีกมากและไม่มีสื่อที่จะเข้ามารองรับข่าวประเภทนี้อย่างเต็มที่ แต่เมื่อทำหนังสือพิมพ์ฉบับนี้ไปแล้ว ความเห็นต่างๆ ก็เริ่มเข้ามาจากหลายฝ่ายมีทั้งที่แนะนำให้มีข่าวการเมือง ข่าวสังคม ข่าวกีฬา ข่าวศิลปะ ฯลฯ ในที่สุด Business Times แทนที่จะมี selected target group และ clear cut positioning ก็กลายเป็น Banglok Post ไปอีกฉบับหนึ่ง แทนที่เราจะยืนหยัด Uniqueness ของเราให้เห็นเด่นชัดว่าเราเป็นหนังสือพิมพ์ข่าวธุรกิจภาษาอังกฤษฉบับเดียว เรากลับไปทำ me too product ขึ้นมา จริงอยู่ถึงจะมีคุณภาพสูง แต่การจะชักชวนให้คนที่เคยอ่านหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งมาเป็นเวลา 10 ปีให้หันมาอ่านฉบับใหม่นั้นไม่ใช่ง่าย นอกจากฉบับใหม่นั้นจะมีอะไรที่แตกต่างกว่าฉบับเก่า และเขาเห็นว่ามีประโยชน์กับเขา
อีกประการหนึ่ง การที่เรามีทั้งฉบับบ่ายฉบับเช้า และมีฉบับที่สอดแทรกเป็นพิเศษในวันอังคารและพฤหัส ทำให้ผู้อ่านสับสนและหาเอกลักษณ์ของ Business Times ได้ยาก
ข้อผิดพลาดประการที่สามคือ ความขัดแย้งในองค์กร
Business Times เกิดขึ้นมาโดยความต้องการของพร สิทธิอำนวย คนส่วนใหญ่ใน PSA จะแบ่งออกเป็นสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งจะไม่มีความเห็นอะไร อีกฝ่ายหนึ่งจะไม่เห็นด้วยและคัดค้าน
ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยและคัดค้านก็คือ ฝ่ายของสุธี นพคุณ
สุธีให้เหตุผลว่า PSA ไม่ควรทำหนังสือพิมพ์เพราะการทำหนังสือพิมพ์เท่ากับเป็นการสร้างศัตรูซึ่งไม่เหมาะกับ PSA
จากการที่มีความขัดแย้งเช่นนี้ก็ทำให้ฝ่ายหนึ่งของ PSA คอยแช่งชักหักกระดูกให้ Business Times ล้มลงไป ถึงกับเอาไปพูดกับคนนอกองค์กรว่า Business Times ต้องพังแน่ๆ
จากการที่มีความขัดแย้งเช่นนี้ก็เลยทำให้การทำงานของผมยากขึ้นไปอีกหลายเท่าตัว เพราะนอกจากผมจะต้องไปรบกับคนข้างนอกแล้วยังจะต้องคอยรบกับคนข้างในอีก และศึกภายในกลับดูจะหนักกว่าศึกภายนอกหลายเท่า
เมื่อมองย้อนหลังก็จะเห็นว่าการที่องค์กรหนึ่งจะทำอะไรขึ้นมานั้น น่าจะเป็นการตัดสินใจทำโดยได้รับการปรึกษาหารือจากทุกฝ่ายก่อนถึงแม้ว่าคนต้องการจะทำคือผู้ที่มีอำนาจสูงสุดในองค์กร แต่ถ้าคนอื่นในองค์กรไม่ให้ความร่วมมือแล้วก็ย่อมจะเกิดปัญหาและอุปสรรคอย่างใหญ่หลวง
ข้อผิดพลาดประการที่สี่คือ ความไม่พร้อมในเรื่องของการสนับสนุนโครงการ ในการทำ Business Times นั้นก็เหมือนการทำโครงการต่างๆ ในยุค PSA ช่วงแรกๆ ที่ไม่ได้มีการเตรียมงบประมาณเอาไว้แต่จะเป็นการกู้ยืมเงินจากบริษัทเงินทุนในเครือ ส่วนใหญ่ก็จะไปเอาที่บริษัทเงินทุนเครดิตการพาณิชย์
ฉะนั้นเมื่อโครงการจะต้องขาดทุนอยู่เรื่อยๆ ทุกเดือน ผู้ที่ต้องเป็นฝ่ายหาเงินทุนเช่นบริษัทเงินทุนเครดิตการพาณิชย์ ก็เริ่มร้อนตัวและไม่อยากให้เงินกู้ยืมอีกต่อไป
ประกอบกับโครงการนี้มีผู้ต่อต้านอยู่แล้วก็พลอยทำให้พร สิทธิอำนวย เองเริ่มจะลังเลใจและก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ Business Times ต้องล้มเลิกไปในภายหลัง
ผมได้มีโอกาสหยิบตัวเลขการขาดทุนออกมานั่งดูเมื่อเร็วๆ นี้ พอจะสรุปได้ว่าเรามียอดการขาดทุนใน 10 เดือนตั้งแต่หนังสือออกเป็นเงินประมาณเกือบ 12 ล้านบาท โดยมีค่าใช้จ่ายก่อนดำเนินการประมาณ 1.5 ล้านบาท ที่เหลือเป็นยอดขาดทุนประมาณ 10.5 ล้านบาท หรือเฉลี่ยตกเดือนละ 1 ล้านบาท สำหรับรายได้นั้นเพิ่มขึ้นทุกๆ เดือน จากเดือนละ 2 แสนบาทใน 2-3 เดือนหลัง ปัญหาก็อยู่ที่ว่า จะเพิ่มรายได้อย่างไร และลดรายจ่ายอย่างไร เพื่อให้ break-even ได้ แต่การตัดค่าใช้จ่ายในขณะที่โครงการเพิ่งจะเริ่มไปได้ไม่ถึง 1 ปี นั้นเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนมาก ถ้าให้นักบัญชีดูก็จะง่าย เพราะสามารถจะตัดโน่นตัดนี่ได้ตามตัวเลขที่ตัวเองนั่งมองอยู่ แต่เผอิญการผลิตหนังสือพิมพ์เป็นเรื่องของกำลังใจและจิตวิทยา เพราะทุกคนเชื่ออย่างหนักแน่นว่าพร สิทธิอำนวย จะหนุนหนังสือพิมพ์ฉบับนี้อย่างเต็มที่ และทุกคนก็เชื่อว่าเป็นคำพูดที่หนักแน่นและเชื่อได้
อีกประการหนึ่งมีคนอยู่หลายคนที่ตัดสินใจลาออกจากหนังสือพิมพ์ เช่น บางกอกโพสต์ที่เขาอยู่มาสิบกว่าปี เพราะเขาเชื่อว่าโครงการนี้จะถูกหนุนอย่างจริงจัง เช่น นายแอนตัน เปอเรร่า นักข่าวกีฬาลายครามของบางกอกโพสต์ ที่เป็นเพื่อนสนิทของพร และพรดึงตัวมาทำงานด้วย และเขาก็มาเพราะความเชื่อมั่น! ใช่แล้ว! ความเชื่อมั่นคำนี้แหละที่ทำให้คนหลายคนสร้างประวัติศาสตร์มาแล้ว แต่ในมุมกลับ ถ้าความเชื่อมั่นนี้ถูกทำลายลงไปหรือเพียงแต่ถูกสั่นคลอนเท่านั้น ความฮึกเหิมหรือกำลังใจในการต่อสู้ก็จะหมดไป
และกรณีนี้ก็เช่นกัน!
หนังสือพิมพ์เป็นสินค้าประเภทหนึ่งแต่ก็ต่างกว่ายาสีฟันตรงที่ว่า หนังสือพิมพ์มีชีวิตจิตใจ ในขณะที่ยาสีฟันมีองค์ประกอบของเนื้อยาที่เป็นสารเคมี แต่หนังสือพิมพ์มีตัวหนังสือที่ถูกกลั่นกรองมาจากวิญญาณของคนทำ ถ้าวิญญาณของคนทำขาดความมั่นใจ และความเชื่อมั่นแล้วตัวหนังสือบนหนังสือพิมพ์มันก็ไม่ได้ต่างไปกว่าหมึกเปื้อนกระดาษ
เราได้มีการคุยกันและประชุมกันหลายครั้งในเรื่องการตัดค่าใช้จ่าย
พรต้องการจะตัดทันทีโดยลดค่าใช้จ่ายประมาณ 20% Across the Board และต้องทำทันที แต่ผมไม่เห็นด้วยว่าควรจะทำทันที ผมคิดว่าในเมื่อเรามีงบประมาณการทำงานตั้งไว้ 20 ล้านบาท และใช้ไปครึ่งหนึ่ง โดยเวลาการใช้เร็วกว่ากำหนด 2 เดือน เราก็ยังพอจะมีเวลาในการทำงาน อย่างน้อยการที่รายได้เพิ่มมากขึ้นนั้นก็เป็นสัญญาณให้เห็นว่าเรามาถูกทางแล้ว
ผมเห็นด้วยว่าเราน่าจะตัดค่าใช้จ่ายได้ แต่ต้องไม่ใช่ทันที เพราะจะมีผลต่อความเชื่อมั่นและข่าวลือจะลือกันไป ทำให้เสียหายมากกว่านี้
ผมเสนอว่าการตัดค่าใช้จ่ายควรจะทำเป็นระยะเวลา 3 เดือน โดยเริ่มจากส่วนที่ไม่ได้เกี่ยวกับกองบรรณาธิการ แล้วค่อยๆ ขยายไปถึงกองบรรณาธิการ โดยลดคนต่างชาติโดยเฉพาะทางฝ่ายฟิลิปปินส์ก่อน แต่บรรดานักบัญชีและฝ่าย corporate office บอกพรว่า ต้องทำทันที
ปัญหาของ Business Times ในขณะนั้นไม่ใช่ปัญหาที่เลวร้ายว่าเป็นสินค้าที่ขายไม่ได้เลยหรือเป็นปัญหาของการทำงานที่ผิดโปรเจ็กชั่น หากแต่เป็นปัญหาของการลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มรายได้ ผมคิดว่ากรณีนั้นก็เป็นกรณีทั่วๆ ไปของการบริหารงานธุรกิจ ที่เราต้องใช้องค์ประกอบหลายๆ ด้านเข้ามาพิจารณา ก่อนที่เราจะตัดสินใจทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งลงไป
ในชีวิตการทำงาน ผมอาจจะทำงานผิดพลาดมามาก เพราะประสบการณ์น้อย แต่อย่างน้อยที่สุดจนทุกวันนี้ ผมก็ยังคิดว่าหลักการของผมในเรื่องที่พูดมาข้างต้นนั้นไม่ผิด และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายหลังจนทุกวันนี้ก็พิสูจน์ได้ว่า ผมไม่ผิด
หมายเหตุ จากนิตยสารผู้จัดการฉบับที่ 12 เดือนสิงหาคม 2527
|
|
|
|
|