Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2528








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2528
เอกยุทธ เริ่มจากจุดนี้             

 

   
related stories

สมบัติที่เอกยุทธซื้อให้แม่
ชาร์เตอร์ดิสโก้เธค กระดูกชิ้นสุดท้ายที่รุมทึ้งกัน

   
search resources

Investment
เอกยุทธ อัญชัญบุตร
แฮลเบอรี่ อินเตอร์เนชั่นแนล คอมมอดิตี้




แฮลเบอรี่ อินเตอร์เนชั่นแนล คอมมอดิตี้ เป็นบริษัทคอมมอดิตี้ซึ่งตั้งขึ้นมาเมื่อราวๆ ปี 2520 ผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นคนฮ่องกง สำนักงานตั้งอยู่ที่อาคารประภาวิทย์ เยื้องๆ กับโรงแรมรามาทาวเวอร์ที่สีลม วงการคอมมอดิตี้ของไทยจดจำชื่อบริษัทนี้ได้แม่นยำ เพราะแฮลเบอรี่ เป็นบริษัทสุดท้ายที่เจ้าของสามารถแหกตานักเล่นและเชิดเงินหลายร้อยล้านบาทกลับไปฮ่องกงได้ หลังจากกรณีเช่นเดียวกันนี้เคยเกิดขึ้นมาหลายแห่ง ในยุคที่การเล่นเก็งกำไร "ตั๋วทอง " กำลังบูมอย่างมากๆ

หมดจากยุคของแฮลเบอรี่แล้ว วงการคอมมอดิตี้ก็ไม่เคยปรากฏว่า คนฮ่องกงจะเข้ามาหลอกกินหมูคนไทยได้อีกต่อไป

จะมีก็แต่คนไทยหลอกคนไทยด้วยกันแทน!

เอกยุทธ เคยทำงานเป็นพนักงานขายคอมมอดิตี้ให้กับบริษัทแฮลเบอรี่ โดยเขาเริ่มงานในช่วงแรกที่บริษัทนี้ถูกก่อตั้งขึ้นมาและเอกยุทธใช้เวลาเพียงไม่ถึง ปีในการไต่เต้าจากพนักงานขายธรรมดาขึ้นมาเป็นผู้จัดการฝ่ายขายคุมลูกน้องในสังกัดของตนไม่ต่ำกว่า 10 คน

อดีตลูกน้องของเอกยุทธคนหนึ่งเล่าให้ฟังว่า เขาไม่รู้จักกำพืดอย่างละเอียดของเอกยุทธ เขาทราบจากคำบอกเล่าของตัวเอกยุทธและคนอื่นๆ บ้างเพียงว่า เอกยุทธเคยไปเรียนหนังสือที่สหรัฐฯ อยู่หลายปีก่อนหน้าจะเข้ามาทำงานที่แฮลเบอรี่

"เขาเป็นคนมีบุคลิกดี ฟอร์มสูง และมีลูกค้ามือหนักๆ หลายคน โดยเฉพาะผู้หญิงวัยกลางคนที่ชื่อแดง ซึ่งเอกยุทธจะเรียกว่าแม่แดงทุกคำ "

ลูกน้องเก่าของเอกยุทธคนเดียวกันนี้ยืนยันว่า "แม่แดง " ก็คือ "แดง " คนเดียวกันกับหัวหน้าสายรายใหญ่ที่สุดของวงการแชร์ชาร์เตอร์นั่นเอง

"แม่แดง " ของเอกยุทธเป็นภรรยาของนายทหารอากาศยศนาวาอากาศเอก ในยุคที่วงการคอมมอดิตี้กำลังบูมสุดขีด ในช่วงระหว่างปี 20-23 นั้น วงการคอมมอดิตี้ให้ความยอมรับนักเล่นขาใหญ่ที่เป็นผู้หญิงอยู่ 2 คน คนหนึ่งคือ "อิ๊ด ประภา " และอีกคนก็คือ "แม่แดง "

"อิ๊ด ประภา " เป็นเจ้าของโรงงานแปรรูปเศษเหล็กเส้น ฐานะไม่ถึงกับร่ำรวยมาก แต่ภายหลังเมื่อหันมาเล่นคอมมอดิตี้ทั้ง "ตั๋วทอง " และพืชผลจนเปลี่ยนฐานะจากนักเล่นเป็นเจ้าของบริษัทคอมมอดิตี้เสียเองแล้วนั่นแหละ ฐานะของ "อิ๊ด ประภา " ก็เริ่มร่ำรวยขึ้นอย่างพรวดพราด

และเมื่อรวยแล้ว "อิ๊ด ประภา " ก็วางมือเด็ดขาดจากวงการคอมมอดิตี้ และนำเงินที่ได้จากธุรกิจประเภทนี้ไปขยายโรงงานเหล็ก ซื้อหุ้นธนาคาร และซื้อบริษัทเงินทุน บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ หันมาจับงานทางด้านที่ดินและงานก่อสร้างแทน

ในปัจจุบัน "อิ๊ด ประภา " กลายเป็นนักธุรกิจหญิงที่ประสบความสำเร็จมากคนหนึ่ง มีกิจการหลายอย่างแม้กระทั่งบริษัทขายคอมพิวเตอร์

มีคนเคยถาม "อิ๊ด ประภา " ว่า ทำไมจึงถอนตัวจากวงการคอมมอดิตี้ ทั้งที่ร่ำรวยขึ้นมาจากทางนี้

"มันไม่มีอะไรจีรัง มันเหมือนเล่นการพนันเมื่อมีชนะก็จะต้องมีแพ้เข้าสักวัน เพราะฉะนั้นเมื่อชนะได้เงินถึงจุดหนึ่งแล้ว ก็ควรจะต้องหยุดและหันไปเล่นธุรกิจที่มันไม่ต้องเสี่ยงมากและดูแล้วมันสะอาดมากกว่าคอมมอดิตี้... " อิ๊ด ประภา ตอบคำถาม

แต่ "แม่แดง " ของเอกยุทธดูเหมือนว่าจะเดินสวนทางกับความคิดเช่นนี้โดยสิ้นเชิง

แต่หลังจากเจ้าของบริษัทแฮลเบอรี่ซึ่งเป็นคนฮ่องกงเชิดเงินกลับบ้านไปเรียบร้อยแล้ว เอกยุทธโยกย้ายตัวเองไปอยู่กับบริษัทคอมมอดิตี้อีกหลายแห่ง

ชื่อเสียงของความเป็นนักขายคอมมอดิตี้ระดับมือทองของเอกยุทธนั้นพอจะทำให้ทุกแห่งพร้อมจะรับเขาเข้าไว้เป็นสมาชิกอยู่แล้ว

ครั้นเมื่ออยู่ในวงการคอมมอดิตี้นานๆ เข้า เอกยุทธก็เริ่มจะมองเห็นช่องทางที่จะทำเงินถ้าเขาจะมีบริษัทคอมมอดิตี้เป็นของตัวเองสักแห่ง

บริษัทชาร์เตอร์ อินเตอร์เรคชั่น จึงได้ถือกำเนิดมาในวงการคอมมอดิตี้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us