|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
โชคศิริ ฟุ้งสมาชิกอีลิทแห่สนใจลงทุนธุรกิจในประเทศไทย ล่าสุดสมาชิกชาวอินเดีย เล็งเทเงินกว่า 600 ล้านบาท ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ และโรงเรียนนานาชาติ แย้มไต๋ ถ้าธุรกิจใดน่าสนใจจะขอร่วมลงทุนด้วย ขณะเดียวกันลุยทำตลาดสร้างภาพไม่หยุด จับมือเอไอเอสทุ่ม 25 ล้าน จัดสัมมนา "Asia Leadership Forum" ดึงนักธุรกิจชั้นนำระดับโลก เปิดเวทีแลกเปลี่ยนความคิด คาดเงินสะพัด 100 ล้าน
นายโชคศิริ รอดบุญพา ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยแลนด์ พริวิเลจ การ์ด จำกัด ผู้ดำเนินโครงการ ไทยแลนด์ อีลิท การ์ด หรือทีพีซี เปิดเผยถึงกรณีความคืบหน้าเรื่องการลงทุนของสมาชิกอีลิทว่า ขณะนี้สมาชิกผู้ถือบัตรอีลิทชาวอินเดีย ได้แจ้งความประสงค์ผ่านทีพีซี ถึงความต้องการลงทุนในธุรกิจโรงเรียนและอสังหาริมทรัพย์ในไทย รวมมูลค่า 500-600 ล้านบาท ซึ่งก่อนหน้านี้มีสมาชิกบัตรอีลิทจากหลายประเทศได้สนใจเข้ามาลงทุนในประเทศไทยแล้วมากกว่า 2,000 ล้านบาท
ทั้งนี้ในรายละเอียดการลงทุนของสมาชิกบัตรอีลิทชาวอินเดียกล่าวคือ ส่วนธุรกิจโรงเรียน สนใจที่จะเปิดโรงเรียนนานาชาติระดับไฮสกูล ซึ่งจะนำเชนมาจากโรงเรียนนานาชาติในประเทศอินเดีย ที่ได้รับความน่าเชื่อถือมากในกรุงนิวเดลี ใช้เงินลงทุนประมาณ 100 ล้านบาท และส่วนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ สนใจที่จะซื้ออาคารสูงรวม 2 อาคาร เพื่อทำธุรกิจในหมวดอสังหาริมทรัพย์ อาจเป็นโรงแรมหรือเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ ขณะนี้อยู่ระหว่างเจรจา จึงยังไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้
"การทำงานของอีลิทในเรื่องของการอำนวยความสะดวกลูกค้าสมาชิก จะบอกได้ดีถึงความเป็นเลขาส่วนตัวที่แท้จริง นอกจากนั้นในรายที่ลงทุนในธุรกิจที่น่าสนใจ ทีพีซียังมีแนวคิดที่จะร่วมเป็นหุ้นส่วน โดยใช้เงินที่ได้จากการขายบัตรสมาชิกส่วนหนึ่งออกไปลงทุน เพื่อให้มีดอกผลงอกงามขึ้นมา ปัจจุบันทีพีซีมีเงินสดหมุนเวียนเป็นสภาพคล่องกว่า 500 ล้านบาท มีสมาชิก 850 ราย"
นอกจากนั้น ในระหว่างวันที่ 13-14 มิถุนายน 2548 ทีพีซีได้จับมือกับบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด(มหาชน) หรือเอไอเอส จัดสัมมนา "Asia Leader-ship Forum" ครั้งที่ 14 โดยได้รับความไว้วางใจจากนิตยสารบิสซิเนสวีค ให้จัดขึ้นเป็นปีที่ 2 ในประเทศไทย ซึ่งครั้งนี้ใช้งบจัดประชุมราว 25 ล้านบาท โดยเอไอเอสเป็นผู้สนับสนุน 5 ล้านบาท และยังมีบริษัทอื่นๆ ร่วมสนับสนุน เช่น รถยนต์บีเอ็มดับเบิลยู บริษัทขนส่งพัสดุ DHL และการบินไทย
ทั้งนี้ทาง นิตยสารบิสซิเนสวีคแจ้งว่า ล่าสุดมีนักธุรกิจชั้นนำระดับ CEO กว่า 300 ราย ได้ตอบรับเข้าร่วมสัมมนาในครั้งนี้แล้ว ส่วนใหญ่เป็นนักธุรกิจในประเทศย่านเอเชีย รองมาคือจากยุโรปและสหรัฐอเมริกา คาดว่าจะมีเงินสะพัดเข้าประเทศไทยจากงานนี้ไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาท ซึ่งในส่วนของทีพีซีตั้งเป้าได้ลูกค้าเข้าเป็นสมาชิกบัตรจากงานนี้ไม่น้อยกว่า 25% ของผู้เข้าร่วมประชุม นอกจากนั้นยังมีผลพลอยได้ในเรื่องของการลงทุน เพราะการเข้ามาประชุมของนักธุรกิจชั้นนำ เป็นโอกาสดีที่ประเทศไทยจะได้แสดงศักยภาพความพร้อมด้านการลงทุน นอกจากนั้นทางเอไอเอส ยังได้เชิญนักธุรกิจชั้นนำของเมืองไทยกว่า 100 ราย เข้าสัมมนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
"Asia Leadership Forum เป็นเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันของนักธุรกิจและนักลงทุนระดับแนวหน้า ซึ่งการจัดสัมมนาครั้งก่อน เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2547 ทีพีซีได้ลูกค้าใหม่จากการจัดงาน 20 ราย ซึ่งครั้งนี้ทีพีซีเตรียมเสนอแพกเกจอีลิทคอนเน็กให้แก่นักธุรกิจและนักลงทุนที่มาร่วมงาน เพราะแพกเกจดังกล่าวจะเอื้อประโยชน์ต่อการลงทุนทำธุรกิจในประเทศไทย โดยเฉพาะเรื่องการอำนวยความสะดวก ติดต่อราชการและข้อกฎหมาย"
อย่างไรก็ตามการจัดสัมมนาครั้งนี้ยังได้รับเกียรติจากบุคคลสำคัญระดับผู้นำของโลกหลายท่าน เข้าร่วมงานและแสดงปาฐกถาในงานนี้ด้วย อาทิ ฯพณฯเคย์ ราลา ซานานา กุสเมา ประธานาธิบดีติมอร์เลสเต, นายไมค์ มัวร์ อดีตนายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์และผู้อำนวยการการค้าโลก พล.อ. คอลลิน เพาเวล อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐอเมริกา นายบ็อบ ฮอว์ค อดีตนายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย และนายศุภชัย พานิชภักดิ์ ผู้อำนวยการองค์การการค้าโลกและอดีตรองนายกรัฐมนตรีของไทย โดยมีนายทนง พิทยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานเปิดสัมมนา
สำหรับหัวข้อสัมมนาที่กำหนดไว้ครั้งนี้คือ "The New Leadership Imperative - Transforming Vision to Bottomline Reality" หรือ "ความจำเป็นของภาวะผู้นำใหม่ ในการปรับเปลี่ยนวิสัยทัศน์ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติที่เป็นจริง" ซึ่งปัญหาหลักของการวางแผนในระดับซีอีโอที่สำคัญ คือ การนำไปใช้ปฏิบัติเป็นรูปธรรมได้จริง ส่วนเรื่องที่จะมีการพูดคุยในการสัมมนา เช่น ระบบเทคโนโลยี และการพัฒนาบุคลากร เป็นต้น
|
|
|
|
|