|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
เผยเบื้องหลัง ก.ล.ต.สอบลึกปิคนิคซื้อแก๊สแพงขายถูกใครได้ประโยชน์ เกี่ยวพันผู้ถือหุ้นใหญ่ชัดเจน กระทบภาพลักษณ์ มองมีปัญหาสภาพคล่อง ท่ามกลางภาวะตลาดผันผวนหุ้นอีสเทิร์นไวร์สะเทือนราคาทรุด 29% จากราคาจอง 37 บาท นักลงทุน-นักการเมืองโวย หุ้นใหญ่อีสเทิร์นไวร์เปิดอกรับผิดชอบ ขอซื้อคืนเพิ่มความมั่นใจจ่ายเช็ค การันตีโดย "สุริยา" รมช.พาณิชย์
แหล่งข่าวจากบริษัทที่ปรึกษาทางการเงิน เปิดเผยกับ "ผู้จัดการรายวัน" นับตั้งแต่นายธีระชัย ภูวนารถนรานุบาล เข้ามาเป็นเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต.ได้ใช้นโยบายกำกับดูแลบริษัทที่ระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ชนิดเข้มข้น โดยมุ่งตรวจสอบงบการเงินของทุกบริษัท ซึ่งจะเห็นว่าที่ผ่านมา ก.ล.ต.ได้มีการดำเนินการสั่งให้บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์หลายแห่งแก้ไขงบการเงินไปแล้ว นอกจากนั้นการตรวจสอบของ ก.ล.ต.ยังครอบคลุมไปถึงโครงสร้างธุรกิจของบริษัทซึ่งบางรายมีลักษณะที่ขัดแย้งทางผลประโยชน์ก็จะถูก ก.ล.ต.สั่งให้มีการแก้ไข
แม้แต่บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ด้วยความที่เป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ จึงมีโครงสร้างธุรกิจที่มีความซับซ้อน มีบริษัทย่อยจำนวนมากจนบางจุดเมื่อ ก.ล.ต.ตรวจพบว่ามีลักษณะโครงสร้างธุรกิจขัดแย้งทางผลประโยชน์ระหว่างกัน ก็ได้แจ้งให้บริษัทเหล่านี้กลับไปดำเนินการแก้ไขปรับปรุง
สำหรับกรณีการสั่งแก้ไขงบการเงินของ บริษัท ปิคนิค คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ PICNI ปี 2547 ซึ่งเป็นหนึ่งในหลายบริษัทที่ ก.ล.ต.เห็นว่าไม่ปกติใน 2 ประเด็นหลัก คือ แก้ไขการตัดค่าความนิยม (Goodwiil) สูงถึง 1,049 ล้านบาท และการให้มีผู้ตรวจสอบบัญชีพิเศษการทำรายการกับโรงแก๊ส 10 แห่งนั้น ซึ่งกรณีการถกเถียงในเรื่องการตัดค่าความนิยม 70% ของมูลค่าที่ซื้อขายบริษัทเวิลด์แก๊ส จำกัด สูงเกินความเป็นจริง เป็นความขัดแย้งในเรื่องวิธีการประเมินที่แตกต่างกันระหว่าง ปิคนิค กับ ก.ล.ต. โดย ก.ล.ต.มองการตัดค่าความนิยมดังกล่าวไม่สะท้อนฐานะของบริษัท เวิลด์แก๊ส
แต่อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่ ก.ล.ต.ให้ความสำคัญมากกว่ากรณีการตัดค่าความนิยม ก็คือ การดำเนินธุรกิจในลักษณะที่ไม่ธรรมดาของปิคนิค กล่าว คือ ก.ล.ต.พบว่า ปิคนิคมีการขายแก๊สในราคาที่ขายขาดทุนให้กับกลุ่มบริษัทจังหวัดหนึ่งทางภาคเหนือ และอ้างว่าการซื้อแพงขายถูกนี้เพื่อหวังจะมีส่วนแบ่งตลาดหรือมาร์เกตแชร์ของบริษัทเติบโต ทั้งๆ ที่ใครก็รู้ว่าเจ้าตลาดของเมืองไทย คือ ปตท. และยังมีบริษัทบางจาก จำกัด (มหาชน) ซึ่งไม่มีทางที่ปิคนิคจะสู้ได้
ทั้งนี้ ในการตรวจสอบ ก.ล.ต.พุ่งประเด็นที่ผู้รับซื้อแก๊สเป็นกลุ่มเดียวกับผู้ถือหุ้นปิคนิค ซึ่งเท่ากับว่า ซื้อแพงขายถูกให้กับกลุ่มที่มีความสัมพันธ์กับผู้ถือหุ้นใหญ่ปิคนิคเอง จึงนำไปสู่การพิจารณาในประเด็นการกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมาย เอสอีซี หรือ พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 หรือไม่
ที่สำคัญปัจจุบันภาระหนี้สินของปิคนิคได้เพิ่มสูงขึ้น โดย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2547 บริษัทมีหนี้สินรวมจำนวน 8,759.55 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6,102.38 ล้านบาท เมื่อเทียบกับหนี้สินรวม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2546 แม้ปิคนิคจะมีสินทรัพย์รวมเพิ่มขึ้นอย่างมากก็ตาม โดย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2547 สินทรัพย์รวมประมาณ 12,808.47 ล้านบาท เพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับสิ้นปี 2546 ซึ่งมีมูลค่า 4,492.93 ล้านบาท โดยปรับตัวเพิ่มขึ้น 8,315.54 ล้านบาท
ขณะที่การลาออกของนายธีรัชชานนท์ ลาภวิสุทธิสิน กรรมการผู้จัดการ ปิคนิค โดยมีผลวันที่ 16 มิ.ย. นั้นในแง่กฎหมายไม่ได้มีผลเกี่ยวกับการสาวไปถึงตัวรัฐมนตรี สุริยา ลาภวิสุทธิสิน เพราะเจ้าตัวเองก็ประกาศออกมาแล้วว่าไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับการบริหารในปิคนิค แต่เนื่องจากในทางพฤตินัยทุกคนเชื่อว่ามีความเกี่ยวพันกัน จึงทำให้นายธีรัชชานนท์ ลาออกเพื่อหวังผลในด้านการตลาดมากกว่า โดยการนำคนนอกเข้ามาเป็นหุ่นเชิดบริหารแทน
ขณะที่ปิคนิคเผชิญมรสุมถูก ก.ล.ต.สั่งแก้ไขงบการเงินจนทำให้การเพิ่มทุนจำนวน 200 กว่าล้านหุ้นชะลอออกไป ปัจจุบันสถานการณ์ของบริษัท อีสเทิร์นไวร์ จำกัด (มหาชน) หรือ EWC ซึ่งถูกมองว่า กลุ่มผู้บริหารมีความเกี่ยวข้องกับปิคนิค กำลังเผชิญปัญหาราคาหุ้นในตลาดทรุดลงอย่างหนักหลังจากที่หุ้นเพิ่มทุนเข้าซื้อขายท่ามกลางตลาดหุ้นไทยก็มีความผันผวนทรุดตัว จนทำให้ล่าสุดกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ต้องออกมาแสดงเจตนาขอรับซื้อหุ้นคืน
แหล่งข่าวจากนักลงทุนกล่าวว่า แท้จริงแล้วในการเสนอขายหุ้นพีโอของ EWC เมื่อวันที่ 10-11 พ.ค. ต้องใช้ความพยายามอย่างมากเพื่อให้สามารถกระจายหุ้นได้หมด โดยในการกระจายหุ้นนั้นมีการให้รายละเอียดในลักษณะยืนยันกับกลุ่มผู้ซื้อซึ่งมีทั้งนักลงทุนและนักการเมืองว่าราคาหุ้นจะร้อนแรงเหมือนในอดีตที่ผ่านมาเมื่อหุ้น EWC เข้าซื้อขายใน ตลท.ช่วงแรก โดยหุ้นเพิ่มทุนที่ขายให้กับประชาชนทั่วไป (PO) จำนวน 32 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 5 บาท เสนอขายราคา 37 บาท เมื่อหุ้นเข้าซื้อขายวันแรก 25 พ.ค. กลับตรงกันข้าม
โดยความเคลื่อนไหวราคาหุ้น EWC เมื่อ 25 พ.ค.ปรับตัวลดลงมาปิดที่ 31.50 บาท ลดลง 4.50 บาท หรือ 12.50% จากราคาปิดก่อนหน้า (36 บาท) ขณะที่หากเทียบกับราคาจองซื้อหุ้นเพิ่มทุน 37 บาท เท่ากับราคารูดลดลง 5.50 บาท หรือ 14.86% ส่วน ราคาล่าสุด(3 มิ.ย.) ปิดที่ 26 บาท ปรับลดลงทั้งสิ้น 10 บาท หรือ 27.78 บาท จากราคาปิดเมื่อวันที่ 24 พ.ค. (36 บาท)ก่อนหุ้นเข้าซื้อขาย ขณะที่เมื่อเทียบกับราคาจอง 37 บาท พบว่าราคา EWC ปรับลดลงถึง 11 บาท หรือ 29.72%
การทรุดตัวลงอย่างรุนแรงของ EWC ทำให้กลุ่มผู้ซื้อหุ้นจองดังกล่าวเริ่มไม่พอใจ และผิดหวังในที่สุดกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ของ EWC จึงตัดสินใจออกมา แสดงความรับผิดชอบ โดยจะรับซื้อหุ้นคืนแต่จะจ่ายเงินให้เป็นเช็ค แต่เนื่องจากสถานการณ์เปลี่ยนแปลง กลุ่มผู้ซื้อหุ้นจอง EWC หลายคนรู้สึกกังวลกับปัญหาสภาพคล่องของกลุ่มผู้ถือหุ้น EWC โดยมองไปถึงกลุ่มปิคนิคจึงไม่แน่ใจ ซึ่งในที่สุดกลุ่มผู้ถือหุ้น EWC จึงต้องออกมาระบุว่า เช็คดังกล่าวจะค้ำประกันโดยนายสุริยา ลาภวิสุทธิสิน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
|
|
|
|
|