เมื่อกล่าวถึงปริมาณสภาพคล่องในระบบ พิจารณาได้จากหลากหลายนิยาม แต่โดยส่วนใหญ่
คนเลือกพิจารณาปริมาณสภาพคล่องจากข้อมูลสินทรัพย์สภาพคล่องส่วนเกินธนาคารพาณิชย์
(excess
liquid assets) ซึ่งเป็นข้อ มูลรายเดือนที่รายงานโดยธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) ตามนิยาม ธปท. สินทรัพย์สภาพคล่องส่วนเกินธนาคารพาณิชย์ หมายถึงสินทรัพย์สภาพคล่องทั้งหมด
ที่เป็นเงินสด
หรือเปลี่ยนเป็นเงินสดง่าย หักสินทรัพย์สภาพคล่องที่ธนาคารพาณิชย์ต้องดำรงตามกฎหมาย
(required liquid assets) สภาพคล่องส่วนเกินธนาคารพาณิชย์ สะท้อนสัดส่วนดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง
หรือเป็นสัดส่วนการลงทุนธนาคารพาณิชย์ได้ระดับหนึ่ง ช่วงที่ผ่านมา สินทรัพย์สภาพคล่องส่วนเกินธนาคารพาณิชย์ยังคงเพิ่มต่อเนื่อง
สิ้นเมษายน สินทรัพย์สภาพคล่องส่วนเกินธนาคารพาณิชย์
1,152,814 ล้านบาท เพิ่มจาก 1,065,810 ล้านบาทสิ้นปี 2544 หากรวมเงินสดและเงินฝากในต่างประเทศ
สภาพคล่องส่วนเกินระบบธนาคารพาณิชย์ 1,678,678 ล้านบาท สิ้นเมษายน เมื่อเทียบ
1,618,800 ล้านบาท สิ้นปี 2544 การนำข้อมูลสินทรัพย์สภาพคล่องส่วนเกินประเมินแนวโน้มสภาพคล่องในระบบ
อาจไม่สามารถเห็นภาพชัดเจนมากนัก เนื่องจากข้อ มูลดังกล่าว
ไม่ได้แสดงแหล่งที่มาสภาพคล่องในระบบ เป็นเพียงตัวเลขรายงานยอดคงค้างสินทรัพย์สภาพคล่องที่ธนาคารพาณิชย์ดำรง
อยู่ หรือแหล่งที่ใช้ไปของสภาพคล่องในระบบเท่านั้น
เพื่อให้การประเมินแนวโน้มภาวะสภาพคล่องในระบบภาพชัดเจนมากขึ้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยจึงพิจารณาข้อมูลฐานเงิน
(monetary base) เนื่องจากฐานเงินแสดงปริมาณเงินเบื้องต้นที่หมุนเวียนในระบบ
เป็นสภาพคล่องความหมายกว้างกว่าข้อมูลสินทรัพย์สภาพคล่องส่วนเกินธนาคารพาณิชย์
ฐานเงินยังแสดงแหล่งที่มา และแหล่งที่ใช้ไป ปริมาณเงินในระบบ แหล่งที่มาฐานเงิน
(sour-ces of monetary
base) ได้แก่ สินทรัพย์ต่าง ประเทศสุทธิ (net foreign assets) และสิน ทรัพย์ในประเทศสุทธิ
(net domestic assets) แหล่งใช้ไปฐานเงิน (uses of monetary base) ได้แก่
เงินสดที่หมุนเวียนในมือภาคเอกชน และเงินฝากสถาบันการเงินที่ ธปท. (currency
and deposits held by financial institutions, business and others)
เนื่องจากเหตุผลที่ตัวเลขฐานเงินแสดงปริมาณเงินเบื้องต้นหมุนเวียนในระบบ
รวมทั้งยังประเมินแนวโน้มฐานเงินจากแหล่งที่มาฐานเงิน
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยจึงใช้ฐานเงินพิจารณาภาวะสภาพคล่องในระบบช่วงที่ผ่านมา
พร้อมประเมิน แนวโน้มสภาพคล่องในระบบช่วงที่เหลือของปี ดังนี้ ฐานเงินและแหล่งที่มาฐานเงินช่วงที่ผ่านมา
ช่วง 5
เดือนแรกปีนี้ ปริมาณฐานเงินที่หมุนเวียนในระบบ ยังคงทรงตัวระดับสูงต่อเนื่อง
โดยเฉพาะตั้งแต่กุมภาพันธ์เป็นต้นมา ที่ฐานเงินขยายตัวจากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้าประมาณ
9-10%
เมื่อเทียบการขยายตัวประมาณ 5.5% ธันวาคม 2544 แหล่งที่มาฐานเงินช่วงที่ผ่านมา
ได้แก่ ' เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ หรือสินทรัพย์ต่างประเทศสุทธิ ที่บ่งชี้ปริมาณเงินสุทธิที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง
ผ่านกระแสเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ โดยช่วงที่ผ่านมา ฐานะเงินทุนสำรองระหว่างประเทศของไทย
เพิ่มจากประมาณ 33 พันล้านดอลลาร์ สิ้นธันวาคม 2544 มาที่ประมาณ 35.3
พันล้านดอลลาร์ สิ้นพฤษ-ภาคม 2545 เพิ่มขึ้นประมาณ 6.97% ' ล่าสุดเงินทุนสำรองระหว่างประเทศประมาณ
35.6 พันล้านดอลลาร์ ณ 7 มิถุนายน
เนื่องจากการไหลเข้าประเทศสุทธิเงินทุนจากต่างประเทศ โดยเฉพาะตลาดหุ้นไทย
ที่ทำให้ดัชนีหุ้นไทยพุ่งทะลุ 400 จุดช่วงปลายพฤษภาคม ' นับตั้งแต่ต้นปี
2545 ถึงวันที่ 14 มิถุนายน
ดัชนีหุ้นไทยปรับตัวขึ้นประมาณ 38.4% นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิประมาณ 3.37
หมื่นล้านบาท ' สินเชื่อสุทธิที่ ธปท.ให้รัฐบาล หมายถึง สินเชื่อที่ ธปท.ให้รัฐบาล
หักเงินฝากรัฐบาลที่
ธปท.และเงินสดในมือรัฐบาล ช่วงที่ผ่านมา สินเชื่อสุทธิที่ ธปท.ให้รัฐบาล
แนวโน้มลดลง อยู่ที่ 41.8 และ 79.4 พันล้านบาท ณ 7 มิถุนายน และสิ้นพฤษภาคมตามลำดับ
เทียบกับ 141.6 พันล้าน บาท
สิ้นธันวาคม 2544 ' แต่ตัวเลขดังกล่าว ยังคงมีค่าเป็นบวกอยู่ ซึ่งมีความหมายว่า
สุทธิ รัฐบาลยังคงกู้ยืมเงินจาก ธปท. สอดคล้องทิศทางดำเนินนโยบายการคลังแบบขาดดุลงบประมาณปี
2545 ประมาณ
2 แสนล้านบาทของภาครัฐบาล ' ช่วง 7 เดือนแรกปีงบประมาณ 2545 รัฐบาลขาดดุลเงินสดแล้ว
ประมาณ 1.5 แสนล้านบาท ถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่เพิ่มปริมาณเงินสู่ระบบ ' สินเชื่อสุทธิที่
ธปท.ให้สถาบันการเงิน หมายถึง สินเชื่อที่ ธปท.ให้สถาบันการเงิน หักสิน
เชื่อที่ ธปท.ได้รับจากสถาบันการเงิน ช่วง 5 เดือนแรกปีนี้ สินเชื่อสุทธิที่
ธปท.ให้สถาบันการเงินส่วนใหญ่ติดลบ ซึ่งมีความหมายว่า
สุทธิ ธปท.กู้ยืมเงิน หรือดูดซับสภาพคล่องส่วนเกินจากสถาบันการเงิน ' สิ้นพฤษภาคม
2545 ธปท.กู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินประมาณ 58.9 พันล้านบาท เทียบกับกู้ยืมเงินจาก
ธปท.
ของสถาบันการเงินประมาณ 6.2 พันล้านบาท สิ้นธันวาคม 2544 ' แม้แนวโน้มตัวเลขดังกล่าวแสดงถึงการดูดซับสภาพคล่องส่วนเกินธนาคารพาณิชย์จากระบบ
แต่สะท้อนว่า
ธนาคารพาณิชย์สภาพคล่องเหลือมากช่วงที่ผ่านมา จึงไม่มีความจำเป็น ต้องกู้ยืมเงินจาก
ธปท.เหมือนช่วงเศรษฐกิจปกติ เงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้น
จากการไหลเข้าประเทศสุทธิของกระแสเงินทุนเคลื่อน ย้าย โดยเฉพาะในตลาดหุ้นไทย
การดำเนินนโยบายการคลังแบบขาดดุลงบประมาณปี 2545
และดูดซับสภาพคล่องส่วนเกินออกจากสถาบันการเงิน โดยกู้ยืมเงินสุทธิ ธปท.ชี้ว่า
สภาพคล่อง ในระบบการเงินไทยที่พิจารณาจากตัวเลขฐานเงิน ยังคงปริมาณมากต่อเนื่องช่วง
5 เดือนแรกปีนี้
แนวโน้มฐานเงินช่วงที่เหลือของปี ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินแนวโน้มฐานเงินช่วงที่เหลือปีนี้ว่า
ขึ้นกับปัจจัยต่างๆ ได้แก่ ' เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ
ที่คาดว่าจะลดลงตามภาคนำเข้าที่แนวโน้มขยายตัวมากขึ้น มูลค่านำเข้าเริ่มขยายตัวเป็นบวกประมาณ
3.8% เมษายน จากหดตัวต่อเนื่องตั้งแต่มิถุนายนปีก่อน หน้า '
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวประมาณ 3-3.6% ปีนี้ ขณะที่ภาค
ส่งออกยังคงต้องเผชิญปัญหาราคาสินค้าส่งออก ตกต่ำ แนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นภาคนำเข้า
จะส่งผลดุลการค้าเกินดุลลดลง และดุลชำระเงินเกินดุลสุทธิลดลง ตามลำดับ '
ขณะที่การชำระหนี้ IMF Packages ธปท. เป็นอีกปัจจัยที่อาจทำให้เงินทุนสำรองระหว่างประเทศลดลง
ปัจจัยหลักสนับสนุนการเพิ่มขึ้นเงินทุนสำรองระหว่างประเทศช่วงที่ผ่านมา
คือกระแสเงินทุนไหลเข้าประเทศสุทธิจากตลาดหุ้นไทย '
ปัจจัยดังกล่าวอาจสนับสนุนการปรับตัวเพิ่มขึ้นเงินทุนสำรองระหว่างประเทศชั่วคราวเท่านั้น
กรณีนักลงทุนขนเงินออก จากการขายทำกำไรตลาดหุ้น เนื่องจากการลงทุนตลาดหุ้นส่วนใหญ่
มักเป็นลักษณะเก็งกำไรระยะสั้นของนักลงทุน อาจส่งผลกระทบเงินทุนสำรองระหว่าง
ประเทศไทยลดลง ' แต่หากเป็นกรณีนักลงทุนเชื่อมั่นปัจจัยพื้นฐานเศรษฐกิจประเทศต่อเนื่อง
จะไม่ส่งผลกระทบให้เงินทุนสำรองระหว่างประเทศลดลง เมื่อพิจารณาโดยรวม แม้เงินทุนสำรองระหว่างประเทศสูงถึง
35.3 พันล้านดอลลาร์ฯ พฤษภาคม แต่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า
เงินทุนสำรองระหว่างประเทศอาจลดลงอยู่ที่ประมาณ 34-34.4 พันล้านดอลลาร์ฯ
ปลายปี 2545 ' การขาดดุลงบประมาณอัตราชะลอตัวของรัฐบาล จากการที่รัฐบาลขาดดุลเงินสดแล้วประมาณ
1.5
แสนล้านบาท ช่วง 7 เดือนแรกปี งบประมาณ 2545 ทำให้อีก 5 เดือนที่เหลือปีงบ
ประมาณ2545 รัฐบาลจะขาดดุลอีกเพียงประ มาณ 5 หมื่นล้านบาท ' เมื่อรวมกับการขาดดุลช่วง
3
เดือนแรกปีงบประมาณ 2546 ซึ่งรัฐบาลตั้งเป้าขาดดุลลดจากงบประมาณปี 2545
เห็นได้ว่า ภาครัฐบาลแนวโน้มจะอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบน้อยลงเมื่อเทียบช่วงที่ผ่านมา
'
การขยายตัวสินเชื่อธนาคารพาณิชย์แนว โน้มจะเพิ่มขึ้น ตามภาวะเศรษฐกิจที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าจะขยายตัวประมาณ
3-3.6% ปีนี้ เนื่องจากความต้องการเงินเพื่อดำเนินธุรกิจ
หรือขยายกำลังผลิตภาคเอกชนจะทยอยปรับตัวเพิ่มขึ้น ทำให้ธนาคารพาณิชย์จะลดสัดส่วนถือครองสินทรัพย์สภาพคล่องส่วนเป็นหลักทรัพย์ต่างๆ
และเพิ่มสัดส่วนขยายสินเชื่อสู่ระบบมากขึ้น '
จะทำให้สินเชื่อสุทธิที่ ธปท.ให้สถาบันการเงิน ติดลบน้อยลง หรืออาจมีตัวเลขเป็นบวก
เป็นปัจจัยที่ทำให้ฐานเงินเพิ่มขึ้น แนวโน้มเงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่อาจลดลงตามการเกินดุลชำระเงินสุทธิ
ที่คาดว่าจะเป็นบวกน้อยลง และการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบโดยภาครัฐบาลที่จะน้อยลง
เมื่อเทียบช่วงที่ผ่านมา จะเป็นปัจจัยลบต่อฐานเงิน
ขณะที่การขยายสินเชื่อธนาคารพาณิชย์จะเป็นปัจจัยบวกต่อฐานเงิน โดยรวม ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าปริมาณ
ฐานเงินจะขยายตัวอัตราชะลอตัวจากเดิม คาดว่า ฐานเงินจะประมาณ 575-580
พันล้านบาทปลายปี 2545 หรือขยายตัวเพียง 3.5-4.4% ต่อปี เมื่อเทียบการขยายตัวประมาณ
9-10% ต่อปีช่วงที่ผ่านมา การประเมินแนวโน้มฐานเงินช่วงที่เหลือปีนี้
ยังต้องขึ้นกับบทบาทดำเนินนโยบายการเงิน ธปท. ด้วย เนื่องจาก ธปท.มักจะเพิ่มปริมาณเงินเข้าสู่ระบบ
โดยเฉพาะช่วงปลายปี ที่มีเทศกาลวันหยุด ต่างๆ
หรือช่วงที่มีความต้องการเงินในระบบมากกว่าปกติ เพื่อรักษาเสถียรภาพปริมาณเงินที่หมุนเวียนในระบบ
ไม่ให้ผันผวนเกินไปนัก หากธปท.อัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบช่วงปลายปี
อาจทำให้ปริมาณฐานเงินไม่ลดมากนัก แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยระบบการเงินไทย แนวโน้มฐานเงินที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นอัตราชะลอตัวช่วงที่เหลือปีนี้
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยระบบการเงินไทยดังต่อไปนี้
'อัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินให้กู้ยืมธนาคารพาณิชย์ : ยังคงขึ้นกับการบริหารสภาพคล่องแต่ละธนาคารพาณิชย์
จากแนวโน้มฐานเงินหรือสภาพคล่องในระบบที่คาดว่าจะยังเพิ่มขึ้น แม้จะเพิ่มขึ้นอัตราชะลอตัวก็ตาม
แต่การเพิ่มขึ้นของสภาพคล่องในระบบ
อาจกระทบสมดุลอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินให้กู้ยืมธนาคารพาณิชย์ 'ข้อมูลเมษายน
การขยายตัวเงินฝากยังคงเพิ่มประมาณ 5% ต่อปี เมื่อเทียบกับขยายตัวประมาณ
4% ต่อปี ปลายปี 2544
ขณะที่ตัวเลขสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ขยายตัวติดลบ หรือหดตัว 3.4% ต่อปีเมษายน
ซึ่งขยายตัวมากขึ้นเมื่อเทียบกับที่หดตัวประมาณ 5.8% ต่อปี ปลายปี 2544 'แต่การขยายตัวสินเชื่อ
ยังคงมีสัดส่วนน้อยกว่าการขยายตัวเงินฝาก ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าเงินฝากจะขยายตัวประมาณ
3.5-3.8% ต่อปี ปลายปี 2545 ขณะที่สินเชื่อธนาคารพาณิชย์จะขยายตัวเป็นบวกประมาณ
1-2% '
แม้ทิศทางขยายตัวเงินฝากและสินเชื่อเริ่มมีช่องว่างแคบลง แต่การขยายตัวสินเชื่อยังขยายตัวสัดส่วนน้อยกว่าการขยายตัวเพิ่มขึ้นปริมาณเงินฝาก
ปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL)
ยังคงกดดันการดำเนินการธนาคารพาณิชย์ 'ศูนย์วิจัยกสิกรไทยจึงเห็นว่า ยังคงเป็นไปได้ที่ธนาคารพาณิชย์อาจลดดอกเบี้ยเงินฝากและเงินให้กู้ยืมของตนลงอีกประมาณ
0.25% '
อัตราดอกเบี้ยตลาดเงิน : ทิศทางหลักยังคงขึ้นกับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย หรืออัตราผล
ตอบแทนตลาดซื้อคืนพันธบัตร 14 วัน ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า ธปท.จะยืนอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับเดิม
2%
จนถึงปลายปีนี้ 'เนื่องจากเงินเฟ้อที่ยังคงทรงตัวระดับต่ำ เงินเฟ้อเฉลี่ย
5 เดือนแรกปีนี้ 0.5% รวมถึงคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) จะไม่เร่งรีบปรับขึ้นดอกเบี้ย
Fed Funds ระยะใกล้นี้ ดอกเบี้ย Fed
Funds ปัจจุบัน 1.75% 'ทิศทางอัตราดอกเบี้ยตลาดเงิน ได้แก่ ดอกเบี้ยอินเตอร์แบงก์
และผลตอบแทนตลาดซื้อ คืนพันธบัตรระยะต่างๆ คาดว่าจะไม่เคลื่อนไหว ผันผวนมากนัก
จากปัจจุบัน
โดยจะเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ ต่อไป 'อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (yield)
: ปัจจัยหลักจะขึ้นกับสภาพคล่องและการ ปรับสัดส่วนการลงทุนสินทรัพย์ของธนาคารพาณิชย์
โดยเฉพาะประเด็นการออกพันธบัตรเพื่อแก้ไขภาระหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
' ที่แม้ว่าการออกพันธบัตรภายในปีนี้ วงเงิน 3 แสนล้านบาท และอีกประมาณ 4
แสนล้านบาท
อีกประมาณ 4 ปีข้างหน้า อาจไม่ส่งผลกระทบมากนักต่อปริมาณสภาพคล่องส่วนเกินสุทธิ
เนื่องจากปรับเปลี่ยนระยะเวลาหนี้จากหนี้ระยะสั้นในตลาดซื้อคืนพันธบัตร เป็นหนี้ระยะยาว
'แต่หากธนาคารพาณิชย์ต้องเปลี่ยนสัดส่วนลงทุนสินทรัพย์ตนลง โดยอาจต้องลดการถือครองพันธบัตรบางตัว
เพื่อถือครองพันธ-บัตรกองทุนฟื้นฟูฯ ที่จะออกใหม่นี้
จะส่งผลราคาหรือผลตอบแทนพันธบัตรเปลี่ยนแปลง 'แนวโน้มผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลจึงขึ้นกับวิธี
จำนวน และระยะเวลาออกพันธบัตร เพื่อแก้ไขภาระหนี้ของกองทุนฟื้นฟูฯ
รวมถึงสัดส่วนการลงทุนพันธบัตรธนาคารพาณิชย์ขณะนั้นด้วย ว่าจะส่งผลกระทบสภาพคล่องธนาคารพาณิชย์มากน้อยเพียงใด
'ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า
ทางการพิจารณาประเด็นดังกล่าวอย่างระมัดระวัง ไม่ส่งผลทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลเคลื่อนไหผันผวน
เพราะอาจมีผลต่อเสถียรภาพ อัตราดอกเบี้ยในระบบ สรุป
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปริมาณสภาพคล่องในระบบผ่านข้อมูลฐานเงิน ช่วง
5 เดือนแรกปีนี้ ฐานเงินยังขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เป็นผลจากกระแสเงินทุนที่ไหลเข้าประเทศสุทธิ
โดยเฉพาะในตลาดหุ้นไทย และการดำเนินนโยบายขาดดุลงบประมาณภาครัฐบาล ช่วงที่เหลือปีนี้
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่าปริมาณฐานเงินในระบบจะเพิ่มขึ้นอัตราชะลอตัว
เนื่องจากเงินทุนสำรองระหว่างประเทศอาจลดลง ตามมูลค่านำเข้าที่แนวโน้มขยายตัว
และการชำระหนี้ IMF Packages ธปท. การอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบโดยภาครัฐบาลที่มีแนวโน้มจะชะลอตัว
ซึ่งถือเป็นผลลบต่อฐานเงิน ขณะที่การขยายสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ตามการฟื้นตัวเศรษฐกิจไทย
จะเป็นผลบวกต่อฐานเงิน จากสินเชื่อสุทธิที่
ธปท.ให้สถาบันการเงินที่จะเพิ่มขึ้นประกอบกับพันธบัตรออมทรัพย์ ที่ออกประมาณ
3 แสนล้านบาทปลายปีนี้ เพื่อแก้ปัญหากองทุนฟื้นฟูฯ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า
ฐานเงินจะประมาณ 575-580
พันล้านบาท ปลายปี 2545 หรือขยายตัวเพียง 3.5-4.4% ต่อปี เมื่อเทียบกับขยายตัวประมาณ
9-10% ต่อปี ช่วงที่ผ่านมา แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยระบบการเงินไทย ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า
ยังคงเป็นไปได้ที่ธนาคารพาณิชย์อาจลดดอกเบี้ยเงินฝากและเงิน ให้กู้ยืมตนลงอีกประมาณ
0.25% ช่วงที่เหลือปีนี้
เนื่องจากการขยายตัวสินเชื่อที่ยังมีแนวโน้มจะขยายตัวสัดส่วนน้อยกว่าการขยายตัวเงินฝาก
ขณะที่ปัญหา NPL ยังคงกดดันการดำเนินการธนาคารพาณิชย์ ส่วน
ธปท.คาดว่าจะมีมติคงอัตราผลตอบแทนตลาดซื้อคืนพันธบัตรระดับเดิมต่อไป ขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล
ขึ้นกับวิธี จำนวน
และระยะเวลาออกพันธบัตรเพื่อแก้ไขภาระหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
รวมถึงสัดส่วนการลงทุนพันธบัตรของธนาคารพาณิชย์ขณะนั้นด้วย ว่าจะส่งผลกระ
ทบสภาพคล่องธนาคารพาณิชย์มากน้อยเพียงใด ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า ทางการพิจารณาประ
เด็นดังกล่าวอย่างระมัดระวัง และไม่ส่งผลทำ ให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลเคลื่อน
ไหวผันผวน
เพราะอาจมีผลต่อเสถียรภาพอัตราดอกเบี้ยในระบบ