Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน3 มิถุนายน 2548
เมโทรมอลล์เลื่อนเปิดอีก 2 เดือน รถไฟฟ้าใต้ดินปรับราคา 5 มิ.ย.             
 


   
www resources

โฮมเพจ รถไฟฟ้ากรุงเทพ

   
search resources

รถไฟฟ้ากรุงเทพ, บมจ.
เมโทร มอลล์ ดีเวลลอปเมนท์, บจก.
Transportation
Retail




เผยเมโทรมอลล์เลื่อนเปิดพื้นที่ค้าปลีกอีก 2 เดือน เป็นกรกฎาคม เหตุยังไม่สรุปผู้เช่าค้าปลีกรายย่อยจากพื้นที่ 50% ของทั้งหมด ขณะที่ผู้เช่ารายใหญ่เชนสโตร์ตบเท้า จองพื้นที่แล้วเพียบกว่า 26 บริษัท กระจายกันไปหลายธุรกิจ ด้านบีเอ็มซีแอลเตรียมปรับราคาค่าตั๋วขึ้นวันที่ 5 นี้ พร้อมให้บริษัทลูกลงทุนอีก 500 ล้านบาท ด้านระบบสื่อสารรองรับการใช้มือถือ

นายสุพงศ์ ชยุตสาหกิจ กรรมการผู้จัดการ และนายคุณานันท์ ทยายุทธ์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท เมโทรมอลล์ ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด ผู้บริหารพื้นที่ค้าปลีกในสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ร่วมกันเปิดเผยว่า แผนการพัฒนาพื้นที่ในเชิงค้าปลีกของสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินมีความคืบหน้าไปมากแล้ว และคาดว่าจะสามารถเปิดบริการได้เป็นทางการในอีก 2 เดือนข้างหน้านี้ โดยสถานีแรกที่จะเปิดคือสถานีสุขุมวิท และจะทยอยเปิดตามมา เช่น สถานีศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ สถานีพหลโยธิน สถานีจตุจักร สถานีพระราม 9 สถานีลาดพร้าว และคาดว่าภายในปลายไตรมาสที่สองปีหน้าจะสามารถเปิดบริการได้หมดทุกสถานี

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ก่อนหน้านี้เมโทรมอลล์ฯ เคยมีแผนที่จะเปิดบริการพื้นที่ค้าปลีกได้ในเดือนมิถุนายนนี้ ซึ่งนั่นหมายความว่าแผนงานเดิมได้ถูกเลื่อนออกไปอีกอย่างน้อย 2 เดือน ซึ่งน่าจะเป็นเหตุผลมาจากการเจรจาหาผู้เช่าพื้นที่ที่ยังไม่ครบไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้เช่าพื้นที่รายย่อย

ล่าสุดนี้ทางผู้บริหารกล่าวว่า ปัจจุบันบริษัทฯ ได้เจรจาและสามารถเซ็นสัญญาเป็นที่เรียบร้อยแล้วเมื่อวานนี้กับธุรกิจของเอกชนที่สนใจเข้ามาเช่าพื้นที่ จำนวนทั้งสิ้น 25 บริษัท ในหลายธุรกิจ โดยบริษัทฯ รับผิดชอบพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 12,720 ตารางเมตร แบ่งเป็นพื้นที่สำหรับร้านค้าที่เป็นระบบเชน 50% และพื้นที่สำหรับร้านค้ารายย่อยอีก 50% โดยรวมจำนวนร้านค้าทั้งหมดประมาณ 524 ร้านค้า ซึ่งขณะนี้ในส่วนของร้านค้าที่เป็นเชนสโตร์มีผู้จับจองพื้นที่แล้วมากกว่า 40% จากพื้นที่ 50% ของทั้งหมด

ขณะที่ผู้ค้าปลีกรายย่อยนั้น จากพื้นที่สัดส่วน 50% หรือประมาณ 6,000 กว่าตารางเมตร ยังอยู่ระหว่างการเจรจากับผู้สนใจกว่า 2,000 ราย คาดว่าจะสรุปการเจรจาได้ภายใน 2 สัปดาห์นับจากนี้ โดยราคาค่าเช่านั้นจะแตกต่างกันไปแล้วแต่ทำเล แล้วแต่สถานีและขนาดพื้นที่ ที่มีตั้งแต่ 10 ตารางเมตรขึ้นไป โดยคิดค่าเช่า 1,500-3,000 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน

ทั้งนี้รูปแบบการบริหารการพัฒนาและการออกแบบพื้นที่ค้าปลีกของบริษัทฯ นั้น มีความมั่นใจว่าจะมีความเหมาะสมและประสบความสำเร็จ เนื่องจากได้เดินทางไปศึกษาธุรกิจแบบนี้ในหลายประเทศและนำมาประยุกต์ใช้คือ เกาหลี ญี่ปุ่น จีน เยอรมนี ฝรั่งเศส อังกฤษ สิงคโปร์ ฮ่องกง

ในช่วงปีแรกที่เปิดให้บริการพื้นที่เชิงค้าปลีกบริษัทฯ ตั้งงบประมาณการตลาด 60 ล้านบาท จากงบประมาณทั้งหมด 200 ล้านบาท ที่จะใช้ในช่วง 10 ปีแรก ทั้งนี้คาดหวังรายได้ปีแรกประมาณ 100 ล้านบาท และปีที่สองหากปล่อยพื้นที่เช่าได้หมดจะมีรายได้ 200 ล้านบาท ซึ่งช่วง 5 ปีแรกบริษัทฯ ต้องจ่ายเงินให้กับบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีเอ็มซีแอล จำนวน 25% ของรายได้ หลังจากนั้นจะเพิ่มเป็นจ่ายปีละ 35%

สำหรับกลุ่มธุรกิจที่เข้ามาเช่าพื้นที่กลุ่มแรกนี้ประกอบด้วย 7 กลุ่มธุรกิจจำนวน 26 บริษัท คือ กลุ่มร้านสะดวกซื้อมี เซเว่นอีเลฟเว่น จำนวน 10 สถานี, แฟมิลี่มาร์ท จำนวน 1 สถานี กลุ่มธนาคาร คือ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) จำนวน 3 สถานี, ธนาคารไทยพาณิชย์จำกัด (มหาชน) จำนวน 6 สถานี, ธนาคารทหารไทยจำกัด (มหาชน) จำนวน 5 สถานี กลุ่มไอทีและสื่อสาร คือ ทรู อินเทอร์เน็ต จำนวน 11 สถานี, บลิสเทล จำนวน 3 สถานี กลุ่มธุรกิจร้านหนังสือคือ ร้านซีเอ็ด จำนวน 8 สถานี, ร้านฟาสเตอร์บุ๊ค จำนวน 4 สถานี

กลุ่มสถาบันการเงิน คือ ร้านควิกแคชของจีอีแคปปิตอล จำนวน 4 สถานี, ร้านอีซี่บาย จำนวน 8 สถานี, ร้านเคทีซีเมคเซ้นส์ของบัตรกรุงไทย จำนวน 3 สถานี, ร้านอิออนธนสินทรัพย์ของกลุ่มอิออน จำนวน 1 สถานี กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม คือ ร้านอานตี้แอนส์ ร้านมิสเตอร์โดนัท ร้านบาสกิน รอบบิ้นส์ ของกลุ่มเซ็นทรัล จำนวนรวม 3 สถานี, ร้านแดรี่ควีนของไมเนอร์ดีคิว จำนวน 6 สถานี, บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด จำนวน 3 สถานี ร้าน สควีซ ของทิปโก้ฟู้ดส์ จำนวน 3 สถานี, ร้านคอฟฟี่ทูเดย์ จำนวน 2 สถานี ร้านพรานทะเล จำนวน 1 สถานี

กลุ่มร้านค้าอื่นๆ คือ ร้านขายยาซัลวีโอของบริษัท ซิกม่าฟาร์มาซี จำนวน 5 สถานี, ร้าน เอสวายซับเวย์ขายแว่นตา จำนวนทุกสถานี, ร้านตัดผมไม่ใช้น้ำ คิวบีเฮ้าส์ จำนวน 2 สถานี, ร้านทองออโรร่า จำนวน 6 สถานี, ร้านเพลงเอ็มเอ็มจี จำนวน 5 สถานี, ร้านซีกัลสโตร์ของบริษัท ไทย สเตนเลสสตีล จำนวน 3 สถานี, ร้านเอกตราของศรีไทยซุปเปอร์แวร์ จำนวน 1 สถานี

นายกนก วงษ์ตระหง่าน ประธานกรรมการบริหาร บริษัท สยามแฟมิลี่มาร์ท จำกัด เปิดเผยว่า แฟมิลี่มาร์ทได้เช่าพื้นที่เพียงสถานีเดียวที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เพราะเป็นสถานีที่มีผู้คนเดินผ่านไปมามาก และมีกิจกรรมจัดงานที่ศูนย์สิริกิติ์เป็นประจำ รูปแบบที่จะเปิดนี้เป็นแบบใหม่ เน้นขายเฉพาะอาหารและเครื่องดื่มมากกว่า 70% คาดว่าจะคุ้มทุนภายใน 3-4 ปี

บีเอ็มซีแอลขึ้นค่าโดยสารรถไฟฟ้าใต้ดิน

นายสมบัติ กิจจาลักษณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีเอ็มซีแอล เปิดเผยว่า วันที่ 4 มิถุนายน 2548 นี้ จะครบกำหนด 90 วัน ในการทดลองจัดเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าใต้ดินสายเฉลิมรัชมงคล (หัวลำโพง-บางซื่อ) 10-15 บาท โดยตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน ถึง 30 กันยายน 2548 บีเอ็มซีแอลจะปรับอัตราค่าโดยสารใหม่แบบเป็นรายสถานี แบ่งตามประเภทโดยบัตรโดยสารแบบเติมเงินจะลดให้ อัตรา 20% ซึ่งบุคคลทั่วไปราคาเริ่มต้น 10 บาท สูงสุด 25 บาท นักเรียน นักศึกษาลด 30% เริ่มต้น 8 บาท สูงสุด 22 บาท เด็ก/ผู้สูงอายุ ลด 50% เริ่มต้น 6 บาท สูงสุด 16 บาท ส่วนเหรียญโดยสารแบบเที่ยวเดียว บุคคล ทั่วไป เริ่มต้น 12 บาท สูงสุด 31 บาท เด็ก/ผู้สูงอายุ เริ่มต้น 6 บาท สูงสุด 16 บาท

"การปรับลดลงจากอัตราค่าโดยสารเพื่อเป็นการส่งเสริมให้ผู้โดยสารหันมาใช้บัตรโดยสารแบบเติมเงินมากยิ่งขึ้น เพราะเกิดความสะดวก และรวดเร็วแก่ผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าใต้ดิน โดยไม่ต้องออกเป็นเหรียญโดยสารทุกครั้งที่ต้องการเดินทาง โดยการให้ส่วนลดครั้งนี้อยู่นอกเหนือสัญญาและรัฐไม่ต้องจ่ายชดเชยให้บริษัทแต่อย่างใด ส่วนการทดลองเก็บราคา 10-15 บาทนั้น รัฐต้องจ่ายชดเชยรายได้ที่หายไปให้บริษัทประมาณ 20 ล้านบาท"

นายสมบัติกล่าวว่า ในระหว่างนี้บริษัทจะประเมินผลด้านการตลาดและการตอบรับจากผู้โดยสารกรณีการให้ส่วนลดค่าโดยสารเพื่อนำมากำหนดอัตราค่าโดยสารที่เหมาะสมต่อไป ทั้งนี้ ตามสัญญาระหว่างบีเอ็มซีแอลกับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กำหนดอัตราค่าโดยสารในปีแรก 14-36 บาท แต่ให้ส่วนลดปีแรก 15% เหลือ12-31 บาท โดยจะมีการปรับค่าโดยสาร ทุกๆ 2 ปี ตามตัวเลขดัชนีผู้บริโภค (CPI)

ปัจจุบัน มีผู้โดยสารรถไฟใต้ดินเฉลี่ยวันละประมาณ 1.8 แสนเที่ยว ซึ่งค่าโดยสาร 10-15 บาท บริษัทมีรายได้เฉลี่ยประมาณ 13 บาทต่อคนรวมกับเงินชดเชยจากรัฐบาลอีก 2 บาทรวมเป็นรายได้เฉลี่ย 15 บาทต่อคน ส่วนอัตราใหม่เฉลี่ยอยู่ที่ 18 บาทต่อคน ทำให้บริษัทมีรายได้เพิ่มอีกประมาณวันละ 540,000 บาท

สำหรับระบบโทรคมนาคมในสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินทั้ง 18 สถานีนั้น ขณะนี้ทางบริษัท บีเอ็มซีแอล เน็ตเวอร์ค ได้ลงทุนในการติดตั้งระบบการสื่อสารในสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน 500 ล้านบาท และคาดว่าภายใน 3 ปีน่าจะถึงจุดคุ้มทุน โดยจ้างบริษัทจากประเทศออสเตรเลีย มาเป็นซัปพลายเออร์และเป็นผู้ติดตั้งให้ โดยคาดว่าอีก 2-3 เดือน จะสามารถลงนามในสัญญากับผู้ประกอบการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ "เราจะเชิญให้ผู้ประกอบการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทุกราย ไม่ว่าจะเป็น เอไอเอส ดีแทค ออเร้นจ์ ฮัทช์ ฯลฯ เข้ามาดำเนินการให้บริการในรถไฟฟ้าใต้ดินได้ เพราะเราถือว่าเราเป็นผู้วางระบบ เพื่อให้ผู้ประกอบการแต่ละรายมาใช้ร่วมกันโดยเป็นผู้มาเช่าสถานี ภายในปี 2548 ผู้โดยสารรถไฟฟ้า ใต้ดินจะโทรศัพท์ในรถไฟฟ้าใต้ดินได้แน่นอน"   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us