Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน3 มิถุนายน 2548
"เนวิน" โยนซีพีรับผิดกล้ายาง             
 


   
www resources

โฮมเพจ เครือเจริญโภคภัณฑ์
โฮมเพจ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

   
search resources

เครือเจริญโภคภัณฑ์
เจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์
กรมวิชาการเกษตร
Agriculture
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์




เกษตรฯ ใช้วิธีพิสดารตรวจความเสียหายทำให้ผลเอกซเรย์กล้ายางเป็นไปตามคาดไม่มีปัญหาเรื่องคุณภาพ แต่เกิดจากภัยแล้งถึง 88% "เนวิน" โยนซีพีจ่ายค่าชดเชยค่าต้นยางแต่ไม่ชดใช้ค่าลงทุนและค่าเสียโอกาส พร้อมกับตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง "ฉกรรจ์" ท้าอีก 7 ปี รับรองยางทุกต้นให้น้ำยางดีแต่อยู่ในเงื่อนไขเกษตรกรดูแลดีและเป็นพันธุ์ที่กรมวิชาการเกษตรรับรอง ส่วนซีพีสวนทันควันปฏิเสธไม่จ่ายค่าชดเชยยางเฉาตาย ขณะที่ ผอ.สถาบันวิจัยยาง ออกรับหน้ากล้ายางที่ออกดอกเพราะเครียด

วานนี้ (2 มิ.ย.) นายเนวิน ชิดชอบ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมกับนายฉกรรจ์ แสงรักษาวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เรียกเจ้าหน้าที่กรมวิชาการเกษตร และผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการสงเคราะห์สวนยางทั่วประเทศ ประชุมเพื่อสรุปผลการตรวจสอบความเสียหายของกล้ายางในโครงการขยายพื้นที่ปลูกยาง 1 ล้านไร่ ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

อ้างผลสำรวจเกิดภัยแล้ง 88%

นายเนวิน กล่าวภายหลังการประชุมว่า จากการทำแบบสำรวจความเสียหายเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการปีที่ผ่านมาจำนวน 15,579 ราย จากทั้งสิ้นประมาณ 2 หมื่นราย โดยการทำเป็นแบบสอบถามเพื่อให้เกษตรกรแจ้งความเสียหาย พบว่าเกษตรกรได้รับต้นยางที่มีความสมบูรณ์ดี 10,973 ราย ต้นยางตาย 25.72% เกษตรกรได้รับต้นยางที่มีสภาพเหี่ยวเฉา 1,201 ราย ต้นยางตาย 33.34% จากจำนวน ยางที่ส่งมอบในปี 2547 ทั้งหมดจำนวน 16 ล้านต้น ตามสัญญาทั้งสิ้น 18 ล้านต้น

ทั้งนี้ สาเหตุของต้นกล้ายางที่ตายตามความเห็นของเกษตรกรพบว่า เกษตรกรตอบว่าเกิดจากสาเหตุ 1) ภัยแล้ง จำนวน 8,089 ราย คิดเป็น 88.66% 2) เกิดจากวัวหรือสัตว์กิน/ทำลาย จำนวน 507 ราย คิดเป็น 5.54% 3) เกิดจากใบแสดงอาการเป็นจุดหรือแสดงอาการเหี่ยวเฉา 479 ราย คิดเป็น 5.26% และ 4) เกิดจากปัญหาไฟไหม้ 49 ราย คิดเป็น 0.54% เป็นที่น่าสังเกตว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นไม่มีระบุถึงปัญหาอันเนื่องมาจากกล้ายางด้อยคุณภาพ

สำหรับแนวทางในการแก้ไขปัญหานั้น ในส่วนของกล้ายางที่ส่งมอบในช่วงระหว่างวันที่ 1-15 ก.ย. จำนวน 3,195 ราย มีต้นยางเสียหาย 1,411,000 ต้น จากจำนวนการส่งมอบ ในช่วงนี้ทั้งหมดประมาณ 4.7 ล้านต้น ยางที่ตายในส่วนนี้ทางคู่สัญญาคือบริษัทเจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์หรือซีพี จะต้องชดเชยกล้าให้เกษตรกรทั้งหมด

ส่วนกรณีที่กล้ายางตายจากการส่งมอบยางเฉาของเกษตรกร จำนวน 1,201 ราย อันเป็นสาเหตุให้ต้นยางตายประมาณ 4 แสนต้นนั้น ให้ดำเนินการสองส่วนคือ ให้อธิบดีกรมวิชาการเจรจากับคู่สัญญา เพื่อให้บริษัทซีพีให้ชดเชยกล้ายางในส่วนนี้ทั้งหมดแก่เกษตรกร และให้ตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริง โดยมอบให้ นายศุภชัย บานพับทอง ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรฯ เป็นประธานกรรมการสอบข้อเท็จจริง

สำหรับการชดเชยต้นยางที่ตายตามธรรมชาติหรือตายอันเกิดจากปัญหาภัยแล้ง ต้องชดเชยตามกฎหมาย ซึ่งมีระเบียบกระบวนการภัยแล้ง แต่ส่วนที่ส่งมอบในช่วงนอกสัญญาหรือการส่งมอบต้นยางที่เฉาไม่มีอุทธรณ์ให้อธิบดีเจรจากับซีพีเพื่อชดเชยค่าเสียหายดังกล่าว แต่จะไม่มีการให้บริษัทชดเชยในส่วนของค่าเสียโอกาส เนื่องจากสัญญาระบุไว้แค่นั้น จึงไม่สามารถบังคับทางบริษัทได้

ในกรณีมีข้อสงสัยเรื่องพันธุ์ยาง ให้เกษตรกรยื่นข้อร้องเรียนต่อกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัด เกษตรจังหวัด และเกษตรกรตำบล จากนั้นกรรมการสอบข้อเท็จจริงพร้อมนักวิชาการจะไปตรวจ ต้นยางเหล่านั้นว่าเป็นต้นยางพันธุ์ดีหรือไม่ ถ้าพบว่ามีต้นยางที่เป็นพันธุ์ไม่ได้คุณภาพ ให้ดำเนินการสองส่วนคือ ดำเนินการกับผู้ตรวจรับ และให้อธิบดีกรมวิชาการฯดำเนินการกับคู่สัญญาตามเงื่อนไขของสัญญา

อย่างไรก็ตาม เมื่อผู้สื่อข่าวขอดูแบบสอบถามที่ให้เกษตรกรแจ้งความเสียหายที่มีความกังวลว่าจะเป็นคำถามปลายปิด นายเนวินได้มอบให้ข้าราชการจัดการให้ แต่ภายหลังการแถลงข่าวกลับไม่มีใครให้ข้อมูลดังกล่าว ระบุแต่เพียงให้ค้นหาจากเว็บไซต์กรมวิชาการเกษตร แต่เมื่อตรวจสอบกลับไม่พบข้อมูลแต่อย่างใด

ต่อมากรมวิชาการฯ ได้ส่งโทรสารแบบสอบถามให้แก่ผู้สื่อข่าว ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่าแบบสอบถามที่นำไปถามเกษตรกรเป็นคำถามแบบปลายปิด โดยแบบสอบถามในข้อ 11 ที่ให้เกษตรกรเลือกตอบในข้อสาเหตุการตาย ระบุไว้ 4 ช่อง คือ 1. ภัยแล้ง 2. วัวกินหรือสัตว์อื่นทำลาย 3.ไฟใหม้ 4. ยางเป็นโรค และอื่นๆ ระบุ ....... ทำให้คำตอบที่ปรากฏเป็นไปตามรายงานผลข้างต้น เนื่องจากเกษตรกรไม่มีความรู้ทางเทคนิค และไม่มีช่องใดที่ระบุถึงสาเหตุการว่า ยางที่ได้รับมีคุณภาพได้มาตรฐานหรือไม่ นอกจากนี้ยังไม่มีคำถามที่ให้กรอกยอดตัวเลขความเสียหายของกล้ายางอยู่ในแบบสอบถามด้วย

แหล่งข่าวจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวถึงการออกแบบสอบถามของกรมวิชาการฯ ครั้งนี้ว่า เป็นคำถามแบบปลายปิด และไม่มีช่องที่ระบุว่าต้นยางที่ได้รับไม่ได้คุณภาพ ซึ่งประเด็นเรื่องคุณภาพต้นยางชำถุง ควรเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ซึ่งมีความรู้มากกว่าวินิจฉัยลึกลงไปว่าสาเหตุการตายเกิดจากอะไรกันแน่ เพราะเกษตรกรเองก็ไม่มีความรู้ด้านเทคนิค แต่อย่างไรก็ตาม หากให้เจ้าหน้าที่วินิจฉัยก็อาจไม่ได้ความจริงเพราะเป็นการใช้เจ้าหน้าที่ชุดที่ตรวจรับต้นยางชำถุงจากบริษัทเอกชนส่งให้กับเกษตรกร หากวินิจฉัยว่ายางไม่ได้คุณภาพก็จะกลับมาเป็นหลักฐานมัดผู้รับมอบซึ่งก็คือเจ้าหน้าที่ชุดเดียวกัน

ประธานฯซีพี.ปฏิเสธไม่จ่ายชดเชยยางเฉา

นายมนตรี คงตระกูลเทียน ประธานกลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร เครือเจริญโภคภัณฑ์ กล่าวว่า ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้สรุปความเสียหายของการปลูกกล้ายางในโครงการปลูกยาง 1 ล้านไร่ และได้มีการส่งมอบไปแล้ว 15.4 ล้านต้น ซึ่งในจำนวนนี้มีอาการเหี่ยวเฉา 400,000 ต้นนั้น ถือเป็นสัดส่วนที่เป็นปกติตามเงื่อนไขที่ทำไว้กับกรมวิชาการเกษตรที่ระบุว่า ยาง 90 ต้น สามารถตายได้ 10-15 ต้น การที่จะมาเรียกร้องค่าชดเชยในจุดนี้เราจึงไม่สามารถดำเนินการให้ได้ และขอให้ดำเนินการตามสัญญาที่ผ่านมา

"ต้องยอมรับว่ายางตายเพราะภัยแล้ง เพราะหากมีฝนตกสม่ำเสมอยางก็จะรอดทั้งหมด ผมยืนยันว่าบริษัทซีพีทำทุกอย่างบนพื้นฐานเดียวกัน ยางในโครงการก็เป็นยางดีไม่มียางตาสอยตามที่สมาคมสมาพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทยระบุ เพราะซีพีไม่ได้หยุดอยู่แค่นี้ เรามีโครงการพัฒนาโครงการไป เรื่อยๆ คงไม่เอาชื่อเสียงมาเสี่ยง" นายมนตรีกล่าว

สำหรับยางพันธุ์ดีที่ซีพีนำมาใช้ก็ไม่ได้มีเฉพาะที่ภาคใต้เพียงแห่งเดียว แต่มีกระจายอยู่ทั่วประเทศ เราสามารถหาได้อย่างเพียงพอ ไม่จำเป็นต้องไปสอยมาจากไหน เพราะถ้านำยางตาสอยมาติดตาก็จะเติบโตช้าไม่คุ้มค่าการลงทุนที่สำคัญดูง่าย ไม่ผ่านคิวซีอย่างแน่นอน

ล้อมคอกยางตาสอย

นายเนวิน กล่าวถึงกรณีมีข้อสงสัยเกี่ยวกับมีพันธุ์ยางตาสอยว่า หากเกษตรกรพบว่ามีข้อสงสัยว่า มียางที่ไม่มีคุณภาพหรือเป็นยางตาสอย ให้เกษตรกร ร้องเรียนเข้ามาที่กระทรวงเกษตรฯ โดยหลังรับเรื่องจะให้คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง และนักวิชาการลงไปดู ถ้าดูแล้วพบว่าเป็นยางตาสอย ให้ดำเนินการเช่นเดียวกันกับกรณีข้อสงสัยเรื่องพันธุ์ยาง

อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การควบคุมการผลิตกล้ายางจำหน่ายให้กับเกษตรกรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและมีคุณภาพ ได้สั่งการให้อธิบดีกรมวิชาการ ประชุมคณะกรรมการควบคุมพันธุ์ยาง ตามพระราชบัญญัติควบคุมยาง มาตรา 6 โดยให้ประชุมและกำหนดคุณสมบัติกล้ายางพันธุ์ดี โดยห้ามไม่ให้มีการผลิต ต้นตอยางที่ใช้ยางตาสอยมาจำหน่ายให้เกษตรกร ผู้ผลิตต้นตอยางที่จำหน่ายให้เกษตรกร ต้องมาจากยางตาเขียวเท่านั้น ถ้ารายใดใช้ยางตาสอยให้ดำเนินการตามกฎหมาย

ฉกรรจ์ รับรองไม่มียางสอย

นายเนวิน กล่าวว่า การผลิตยางตาสอยในเชิงวิชาการมาผลิตต้นตอตา อัตราการผลิตแล้วรอด มีอยู่เพียง 40% แต่กรณียางตาเขียวมีการผลิตแล้วรอด 90% เพราะฉะนั้นเมื่อประมวลจากกระบวนการติดตาที่ยากกว่า ประกอบกับเรื่องของหลักของการลงทุนในเรื่องต้นทุนการผลิต ซึ่งถ้าไม่รอดต้องเสียทั้งค่าใช้จ่ายและเวลา จึงไม่สมเหตุสมผลว่าจะทำเพื่ออะไร

แต่เมื่อผู้สื่อข่าวถามกลับไปว่าเป็นไปได้หรือไม่ว่าหลักของการลงทุนอาจจะไม่คุ้ม แต่เกิดจากความฉุกเฉินของบริษัทซีพีที่มีจำนวนแปลงกล้าพันธุ์ไม่เพียงพอ จึงเลือกใช้วิธีกิ่งตาสอย นายเนวินกล่าวตอบว่า ไม่มีคำตอบ หลักคือต้องไปตรวจสอบข้อเท็จจริง ไม่ขอสันนิษฐานในเรื่องดังกล่าว

"ถ้าตรวจพบก็ดำเนินการตามสัญญา กรรมการตรวจรับก็ต้องรับผิดชอบตามระเบียบ คู่สัญญากรมก็ต้องไปบังคับตามสัญญา วันนี้กรมและกระทรวงไม่มีเหตุต้องไปรักษาผลประโยชน์หรือปกป้องกัน"

ด้านนายฉกรรจ์ กล่าวตอบเรื่องยางตาสอยว่า การผลิตยางชำถุงจากกิ่งตาสอย มีโอกาสติดประมาณ 40% แต่เมื่อติดตาแล้ว หากเป็นยางพันธุ์ดี มันก็สามารถให้น้ำยางได้เป็นปกติ แต่ในเรื่องการให้น้ำยาง จะมองเรื่องนี้อย่างเดียวไม่ได้ ต้องดูที่การดูแลรักษาของเกษตรกรด้วย ทั้งก่อนกรีดและหลังกรีดด้วย

นายฉกรรจ์กล่าวต่อว่า ทางกรมวิชาการเกษตรได้จัดส่งเจ้าหน้าที่จากสถาบันวิจัยยางลงไปดูในพื้นที่ทั้งหมดแล้วไม่พบแปลงที่จดทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตรแปลงใดใช้กิ่งตาสอย วันนี้มีแปลงขยายพันธุ์ยางทั้งสิ้น 600 กว่าแปลง อยู่ในภาคใต้ก็ไปตรวจ แต่ถ้าสื่อมวลชนเห็นว่าแปลงไหนเป็นยางตาสอย กรุณาแจ้งกรม แต่ถ้าประเด็นใดก็ตามที่เป็นข่าวลือต้องขอความกรุณาให้เพลาลงหน่อย

ผอ.สถาบันยางยันออกดอกเพราะเครียด

นายประวิตร วงศ์สุคนธ์ รักษาการผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร กล่าวชี้แจงต้นกล้ายางที่เพิ่งปลูกไม่ถึงปี แต่มีการออกดอกให้เห็นกันโดยทั่วไปว่า ปกติแล้วยางออกดอกเมื่อมีอายุ 4-5 ปี แต่เมื่อไหร่ มีภาวะเครียด ไม่ว่าจะเกิดจากภัยแล้งและมีโรคทำลายอย่างมาก ต้นยางก็จะออกดอก ซึ่งกรณีนี้เกิดจากภัยแล้งมาก แต่สาเหตุที่ยางออก ดอกไม่ทั้งหมดทุกต้นแม้ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง เป็นเพราะว่าบางต้นรับกับสภาวะภัยแล้งได้ แต่บางต้นรับไม่ได้

ไม่กล้าการันตีอนาคต

นายเนวินกล่าวว่า โดยพันธุ์ที่ตรวจทางใบไม่มี ทางที่จะไม่ให้น้ำยาง เพราะเป็นยางพันธุ์ดี แต่ถ้าถามว่าหลักประกันนี้มันจะรับไปถึง 7-8 ปีหรือไม่ ในทางวิชาการยกตัวอย่างเรามีลูกชายหนึ่งคน โตขึ้นมาตอนอายุ 7-8 ขวบ จะไม่มีทางรู้เลยว่า แต่เมื่ออายุ 15 จะมีการเบี่ยงเบนพฤติกรรมไปเป็นเกย์หรือไม่ จะให้รับประกัน 100% ทำไม่ได้ แต่ในเชิงกายภาพในเรื่องของพันธุ์ยางรับประกันได้

นายฉกรรจ์กล่าวว่า ในฐานะที่ตนเองเป็นอธิบดีกรมวิชาการ รับประกันว่าในอีก 7 ปีข้างหน้าจะต้องมีน้ำยาง ใครบอกไม่มีน้ำยางเอาเหตุผลมาคุย แต่ต้องปลูกตามหลักวิชาการ หมายถึงเกษตรกรดูแลต้นยางดีไม่ใช่ปล่อยปละละเลยให้ควายกิน ต้องดูแลสวนยางอย่างดี   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us