Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน26 มิถุนายน 2545
ตั้งทีมบริหารทีพีไอ             
 


   
search resources

อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย, บมจ.




สหภาพแรงงานทีพีไอ ยื่นหนังสือถึงพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ขณะที่เดินทางไปร่วมประชุมคณะรัฐมนตรี สัญจร เรียกร้องให้ตั้งคณะทำงานพิเศษขึ้นบริหารแผนฟื้นฟูกิจการ "ทีพีไอ" แทน

"อีพีแอล" เหตุบริหารแผนล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง อันจะกระทบต่อเสถียรภาพของพนักงานทีพีไอและครอบครัว หลังจากที่ศาลล้มละลายกลาง มีคำสั่งเห็นชอบกับแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัท

อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) หรือทีพีไอ และแต่งตั้งให้บริษัท เอ็ฟเฟ็คทีฟ แพลนเนอร์ส จำกัด หรืออีพีแอล เป็นผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2543 ที่ผ่านมา

การเข้ามาบริหารแผนฟื้นฟูกิจการของอีพีแอล ได้ก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างอีพีแอลกับพนักงานทีพีไอทุกคน ตั้งแต่ระดับผู้บริหารและลุกลามถึงพนักงานระดับผู้ปฏิบัติการ

ทั้งนี้เนื่องจากพนักงานต่างมีความเชื่อมั่นว่า อีพีแอลไม่มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ เพียงพอที่จะนำพาทีพีไอบรรลุถึงเป้าหมายได้

รวมทั้งอาจจะก่อให้เกิดความเสียหายจนกระทั่งถึงขั้นล้มละลายได้ ล่าสุดนายวิชิต นิตยานนท์ รองประธานสหภาพแรงงานผู้บริหารทีพีไอ เปิดเผยว่า สหภาพ แรงงานทีพีไอ

ได้ยื่นหนังสือถึงพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในช่วงที่คณะรัฐมนตรีเดินทางไปประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่ (ครม.สัญจร) ที่จังหวัดระยองและตราด

โดยหนังสือฉบับดังกล่าวได้ระบุถึงเป็นปัญหาของทีพีไอในด้านแรงงานและความมั่นคงของ ชาติ ทั้งนี้หลังจากที่อีพีไอ เข้ามาบริหารแผนฟื้นฟูกิจการทีพีไอปรากฏว่า

การบริหารงานของอีพีแอลล้มเหลวโดยสิ้นเชิง คือไม่สามารถดำเนิน การได้ตามแผนฟื้นฟูกิจการที่กำหนดไว้ คือ สามารถทำได้เพียง 40% ของเป้าหมายในแผนฟื้นฟูกิจการ

และเป็นการยากที่จะสามารถดำเนิน การให้บรรลุตามแผนฟื้นฟูฯ ได้ ซึ่งจะส่งผลให้ทีพีไอล้มละลายได้ในที่สุด เพราะทีพีไอมีภาระหนี้สินจำนวนมาก

สำหรับสาเหตุสำคัญที่ทำให้แผนฟื้นฟูกิจการไม่สามารถบรรลุผลสำเร็จได้นั้น นอกจากภาระหนี้สินจำนวนมหาศาลแล้ว ในแผนฟื้นฟูกิจการไม่ได้มีการปรับลดหนี้ (Hair Cut) ให้กับทีพีไอแต่อย่างใด

และต้องจ่ายดอกเบี้ยในอัตรา MLR+2% ภายในระยะเวลา 4 ปี ค่าบริหาร แผนสูงกว่า 1,000 ล้านบาท รวมทั้งค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าที่ปรึกษา ค่าจ้างพนักงานรักษาความปลอด ภัย

ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงเกินความจำเป็นที่ทีพีไอ จะต้องเป็นผู้แบกรับภาระทั้งหมด นายวิชิต กล่าวเพิ่มเติมว่า หากทีพีไอตกอยู่ในสถานะล้มละลายแล้ว ไม่เพียงแต่จะทำให้พนักงานทีพีไอตกงานกว่า 7,000

คน แต่จะส่งผลกระทบกับครอบครัวของพนักงานกว่า 25,000-30,000 ชีวิตที่จะต้องเดือดร้อนไปด้วย รวมถึงความเสียหายต่อเศรษฐกิจของจังหวัดระยอง

รวมปัญหาด้านสังคมจะตามมาและที่สำคัญคือผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจระดับชาติ ความไม่มั่นใจในการลงทุนจากต่างชาติ

ศักยภาพและความได้เปรียบในธุรกิจปิโตรเคมีที่ครบวงจรของทีพีไอที่ต่างชาติมุ่งทำลาย "รัฐบาลต้องรีบหามาตรการรองรับโดยด่วน เพราะหากเกิดภาวะล้มละลายของทีพีไอ

จะเกิดความสับสนของพนักงายและเสี่ยงต่อความปลอด ภัย เนื่องจากภายในโรงงานเต็มไปด้วยสารไฮโดรคาร์บอนและน้ำมันที่ไวไฟปริมาณมหา ศาล" พร้อมกันนี้ สหภาพแรงงานทีพีไอ ได้เรียก

ร้องให้นายกรัฐมนตรีเข้ามาแก้ไขปัญหาทีพีไออย่างไรด่วน และเสนอให้มีการแต่งตั้งคณะทำงานพิเศษ เพื่อร่วมกันหาแนวทางและวิธีการแก้ไขปัญหาทีพีไอ เพื่อป้องกันเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้น

อันจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อพนักงาน ทีพีไอ และประเทศชาติ โดยคณะทำงานพิเศษนั้น สภาพแรงงานทีพีไอ เสนอให้มีการแต่งตั้งจากตัวแทนของฝ่ายต่างๆ อาทิ

กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม กระทรวงยุติธรรม กระทรวงการคลัง สำนักนายก รัฐมนตรี รวมถึงนักวิชาการที่มีความเป็นกลางและเป็นที่ยอมรับในสังคมและสหภาพแรงงานในเครือทีพีไอ

อย่างไรก็ตาม หากเรื่องร้องเรียนดังกล่าว รัฐบาลไม่ได้ดำเนินการให้เกิดเป็นรูปธรรม ทางสหภาพแรงงานทีพีไอพร้อมกับพนักงานกว่า 7,000 คน จะเดินทางจากระยองมาทวงถามความ

เป็นธรรมกับรัฐบาลที่กรุงเทพฯ ในเร็วๆ นี้ ก่อนหน้านี้ สหภาพแรงงานทีพีไอ ได้เข้าร้อง เรียนต่อนุกรรมาธิการแรงงานของรัฐสภา ตั้งแต่เดือนเดือนพฤศจิกายน 2544

เกี่ยวกับผลกระทบต่อสภาพการจ้างงานของพนักงานทีพีไอกว่า 7,000 คน โดยการเสนอข้อมูล ข้อเท็จจริงต่างๆ จนทำให้อนุกรรมาธิการแรงงานฯ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และผู้เกี่ยวข้องในด้านต่างๆ

ยอมรับในเหตุผลทั้งยังตระหนักถึงผลกระทบต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นต่อสภาพการจ้างงานของพนักงานทีพีไอ รวมถึงบริษัททีพีไอ ที่เป็นบริษัทอุตสาหกรรมปิโตรเคมีของคนไทยด้วย ต่อเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม

2545 ที่ผ่านมา คณะอนุกรรมาธิการแรงงานของรัฐสภา ได้เรียกให้สหภาพแรงงานฯ และเจ้าพนักงานพิทักษ์ ทรัพย์เข้ารับฟังผลการพิจารณา ซึ่งตัวแทนสหภาพแรงงานทีพีไอกว่า 50 คน

ได้เข้าร่วมรับฟังการให้ปากคำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และผลการพิจารณาของอนุกรรมาธิการแรงงาน ซึ่งได้ข้อสรุปว่า ผลประกอบการของทีพีไอไม่ได้ตามเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้

และต่ำกว่าที่กำหนดไว้มาก

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us