|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ดีแทคยื่นไม้ตายกทช. ต้องออกใบอนุญาตให้เท่าเทียมเสมอภาคกับทีโอทีและกสท 3 ทหารเสือ “บุญชัย-วิชัย-ซิคเว่” เตรียมตบเท้าแสดงความเห็นแผนแม่บทโทรคมนาคมในวันที่ 9 มิ.ย. ย้ำหากไม่มีกรอบเวลาที่ชัดเจนในการได้รับใบอนุญาต เตรียมสู้ด้วยกระบวนการกฎหมายจนถึงที่สุด
นายวิชัย เบญจรงคกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วม บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือ DTAC กล่าวว่า หลังจากดีแทคหารือกับเพื่อนร่วมอุตสาหกรรมอย่างเอไอเอสและทีเอ ออเร้นจ์แล้วมีความเห็นว่าในการออกใบอนุญาตให้บริษัท ทีโอทีและบริษัท กสท โทรคมนาคม คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ก็ควรออกใบอนุญาตให้ผู้ประกอบการรายอื่นอย่างดีแทค ในเวลาที่ไล่เลี่ยกันหรือมีกรอบเวลาที่ชัดเจนด้วยเช่นกัน
“ทุกอย่างเป็นไปตามเจตนารมย์ของรัฐธรรมนูญ และพ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคมที่ต้องการให้เกิดการแข่งขันเสรีและเป็นธรรม”
เขาย้ำว่าตามกรอบแผนแม่บทโทรคมนาคมที่กำลังจะมีการประชาพิจารณ์ใหญ่ในวันที่ 9 มิ.ย.ที่จะถึงนี้ ดีแทคจะเรียกร้องในประเด็นดังกล่าว ภายใต้แนวทาง 2 อย่างคือ 1.ยกเลิกสัญญาร่วมการงานแล้วออกใบอนุญาต เพื่อให้เป็นผู้ประกอบการในระดับเดียวกับทีโอทีและกสท 2.เปลี่ยนหรือยกเลิกสัญญาร่วมงานเปลี่ยนเป็นใบอนุญาตที่จะทำให้ขึ้นตรงกับกทช. โดยประเด็นดังกล่าวไม่ได้ทำให้ดีแทคจ่ายเงินมากขึ้นหรือน้อยลง แต่เป็นเรื่องของความเสมอภาคของเงื่อนไขการประกอบกิจการ รวมทั้งต้นทุนค่าใช้จ่ายต่างๆในรูปใบอนุญาต ค่าธรรมเนียม ภาษี และการให้บริการในพื้นที่ห่างไกล (USO) ที่ผู้ให้บริการประเภทเดียวกันต้องปฏิบัติเหมือนกัน
“ผม คุณซิคเว่ เบรกเก้ และคุณบุญชัย เบญจรงคกุลจะร่วมกันไปแสดงความคิดเห็นในวันที่ 9 มิ.ย.ซึ่งประเด็นดังกล่าวจะเป็นเรื่องใหญ่ของดีแทค”
เขากล่าวว่าตามกรอบแผนแม่บทโทรคมนาคมที่คาดว่าจะประกาศใช้ในเดือนมิ.ย. หลังจากนั้นเงื่อนไขการให้ใบอนุญาต (License Framework) จะคาดว่าแล้วเสร็จในเดือนก.ค. หลังจากนั้นภายใน 180 วัน กทช.จะต้องออกใบอนุญาตให้ทีโอทีและกสท แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่ได้บอกว่าจะไม่ออกใบอนุญาตให้รายอื่น
อย่างไรก็ตาม การที่แผนแม่บทกำหนดว่าจะออกใบอนุญาตให้ระหว่างไตรมาส 3 ของปี 2548 ถึงไตรมาส 1 ปี 2549 กทช.ควรในช่วงระยะเวลาดังกล่าวในการปรับพื้นฐานและแก้ปัญหาเรื่องสัญญาร่วมการงานก่อนที่จะให้ใบอนุญาตกับทีโอทีและกสท เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามมาในอนาคต ซึ่งกทช.ควรมองระยะยาวต่อไปในอนาคตหากทั้ง 2 หน่วยงานเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ และมีผู้ถือหุ้นต่างชาติ ส่วนแบ่งรายได้ที่ดีแทคจ่ายให้ จะกลายเป็นผู้ถือหุ้นต่างชาติได้ประโยชน์ แทนที่จะเป็นผู้บริโภคชาวไทย นอกจากนี้ หากทั้ง 2 หน่วยงานควบรวมกันก็จะเท่ากับกลายเป็นการผูกขาดการให้บริการ เพราะมีแค่ 2 หน่วยงานที่ได้รับใบอนุญาต
นอกจากนี้ ดีแทคยังเชื่อว่าดีแทคเป็นผู้ประกอบการที่สมควรได้รับใบอนุญาตประเภทที่ 3 หมายถึงการเป็นเจ้าของโครงข่าย ซึ่งกทช.ควรจะปฏิบัติและให้ความคุ้มครองเหมือนการออกใบอนุญาตให้ทีโอทีและกสท
นายวิชัยกล่าวว่า หากกทช.ออกใบอนุญาตให้เฉพาะทีโอทีและกสท โดยไม่มีระยะเวลาที่แน่นอนในการออกใบอนุญาตให้ผู้ประกอบการรายอื่นก็ถือว่าขัดเจตนารมย์ของรัฐธรรมนูญและพ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม รวมทั้งภายใต้ทีโอทีกับกสท ยังมีไทยโมบายและฮัทช์ที่ให้บริการ ภายใต้เงื่อนไขที่แตกต่างจากดีแทค อย่างฮัทช์ไม่ต้องเสียค่าเชื่อมวงจร (แอ็คเซ็สชาร์จ) ไม่ต้องเสียค่าภาษีสรรพสามิต หรือไทยโมบายไม่ต้องจ่ายส่วนแบ่งรายได้ ซึ่งหากกทช.ออกใบอนุญาตให้เฉพาะทีโอทีกับกสทก่อน ก็เท่ากับไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรในอุตสาหกรรมเลย
พร้อมกันนี้ หากดีแทคยังจ่ายส่วนแบ่งรายได้ให้กสทต่อไป เงินจำนวนดังกล่าวมีความเป็นไปได้ที่กสทนำไปอุดหนุนฮัทช์ในการประกอบกิจการเพื่อมาแข่งกับดีแทค ซึ่งถือว่าไม่เป็นธรรมในการแข่งขัน
“สิ่งที่ดีแทคบอกคือไม่แคร์ว่าวันไหนได้ใบอนุญาต แต่เมื่อไหร่ที่ทีโอทีและกสทได้ใบอนุญาต กทช.จะต้องมีเดทไลน์ที่ชัดเจนว่าเมื่อไหร่ เราะจะได้ใบอนุญาตและภายใต้เงื่อนไขเดียวกัน ซึ่งดีแทคจะส่งเรื่องไปที่กทช.เพื่อเป็นการเสนอแนะ ในขณะเดียวกัน หากวันที่มีการประกาศใช้แผนแม่บท มีกรอบการออกใบอนุญาตแล้ว ดีแทคไม่มีคำตอบในเรื่องใบอนุญาตที่เท่าเทียมกัน ดีแทคจะดำเนินการด้านกฎหมายจนถึงที่สุด” นายซิคเว่ เบรเก้ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วมดีแทคกล่าว
ด้านพล.อ.ชูชาติ พรหมพระสิทธิ์ ประธานกทช. กล่าวว่า กทช.ไม่สามารถออกใบอนุญาตให้ผู้ประกอบการรายอื่นในลักษณะที่เท่าเทียมกับทีโอทีหรือกสทได้ เพราะผู้ประกอบการรายอื่นถือว่าไม่ได้เป็นเจ้าของโครงข่าย ซึ่งไม่เข้าข่ายผู้ประกอบการที่จะได้รับใบอนุญาตประเภทที่ 3
“ไม่ว่าเอไอเอส ดีแทค หรือออเร้นจ์ ถือว่าไม่มีโครงข่าย แต่เป็นคู่สัญญาร่วมการงานกับทีโอทีหรือกสท”
|
|
|
|
|