Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2540








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2540
ถึงเวลาที่แกรมมี่จะต้องทำอะไรเพื่อสังคมบ้าง             
 


   
www resources

โฮมเพจ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่

   
search resources

จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่, บมจ.
Social




นั่นเป็นคำกล่าวของ ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม ประธานกรรมการบริหาร และกรรมการผู้จัดการบริษัทแกรมมี่เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ที่เคยได้กล่าวไว้เมื่อปีที่ผ่านมากับกลุ่มสื่อมวลชนในงานแถลงข่าวครั้งหนึ่งของแกรมมี่ฯ ว่า เมื่อบริษัทมีความแข็งแรงและมั่นคงจนถึงระดับที่น่าพอใจแล้ว

"เมื่อวันนั้นแกรมมี่ก็จะทำอะไรเพื่อสังคมบ้าง โดยเฉพาะเรื่องสิ่งแวดล้อม ปัญหาสังคมและเรื่องยาเสพย์ติด ซึ่งตอนนี้มันแย่ลงทุกที ลูกหลานเรายังต้องอยู่ที่นี่ไปอีกนาน ถึงเวลาที่จะต้องช่วยกันคนละไม้ละมือแล้ว ไม่ใช่หน้าที่ของใครหรือองค์กรใดองค์กรหนึ่งอย่างเดียวอีกแล้ว"

ไพบูลย์ เล่าว่าก่อนหน้านี้เขาเคยได้คุยกับแสงชัย สุนทรวัฒน์ ไว้ว่าจะทำเรื่องยาเสพย์ติด โดยเริ่มจากให้เข้าไปสอดแทรกในรายการเพลงของเครือแกรมมี่ก่อน ซึ่งจะส่งเสริมให้ป้องกันเรื่องยาเสพย์ติดกันได้อย่างไร แล้วอาจจะไปขอความร่วมมือกับองค์กรอื่น ที่เขามีความประสงค์ไปในทิศทางเดียวกับที่เราตั้งไว้ เช่นการไปขอเบอร์จากเทเลคอมเอเชียแล้วแกรมมี่เป็นคนสนับสนุนเรื่องเงิน ตั้งเป็นคณะทำงาน 24 ชั่วโมงรับร้องทุกข์ให้คำปรึกษาต่างๆ เป็น DRUG LINE จนกระทั่งมีหมอจิตวิทยามาให้คำแนะนำเรื่องของการบำบัดรักษา แต่ท่านมาเสียชีวิตไปก่อน

ซึ่งผู้ใหญ่หลายท่านทราบเรื่องก็เห็นด้วยเช่น พลเอกแป้ง มาลากุล ที่ชอบแนวความคิดนี้มากช่วยสนับสนุนให้เกิดให้ได้ และขณะนี้ก็เกิดโครงการในลักษณะแบบนี้ขึ้นแล้วภายใต้ชื่อโครงการว่า JUST SAY NO! ซึ่งมีทรงวิทย์ จิรโศภินเป็นคนดำเนินการ และจะมีโครงการอะไรที่เป็นประโยชน์แบบนี้เกิดขึ้นมาอีกหลายโครงการ

ไพบูลย์ บอกว่าหลังจากที่เขาแสดงเจตนารมณ์นี้ออกมาต่อสาธารณชน ก็มีคำถามตามมาว่าทำเพื่อภาพพจน์ของบริษัทเองมากกว่าคือเป็น SOFTSALE หรือว่าจะตั้งใจช่วยสังคมจริงๆ "ผมตอบได้เลยว่าทั้งสองอย่าง" ไพบูลย์กล่าว

"ผมไม่อยากเสแสร้งครับ ผมต้องการทั้งสองอย่างแต่ทุกอย่างต้องชัดเจน คือเพื่อภาพพจน์ของบริษัทด้วย มันเป็นแบบ CORPORATE IMAGE เราทำอย่างนี้เพราะเกี่ยวพันกับมหาชนหรือ MASS เราควรจะทำอะไรเพื่อสังคมให้เขามีความรู้สึกที่ดีกับเรา แต่อีกส่วนหนึ่งก็เพื่อบริษัทและเรารู้ตัวอยู่ว่าจะทำอะไร ผมนิยมชมชอบที่ไทยรัฐทำโรงเรียนไทยรัฐวิทยามาก ตรงนั้นเขาชัดเจนคือทั้งภาพพจน์และก็บุญกุศลจริงๆ ผมพยายามทำให้ได้อย่างนั้น" ไพบูลย์กล่าวถึงความตั้งใจของเขา

ในที่สุดแกรมมี่ฯ ก็ได้ตั้งหน่วยงานใหม่ขึ้นมาเพื่อรับผิดชอบงานทางด้านนี้ โดยเฉพาะตามความตั้งใจดั้งเดิมของไพบูลย์ โดยใช้ชื่อบริษัทแกรมมี่ โซเชี่ยลวิชั่น มีทรงวิทย์ จิรโศภินเป็นพ่องาน ทรงวิทย์ได้เล่าถึงปฐมเหตุในการทำงานด้านกิจกรรมสังคมว่า

"คือเป็นความตั้งใจของไพบูลย์อยู่แล้วส่วนหนึ่งที่ท่านเห็นว่าเราอยู่ในศักยภาพที่ทำได้ ก่อนหน้านี้เราก็ทำของเราอยู่แล้ว แต่ยังไม่ชัดเจนอย่างนี้ เช่นทำรายการสารคดีสั้นเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เช่น โลกสวยด้วยมือเรา ซึ่งก็ได้รับความสนใจดีและได้รับรางวัลต่างๆ ทางด้านสิ่งแวดล้อมอยู่บ่อยๆ บางทีก็มีหน่วยงานรัฐมาขอให้ช่วยทำบ้างเป็นครั้งคราว ก็เลยเห็นว่ามันน่าสนใจ ทุกคนควรจะตื่นตัวในเรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อมและปัญหาสังคมกันได้แล้ว จึงตั้งเป็นหน่วยงานที่เป็นเรื่องเป็นราวขึ้นมารับผิดชอบโดยตรงเลยดีกว่า"

ทรงวิทย์เล่าว่าประธานกรรมการบริหารและกรรมการผู้จัดการได้ให้นโยบายไว้กว้างๆ ว่าแต่ละโครงการที่ทำขอให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมและส่วนรวมไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง และให้เป็นองค์กรที่ไม่ได้มุ่งแสวงหาผลกำไรเป็นหลัก กล่าวคือขอให้เป็นองค์กรเล็กๆ ที่ไม่ต้องใหญ่โตมาก มีทีมงานประมาณ 20 คนและยืนได้ด้วยขาของตนเอง ขาดเหลืออะไรทางผู้ใหญ่ก็จะช่วยสนับสนุนบ้างตามความเหมาะสม

"ก็อยู่กันเหมือนพี่เหมือนน้อง ดูแลกันทั่วถึงและสามารถเลี้ยงตัวเองได้ ไม่เป็นภาระขององค์กรเท่านั้นพอแล้ว คือรายรับกับรายจ่ายสมดุลยกันก็เป็นสิ่งที่เราพอใจแล้ว ซึ่งผมเห็นว่าน่าจะเป็นโครงการที่มีอนาคต อยู่ไปได้เรื่อยๆ ไม่หวือหวามากนัก"

ไพบูลย์ได้ยกตัวอย่างถึงโครงการปลดโซ่ช้างให้ฟังว่า นั่นเป็นความคิดของเขาโดยมีแรงบันดาลใจจากการที่พาลูกไปเที่ยวเขาดิน แล้วรู้สึกตกใจมากที่เขาดินตอนที่ตนยังเป็นเด็กเมื่อ 30 กว่าปีที่แล้ว กับเขาดินวันนี้ยังเหมือนเดิมไม่มีอะไรใหม่ในทางที่ดีขึ้นเลย ช้างเคยถูกล่ามโซ่อย่างไร ก็ยังถูกล่ามอยู่ ก็เลยเสนอตัวเข้าไปสร้างทับช้าง เพื่อให้ช้างมีบ้านอยู่ไม่ต้องไปถูกล่ามโซ่อีก ผู้ใหญ่หลายท่านก็เห็นด้วย เอกชนอื่นๆ เขาก็สนใจกันซึ่งเป็นเรื่องที่ดี

"พลตรีเลิศรัตน์ รัตนวานิช ท่านเป็นประธานองค์การสวนสัตว์อยู่ ท่านบอกว่านี่ถ้าเอกชนให้ความสนใจแบบนี้ แล้วช่วยกันคนละไม้คนละมือตามกำลังความสามารถ ทุกอย่างจะดีขึ้นมากเพราะรัฐเองก็ไม่มีงบประมาณเพียงพอ นอกจากเรื่องของช้างแล้ว เรื่องอื่นๆ ก็ยังมี เช่น กรงสัตว์ใหญ่อื่นๆ ที่กำลังทรุดโทรม บริษัทห้างร้านไหนพอมีงบก็มาช่วยได้ สังคมจะสวยงามกว่านี้มาก"

สำหรับในส่วนของกิจกรรมสังคมนั้น ทรงวิทย์ได้อธิบายถึงโครงการที่เตรียมจะจัดทำทั้งหมดนั้นมีอยู่ทั้งสิ้น 6 โครงการ และบางโครงการก็ได้ดำเนินการไปบ้างแล้ว

คือ 1. โครงการ JUST SAY NO ซึ่งเป็นโครงการรณรงค์และสร้างภูมิคุ้มกันเยาวชนในเรื่องยาเสพย์ติด 2. โครงการภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งเป็นโครงการอนุรักษ์ทางด้านวัฒนธรรมที่กำลังใกล้จะหายสาบสูญไป โดยเป็นพระราชดำริริเริ่มของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี และแกรมมี่ฯ มาสานต่อเจตนารมณ์ของท่าน 3. โครงการกรุงเทพฯ เมืองสะอาด หรือ BANGKOK CLEAN SOCIETY 4. โครงการฝุ่นและมลพิษ 5. โครงการโรคเอดส์ และ 6. โครงการในหลวงสอนเรา ซึ่งเป็นโครงการเผยแพร่ให้ความรู้เกี่ยวกับโครงการ อันเนื่องมาจากพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us