Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน30 พฤษภาคม 2548
SSIลงขันโรงถลุงเหล็ก ฟันสองต่อลดต้นทุน-ดันเข้าตลท.เพิ่มมูลค่า             
 


   
www resources

โฮมเพจ สหวิริยาสตีลอินดัสตรี

   
search resources

สหวิริยาสตีลอินดัสทรี, บมจ.
Metal and Steel
เครือสหวิริยา




SSI เผยอยู่ระหว่างพิจารณาจัดสัดส่วนการเข้าลงทุนของบริษัทในเครือสหวิริยาในบริษัทใหม่ที่จะดำเนินโครงการโรงถลุงเหล็ก มูลค่าโครงการเฟสแรก 9 หมื่นล้านบาท ที่อำเภอบางสะพาน รวมทั้งกำลังพิจารณาใช้เทคโนโลยีใหม่ระหว่างยุโรปกับจีน ระบุหลังได้ 3 ใบอนุญาต บีโอไอ- สิ่งแวดล้อม-โรงงาน เดินหน้าโครงการภายใน 18 เดือน ระบุสถาบันทั้งในและ ต่างประเทศติดต่อให้กู้เงินแล้วอยู่ระหว่างการเจรจา พร้อมดันหุ้นโรงถลุงเหล็ก เข้าจดทะเบียนใน ตลท. ด้านนักวิเคราะห์คาด ส่งผลดีต่อ SSI ระบุช่วยลดต้นทุน

นายมารวย ผดุงสิทธิ์ ประธานกรรมการ บริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) หรือ SSI กล่าวถึง โครงการลงทุนโรงถลุงเหล็กครบวงจรของกลุ่มสหวิริยาว่า ขณะนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาการจัดหาเทคโนโลยีจากต่างประเทศสำหรับโครงการถลุงเหล็กครบวงจร จากที่เบื้องต้นกำหนดให้ใช้เทคโนโลยีใหม่ แต่อย่างไรก็ตามขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาว่าจะใช้เทคโนโลยีจากยุโรปหรือจากประเทศจีน ซึ่งประเทศจีนก็มีเทคโนโลยี

ทั้งนี้โครงการโรงถลุงเหล็กครบวงจรมูลค่า 5 แสนล้านบาท ระยะเวลา 15 ปี โดยการดำเนินการจะแบ่งเป็นทั้งหมด 5 เฟสด้วยกัน รวมกำลังการผลิต 30 ล้านตัน เฟสแรกกำลังการผลิต 5 ล้านตัน ใช้เงินลงทุน 9 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นเงินกู้ 6 หมื่นล้านบาท การระดมทุนจากในเครือสหวิริยา 3 หมื่นล้านบาท โดยโครงการนี้จะตั้งอยู่ที่อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

การระดมจากในเครือสหวิริยามูลค่า 3 หมื่นล้านบาท จะเป็นการลงทุนในลักษณะการเข้าถือหุ้นในบริษัทที่จะจดทะเบียนจัดตั้งขึ้นมาใหม่เพื่อดำเนิน โครงการโรงถลุงเหล็กดังกล่าว ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาสัดส่วนการถือหุ้นว่า แต่ละบริษัทในเครือสหวิริยาจะลงทุนในสัดส่วนเท่าใด ขณะที่เงินลงทุนที่ในส่วนเงินกู้ 6 หมื่นล้านบาทนั้น ไม่มีปัญหาเนื่องจากได้รับการติดต่อจากสถาบันการเงินจากต่างประเทศและในประเทศในการให้วงเงินกู้ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณากัน นอกจากนี้ในส่วน ของการใช้เครื่องจักรหรือเทคโนโลยีใหม่อาจจะได้รับเครดิตอีก

สำหรับขั้นตอนการดำเนินการขณะนี้จะต้องรอให้ทางคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ บีโอไอ พิจารณาการขอส่งเสริมการลงทุนซึ่งจะมีการพิจารณาในวันที่ 3 มิถุนายน 2548 นี้ นอกจากนี้จะต้องได้รับอนุญาตด้านสิ่งแวดล้อม และใบอนุญาตโรงงานจากกระทรวงอุตสาหกรรม เมื่อได้รับใบอนุญาตครบ 3 ประเภทแล้ว จะสามารถดำเนินการเฟสแรกภายใน 18 เดือน จากนั้นจะนำบริษัทดังกล่าวเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยต่อไป

นายมารวย กล่าวว่า การลงทุนในเฟสแรก 5 ล้านตันนั้น หากใช้เฉพาะในกลุ่มสหวิริยาก็ไม่พอแล้ว เนื่องจากทั้งกลุ่มมีความต้องการใช้เหล็กดังกล่าว 7 ล้านตัน ในขณะที่ความต้องการในประเทศทั้งหมดมี 13 ล้านตัน ดังนั้นในแง่ของความต้องการใช้จึงถือว่ายังมีอยู่สูง นอกจากนี้ความต้องการใช้ในอนาคตของทั้งประเทศจะมีถึง 40-50 ล้านตัน เมื่อโครงการโรงถลุงเหล็กของกลุ่มสหวิริยาดำเนินการเสร็จใน 15 ปีข้างหน้า ความต้องการใช้จึงมากพอหรือมีตลาดในประเทศรองรับอยู่แล้ว

นักวิเคราะห์หลักทรัพย์รายหนึ่งกล่าวว่า การที่บริษัทเครือสหวิริยาจะมีการลงทุนในการโครงการถลุงเหล็กนั้น จะช่วยลดต้นทุนในการผลิตได้ 200 ล้านบาทต่อปี เมื่อเฟสแรกเสร็จที่มีกำลังการผลิต 5 ล้านต้น เพราะในไตรมาส 1/2548 บริษัทมีการสต๊อกสินค้าจำนวนที่สูงถึง 21,000 ล้านบาท และจะต้องใช้เงินกู้ประมาณ 200-300 ล้านบาท ซึ่ง ณ ไตรมาส1/48 มีการเงินกู้สำหรับการซื้อวัตถุดิบ คือ Slap ถึง 8,000 ล้านบาท โดยจะมีความเสี่ยงเพราะอัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มที่จะปรับตัวเพิ่มขึ้น

ดังนั้นจึงทำให้ลดต้นทุนในการสต๊อกสินค้า ต้นทุนทางการเงิน ซึ่งสามารถลดภาระดอกเบี้ย และประหยัดพลังงานได้ เนื่องจากการที่นำเข้า Slap จากต่างประเทศ Slap จะเย็นทำให้เมื่อจะมีการ รีดเหล็กจะต้องทำให้ Slap ร้อนก่อน แต่หากบริษัทสามารถผลิตได้เอง ทำให้สามารถนำไปรีดได้ในช่วงที่ยังร้อนอยู่ และสามารถที่จะกำหนดได้ว่าจะผลิตจำนวนเท่าไร ให้เพียงพอกับความต้องการใช้

"ทั้งนี้หากเฟสแรกเสร็จในปี 2550 นั้น จะสามารถประหยัดต้นทุนในการการสต๊อกสินค้า ต้นทุน การเงิน พลังงาน ได้ 200 ล้านบาทต่อปี และจะลดต้นทุนได้เพิ่มขึ้นหากทั้งโครงการสำเร็จ"

สำหรับสัดส่วนในการเข้าถือหุ้นในบริษัทใหม่ที่จะจัดตั้งขึ้นเพื่อบริหารโครงการถลุงเหล็กนั้นขึ้นอยู่กับสัดส่วนการที่พันธมิตรที่จะเข้ามาร่วมลงทุน โดยเงินลงทุนเฟสแรกนั้นจะใช้เงิน 90,000 ล้านบาท จะมาจากเงินกู้ 60,000 ล้านบาท ซึ่งจะมาจากนอกประเทศและในประเทศ และเงินลงทุนในบริษัทในเครือ 30,000 ล้านบาท

นักวิเคราะห์ บล.นครหลวงไทย จำกัด กล่าวว่า การที่โครงการถลุงเหล็กเสร็จจะช่วยให้บริษัทสามารถลดทุนในการดำเนินงานได้พอสมควร เนื่องจากไม่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศที่มีราคาสูงเพราะต้องอ้างอิงกับราคาตลาดโลก เพราะขณะนี้บริษัทมีการ นำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัท ที่จะจัดตั้งใหม่ยังไม่มีการเปิดเผยจาก SSI

ทั้งนี้บริษัทคาดว่ารายได้ปี 2548 ประมาณ 50,300 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2547 ที่มีรายได้ 36,874 ล้านบาท แต่กำไรสุทธิประมาณ 4,200 ล้านบาท ลดลง 21.22% จากปี 2547 เนื่องจากส่วนต่างราคาจำหน่ายลดลง เพราะราคาเหล็กมีการปรับตัวลดลง ทำให้มีมาร์จิ้นลดลง ซึ่งบริษัทแนะนำซื้อสะสม ราคาเป้าหมายปีนี้ 2.9 บาท

นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.เกียรตินาคิน จำกัด กล่าวว่า หากโครงการดังกล่าวสำเร็จก็ส่งผลดีกับ SSI ในด้านที่จะทำให้ลดต้นทุนในการผลิตได้ เพราะ ขณะนี้บริษัทดังกล่าวจะต้องนำเข้า Slap จาก ต่างประเทศซึ่งมีราคาที่สูง เพราะต้องอ้างอิงจากราคาตลาดโลก ซึ่งหากสามารถผลิตเองได้จะทำให้มีต้นทุนที่ลดลง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us