Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2540








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2540
แกรมมี่ เน็ตเวิร์ค ส่ง “IMAGINE” ตีตลาดธุรกิจโฮมเอ็นเตอร์เทนเม้นท์             
 

   
related stories

GMM Grammy : The Idol Maker

   
www resources

โฮมเพจ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่

   
search resources

จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่, บมจ.
Entertainment and Leisure
อัครเดช โรจน์เมธา




แกรมมี่ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ ผู้ผลิตสารพันบันเทิงนานาชนิด เริ่มจะมีรายได้ใหญ่อีกทางจากธุรกิจแฟรนไชส์ โฮมเอ็นเตอร์เทนเม้นท์ ซึ่งดำเนินงานภายใต้บริษัทแกรมมี่ เน็ตเวิร์ค

แกรมมี่ เน็ตเวิร์ค เป็นบริษัทซึ่งถือหุ้นโดยแกรมมี่ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์อยู่ 100% เต็ม เมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ภายหลังจากแยกตัวจากร้าน "ซึทาย่า" หรือก็คือร้านจำหน่ายและให้เช่าสินค้าบันเทิงภายในบ้าน ที่แกรมมี่ เน็ตเวิร์คเคยร่วมทุนกับญี่ปุ่น

ด้วยเหตุผลในการแยกตัวที่ อัครเดช โรจน์เมธา กรรมการผู้จัดการอาวุโสของแกรมมี่ เน็ตเวิร์ค ให้ไว้ง่ายๆ ว่า "เป็นเพราะระบบบริหารงานที่แตกต่างกัน"

ทำให้จากเดิมที่มีร้านซึทาย่าอยู่ 4 สาขา ปัจจุบันจึงเหลืออยู่เพียง 2 แห่งคือ ที่สุขุมวิทซอย 11 และ 24 ส่วนอีก 2 แห่ง คือที่หลังสวน และสีลม ทางแกรมมี่ เน็ตเวิร์คเป็นผู้ได้มาบริหารต่อโดยเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "IMAGINE" และเปิดเพิ่มอีก 2 สาขา ที่ซอยอารีย์ ถ. พหลโยธิน เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2539 กับ "IMAGINE" สาขาสวนพลู เมื่อเดือนมกราคม 2540 ที่ผ่านมา

"ตอนนี้เรากำลังอยู่ระหว่างการเปิดสาขาที่ 5 ที่สยามสแควร์ไปเมื่อประมาณต้นเดือนพฤษภาคม 2540 โดยเราตั้งใจว่าจะให้สาขาที่ 5 เป็นสาขาต้นแบบของร้าน "IMAGINE" ที่จะมีต่อๆ ไปซึ่งจะใช้เงินสำหรับสาขาต้นแบบ 40 ล้านบาทบนพื้นที่ทั้งหมด 1,500 ตารางเมตร" อัครเดช กล่าว

ภายหลังหรืออาจจะเรียกได้ว่าระหว่างช่วงที่ก่อสร้างและพัฒนาสาขาต้นแบบ แกรมมี่ เน็ตเวิร์ค ได้มีการเตรียมการและคิดพัฒนาระบบแฟรนไชส์เพื่อสร้างรายได้ และการเติบโตให้กับธุรกิจโฮมเอ็นเตอร์เทนเม้นท์ ในนาม "IMAGINE" ไปทั่วประเทศไปด้วยในตัว

เป้าหมายแรกก่อนที่แกรมมี่เน็ตเวิร์คจะพัฒนาร้าน "IMAGINE" ให้เป็นแฟรนไชส์ธุรกิจโฮมเอ็นเตอร์เทนเม้นท์อย่างเต็มระบบสมบูรณ์ ในช่วงปี 2540 นี้ อัครเดช กล่าวว่า แกรมมี่เน็ตเวิร์ค จะใช้ทุน 200 ล้านบาท ขยายร้าน "IMAGINE" ให้ครบ 20 สาขาก่อน

"20 สาขาแรก แกรมมี่ เน็ตเวิร์คจะบริหารเอง 100% ความแตกต่างที่จะเห็นได้จากร้านซึทาย่าเดิม จะมีตั้งแต่เรื่องของการจัดการ ซึ่งเราจะนำระบบคอมพิวเตอร์ POINT OF SALE มาใช้ การดีไซน์ร้าน คอนเซ็ปต์ รวมแบ็กออฟฟิศของบริษัทเอง"

วราวิช กำภู ณ อยุธยา ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานพัฒนาธุรกิจ บ. แกรมมี่ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) กล่าวเพิ่มเติมในส่วนข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ว่า ระบบคอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้ จะช่วยในการบริหารงานร้านค้าปลีกให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ คือจะช่วยลดต้นทุนในการสั่งซื้อสินค้า การจัดสินค้าให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า โดยวิเคราะห์จากข้อมูลพื้นที่ของลูกค้าที่เก็บไว้ในคอมพิวเตอร์

ที่สำคัญ แกรมมี่ เน็ตเวิร์ค ยังมีแผนการที่จะใช้เทคโนโลยี เป็นกลยุทธ์ในการให้บริการลูกค้าในรูปแบบต่างๆ ครอบคลุมทั่วประเทศ ทั้งระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งทางผู้บริหารของแกรมมี่เชื่อว่า การสนับสนุนข้อมูลจากคอมพิวเตอร์จะเป็นแนวทางหนึ่งที่จะทำให้ร้าน "IMAGINE" เอาชนะคู่แข่งประเภทเดียวกันได้ดี โดยเฉพาะในบริเวณเดียวกัน

จาก 20 สาขาของร้าน "IMAGINE" ในปี 2540 อัครเดช กล่าวว่า ในปี 2541 แกรมมี่เน็ตเวิร์ค ก็จะสามารถพัฒนาร้าน "IMAGINE" ให้เปิดสาขาได้เพิ่มขึ้นในระบบแฟรนไชส์ ที่แกรมมี่เน็ตเวิร์คขะมักเขม้นเตรียมการอยู่ในเวลานี้ โดยเชื่อแน่ว่าร้าน "IMAGINE" เป็นรูปแบบที่แตกต่างจากร้านค้าปลีกสินค้าบันเทิงที่มีอยู่เดิม ไม่ว่าจะเป็นลักษณะร้านที่เป็นเมกะสโตร์ ร้านแบบสแตนอะโลน หรือช้อปอินช้อป รวมทั้งสินค้าจำหน่ายและเช่าภายในร้าน ที่แกรมมี่ เน็ตเวิร์ค ติดต่อกับเจ้าของลิขสิทธิ์ค่ายต่างๆ ทั้งค่ายเพลงและภาพยนตร์ ทั้งไทยและเทศ ไว้กว่า 30 บริษัท ซึ่งเชื่อแน่ว่า สินค้าที่มีจะสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ครบทุกกลุ่มเป้าหมาย

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องของกลุ่มลูกค้าที่จะซื้อแฟรนไชส์ ซึ่งถือได้ว่าไม่ใช่เรื่องน่าหนักใจของแกรมมี่ เน็ตเวิร์ค แต่อย่างใด

เพราะอัครเดช กล่าวว่า กลุ่มเป้าหมายแรกที่จะมาเป็นแฟรนไชส์ของร้าน "IMAGINE" ก็คือ กลุ่มยี่ปั๊ว หรือกลุ่มผู้ค้าส่งและค้าปลีก ซึ่งเป็นพันธมิตรเดิมของแกรมมี่ เอนเตอร์เทนเม้นท์ นั่นเอง ซึ่งในปัจจุบันนี้มีอยู่ถึงประมาณ 3,000 รายทั่วประเทศ

"เชื่อแน่ว่า จำนวนไม่น้อยจากยี่ป๊วที่เรามีอยู่จะสนใจมาร่วมลงทุนกับเรา เพราะเขาได้ธุรกิจเพิ่มในเรื่องค้าปลีก ส่วนธุรกิจเดิมก็ไม่เสียหายอะไร นอกจากนี้เรายังมีกลุ่มผู้สนใจที่จะมาร่วมธุรกิจกับเราอีก นอกเหนือจากกลุ่มลูกค้าเดิมนี้บ้าง"

ทั้งนี้ กลุ่มยี่ปั๊วหรือบุคคลที่สนใจจะซื้อแฟรนไชส์ร้าน "IMAGINE" ควรจะมีพื้นที่ขั้นต่ำ 300 ตารางเมตร สำหรับจัดตกแต่งร้านที่จะวางสินค้าได้ครบ พร้อมกับเงินลงทุนและเงินหมุนเวียนขั้นต่ำ 3,000,000-5,000,000 บาท รวมกับค่าแฟรนไชส์ซึ่งยังไม่กำหนดแน่นอนในตอนนี้

ในช่วงก่อนที่จะคืนทุนซึ่งต้องมีเงินหมุนเวียนนั้น สำหรับร้านเล็กๆ จะใช้เวลาคืนทุนประมาณ 3-6 เดือน หรือ 2-3 ปี สำหรับร้านขนาดใหญ่ ที่มีพื้นที่ประมาณ 1,000-1,500 ตารางเมตร และถ้าเป็นพื้นที่ใหญ่กว่านี้ไม่ควรจะใช้ทำร้านเพราะจะไม่คุ้มกับการลงทุน

สำหรับพื้นที่ที่เหมาะสม ควรอยู่ในทำเลที่เหมาะ เช่น ควรมีหมู่บ้านซึ่งจะเป็นกลุ่มลูกค้าสำหรับวิดีโอให้เช่า หรือที่จอดรถสำหรับลูกค้า เป็นต้น รวมทั้งจะต้องไม่เป็นพื้นที่บนห้างสรรพสินค้า เพราะจะไปซ้ำซ้อนกับร้านสตาร์ ซึ่งเป็นร้านจำหน่ายสินค้าบันเทิงของแกรมมี่ที่มีอยู่เดิม

ปัจจุบันร้าน "IMAGINE" ซึ่งมีอยู่ 4 สาขา มีสมาชิกรวมประมาณ 20,000 กว่าราย มีรายได้จากค่าสมาชิก 3,200 บาทตลอดชีพ และ 500 บาท ตลอดชีพเฉพาะสมาชิกวิดีโอ ที่มีค่าเช่าต่อวัน 20 บาท วันต่อไป 10 บาท สัปดาห์ละ 50 บาท พร้อมบริการส่งถึงบ้านในรัศมี 2 กิโลเมตร และรายได้จากการจำหน่ายสินค้าซึ่งเฉลี่ยแต่ละสาขาไม่เท่ากัน

สิ่งเหล่านี้ เป็นค่าบริการ และบริการที่ไม่ได้แตกต่างจากร้านค้าปลีก สินค้าบันเทิงทั่วไป แต่สินค้าที่มีในร้าน "IMAGINE" จากกว่า 30 บริษัทคู่ค้า และระบบการจัดการที่แกรมมี่ เน็ตเวิร์คทุ่มทุนเต็มที่ เป็นเรื่องที่น่าหวั่นไม่น้อยสำหรับร้านค้าปลีกสินค้าบันเทิง รวมทั้งร้านเช่าวิดีโอ ซึ่งคงจะหลีกเลี่ยงไม่พ้นที่จะต้องเจอกับโฮมเอนเตอร์เทนเม้นท์ในนาม "IMAGINE" นี้แน่นอน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us