Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2540








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2540
เปิดตำนานธุรกิจการศึกษา ศึกนี้ยังอีกยาวไกล             
โดย ไพเราะ เลิศวิราม
 


   
search resources

Education




ธุรกิจการศึกษานั้นมีนานแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดด้านแบบเรียนและหนังสือประกอบการเรียน ที่เกิดขึ้นมานับตั้งแต่รัฐบาลเปิดให้มีเอกชนเข้ามาผลิตและจำหน่ายแบบเรียนในตลาดได้

แต่รัฐบาลก็มีข้อกำหนดไว้ว่า แบบเรียนในระดับประถมซึ่งมีทั้งหมด 5 หมวดวิชาจะให้องค์การค้าคุรุสภาเป็นผู้ผลิตและจำหน่าย ยกเว้นหนังสือประกอบการเรียน เช่น แบบฝึกหัด หนังสือคู่มือครู หรือ หนังสือเฉลย หนังสือนอกเวลา

สำหรับในระดับมัธยมนั้น จะให้สิทธิกับองค์การค้าคุรุสภาเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายวิชาบังคับ 3 วิชา คือ คณิตศาสตร์ ภาษาไทย และวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นหลักสูตรที่รัฐบาลต้องการให้เด็กเรียนรู้เสมอภาคกัน

ทางด้านเอกชนนั้นก็สามารถหันไปผลิตแบบฝึกหัด หรือ หนังสือนอกเวลาได้ รวมทั้งแบบเรียนในวิชาอื่น เช่น สุขศึกษา สังคม ภาษาอังกฤษ ซึ่งหนังสือที่จะผลิตและจำหน่ายได้นั้นจะต้องได้รับการตรวจและรับรองจากกรมวิชาการ

เอกชนที่เป็นเจ้าตลาดหนังสือแบบเรียนคือไทยวัฒนาพานิช (ทวพ.) ซึ่งจะมีนักวิชาการ อดีตอาจารย์ ครูเข้ามาร่วมงานจำนวนมาก หนังสือของ ทวพ. จึงเป็นที่นิยมในตลาด ประกอบกับเวลานั้นยังมีคู่แข่งขันไม่มาก

เวลาต่อมาวัฒนาพาณิชย์ก็ถือกำเนิดขึ้นมา โดยมุ่งเน้นไปที่หนังสือประกอบการเรียนประเภทแบบฝึกหัด และก็เติบโตขึ้นมาเรื่อยๆ ในตลาดเคียงคู่กับ ทวพ. มาแบบติดๆ

จนกระทั่งในปี 2514 อักษรเจริญทัศน์ (อจท.) บริษัทน้องใหม่ก็เกิดขึ้นมาในตลาดอีกราย และมุ่งเน้นแบบเรียนในระดับมัธยม

ในเวลาเพียงไม่กี่ปี อักษรเจริญทัศน์ก็เติบโตขึ้นมาอย่างรวดเร็ว และกลายมาเป็นเจ้าใหญ่ในตลาดที่มียอดขายเป็นอันดับ 1 แซงหน้าวัฒนาพาณิชย์ที่หล่นมาอยู่อันดับสอง และตามด้วยไทยวัฒนาพานิชที่ตามมาเป็นอันดับสาม

แหล่งข่าวในวงการศึกษาเล่าว่า สาเหตุส่วนหนึ่งนั้นเป็นเพราะไทยวัฒนาพานิชยังคงยึดรูปแบบการบริหารแบบเดิมๆ เหมือนเมื่อครั้งไม่มีคู่แข่ง คือ เน้นบริการเพื่อสังคมมากกว่าจะมุ่งเน้นเรื่องการตลาด

ทางด้านอักษรเจริญทัศน์ ภายใต้การนำของสุรพล เทวะอักษร เริ่มนำเอายุทธวิธีการตลาดมาใช้ แต่เดิมแบบเรียน หรือหนังสือนอกแบบเรียน จะมีอยู่ 2 ช่องทาง คือขายผ่านร้านค้าที่มีอยู่ทั่วประเทศ ช่องทางที่สอง คือ ไดเร็กต์เซล คือ ส่งพนักงานขายตรงไปถึงโรงเรียน

ในขณะที่ทุกคนมุ่งมั่นระบบช่องทางจำหน่ายทั้ง 2 แบบ แต่สุรพลคิดไปถึงขั้นตอนที่สาม คือ การสร้างร้านค้าแนวร่วม โดยอาศัยกลไกของรัฐมาเป็นเครื่องมือในการขาย ด้วยการนำเอาบุคลากรในส่วนราชการที่มีทั้งอาจารย์ และศึกษานิเทศก์ มาเป็นตัวแทนขายให้กับโรงเรียนที่อยู่ตามต่างจังหวัด โดยเฉพาะในโรงเรียนที่อยู่ห่างไกล ที่ร้านค้าตัวแทนจำหน่าย หรือ พนักงานขายไปไม่ถึง

การเพิ่มยอดขายในลักษณะนี้ เท่ากับว่าอักษรเจริญทัศน์มีร้านค้าเพิ่มขึ้นทันที 300-400 ร้าน ที่สำคัญทำรายได้ในแต่ละปีหลายร้อยล้าน

นอกเหนือจากตลาดแบบเรียนแล้ว ตลาดทางด้านคุรุภัณฑ์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการเรียนการสอน ก็มีมูลค่าสูง และมีการแข่งขันอย่างรุนแรงมาตลอด ซึ่งอักษรเจริญทัศน์ก็เป็นผู้ที่เข้าไปมีส่วนร่วมและทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

แต่เดิมที่งบจัดซื้ออุปกรณ์การศึกษา หรือ คุรุภัณฑ์ส่วนใหญ่จะจัดซื้อที่ส่วนกลางคือ สำนักงานในกรุงเทพฯ หรือ สำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาจังหวัด (สปจ.) ที่เป็นระดับจังหวัด แต่ในระยะหลังมีการพยายามผลักดันให้กระจายไปถึงระดับอำเภอ

เพราะผลจากการผลักดันให้เกิดการกระจายอำนาจการจัดซื้อในลักษณะนี้ นอกจากภาพที่ปรากฏออกมาภายนอกจะดูดีแล้ว ในอีกทางหนึ่งยังเป็นการล้มเจ้าเก่าที่ครองตลาดอยู่เดิม เพราะเจ้าเก่านั้นจะมีคอนเนกชั่นอยู่กับผู้มีอำนาจในระดับ สปจ. ของแต่ละจังหวัด เมื่อมีการกระจายอำนาจออกไป ก็ทำให้มีการวิ่งล็อบบี้ผูกสายสัมพันธ์ในระดับอำเภอได้ยาก เพราะอำนาจการตัดสินใจถูกกระจายออกไปในระดับกว้าง

ว่ากันว่าผู้ที่อยู่เบื้องหลังการผลักดันนี้ก็คือ อักษรเจริญทัศน์

ช่วงนั้นเอง อักษรเจริญทัศน์ ก็ได้กลายมาเป็นเจ้าตลาดในด้านของอุปกรณ์คุรุภัณฑ์ เรียกว่ามีการประมูลครั้งใดจะมีชื่อของ อบจ. ทุกครั้ง มักจะเป็นผู้ชนะประมูล เพราะมักจะเป็นรายเดียวที่เสนออุปกรณ์ได้ตรงสเป็ก ตามที่กำหนดอยู่เพียงรายเดียวเสมอ

แต่หลังจากครองตลาดได้ระยะหนึ่ง อักษรเจริญทัศน์ก็เริ่มถอนตัวออกจากตลาดประมูลคุรุภัณฑ์ สาเหตุมาจากถูกโจมตีอย่างหนักจากคู่แข่ง และบนหน้าหนังสือพิมพ์ว่า มีการเข้าไปกำหนดสเป็กประมูลอย่างไม่โปร่งใส จนภาพลักษณ์ของอักษรเจริญทัศน์เสียหายไปมาก

สาเหตุสำคัญอีกประการ คือ ค่าใช้จ่ายที่ตามมาจากการเข้าประมูล แน่นอนว่าจะต้องอาศัยคอนเนกชั่นในทุกระดับ ซึ่งทำให้ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้เพิ่มขึ้นอย่างมากจนไม่สามารถควบคุมได้ นับแต่นั้นอักษรเจริญทัศน์ก็หันมาทำหนังสือประกอบการเรียนแต่เพียงอย่างเดียว

หลังจากอักษรเจริญทัศน์ถอนตัวออกมา โรงพิมพ์ "เม่งฮั้ว" ราชาทำสมุดแบบเรียน ก็เริ่มหันเข้ามาทำตลาดสินค้าอุปกรณ์คุรุภัณฑ์ และมีพันธมิตร คือ บริษัททิชชิ่งทอย ซึ่งเจ้าของเป็นอดีตผู้จัดการแผนกอุปกรณ์ของวัฒนาพาณิชย์ และลาออกมาตั้งบริษัทเป็นของตัวเอง และเป็นพันธมิตรกับเม่งฮั้วและจับตลาดการประมูลของ สปช. มาตลอดแข่งกับรายย่อย

จนกระทั่งการมาของสุขวิช รังสิตพล ในตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ที่มาพร้อมกับนโยบายปฏิรูปการศึกษา ก็ยิ่งทำให้ธุรกิจการศึกษาเป็นตลาดที่มีมูลค่ามหาศาล และถูกจับจ้องมากที่สุดเวลานี้

ภายใต้นโยบายนี้ก็นำพาเอาแกรมมี่ แห่งธุรกิจเอ็นเตอร์เทนเม้นท์ ที่พรั่งพร้อมทั้งพลังเงินทุน พันธมิตร

สมรภูมิธุรกิจการศึกษาคงต้องพลิกโฉมกันอีกครั้ง!

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us