|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ มิถุนายน 2548
|
 |
อานันท์ ปันยารชุน ศึกษาระดับมัธยมที่อังกฤษที่ Dulwich College ในปี 2491 ตามคำแนะนำของพระยาศรีวิสารวาจา (เทียนเลี้ยง ฮุนตระกูล) ซึ่งเป็นศิษย์เก่าที่นี่ในฐานะเป็นเพื่อนกับบิดาของเขา
พระยาศรีวิสารวาจา เป็นอาของสมหมาย ฮุนตระกูล เป็นนักเรียนไทยที่มีชื่อเสียงมากในฐานะคนไทยคนแรกที่จบการศึกษาปริญญาตรีเกียรตินิยมคนแรกของไทยจาก Oxford University กลับมาเมืองไทยในสมัยรัชกาลที่ 7 มีบทบาทในกิจการต่างประเทศและการเมืองเป็นอันมาก ในหนังสืออนุสรณ์โกศล ฮุนตระกูล 2502 เล่าเรื่องชีวิตของพี่ชายพระยาศรีวิสารวาจา ที่เดิมชื่อ ฮุนกิมฮวด ในการสร้างกิจการตั้งแต่ผลิตน้ำมะเน็ดโซดา และขยายตัวไปสู่ร้านขายยา ดำเนินกิจการเรือสินค้าจนถึงธนาคาร ช่วงกิจการเจริญเติบโตเขาได้ส่งน้องๆ ไปเรียนที่อังกฤษหลายคน ในนี้รวมทั้งเทียนเลี้ยง ฮุนตระกูล (พระยาศรีวิสารวาจา) ในปี 2454
อานันท์ ปันยารชุน หลังจากใช้เวลาศึกษาที่ Dulwich College 4 ปี ก็สามารถเข้าเรียนกฎหมายที่ Cambridge University แล้วรับราชการกระทรวงการต่างประเทศ ตั้งแต่จบการศึกษาจากอังกฤษ ปี 2498 จนเติบโตสูงสุดในตำแหน่งปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ใช้เวลาเพียง 22 ปี เขามีบทบาทในภาคเอกชนอยู่พักหนึ่งก่อนจะได้เป็นนายกรัฐมนตรีในช่วงวิกฤติ การณ์ทางการเมือง 2 ครั้งในปี 2534-2535 จากนั้นก็มีบทบาท ทางการเมืองในวิกฤติการณ์สำคัญๆ ของสังคมไทยอีกหลายกรณี
สำหรับ Dulwich College มีความภาคภูมิใจในศิษย์เก่าคนนี้ โดยมีรายชื่อในทำเนียบศิษย์เก่าดีเด่น (Eminent Old Alleynians) เลขประจำตัว 15391
อย่างไรก็ตาม เสริญ ปันยารชุน บิดาของอานันท์ไม่เพียงรับใช้ราชสำนักเท่านั้น เขายังมีความสัมพันธ์ที่ดีกับกลุ่มธุรกิจที่เกิดใหม่ในยุคนั้น นักธุรกิจที่ร่ำรวยก็พยายามส่งบุตรหลานไปเรียนอังกฤษด้วย เช่น ปกรณ์ ทวีสิน ไปเรียน Dulwich College รุ่นหลังอานันท์ ปันยารชุน ไม่กี่ปี โดยมีเป้าหมายเด่นชัดในการเรียนวิชาการธนาคาร เพื่อมาบริหารธนาคารไทยทนุ ที่บิดาของเขาร่วมทุนสร้างขึ้น
จาก Perspectus ของ DIC ได้ให้ข้อมูลศิษย์เก่าไว้อีกจำนวนหนึ่ง อาทิ อาสา สารสิน, ทิพยารักษ์ สุขุม, ม.ร.ว.พฤษธิสาน ชุมพล และพวกตระกูลชลิตภรณ์
หมายเหตุ
ข้อมูลส่วนหนึ่งเรียบเรียงมาจากหนังสือ "หาโรงเรียนให้ลูก" ของผมเอง ซึ่งวางจำหน่ายแล้ว เฉพาะร้านหนังสือบีทูเอส ศูนย์หนังสือจุฬาฯ และแพร่พิทยา เท่านั้น
|
|
 |
|
|