Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2548








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2548
Dulwich             
โดย วิรัตน์ แสงทองคำ
 


   
www resources

Dulwich International College Phuket Homepage

   
search resources

Dulwich International College Phuket
International School
Dulwich College
อาทิตย์ อุไรรัตน์




เรื่องราวของ Dulwich International School (DIC) ที่ภูเก็ต ประเทศไทย มีบทเรียนที่น่าสนใจหลายมิติ ที่สำคัญมากมิติหนึ่ง ว่าด้วยความหมายของธุรกิจการศึกษา

ต้องยอมรับความจริงอย่างหนึ่งว่า การเกิดขึ้นอย่างครึกโครมที่สุดในโลกของโรงเรียนนานาชาติในประเทศไทยในช่วงทศวรรษมานี้มาจากแรงบันดาลใจทางธุรกิจ

ที่สำคัญ ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ และ Dulwich College สร้างประวัติการณ์หลายอย่างในฐานะผู้บุกเบิก ขณะเดียวกัน ต้องเผชิญปัญหาในฐานะผู้บุกเบิกที่มากกว่าผู้มาทีหลังมากมายนัก

ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ กับกลุ่มประสิทธิ์พัฒนา ถือว่ามีประสบการณ์ธุรกิจที่เกี่ยวกับสาธารณประโยชน์ในฐานะเจ้าของเครือข่ายโรงพยาบาลและมหาวิทยาลัยเอกชน น่าจะเป็นสูตรความสำเร็จที่ดีในการบุกเบิกลงทุนครั้งใหญ่จัดตั้งโรงเรียนนานาชาติแห่งใหม่ ในฐานะผู้นำขบวนเปิดเสรีการศึกษาระบบนี้ครั้งแรกในเมืองไทย

ว่าไปแล้วตอนนั้นก็มีการลงทุนครั้งใหญ่ของโรงเรียนนานาชาติในเมืองไทยในระยะก่อนหน้าและใกล้เคียงกันถึง 3 โครงการ รวมมูลค่านับพันล้านบาท การลงทุนย้ายที่ตั้งโรงเรียนออกไปชานเมืองของโรงเรียนนานาชาติชั้นนำที่มีอยู่เดิม และขยายรับนักเรียนอย่างเปิดกว้าง International School Bangkok (ISB) มาที่นนทบุรี Bangkok Patana School มาที่ ซอยลาซาล Ruamrudee International School มาที่มีนบุรี

ดร.อาทิตย์ประกันความเสี่ยงในฐานะผู้มาใหม่อย่างดี ด้วยการชักนำให้โรงเรียนชั้นนำของอังกฤษออกนอกประเทศครั้งแรก เลือกโรงเรียนที่มีความสัมพันธ์กับชนชั้นนำของไทยเสียด้วย (โดยเฉพาะอานันท์ ปันยารชุน ในฐานะทั้งคนที่ออกนโยบายเปิดเสรีโรงเรียนนานาชาติ และศิษย์เก่า Dulwich ด้วย) ประกอบกับกระแสของอังกฤษค่อยๆ กลับมาฟื้นฟูอีกครั้งในสังคมไทย หลังจากถอยร่นในช่วงสงครามเวียดนาม โดยเฉพาะ การเข้ามาลงทุนของบริษัทอังกฤษในประเทศไทยจากนั้นมา

การลงทุนที่ภูเก็ตที่ถือว่าเป็นเมืองนานาชาติ ก็น่าเป็นการตัดสินใจที่ฉลาด อีกทั้งเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวของโรงเรียนในปีนังของมาเลเซีย ซึ่งคนไทยภาคใต้นิยมไปเรียนด้วย

ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ จึงคาดหวังความสำเร็จไว้มาก พร้อมๆ กับแรงกดดันด้วยเช่นเดียวกัน

ดูเหมือนแรงกดดันจะเพิ่มขึ้นอย่างมาก มาจากความสำเร็จในเชิงธุรกิจของผู้มาทีหลังในฐานะคู่แข่ง

ISB ไม่เพียงมีความสำเร็จอย่างต่อเนื่องเท่านั้น ผลพวงนั้นได้สร้างโมเดลธุรกิจใหม่ขึ้น แม้ว่า ISB จะไม่ได้ประโยชน์โดยตรงก็ตาม โครงการที่อยู่อาศัย นิชดาธานี สร้างชุมชนต่างชาติขึ้น เป็นความสำเร็จของบริษัทอสังหาริมทรัพย์ที่ชักชวนให้ ISB ย้ายมาอยู่ในที่ของเขาได้ เป็นโมเดลธุรกิจแยกส่วนที่น่าสนใจ

โมเดลธุรกิจนี้ได้พัฒนาเป็นโมเดลที่ชัดเจนและสมบูรณ์ เมื่อ Harrow Asia เจ้าของแฟรนไชส์ Harrow School ในประเทศไทย ที่ใช้เวลาไม่นานนักในการสร้างโรงเรียนแห่งใหม่ในย่านดอนเมือง และประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว มีนักเรียนเข้าเรียนมากกว่า Dulwich ที่ภูเก็ต เท่านั้นยังไม่พอ เจ้าของโรงเรียนแห่งนี้ มีพื้นที่จัดเตรียมไว้ที่อยู่ในบริเวณโรงเรียนได้พัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยราคาแพงขึ้น เพื่อตอบสนองผู้ปกครอง เป็นการวางแผนที่เชื่อมโยงกันอย่างกลมกลืนและแนบเนียน เป็นผลสำเร็จทางธุรกิจโดยรวมที่เสริมมาจากโรงเรียนนานาชาติ

มีอีกโครงการหนึ่งที่ประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว Shrewsbury International School ของชาลี โสภณพนิช ที่เข้ามาทดแทนพอดีกับฐานเดิมในย่านกลางเมืองของ Harrow ที่ย้ายออกมานอกเมือง เป็นความสำเร็จที่รวดเร็วที่สุดในฐานะโรงเรียนนานาชาติแห่งใหม่ ขณะเดียวกันชาลีก็เตรียมที่ดินใกล้ๆ ไว้จำนวนหนึ่ง เพื่อสร้างโครงการที่สนับสนุนกับโรงเรียนต่อไป

ภาพนี้สร้างแรงกดดันต่อผู้บุกเบิกอย่างมากทีเดียว

ไม่เพียงเท่านั้น หากพิจารณากันอย่างลึกแล้ว DIC เผชิญปัญหาทางธุรกิจหลายประการ ไม่เพียงเผชิญกับวิกฤติการณ์ในปี 2540 เท่านั้น หากมีปัญหาในตัวเองด้วย การลงทุนที่ค่อนข้างสูง ทั้งอาคาร สถานที่ และอาจารย์ การเติบโตของโรงเรียนในภูเก็ตช้ากว่าที่ควรจะเป็น การประเมินความเป็นเมืองนานาชาติที่มีเพียง ผู้คนผ่านไปมาในฐานะนักท่องเที่ยว คนละเรื่องกับคนเรียนโรงเรียนนานาชาติ สถานที่ตั้งของโรงเรียนอยู่กลางเกาะไม่สามารถจะสร้างโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่ต่อเนื่องได้ เพราะที่ภูเก็ตบ้านพักราคาแพงมักอยู่ชายทะเล

ความจริงแล้วมองในระยะปานกลาง DIC มีอนาคตมากทีเดียว แต่เพราะ "ความคาดหวัง" และ "แรงกดดัน" ทั้งภายนอกและภายในดูมีอิทธิพลอย่างมาก

สุดท้ายเมื่อแรงปะทะระหว่างความเชื่อมั่นของธุรกิจครอบครัวไทยกับความอนุรักษนิยมที่มีค่าของโรงเรียนประจำอังกฤษเกิดขึ้น จึงกลายเป็นเรื่องที่รุนแรงกว่าที่ควรจะเป็น   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us