|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ มิถุนายน 2548
|
|
ตอนนี้ผมได้ตัดสินใจมาอยู่เมืองไทยอย่างสมบูรณ์แบบแล้ว คงจะไม่กลับไปอยู่เมืองนอกอีกสักพักใหญ่เลยทีเดียว บทความขอบคุณด้วยใจก่อนจากลา เป็นงานเขียนชิ้นสุดท้ายของผมในคอลัมน์บนถนนสาย Spottiswoode ในเมื่อผมมาอยู่เมืองไทยก็หมดคอนเซ็ปต์ความเป็น global link แล้วครับ เมื่อเราพบกันก็มีจากกันเป็นของธรรมดา ผมขอขอบคุณครอบครัวของผม พี่วิรัตน์ แสงทองคำ นิตยสารผู้จัดการ พี่ๆ เพื่อนๆ คนไทยที่ Edinburgh (โดยเฉพาะก้อย โน ปอม ที่ช่วยพิมพ์ ต้นฉบับนี้ให้) และที่ขาดไม่ได้ เหล่าผู้อ่านที่เป็นกัลยาณมิตรของผม ที่ให้โอกาสและสนับสนุนกว่า 2 ปีที่ผมเขียนคอลัมน์นี้ แล้วเจอกันอีกครั้งครับ เมื่อถึงเวลา
10 วันที่ต้องกลับไปลาจากอังกฤษ ผมไม่อาจจะมาร่ายยาวเป็นเนื้อเรื่องได้มากนักกับสิ่งที่เป็นเรื่องส่วนตัวของผม ผมกลับไปอังกฤษคราวนี้เพียง 10 วันเท่านั้น แต่ผมก็ได้ทำทุกอย่างที่อยากจะทำครบ สถานที่ท่องเที่ยวบางแห่งที่ผมจะเข้าไปดูหลายทีแต่เหมือนมีอะไรหลายอย่างดลใจไม่ให้ผมดู ผมก็ได้ดู เพื่อนสมัยเรียนมัธยมที่สนิทๆ ก็ได้เจอกลุ่มเพื่อนๆ ฝรั่งและคนเอเชียที่สนิทก็ได้มาชุมนุมกันอีกครั้ง พร้อมมีเรื่องเล่ามากมาย บางคนผิดหวังกับระบบงาน บางคนมีความสุข บางคนเรียนต่อปริญญาเอก ทั้งๆ ที่ไม่เคยมีวี่แวว ผมมีโอกาสได้ไปเยี่ยมเพื่อนสาวไทยที่พบรักกัดก้อนเกลือกินแต่งงานกับหนุ่มสวีเดนที่พร้อมจะกัดก้อนเกลือกินทั้งๆ ที่ตอนแรกกะจะมาเที่ยวอังกฤษเฉยๆ ชีวิตนั้นแล้วแต่เราจะเลือก หรือลมจะพัดไป?
สาระฉบับนี้คงจะไม่มีอะไรมากกว่าการกล่าวคำอำลา ถึงบทนำ การเริ่มต้นใหม่ที่เมืองไทยที่ผมจะได้พบเจอประสบการณ์ที่ได้รับจากเพื่อนๆ และคนรู้จัก คือการเปลี่ยนวิธีคิดโดยสิ้นเชิง การปรับตัว อย่างที่ผมเขียนไว้ในหนังสือ "หาโรงเรียนให้ลูก" (ของวิรัตน์ แสงทองคำ) บางทีการเรียนเมืองนอกก็อาจจะไม่ใช่ผลดีเสมอไป ความเข้าใจวัฒนธรรม ระบบอาวุโสสำคัญมากที่เมืองไทย ตั้งแต่เด็ก การที่มีอิสระทางความคิดมากเกินไปอาจจะทำให้หลายคนค่อนข้างที่จะเชื่อมั่นเกินไป บางคนทางเลือกมากเกินไปจนสับสนก็มี (เช่นเรียนตรีวิศวะ โทบริหาร โทศิลปะ และเอกการตลาด จบมาแต่งเพลง) เรื่องเหล่านี้ทำให้ผมต้องค่อยๆ คิดปรับปรุง ขอคำแนะนำกับผู้รู้เสมอ การทำงานที่ยากที่สุดคือการทำงานกับคน ขณะนี้ผมได้เริ่มรับรู้แล้วว่าระบบที่ผมเคยชินมาที่นี่ต้องปรับระบบแนวคิดให้เข้ากับคนให้ผลลัพธ์ออกมาดีที่สุด
ความจริงที่ต้องเจออาจไม่เป็นดังคิด เมื่อผมกลับมาเจอโลกสีเทาแห่งความเป็นจริง (Greybit) ก็ต้องบิดที่จะปรับตัวเข้าใจ แต่ไม่ตามในสิ่งที่ไม่ดีของมัน ทุกอย่างย่อมมีทางออก ที่สำคัญคือเราจะเลือกทางออกทางไหน นี่จึงเป็นโลกใหม่ สิ่งใหม่ๆ สำหรับผมในการเริ่มทำงาน ปรับตัวในเมืองไทย มันคือ A new beginning ผมต้องพยายามไม่ทิ้งความฝัน แต่ก็ไม่เร่งมันจนเฉือนขาด ต้องมองตามสภาพความเป็นจริง สิ่งเหล่านี้เป็นการท้าทายครั้งใหม่ที่ไม่ใช่เฉพาะแต่ผม แต่อาจจะสำหรับคนที่จากเมืองไทยไปนานๆ อีกหลายคน
ผมคงยังไม่ทิ้งงานเขียนแน่ๆ การทำงานข่าว สัมภาษณ์แบบยาวของผมก็จะมาในนิตยสารผู้จัดการ จะช้าเร็วแล้วแต่ บ.ก. เห็นสมควร โดยสัมภาษณ์แรกที่อาจจะได้ลงเป็นการสัมภาษณ์บุคคลหนึ่งที่มีข่าวหลายกระแสที่ค่อนข้างจะหายไปจากสังคมไทยเนื่องจากกรณีความที่ยังไม่สิ้นสุด
งานประจำของผม ก็คงต้องทำงานอดิเรกและความใฝ่ฝันผมก็คงต้องตาม ผมทราบแล้วว่าจะทำอะไร บางทีอาจจะเขียนหนังสือดีๆ สัก 3-4 เล่ม ทำสำนักพิมพ์เล็กๆ เอาบทความและหนังสือที่ไม่ตามตลาดมาแปลเพื่อให้โอกาสเยาวชนหรือคนไทยอื่นๆ ได้อ่านได้ฝันที่กว้างขึ้นไปจากที่มีอยู่ (making people dream) รวมทั้งเริ่มสร้างสรรค์ พื้นดิน หมู่บ้าน โรงแรมในอุดมคติ ให้เป็นจริง (creating reality)
ผมมีสิ่งต่างๆ ที่จะต้องตาม ต้องพยายาม แต่อาจต้องฟันฝ่าอุปสรรคมากมาย ไม่ว่าอย่างไรผมจะสู้ แล้วคุณล่ะครับ มีอะไรที่คิดที่ฝันแล้วยังไม่ได้ทำหรือพยายามจะทำ? จะสู้หรือเปล่า?
|
|
|
|
|