Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2548








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2548
ใช่...ผู้หญิงญี่ปุ่น             
โดย สมศักดิ์ ดำรงสุนทรชัย
 


   
search resources

Social




แม้ว่าสังคมญี่ปุ่นจะได้รับการกล่าวถึงในฐานะที่เป็น Male Dominant Society มาอย่างยาวนาน แต่ภายใต้การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเงื่อนเวลาปัจจุบัน ผู้หญิงญี่ปุ่นกำลังกลายเป็นพลังหลักในการขับเคลื่อนกลไกทางสังคมและเศรษฐกิจที่ทวีบทบาทอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน

ก่อนหน้านี้บทบาทของ ผู้หญิงญี่ปุ่นอาจถูกจำกัดไว้เพียง การเป็นแม่บ้านที่ต้องดูแลความเรียบร้อยภายในบ้านและเลี้ยงดูกุลบุตรกุลธิดา ขณะเดียวกันก็ได้รับการประเมินค่าเป็นเพียงเพศที่อ่อนแอ ซึ่งต้องได้รับการพิทักษ์ปกป้อง เมื่อกฎหมายแรงงานที่ประกาศใช้ในปี 1947 กำหนดให้สตรีสามารถทำงานล่วงเวลาได้ไม่เกิน 2 ชั่วโมงต่อวัน หรือไม่เกิน 6 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ พร้อมกับข้อกำหนดห้ามสตรีทำงานในช่วงกลางคืน และสามารถลาหยุดงานพิเศษในแต่ละเดือน ในช่วงที่มีประจำเดือนได้อีกด้วย

ข้อกำหนดในกฎหมายฉบับดังกล่าว นอกจากจะสะท้อนทัศนะคิดของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ส่วนใหญ่เป็นบุรุษเพศ และเป็นผู้พิจารณาผ่านกฎหมายที่เห็นว่าผู้หญิงมีความอ่อนด้อยทางกายภาพแล้ว กฎหมายแรงงานฉบับนี้ยังเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและบริษัทเอกชน ไม่เต็มใจที่จะจ้างหรือรับผู้หญิงเข้าทำงาน เพราะไม่สามารถใช้งานได้อย่างเต็มที่ เมื่อเปรียบเทียบกับแรงงานเพศชาย

ขณะเดียวกันรูปแบบการจ้างงานของญี่ปุ่นในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งเน้นการจ้างงานตลอดชีพ (life-time employment) ไม่ได้เอื้อให้ผู้หญิงสามารถเติบโตในวิชาชีพได้มากนัก เพราะเมื่อสตรีที่แต่งงานและมีลูกต้องลาออกจากงาน ก็ยากที่จะกลับเข้ามาทำงานในระบบนี้ได้อีก

ความเติบโตอย่างรวดเร็วของระบบเศรษฐกิจของญี่ปุ่นที่ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ในช่วงทศวรรษที่ 1950 และทศวรรษที่ 1960 ที่ได้ก่อให้เกิดชนชั้นทางสังคมลักษณะใหม่ที่ได้รับการเรียกขานในฐานะ Salary Man ซึ่งเป็นประหนึ่งอุดมคติในการดำเนินชีวิตของชาวญี่ปุ่นในขณะนั้น จึงเป็นเรื่องราวที่ผูกขาดอยู่เฉพาะแรงงานบุรุษเพศ ขณะที่บทบาทของสตรีเพศในสังคมญี่ปุ่น ถูกผลักให้จำกัดอยู่ในพื้นที่แคบๆ หรือเป็นเพียงฉากหลังของกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมนี้เท่านั้น

แม้ว่าญี่ปุ่นจะมีกฎหมายรัฐธรรมนูญและกฎหมายแรงงานที่ระบุถึงสิทธิสตรีในการเข้าทำงาน ภายใต้เงื่อนไขที่เท่าเทียมกับเพศชาย มาตั้งแต่เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่กฎหมายที่เปิดโอกาสในการจ้างงานอย่างเสมอภาค (Equal Employment Opportunities Law) เพิ่งผ่านการพิจารณาจากรัฐสภาญี่ปุ่น เมื่อปี 1985 หรือเพียง 20 ปี ที่ผ่านมา

โอกาสดังกล่าวส่งผลให้ผู้หญิงญี่ปุ่นไม่ต้องตกอยู่ในภาวะที่ต้องยอมจำนนอยู่เพียงการเป็นแม่บ้าน ที่ต้องพึ่งพิงรายได้จากสามีที่เป็น Salary Man เช่นในอดีต หากผู้หญิงญี่ปุ่นเริ่มผันตัวเองเข้าสู่ตลาดแรงงาน และสามารถยืนหยัดเลี้ยงตัวเองได้มากขึ้น โดยมีสถานะของการเป็น Office Ladies หรือ OLs เป็นภาพจำลองที่กระตุ้นเร้าให้ผู้หญิงเข้าทำงานในระบบอย่างต่อเนื่อง

การเกิดขึ้นของกลุ่มผู้หญิงทำงานในสำนักงานหรือ OLs ซึ่งถือเป็นชนชั้นใหม่ในสังคมญี่ปุ่นในช่วงที่ผ่านมา ได้ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งในมิติทางสังคมและเศรษฐกิจ ของญี่ปุ่นอย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะเป็นแนวโน้ม ความนิยมที่จะครองความเป็นโสดของสตรีญี่ปุ่น รวมถึงการยอมรับสถานะของการเป็น Single Parent ที่เพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ

แต่อิสรภาพที่ได้มาจากการปลดเปลื้อง พันธนาการของการพึ่งพิงรายได้จากสามีของกลุ่มผู้หญิง OLs เหล่านี้ ในอีกด้านหนึ่งหมายถึงภาระทางเศรษฐกิจที่เพิ่มมากขึ้นด้วย

บทเรียนจากประสบการณ์ที่ได้ผ่านยุคเศรษฐกิจตกต่ำในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งได้รับการกล่าวถึงในฐานะ employment ice age ส่งผลให้กลุ่มผู้หญิง OLs มีวิถีการดำเนินชีวิตที่น่าสนใจติดตามไม่น้อย เพราะแม้ว่ากลุ่มผู้หญิง OLs เหล่านี้ จะมีประพฤติกรรมที่ถูกระบุว่าเป็นกลุ่มคนที่มีลักษณะ self satisfaction อย่างสุดโต่ง ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนเลือกซื้อครีมบำรุงผิวรักษาความงามที่มีราคาต่อกรัมสูงกว่าราคาทองคำ หรือสินค้าแบรนด์เนมชื่อดังราคาแพงทั้ง Hermes และ Louis Vuitton ในลักษณะที่ล้นหลามถึงขนาดต้องเข้าแถวซื้อจนได้รับการกล่าวถึงว่าเป็น Louis Vuitton Nation แต่พวกเธอกลับเป็นกลุ่มที่มีอัตราการออมเงินสูงที่สุดกลุ่มหนึ่งในสังคมญี่ปุ่นในคราวเดียวกัน

เพราะในขณะที่ผู้หญิง OLs ใช้จ่ายเงินจำนวนมากเพื่อการเสริมสร้างความมั่นใจในการเข้าสู่สังคม สินค้าประเภทเครื่องอุปโภคบริโภคทั่วไป รวมถึงเครื่องใช้ภายในบ้านกลับถูกเลือกสรรจากปัจจัยด้านราคาอย่างระมัดระวัง

ลักษณะการบริโภคในแบบ bipolarization กลายเป็นรูปแบบสำคัญที่ส่งผลให้ภาคธุรกิจในญี่ปุ่นต้องปรับตัวเพื่อสนองตอบต่อความต้องการของตลาด โดยมีกลุ่มผู้หญิง OLs ซึ่งเป็นฐานลูกค้าที่มีศักยภาพในการบริโภคเป็นเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง ควบคู่กับการดำเนินความพยายามที่จะกระตุ้นให้กลุ่มผู้หญิงเพิ่มการบริโภคและใช้จ่ายเงินให้มากขึ้น

ตัวอย่างของปรากฏการณ์ดังกล่าวสามารถสังเกตได้จากการปรับตัวของ Amusement Park ทั้งในส่วนของ Universal Studios Japan หรือ Tokyo Disneyland และ Tokyo Disney Sea ที่พยายามนำเสนอสันทนาการสำหรับผู้หญิงมากขึ้น ควบคู่กับการเสริมสร้างบรรยากาศที่เน้นเอื้อต่อการพักผ่อนของครอบครัว

ขณะที่ผู้ผลิตรถยนต์หลายรายหันมาให้ความสำคัญกับการออกแบบรถยนต์รุ่นใหม่ๆ ให้สอดคล้องกับความต้องการและรสนิยมของผู้หญิงมากขึ้น ด้วยการส่งเสริมให้พนักงานผู้หญิงเข้ามามีส่วนในการออกแบบ และวิจัยพัฒนาการตกแต่งอุปกรณ์ภายในรถยนต์เหล่านี้ด้วย

ไม่นับรวมการสื่อโฆษณาสินค้าอีกหลากหลายชนิด ที่มีจุดเน้นอยู่ที่ผู้หญิง OLs อย่างโดดเด่น ด้วยการสร้างให้เกิดสัญลักษณ์ ที่ระบุถึงความมั่นใจและความเป็นตัวเอง ซึ่งเป็นลักษณะหลักของผู้หญิงกลุ่มนี้ หรือแม้กระทั่งการกำหนดส่วนลดและบริการพิเศษสำหรับผู้หญิงโดยเฉพาะ ของผู้ประกอบการธุรกิจอื่นๆ อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน

นอกจากนี้ความพยายามที่จะเอาใจผู้ใช้บริการที่เป็นเพศหญิงอย่างออกหน้าออกตาของผู้ประกอบการรถไฟหลายรายที่กำหนดให้ตู้รถไฟบางส่วนเป็น women only car ได้สร้างให้เกิดความไม่พึงพอใจในหมู่บุรุษเพศอย่างหนักหน่วง เพราะกรณีดังกล่าว เป็นประหนึ่งสัญลักษณ์แห่งการผลักให้พวกเขากลายเป็นพลเมืองชั้นสองในการเข้ารับบริการสาธารณะของสังคมไปโดยปริยาย

บทบาทของผู้หญิงญี่ปุ่นยังก้าวล่วงไปสู่การเป็นผู้ส่งทอดวัฒนธรรมแห่งชาติ เมื่อพวกเธอหันมาให้ความสนใจที่จะแต่งกายด้วยชุด yukata และ kimono ซึ่งถือเป็น luxurious attire ที่เดิมถูกจำกัดให้ใช้ในงานพิธีสำคัญและวาระพิเศษซึ่งกำลังจะเลือนหายไปกับกระแสธารของวัฒนธรรมตะวันตก ให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง พร้อมๆ กับการเกิดขึ้นของธุรกิจ ที่เกี่ยวเนื่องกับชุด kimono อย่างเอิกเกริก

ความนิยมในการแต่งชุด kimono ดังกล่าว ในด้านหนึ่งเป็นการสะท้อนทัศนะคิดในแบบ individualistic และความรู้สึก being myself ของสตรีชาวญี่ปุ่นอย่างชัดเจน เพราะนอกจาก kimono แต่ละชุดจะได้รับการออกแบบและตัดเย็บตามความต้องการของผู้สวมใส่อย่างเป็นเอกเทศแล้ว kimono ยังเกี่ยวพันกับการเติบโตขึ้นในแต่ละช่วงวัยของผู้หญิงแต่ละคนอย่างแยกไม่ออก ขณะเดียวกันก็เป็นเครื่องบ่งบอกสถานะทางสังคมของพวกเธอด้วย

ขณะเดียวกันผู้หญิงญี่ปุ่นยังเป็นกลุ่มคนที่เปิดตัวเข้าร่วมกิจกรรมทางวัฒนธรรมต่างๆ อย่างกระตือรือร้น ไม่ว่าจะเป็นพิธีชงชาแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่น หรือกิจกรรมสาธิตการประกอบอาหารนานาชาติ โดยทั้งหมดอยู่บนพื้นฐานที่เริ่มต้นมาจาก sense of self ที่ขยายตัวไปสู่การสร้าง personal value ซึ่งมีผลต่อการประเมินคุณค่าและการก่อรูปทางวัฒนธรรมญี่ปุ่นโดยองค์รวมครั้งใหม่ไปพร้อมกัน

หากคำกล่าวที่ว่า โลกใบนี้มีมือของสตรีค้ำจุนอยู่ครึ่งหนึ่ง จะมีส่วนจริงอยู่บ้าง ดูเหมือนว่ามือของผู้หญิงญี่ปุ่นกำลังขยายเข้าค้ำประคองเศรษฐกิจและสังคมญี่ปุ่นไว้มากกว่าครึ่งหนึ่งอยู่ทุกขณะ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us