|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ มิถุนายน 2548
|
|
เมื่อโนเกียบุกโรงภาพยนตร์สุดหรูของค่ายเมเจอร์
ถือเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ค่อยบ่อยนักในเมืองไทย ที่จะมีเจ้าของกิจการหรือผู้ผลิตสินค้าใดสินค้าหนึ่งตัดสินใจใช้เงินเป็นจำนวนมากเพื่อแลกกับการใช้ชื่อแบรนด์สินค้าของตัวเองติดอยู่กับเบาะเก้าอี้ทุกตัวในโรงภาพยนตร์ พร้อมกับใช้ชื่อเดียวกันนี้ติดไว้ที่ด้านหน้าทางเข้า ประหนึ่งเป็นเจ้าของโรงภาพยนตร์นี้ไปกลายๆ
"Nokia Platinum Screen" คือปรากฏการณ์ล่าสุดที่ว่านี้ เมื่อโนเกีย ประเทศไทย จับมือกับค่ายเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ เปิดตัวโรงภาพยนตร์ขนาดย่อมภายใต้ชื่อดังกล่าว เพื่อเป็นทั้งสถานที่โปรโมตแบรนด์ โนเกีย และสร้างรายได้จากกิจกรรมที่ต่อเนื่องอย่างอื่นอีกมากมาย ตลอดระยะเวลาที่มีการสัญญาความร่วมมือของทั้งสองค่าย
แม้โนเกียจะเคยทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการสนับสนุนภาพยนตร์หรือความบันเทิงมาแล้วหลายปีก่อนหน้านี้ แต่การโปรโมตแบรนด์ของตนเองผ่านการใช้โรงภาพยนตร์เป็นชื่อเดียวกันกับบริษัทนั้น ถือเป็นครั้งแรกที่เกิดขึ้นได้ชัดเจนที่สุดครั้งหนึ่งก็ว่าได้
"แบรนด์พรีเมียมก็ต้องไปกับแบรนด์พรีเมียม" คือคำพูดกินใจความของความร่วมมือของทั้งสองฝ่าย ซึ่งผู้บริหารทั้งสองค่ายกล่าวเอาไว้ในวันงานแถลงข่าวที่เกิดขึ้น เมื่อเดือนที่ผ่านมา โดยมีบรรดาสื่อมวลชนหลากหลายสาขา ทั้งบันเทิง ไอที และการตลาดเข้าร่วมอย่างแน่นขนัด
โรงภาพยนตร์ Platinum ของเมเจอร์ ถือเป็นโรงภาพยนตร์ที่หรูติดอันดับต้นๆ ในบรรดาภาพยนตร์ในเครือเมเจอร์และอีจีวี กว่า 300 สาขาทั่วประเทศ ซึ่งกลายเป็นเครือหนึ่งเดียวกันเมื่อไม่นานมานี้ โดยค่ายเมเจอร์เพิ่งจะตัดสินใจสร้างขึ้นเพื่อรองรับความร่วมมือกับโนเกียโดยเฉพาะ ภายใต้การลงทุนต่อโรงกว่า 20 ล้านบาท ไม่ว่าจะเป็นค่าตกแต่ง ค่าเบาะหนังทุกเก้าอี้ และระบบเสียงสมบูรณ์แบบที่ต้องลงทุนใหม่ทั้งหมด
โรงภาพยนตร์แบบใหม่ที่ใช้ชื่อของโนเกียนำหน้ามีทั้งหมด 2 โรงในเมเจอร์รัชโยธิน และอีก 1 โรง ในเมเจอร์ สาขาเซ็นทรัล เวิลด์ พลาซ่า กิจกรรมส่วนใหญ่จะใช้ไปกับการฉายภาพยนตร์ที่ถูกคัดสรรว่าเหมาะสำหรับโรงภาพยนตร์หรู และให้บริการเป็นสถานที่ให้เช่าสำหรับกิจกรรมการเปิดตัวและงานแถลงข่าวสำหรับห้างร้าน บริษัท หรือแม้แต่งานเปิดตัวภาพยนตร์ใหม่ๆ โดยรายได้ทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมต่างๆ ทางเมเจอร์เป็นผู้จัดเก็บ ขณะที่การบริหารจัดการนั้นทำร่วมกันทั้งสองบริษัท
ผู้บริหารของโนเกีย ประเทศไทย ยอมรับว่า เมเจอร์ถือเป็นแหล่งที่เข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่โนเกียต้องการ โดยเฉพาะกลุ่มที่ชอบดูหนัง ฟังเพลง ซึ่งความสามารถเหล่านี้ หาได้ในมือถือของโนเกียด้วยเช่นกัน ดังนั้นจึงไม่ปฏิเสธที่เมเจอร์กลายเป็น Total Customer Experience ที่โนเกียต้องเลือกเข้ามาเป็นพันธมิตรในการสร้างแบรนด์ของตนในครั้งนี้
ความพิเศษของโรงภาพยนตร์แห่งใหม่นี้มิเพียงแต่ภาพลักษณ์ภายนอกเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการให้บริการลูกค้า ตั้งแต่การซื้อบัตรชมภาพยนตร์ที่มีช่อง VIP รองรับลูกค้าในกลุ่ม Platinum โดยเฉพาะพร้อมกับล็อบบี้เลานจ์พิเศษที่ออกแบบมาเฉพาะแยกจากลูกค้าทั่วไปสำหรับใช้เพื่อนั่งรอชมภาพยนตร์ และบริการจัดเสิร์ฟเครื่องดื่ม และขนมขบเคี้ยวตลอดการชมภาพยนตร์จากพนักงาน
ย่อมเป็นสิ่งที่ไม่เหนือการคาดเดามากนัก ที่ความร่วมมือของทั้งโนเกียและเมเจอร์ฯ กลายเป็นสูตรสำเร็จของการทำตลาดในยุคนี้ ต่างคนต่างได้ ต่างคนต่างเสริมความแข็งแกร่งให้กับแบรนด์ของตนเอง เป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นจากความร่วมมือครั้งนี้
โนเกียได้กลุ่มลูกค้าใหม่จากฐานลูกค้าของเมเจอร์ ที่คาดการณ์เอาไว้ว่าจะมีการใช้งานเฉพาะโรง Platinum อย่างเดียวกว่า 5 แสนราย จนถึงช่วงสิ้นปี ไม่รวมกับฐานลูกค้าเก่าที่เข้ามาใช้บริการของโรงภาพยนตร์เมเจอร์อยู่แล้วอีกหลายล้านราย
ขณะที่เมเจอร์มีโอกาสได้ลูกค้าทั้งใหม่และเก่าหมุนเวียนมาใช้บริการโรงภาพยนตร์ใหม่นี้เพิ่มขึ้น จากฐานลูกค้าของโนเกียที่มากมายหลายล้านคนในประเทศไทย ซึ่งโนเกียเป็นอันดับหนึ่งของค่ายที่ขายมือถือได้มากที่สุดอยู่ในปัจจุบัน หรือจากการทำกิจกรรมของโนเกีย และรายได้จากการให้เช่าสถานที่ ซึ่งผู้บริหารเมเจอร์เชื่อว่ารูปแบบของโรงภาพยนตร์แห่งนี้จะสร้างรายได้กว่าการใช้เพื่อฉายภาพยนตร์ปกติอย่างที่เคยเป็นอยู่มากโขทีเดียว
|
|
|
|
|