|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ มิถุนายน 2548
|
|
นับเป็นครั้งที่ 2 ที่ ศ.ดร.Paul Krugman เดินทางมาประเทศไทย แต่ครั้งนี้มาในฐานะแขกสำคัญของกลุ่ม นสพ.ผู้จัดการ และบริษัท ไทยเดย์ ด็อทคอม ซึ่งจิตตนาถ ลิ้มทองกุล CEO ดำริจัด Seminar Forum ระดับ Worldclass ในหัวข้อ 'Warning System : Positioning of Thailand & South East Asia" ในวันที่ 17-18 พฤษภาคม ที่ผ่านมา
หากเริ่มจากบทเรียนวิกฤติการณ์การเงินที่เกิดขึ้นในเศรษฐกิจเอเชียระหว่างปี 2539-2540 ดร.ครุกแมนเล่าว่าตั้งแต่ปี 2538 เขาเห็นสัญญาณอันตรายจากตัวเลขความไม่สมดุลชัดเจน แต่การพังทลายมันร้ายแรงเกินกว่าที่คาดไว้ และผลกระทบรุนแรงก็ยังส่งผลถึงปัจจุบัน ที่เศรษฐกิจของบางประเทศยังไม่ฟื้นตัว และยังมี NPL อยู่
แต่ถึงกระนั้น นักเศรษฐศาสตร์ได้ทำโมเดลเศรษฐกิจเพื่อคาดการณ์อนาคต ก็พบว่าประเทศกำลังพัฒนายังไม่มีปัญหา แต่ถ้าเมื่อไรนำเอาโมเดลของสหรัฐฯ เข้ามาใส่ด้วย จะเห็นว่าสหรัฐฯ ตกอยู่ในปัญหาที่น่ากลัวมากคือ การขาดดุลทางการค้า 6% ของ GDP กับ 3 กลุ่มการค้ากับสหรัฐฯ คือ ญี่ปุ่น กลุ่มประเทศผลิตน้ำมัน และกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา (ASIA Emerging)
'ผมตำหนินโยบายการคลังของสหรัฐฯ เสมอ เพราะการขาดดุลการค้าหลายปีมานี้ของสหรัฐฯ ไม่น่าจะเดินต่อไปได้ และที่น่าสนใจคือเงินหายไปไหน ซึ่งบอกได้เลยว่า เงินหายไปในภาคอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งตอนนี้มีราคาสูงเกินจริง 50% ที่ไม่ได้มาจากการสร้างของนักธุรกิจ แต่เป็นเรื่องซื้อขายของคนธรรมดาเหมือนขายหุ้น ซึ่งเป็นเรื่องน่ากลัวมากสำหรับฟองสบู่ครั้งนี้ และน่าแปลกที่เห็นอังกฤษก็มีฟองสบู่นี้เช่นกัน และมีเงินจากจีนไหลออกไปลงทุนซื้อตราสารหนี้สหรัฐฯ ทั้งๆ ที่ได้ดอกเบี้ย 0% ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์เราเห็นว่าเป็นการใช้เงินที่แปลกมาก เหมือนเราเห็นน้ำไหลขึ้นภูเขา แทนที่ประเทศพัฒนาจะนำเงินไปลงทุนในจีนที่มีค่าแรงถูกสูงขึ้น เรากลับเห็นเงินไหลออกจากประเทศจีนเพิ่มขึ้น ดังนั้นสิ่งที่นักเศรษฐศาสตร์กลัวคือว่า คราวนี้ไม่เหมือนเก่า เราไม่มีระบบ ไม่มีคนเก่งในรัฐบาลสหรัฐฯ และมองไปในระยะยาวโลกไร้ผู้นำที่แท้จริง"
อย่างไรก็ตาม วิกฤติโลกนี้จะเกิดขึ้นเมื่อไรนั้น ดร.Paul Krugman กล่าวว่าไม่รู้คล้ายๆ สึนามิเกิด แต่ภายใต้ความไม่สมดุล เครียดและเต็มไปด้วยแรงกดดันที่ทางสหรัฐฯ ให้จีนปรับค่าเงินหยวน และกดดันเรื่องโควตาส่งออกสิ่งทอ ฯลฯ มีคำถามว่า โลกจะทนรับไปได้นานแค่ไหน?
'เราอาจจะไม่มีเวลา 5 ปี ผมคิดว่าปัญหานี้จะทนอยู่ได้ไม่เกินสิ้นทศวรรษนี้ มันมาแน่นอน"
สำหรับคนต่างชาติที่เคยลิ้มลองอาหารไทยต้มยำกุ้งมาแล้ว ย่อมตระหนักดีว่า การสูญเสียความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจพริบตาเดียวที่เกิดวิกฤติ การณ์ทางการเงินในอดีตนั้นให้บทเรียนที่ไม่ควรซ้ำรอยประวัติศาสตร์อีกแล้ว
|
|
|
|
|