|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ มิถุนายน 2548
|
|
เป็นปีแรกที่ไอบีเอ็ม ประเทศไทย เปลี่ยนชื่องานประชุมประจำปีของตนเองมาใช้ชื่อ "IBM Summit" และต้องใช้เงินกว่า 5 ล้านบาท ในการเช่าพื้นที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์เต็มพื้นที่ เพื่อจัดงานในช่วงกลางเดือนพฤษภาคม พร้อมส่งจดหมายเชิญองค์กรขนาดกลางและขนาดย่อม ไปจนถึงองค์กรขนาดใหญ่ให้มาพร้อมชมเทคโนโลยี และรับฟังงานสัมมนาตลอดช่วง 2 วันของงานกว่า 1,000 บริษัท
เห็นได้ชัดว่าการจัดงานครั้งยิ่งใหญ่หนนี้ ไอบีเอ็มให้ความ สำคัญกับกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมหรือเอสเอ็มอีมากขึ้นกว่าปีไหนๆ ในงานนี้ไอบีเอ็มจัดเตรียมโซลูชั่นสำหรับเอสเอ็มอี โดยเฉพาะมากมายหลายแบบ รวมถึงเปิดตัวพันธมิตรใหม่ที่เข้ามาช่วยพัฒนาโซลูชั่นสำหรับเอสเอ็มอีเพิ่มขึ้นอีกหลายราย อาทิ ดีแทค ที่มีโซลูชั่นการใช้งานผ่านเครือข่ายไร้สายเหมาะสำหรับองค์กรขนาดย่อมอยู่แล้ว
ประมาณการกันว่าปีที่ผ่านมาผลประกอบการของไอบีเอ็มเฉพาะกลุ่มเอสเอ็มอีอย่างเดียวนั้นเติบโตกว่าอัตราการเติบโตของตลาดโซลูชั่นสำหรับเอสเอ็มอีโดยรวมทั้งตลาด อีกทั้งแต่เดิมธุรกิจของไอบีเอ็มนั้นมีรายได้เกินกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ จากการทำธุรกิจกับองค์กรขนาดใหญ่ แต่ภายในสิ้นปีนี้ เชื่อกันว่ากลุ่มเอสเอ็มอีจะเป็นกลุ่มที่สร้างรายได้เกินครึ่ง แซงหน้าองค์กรขนาดใหญ่ไปในที่สุด นั่นหมายถึงว่าเอสเอ็มอีจะเป็นแหล่งรายได้เกินกว่าครึ่งเมื่อเทียบกับรายได้รวมทั้งหมดของไอบีเอ็มประเทศไทยนั่นเอง
ไม่เพียงแค่นั้น IBM Summit 2005 จะเป็นงานที่มีชื่อใหม่เท่านั้น แต่ยังถือเป็นครั้งแรกของไอบีเอ็มที่ตัดสินใจทุ่มทุนชนิดไม่สนจำนวนเงินที่จะต้องหมดไปเพื่อแจกซอฟต์แวร์สำหรับกลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอีที่ชื่อ "IBM Workplace Service Express" ที่ใช้กับยูสเซอร์จำนวน 20 คน มูลค่านับแสนแก่ทุกองค์กรที่ลงทะเบียนและแจ้งความประสงค์ที่จะต้องการนำไปใช้งานจริงๆ เพื่อเป็นการขยายฐานจำนวนองค์กรเอสเอ็มอี ผู้ใช้งานซอฟต์แวร์ หรือโซลูชั่นของบริษัทออกไปให้มากขึ้น และเป็นครั้งแรกของไอบีเอ็มทั่วโลกที่มีการแจกซอฟต์แวร์ฟรีๆ ที่ไม่ใช่เวอร์ชั่นทดสอบ ให้กับบริษัทที่ต้องการ
ไอบีเอ็มยังตอกย้ำปีแห่งการรุกตลาดเอสเอ็มอีอีกครั้งด้วยการตั้งทีมงานพิเศษขึ้นมา เพื่อเข้าไปอยู่ในพื้นที่ภาคเหนือและภาคอีสาน ทีมงานดังกล่าวจะทำหน้าที่สำรวจความต้องการ และเกาะติดกับคู่ค้า หรือตัวแทนจำหน่ายในทั้งสองภาค เพื่อเข้าช่วยเสนอขายโซลูชั่นอื่นๆ ให้กับบริษัทที่อยู่ในมือของตัวแทนจำหน่าย จากเดิมที่ทีมงานของไอบีเอ็มไม่เคยลงพื้นที่เอง ก่อนจะประเมินและตัดสินใจถึงความเป็นไปได้ในการสร้างสำนักงานขายของภาคต่างๆ ในอนาคต
ธุรกิจเอสเอ็มอีในกลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ และกลุ่มท่องเที่ยว ร้านค้า ร้านอาหาร และโรงแรม เป็นกลุ่มธุรกิจที่ไอบีเอ็มให้ความสำคัญมากที่สุดในการเจาะตลาดในปีนี้ และจะไม่เน้นหนักในการทำสัมมนาอย่างเดียว แต่จะเน้นให้เจ้าของกิจการหรือธุรกิจนั้นๆ ได้รับประสบการณ์ใหม่ๆ เกี่ยวกับการใช้โซลูชั่นของไอบีเอ็มมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ดังเช่นการแจกซอฟต์แวร์ราคาแพงและใช้ได้จริงก็เป็นหนึ่งในกลยุทธ์ใหม่ของไอบีเอ็มนั่นเอง
|
|
|
|
|