Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2543
มือถือ : สิ่งที่ไม่ควรถือ (ด้วยมือ) ไว้แนบหู             
โดย ธีรภาพ วัฒนวิจารณ์
 





ธีรภาพ วัฒนวิจารณ์ เป็นนามแฝงของนักวิชาการในรั้วมหาวิทยาลัย ซึ่งนอกเหนือจากความเชี่ยวชาญในงานประจำด้านจิตเวชและจิตวิทยาแล้ว ยังมีความสนใจด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เขาจะเสนอมุมมองและสาระความรู้ที่น่าสนใจในคอลัมน์ "จากฝั่งพรานนก"

ถ้าคุณผู้อ่านยังพอจำได้ถึงเหตุการณ์เกี่ยวกับบริษัทโทรศัพท์มือถือยักษ์ใหญ่สองค่ายในบ้านเราอัดแคมเปญชิงลูกค้ากัน จนสุดท้ายคงไม่มีอะไร จะทำ เลยงัดเอาประเด็นของความปลอดภัยของแต่ละระบบขึ้นมาอัดกันแทน

ดูเหมือนว่าแต่ละค่ายต่างก็เป็นห่วงสุขภาพ ของลูกค้าผู้ใช้มือถือ แต่ในท้ายที่สุดก็เลิกพูดประเด็นนี้ด้วยกันทั้งสองค่าย อาจจะรู้ตัวว่าพูดมาก ไปผู้ใช้จะตื่นตัวกับผลเสียที่อาจเกิดจากโทรศัพท์มือถือ แล้วหันกลับมาโปรโมตเรื่องการโทรฟรี (แต่ เสียสตางค์) อีก บรรดาลูกค้าที่ดีทั้งหลายก็ดูเหมือนจะลืมประเด็นเรื่องนี้ไป แต่ที่เมืองนอกไม่ได้เป็นเช่นนั้น ไม่ต้องรอให้บริษัทผู้ค้ามาแสร้ง ทำเป็นห่วงสุขภาพของลูกค้า เพื่อบลั๊ฟอีกบริษัทหนึ่งอย่างที่ทำกันในบ้านเรา แต่ของเขามีองค์กรกลางที่ทำหน้าที่รับผิดชอบความปลอดภัยของผู้บริโภค เช่น Cellular Telecommunications Industry Association (CTIA) ซึ่งเป็นองค์กรเอกชนทำหน้าที่กำหนดมาตรฐานของโทรศัพท์มือถือ ซึ่งรวมไปถึงค่าความเข้มของการแพร่กระจายคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกมาว่าไม่ควรเกินกว่าเท่าไร หรือ องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (FDA) ทำหน้าที่ในการควบคุมดูแลความปลอดภัยของผู้บริโภค และก็มีอำนาจมากทีเดียวเรียกว่าถ้าผ่านมาตรฐานความปลอดภัยของ FDAได้ก็ไม่ต้องห่วงอะไร ไม่เหมือนบ้านเราที่ผ่านหน่วยงานของรัฐแล้วก็ยังไม่แน่ใจว่าจะปลอดภัยจริงหรือไม่

เมื่อเร็วๆ นี้ ทาง CNN ได้นำเสนอเกี่ยวกับ เรื่องของโทรศัพท์มือถือ ซึ่งถือว่าเป็นข่าวที่น่าสนใจ ข่าวหนึ่งทีเดียว ตามรายงานของ CNN กล่าวว่าเฉพาะในอเมริกาเองมีผู้ใช้โทรศัพท์มือถือถึง 90 ล้านเครื่อง และในแต่ละวันมีผู้ใช้โทรศัพท์มือถือเพิ่มขึ้น 30,000 ราย ปัญหาที่คนกลับมากังวลกันอีก ก็คือ โทรศัพท์มือถือปลอดภัยพอที่จะเป็นอุปกรณ์ ที่เราพกติดตัว และใช้กันจนเสมือนเป็นอวัยวะส่วน หนึ่งหรือไม่ ปัญหาการใช้โทรศัพท์มือถือเริ่มต้นตั้งแต่เรื่องเล็กๆ คือ การใช้กันอย่างไม่บันยะบันยัง แม้ในที่สาธารณะ หรือกระทั่งในสถานที่ที่ควรจะเงียบ เช่น ห้องประชุม หรือโรงภาพยนตร์ กลายเป็นเรื่องของการรบกวนความสงบสุขของคนที่อยู่ใกล้เคียง ถึงกับในต่างประเทศ มีการเสนอให้ออก กฎหมายห้ามการใช้โทรศัพท์มือถือในที่สาธารณะ และร้านอาหารบางแห่งก็มีการห้ามโทรศัพท์เหมือนกับการห้ามสูบบุหรี่ เรื่องที่ดูเหมือนจะใหญ่โตและ ได้รับความสนใจมากกว่าก็คือ เรื่องของการห้ามใช้โทรศัพท์ในขณะขับขี่ยานพาหนะ ซึ่งเบี่ยงเบนสมาธิของผู้ขับ ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุ ซึ่งในหลายแห่งก็มีกฎหมายออกมาแล้ว ส่วนบ้านเราเอง กฎหมายออกมาแล้ว แต่ยังไม่บังคับใช้ ซึ่งผมก็ไม่ทราบว่าจะต้องรออะไรอีกจึงจะบังคับใช้กฎหมายนี้ แต่นี่ก็เป็นเรื่องของความกังวลว่าผู้ใช้โทรศัพท์มือถือจะก่ออุบัติเหตุให้เป็นอันตรายต่อผู้อื่น และตนเอง (ซึ่งตัวผู้ใช้ก็คงจะไม่ค่อยใส่ใจประเด็นนี้นัก เพราะส่วนใหญ่คนเรามักจะไม่เชื่อว่าตนเองจะเป็นผู้ก่ออุบัติเหตุ)

ก่อนหน้านี้ท่านผู้อ่านอาจจะเคยได้อ่านข่าวต่างประเทศที่กล่าวถึงแพทย์ท่านหนึ่ง (ดูเหมือนเหตุการณ์จะเกิดขึ้นที่ฝรั่งเศส) คุยโทรศัพท์ในท่าเอียงคอแนบกับไหล่เป็นเวลานานร่วมชั่วโมง ภายหลังเหตุการณ์เขาก็พบว่า เกิดอาการชาบริเวณใบหน้าเป็นเวลานาน เหตุการณ์นั้นพอจะสรุปได้ว่า การคุยโทรศัพท์ในท่าดังกล่าวที่เอียงคอจนใบหูแนบกับไหล่ส่งผลให้เกิดการกดทับของเส้นเลือดบริเวณคอ และทำให้สมองบางส่วนขาดเลือดแต่นั่นก็เป็นข่าวที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่เรามองเห็น หรืออธิบายได้ แต่สิ่งที่ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือน่าจะเป็นกังวลก็คือ จนถึงบัดนี้ก็ยังไม่มีข้อสรุปที่แน่นอนว่า คลื่นรังสีแม่เหล็กไฟฟ้าที่แผ่ออกมาจากเครื่องโทรศัพท์มีอันตราย หรือมีผลกระทบต่อสุขภาพของ ผู้ใช้หรือไม่ มีรายงานการศึกษาจำนวนมากที่บ่งไปในทางว่า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่แผ่ออกมาจากการใช้ โทรศัพท์มือถือมีผลต่อสุขภาพของผู้ใช้ แน่นอนว่าไม่ได้ระบุว่าเป็นระบบ GSM หรือ Worldphone 1800 โดยเฉพาะเรื่องที่เคยฮือฮากันมาพักหนึ่งในบ้านเราว่า อาจทำให้เกิดเนื้องอกของสมอง

อย่างไรก็ตาม พอมีรายงานที่บ่งไปในทิศทางว่าโทรศัพท์มือถือก่อให้เกิดปัญหา ก็มักจะมีรายงานที่ให้ผลสรุปไปในทิศทางตรงกันข้ามว่า โรคหรือความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นไม่เกี่ยวข้องกับการใช้โทรศัพท์มือถือ ผลก็คือ ยังไม่มีข้อสรุปที่แน่นอนว่า อันตรายจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากโทรศัพท์มีหรือไม่ ผลที่ตามมาคือยังไม่มีการจำกัดการใช้ หรือ ตั้งเงื่อนไขพิเศษเกี่ยวกับการใช้โทรศัพท์จนกระทั่งต้นปีนี้เองที่มีรายงานวิจัยสองชิ้นระบุถึงความเกี่ยว ข้องของการแผ่รังสีจากโทรศัพท์มือถือกับการป่วย โดยงานวิจัยชิ้นหนึ่งระบุถึงความเกี่ยวข้องนี้กับโรคเนื้องอกในสมองชนิดที่พบได้ไม่บ่อยนัก ส่วนงานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งแสดงให้เห็นว่าเกิดการทำลายของ DNA ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในการถ่าย ทอดลักษณะทางพันธุกรรมของมนุษย์ โดยการทำลายของ DNA นี้เกิดขึ้นกับเซลล์ของเม็ดเลือดแดงที่ได้รับรังสีจากโทรศัพท์มือถือในขนาดสูงๆ FDA หลังจากที่ทำการศึกษางานวิจัยสองชิ้นนี้แล้วก็ออกมาสรุปเหมือนที่ผ่านมา คือ ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน ยังต้องรอการศึกษาอื่นๆ อีก แต่ในส่วนของการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับมาตรการความปลอดภัยเริ่มเพิ่มมากขึ้น

สองเดือนที่ผ่านมาคณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้น โดยรัฐบาลอังกฤษมีข้อเสนอให้ผู้ผลิตและจำหน่าย โทรศัพท์มือถือจะต้องระบุถึงปริมาณการแผ่รังสีของโทรศัพท์แต่ละรุ่นให้ผู้บริโภครับทราบ ในขณะที่ CTIA (Cellular Telecommunications Indus-try Association) ก็เริ่มมีข้อกำหนดตั้งแต่ต้นเดือน สิงหาคมให้บริษัทผู้ผลิตที่ต้องการการรับรอง มาตรฐานจาก CTIA ส่งข้อมูลดังกล่าวที่เรียกว่า SARs (Specific Absorbed Radiation) ให้กับ CTIA และข้อมูลดังกล่าวจะถูกระบุไปพร้อมกับโทรศัพท์ที่ออกวางจำหน่าย เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถเปรียบเทียบ และเลือกใช้ หากต้องการใช้โทรศัพท์ ที่มีค่า SARs ต่ำที่สุด

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าผลการศึกษาจะเป็นเช่นไร ค่า SARs ที่ต่ำและปลอดภัยที่สุดมีค่าเท่าไร FDA ก็ยังคงมีข้อแนะนำเพื่อความปลอดภัยสำหรับบรรดาคนรุ่นเก่าและใหม่ที่ใช้โทรศัพท์มือถือ เป็นปัจจัยที่หก คือหลีกเลี่ยงจากการใช้โทรศัพท์โดยตรง นั่นคือ การใช้ Headset หรือ Handfree จะช่วยให้สมองลดการสัมผัสกับคลื่นรังสีที่แผ่ออกมาจากเครื่องโดยตรง พยายามใช้โทรศัพท์ที่มีเสาอากาศอยู่นอกเครื่อง โทรศัพท์ที่มีเสาอากาศอยู่ในตัวเครื่องจะเพิ่มความเข้มของรังสีที่แผ่ออกมาในขณะใช้ และเนื่องจากระยะเวลาที่ใช้โทรศัพท์เป็นเวลานานมากเท่าใด โอกาสที่เราจะได้รับการแผ่ รังสีในปริมาณมากก็เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุด คือ ลดการใช้โทรศัพท์มือถือลงทั้งในแง่ของความถี่บ่อย และระยะเวลาในการใช้แต่ละครั้ง ประเด็นสุดท้ายนี้ ถือเป็นประเด็นที่สำคัญที่สุด

แต่สำหรับบ้านเรากลับทำให้เห็นได้ว่า มาตรการส่งเสริมการขายของบริษัทยักษ์ใหญ่ คิดแต่เพียงการเพิ่มยอดขาย โดยไม่ได้เป็นห่วงว่าการโปรโมตประเภทโทรฟรี (แต่จ่ายคงที่) หรือจ่ายน้อยแต่โทรได้มากในช่วงของการโปรโมชั่น จะทำให้ผู้บริโภคทั้งหลายได้รับการแผ่รังสีจากโทรศัพท์มากเกินกว่าที่ควรจะเป็นในช่วงของการโปรโมต 1-2 ปี แต่เรื่องยังไม่จบแค่นั้น เพราะผู้ซื้อเครื่องใหม่ภายหลังจากหมดโปรโมชั่นโทรแบบบ้าเลือดแล้ว มักจะติดนิสัยการใช้โทรศัพท์มือถือบ่อยเกินความจำเป็น นั่นคือปริมาณรังสีที่ได้รับภายหลังจากช่วงโปรโมชั่นอาจจะไม่ลดลง ยิ่งอภิมหาโปรเจ็กต์ของรัฐบาลที่ต้องการให้ชาวบ้านได้ใช้โทรศัพท์มือถือราคาถูกอาจจะเป็นตัวเสริมให้การแข่งขันรุนแรงมากขึ้น ส่งผลให้โปรโมชั่นการโทรฟรีแบบบ้าเลือดหนักหน่วงขึ้น โดยที่รัฐและหน่วยงานไม่ได้ให้ความสนใจกับการระแวดระวังปัญหานี้ บางทีอีก 1-2 ปีข้างหน้า FDA ของอเมริกาอาจสรุปได้ว่า การแผ่รังสีจากโทรศัพท์มือถือมีอันตราย จริง โดยอาศัยรายงานการศึกษาจากผู้ป่วยในเมืองไทยก็เป็นได้ ใครจะรู้...

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us