|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ มิถุนายน 2548
|
|
หากพูดถึงการค้นหาเอกลักษณ์ของเชียงใหม่แล้ว คงเลี่ยงที่จะไม่กล่าวถึงโรงแรมโฟร์ ซีซัน ไม่ได้ เพราะถือเป็นผู้จุดประกายแนวคิดการผสมผสานธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม มาเป็นจุดขาย และเป็นต้นแบบแนวคิดประเภทเดียวกันให้กับผู้ลงทุนรายอื่น
โรงแรมโฟร์ ซีซัน เชียงใหม่ เพิ่งจัดงานฉลองครบรอบ 10 ปี ไปเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ซึ่งแสดงให้เห็นว่าวิลเลียม ไฮเนกี้ แห่งไมเนอร์ กรุ๊ป มองเห็นถึงจุดขายของเชียงใหม่จุดนี้มาตั้งแต่เมื่อ 10 ปีที่แล้ว
เขาเป็นชาวตะวันตกที่เข้ามาพำนักตั้งรกรากอยู่ในเมืองไทยเมื่อหลาย 10 ปีมาแล้ว ซึ่งจุดนี้ทำให้เขาสามารถซึมซับรับรู้ถึงเอกลักษณ์ของความเป็นไทย ขณะเดียวกันเขาก็มองออกว่าเอกลักษณ์ใดที่เป็นที่ต้องตาต้องใจของคนตะวันตก
ที่สำคัญ เขาเป็นนักธุรกิจที่มองการณ์ไกล และรู้ว่าควรจะต้องลงทุนอย่างไร จึงจะได้รับผลกำไรตอบแทนสูงที่สุด
โรงแรมโฟร์ ซีซัน เชียงใหม่ ถือเป็นตัวอย่างหนึ่งของการลงทุนของเขาที่ได้รับผลตอบแทนเป็นเลิศ
โรงแรมแห่งนี้ตั้งอยู่บนพื้นที่ 64 ไร่ ในเขตอำเภอแม่ริม ที่มีทั้งสภาพพื้นที่ที่เป็นเนินเขาและพื้นราบ แค่เฉพาะวิวทิวทัศน์ ก็สามารถสร้างความประทับใจให้กับผู้ที่มีโอกาสได้มาเยือนต้องกล่าวขวัญถึงแล้วอย่างแทบไม่รู้จบ
เขายังจำลองวิถีชีวิตของคนพื้นถิ่นล้านนาเอาไว้ด้วยการทำแปลงปลูกข้าวบนพื้นที่ราบ และให้ชาวบ้านได้เข้ามาทำนากันจริงๆ ซึ่งคนที่เข้าพักสามารถมองเห็นได้ เมื่อมองจากหน้าต่างห้องพักที่มีอยู่ทั้งสิ้น 80 ยูนิต ซึมซับวิถีชีวิตของคนถิ่นนี้ที่เคยเป็นอยู่เมื่อหลายสิบหลายร้อยปีก่อน ตั้งแต่ การเริ่มหว่านเมล็ด การปักดำไปจนถึงการเก็บเกี่ยว
ข้าวที่ได้จากการทำนาในโรงแรมโฟร์ ซีซัน จะถูกรวบรวมเอาไว้ เมื่อได้ปริมาณพอสมควรก็จะนำไปบริจาคให้กับโครงการหลวง
แซนด์กับมัด ควาย 2 ตัว พ่อ-ลูก ถือเป็นสัญลักษณ์ที่คุ้นชินของแขกที่มาพักยังโรงแรมโฟร์ ซีซัน เชียงใหม่ และสามารถศึกษาหาความรู้เรื่องราวเกี่ยวกับควายทั้ง 2 ได้จากหนังสือที่โรงแรมจัดเตรียมเอาไว้ภายในห้องพักทุกห้อง
ยุ้งข้าว หอกลอง และศาลาโบราณ ที่ตอนเย็นๆ แขกที่มาพักสามารถเข้ามาใช้บริการเล่นโยคะ ถือเป็นเครื่องบ่งบอกถึงวัฒนธรรมพื้นถิ่น
ไม่นับรวมอาคารห้องพักที่ออกแบบโดยยึดตามหลักสถาปัตยกรรมล้านนาในอดีต อีกทั้งงานศิลป์และเฟอร์นิเจอร์ ทั้งประเภทตู้ โต๊ะ เตียงที่นำไปประกอบไว้ในห้องพักทุกห้อง ล้วนแต่มีกลิ่นอายของความเป็นล้านนาบรรจุเข้าไปไว้ทั้งสิ้น
แอนดรู แฮริสัน ผู้จัดการทั่วไป ซึ่งเป็นตัวแทนของโฟร์ ซีซัน ถึงกับต้องหยิกตัวเองว่าไม่ได้ฝันไป หลังจากที่เขาเพิ่งย้ายจากสหรัฐอเมริกา มาประจำอยู่ที่นี่ เมื่อปลายเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว
"ที่นี่ไม่ใช่สถานที่ที่คนจะมาแค่พักผ่อน หรือนอนอยู่แค่คืนเดียว แต่เป็นที่ที่ใครมาแล้วจะต้องรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของที่นี่ และที่นี่ยังมีสิ่งที่เขาต้องค้นหาอีกมาก เรียกว่าเมื่อมาถึงที่นี่แล้ว อยู่แต่ในโรงแรมไม่ต้องออกไปที่อื่นเลยก็ได้" แอนดรูบอกกับ "ผู้จัดการ"
โฟร์ ซีซัน เป็น chain ที่เพิ่งตั้งขึ้นมาเมื่อ 40 ปีที่แล้ว จุดเด่นของ chain นี้คือจะรับบริหารแต่โรงแรมระดับ luxury เพียงอย่างเดียว และสัญญาการเข้าบริหาร ก็กินระยะเวลายาวนานตั้งแต่ 40-80 ปี
"เพราะฉะนั้นทุกโรงแรมที่เราเข้าไปบริหาร เราต้องเลือกแล้วว่ามี location เป็นอย่างไร product เป็นแบบไหน ผู้ลงทุนเป็นใคร มีวิสัยทัศน์อย่างไร ไม่ใช่คุณแค่มีเงิน แล้วบอกให้เราเข้าไปบริหารไม่ได้"
ปัจจุบันโฟร์ ซีซัน เป็นผู้บริหารให้กับโรงแรมระดับ luxury 66 แห่งใน 29 ประเทศทั่วโลก โดยก่อนหน้านี้โฟร์ ซีซัน ได้เข้าไปซื้อกิจการของ chian รีเจนท์ และกำลังทยอยเปลี่ยนชื่อโรงแรมที่เคยใช้ว่ารีเจนท์ทั่วโลก ให้เป็นโฟร์ ซีซัน
สำหรับที่โฟร์ ซีซัน เชียงใหม่ แอนดรูบอกว่า ถูกจัดอยู่ในระดับ top เมื่อเปรียบเทียบกับโรงแรมที่เหลืออีก 65 แห่งทั่วโลก
ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา โรงแรมโฟร์ ซีซัน ได้สร้าง trend หลายอย่างให้เกิดขึ้นในเชียงใหม่ โดยเฉพาะแนวคิดในการผสมผสานธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม เข้ากับธุรกิจท่องเที่ยว
ล่าสุด โรงเรียนสอนทำอาหารไทย ก็เป็นอีก trend หนึ่ง ที่โฟร์ ซีซัน ได้เริ่มตั้งขึ้นในเชียงใหม่ เมื่อ 2 ปีที่แล้ว และกำลังจะเป็น trend ที่ได้รับความนิยมจากผู้ลงทุนอีกหลายคน
อาหารไทย ก็เป็นอีกหนึ่งในความพยายามเชื่อมโยงวัฒนธรรมมา เป็นจุดขายให้กับแขกที่มาพัก เพราะที่นี่จะสอนหมดตั้งแต่การเริ่มต้นไปจ่ายกับข้าวในตลาด การเตรียมส่วนผสมไปจนถึงการทำอาหาร และยังมีการบอกถึงเกร็ด ประวัติ และเรื่องราวที่เกี่ยวข้องของอาหารแต่ละชนิด โดย chef พิทักษ์ ศรีจันทร์ พ่อครัวที่เคยตระเวนไปทำอาหารไทยมาแล้วถึง 5 ประเทศทั่วโลก
ค่าธรรมเนียมในการเรียนทำอาหาร โรงแรมคิดในอัตรา 150 ดอลลาร์สหรัฐต่อ 1 วัน ต่อ 1 คน โดยแต่ละวันจะมีคนมาเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละประมาณ 8-10 คน
ไม่รวมค่าห้องพัก ที่ rate เริ่มต้นตั้งแต่ห้องละ 340 ดอลลาร์สหรัฐต่อ 1 คืน ในช่วงโลว์ซีซัน และ 400-1,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อ 1 คืนในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว
หากคิดแบบคนไทย rate ระดับนี้ ถือว่าอยู่ในระดับ "แพงลิบลิ่ว"
แต่ในมุมมองของชาวต่างชาติ โดยเฉพาะชาวตะวันตกแล้ว พวกเขายอมและกล้าที่จะจ่าย ถ้าสิ่งที่เขาได้รับหรือต้องการมาค้นหานั้น "คุ้มค่า" แก่เงินที่เขาเสียไป
เอกลักษณ์ของ "เชียงใหม่" หรือความเป็น "ล้านนา" นั้น มีคุณค่าและมูลค่า มากกว่าที่หลายคนคิด
|
|
|
|
|