Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน20 มิถุนายน 2545
"บัวหลวง"สับ SMEไทยเนิบ ยืนกรานให้กู้             
 


   
search resources

ธนาคารกรุงเทพ, บมจ.
SMEs




นักวิชาการเผยเอสเอ็มอีไทยมีการปรับตัวล่าช้าอย่างมาก อ้างจากผลงานวิจัยพบมีปัญหารุมเร้ามากมาย ทั้งปัญหาการตลาด การเงินและ ปัญหาด้านการผลิต

แนะรัฐสร้างกลไกที่เอื้อต่อเอสเอ็มอีให้มากขึ้น แบงก์กรุงเทพยืนยันขอเดินหน้าปล่อยกู้เอื้อเอสเอ็มอี วานนี้(19) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) BBL จัดสัมมนา

ให้กับผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม (เอสเอ็มอี) ของธนาคารในหัวข้อเรื่อง "สถาน ภาพและแนวทางการพัฒนาเอสเอ็มอี" นายวิทยา ด่านธำรงกูล อาจารย์ประจำคณะพาณิชย-

ศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวในการสัมมนาเรื่อง "สถานภาพของเอสเอ็มอีไทย" ว่า

จากการที่คณะพาณิชยศาสตร์ได้ทำการวิจัยภายใต้การสนับสนุนของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม (บอย.)โดยได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของเอสเอ็มอี ทั่วประเทศส 22

จังหวัดครอบคลุมภาคเหนือ ใต้ กลางและตะวันออกเฉียงเหนือ รวมถึงการทำการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยพบว่าหลังจากวิกฤตการณ์เศรษฐกิจปี 2540

ที่ผ่านมานั้นเอสเอ็มอีของไทยมีการปรับตัวช้าอย่างมาก "เป็นเรื่องแปลกที่เอสเอ็มอีส่วนใหญ่มีความรู้สึกว่าวิกฤติการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมานั้นไม่น่าตกใจมากนัก

ซึ่งผมมีความรู้สึกว่าเป็นมุมมองที่ให้ความสำคัญต่อปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นน้อยกว่าความเป็นจริง ซึ่งน่าเป็นห่วงมากและอาจเป็นเหตุผลของการปรับตัวที่ล่าช้า นายวิทยากล่าวและว่า

นอกจากนี้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีส่วนใหญ่ยังมองว่าปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นนั้นเป็นผลมาจากปัจจัยภายนอกมากว่าที่จะเห็นว่ามาจากปัจจัยภายใน สำหรับการศึกษาถึงสภาพปัญหาทั่วไปของเอสเอ็มอี

นายวิทยากล่าวว่ามีความเห็นว่าปัญหาด้าน การตลาดคือปัญหาใหญ่ที่สุด เอสเอ็มอีผลิตสินค้าแล้วไม่มีตลาดรองรับหรือมีแต่ไม่สามารถที่จะแข่งขันได้ไม่สามารถรักษาฐานลูกค้าเก่าได้

โดยเฉพาะธุรกิจค้าปลีกรายย่อยประสบปัญหาอย่างมากเมื่อมีค้าปลีกรายใหญ่เข้ามาในพื้นที่ นายพิภพ อุดร อาจารย์ประจำคณะพาณิชย ศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า

เอสเอ็มอียังมีปัญหาด้านการเงินที่ส่วนใหญ่ระบุว่าไม่ได้รับการสนับสนุนสินเชื่อจากธนาคาร พาณิชย์ ทั้งๆที่ผ่านมานั้นรัฐบาลได้พยายามที่จะระบุว่า มีการช่วยเหลือด้านการเงินแก่เอสเอ็มอีอย่าง เต็มที่

ธนาคารพาณิชย์เองก็แทบจะไม่ปล่อยกู้ให้เอสเอ็มอี อย่างไรก็ตาม ปัญหานี้อาจเป็นเพราะเอสเอ็มอี เองยังมีปัญหาภายในที่ยังไม่มีการปรับตัวเต็มที่ และสถาบันการเงินยังเห็นว่าเป็นความเสี่ยงอยู่

ดังนั้นคงเป็นหน้าที่ของเอสเอ็มอีเช่นกันที่จะทำอย่างไรให้ธนาคารพาณิชย์เห็นว่ามีความน่าสนใจในการปล่อยกู้ ยังมีปัญหาการจัดการทางการเงิน ระบบบัญชีที่ยังไม่มีการปรับปรุงมากนัก

ซึ่งอาจเป็นเพราะเครื่อง มือทางการเงินทั้งระบบ รวมถึงระบบกฎหมายปัจจุบันอาจยังไม่เอื้อต่อเอสเอ็มอีมากนักและรัฐบาล เองก็กำลังพิจารณาอยู่ว่าจะดำเนินการปรับปรุงอย่างไร นายโฆสิต

ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) BBL กล่าวว่า ธนาคารกรุงเทพเห็นว่าเอสเอ็มอีมีความสำคัญกับ เศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างมาก

จึงได้พยายามที่จะพัฒนาผู้ประกอบการเอสเอ็มอีรุ่นใหม่เพื่อให้มีการปรับตัวอย่างทันความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและให้สามารถแข่งขันได้ในอนาคต

"ธนาคารยังคงให้การสนับสนุนด้วยการให้สินเชื่อบัวหลวงเพื่อเอสเอ็มอี อัตราดอกเบี้ยพิเศษ 2 ทางเลือกคือทางเลือกแรกอัตราดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 6.25 เป็นเวลา 2 ปี

และอัตราดอกเบี้ยเอ็มอาร์อาร์ลบร้อยละ 1 เป็นเวลา 2 ปี" นายโฆสิตกล่าว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us