|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ มิถุนายน 2548
|
|
ด้วยความที่เป็นสถาปนิกที่มุ่งมั่นศึกษาศิลปวัฒนธรรมล้านนา ทำให้วรวิทย์ ภู่ประเสริฐ ตัดสินใจนำจุดแข็งทั้ง 2 ด้าน สร้างขึ้นเป็น "ตรีญาณรส"
ในเว็บไซต์ นามบัตร และโบรชัวร์ของตรีญาณรส ล้วนระบุความหมายขยายความต่อท้ายชื่อเอาไว้ว่า colonial house แต่ colonial house ในความหมายของวรวิทย์ ภู่ประเสริฐ แห่งตรีญาณรสแล้ว เป็นความหมายที่กินความลึกซึ้งกว่าบ้านทรง colonial style ที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไป
colonial house ในความหมายของ วรวิทย์ จะหมายถึงสัญลักษณ์ของการผสมผสานกันของวัฒนธรรมจากหลายๆ ถิ่น ที่เข้ามามีอิทธิพลอยู่ในเชียงใหม่เมื่อกว่า 100 ปีก่อน และในที่สุดการผสมผสาน ดังกล่าวกลับได้สร้างให้เกิด style ใหม่ขึ้นมา กลายเป็น Chiang Mai Style
"ย้อนกลับไปศึกษาประวัติศาสตร์เชียงใหม่ ตั้งแต่ 700 ปีก่อน ที่นี่เคยได้รับอิทธิพล จากหลากหลายเชื้อชาติ ไม่ว่าจะเป็นญวน พม่า จีน กระทั่งกรุงสยามจนถึงยุคที่มีมิชชัน นารีขึ้นมา ก็เป็นอิทธิพลจากทางตะวันตก" วรวิทย์เล่ากับ "ผู้จัดการ"
ตรีญาณรส เป็น boutique hotel กลางเมืองเชียงใหม่ ที่มีความโดดเด่นเฉพาะตัว อีกแห่งหนึ่ง เพราะความที่ผู้สร้างเป็นสถาปนิกที่มีความสนใจในศิลปวัฒนธรรมตะวันออก โดยเฉพาะศิลปวัฒนธรรมล้านนา แต่กระแสตะวันตกนิยมที่หลั่งไหลเข้ามายังเชียงใหม่ ทำให้เขาคิดว่าน่าจะต้องสร้างอะไรขึ้นมาสักอย่างหนึ่งที่สามารถแสดงถึงสัญลักษณ์ของความเป็นล้านนาที่แท้จริง
วรวิทย์เรียนจบระดับอนุปริญญา ทางด้านสถาปัตยกรรมศาสตร์จากสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลพายัพ (ปัจจุบันเป็นมหาวิทยาลัยล้านนา) ซึ่งเป็นสถาบันที่ปลูกฝังให้ผู้ที่ไปเรียนเห็นความสำคัญของวัฒนธรรมพื้นถิ่น
เมื่อเขาไปเรียนต่อระดับปริญญาตรีที่สถาบันเทคโนโลยีเจ้าคุณทหารลาดกระบัง สิ่งแวดล้อมกลับตรงกันข้าม เพราะยิ่งเขาเรียนลึกเข้าไปมากเท่าไร เขายิ่งรู้ตัวดีว่าสิ่งที่ตนเองชอบนั้นคืออะไร และก็เริ่มที่จะไขว่คว้าหาความรู้ด้านนั้นมาเสริม
"ที่ลาดกระบัง ผมเรียนทางด้านอาคารสูง แต่ยิ่งเรียนไป ยิ่งรู้ว่านี่ไม่ใช่สิ่งที่เราชอบ ยิ่งเรียนไป ผมยิ่งอยากรู้เรื่องวัฒนธรรมพื้นถิ่นของทางตะวันออก พอจบออกมา ผมจึงต้องมาหาความรู้ ศึกษาด้านนี้ด้วยตัวเอง"
ปี 2539 เขาเรียนจบและกลับมาอยู่ที่บ้านในเชียงใหม่ และตัดสินใจเปิดสำนักงาน สถาปนิกของตนเองขึ้น มีชื่อว่าตรีญาณรส เฮ้าส์ แอนด์ ลีฟวิ่ง รับออกแบบอาคารที่เน้นสถาปัตยกรรมทางด้านตะวันออก (oriental style) โดยเฉพาะ
ลูกค้าส่วนใหญ่ที่มาจ้างเขาออกแบบบ้านให้เป็นคนกรุงเทพฯ ที่ขึ้นมาซื้อที่ดินไว้ในเชียงใหม่ แล้วต้องการสร้างบ้านในแบบล้านนาสไตล์ ซึ่งเป็นงาน ที่เขาถนัด
ปี 2543 เขาเริ่มขยับขยายธุรกิจมาทำในสิ่งที่ตนเองชอบอีกครั้ง ด้วยการสร้างบ้านบนที่ดินของเขาเองริมถนนนิมมานเหมินท์ เป็นบ้านทรงล้านนาประยุกต์ เพื่อให้ฝรั่งเช่า
อีก 3 ปีต่อมา เขาตัดสินใจสร้างโรงแรมตรีญาณรสขึ้น โดยใช้พื้นที่หลังบ้านที่เขาอาศัยอยู่กับแม่ริมถนนวัวลาย ซึ่งมีเนื้อที่รวม 300 กว่าตารางวา สร้างเป็นอาคาร 2 หลัง มีห้องพักรวม 8 ห้อง พร้อมปรับแต่งทัศนียภาพของบ้าน ให้มีลักษณะเข้ากับอาคารที่สร้างขึ้นมาใหม่ทั้ง 2 หลังดังกล่าว
แรงบันดาลใจที่เขาตัดสินใจเปิดโรงแรมขึ้นที่บ้าน เพราะได้ศึกษาถึงรูปแบบ boutique hotel ที่มีมากในหลวงพระบาง ประเทศลาว ซึ่งได้มีการเอาบ้านเก่าจริงๆ มาทำเป็นโรงแรม
บ้านหลังนี้เขาอยู่มาตั้งแต่ปี 2519 เดิมเคยเปิดเป็นร้านขายของที่ระลึก ในยุคที่ถนนวัวลายเคยเฟื่องฟูในฐานะของถนนเครื่องเงิน ทำให้มีนักท่องเที่ยว มาเดินหาซื้อเครื่องเงินบนถนนสายนี้กันมาก
เขาบรรจงบรรจุความเป็น colonial style ในความหมายของเขาไว้ในบ้านและที่ดินผืนนี้
ตัวอาคารสร้างในรูปทรงของเรือน ค้าขายของชาวจีนที่เข้ามาในเชียงใหม่มากในยุครัชกาลที่ 5 ตัวประตูเป็นบานเฟี้ยม ขณะที่ซุ้มประตูตีวงโค้งแบบบ้านในยุคเดียวกัน ที่มีมิชชันนารีขึ้นมาอยู่เพื่อเผยแผ่ศาสนา ส่วนลายข้างในเป็นฝีมือแกะสลักของช่างพื้นถิ่น
"colonial style ของแต่ละพื้นที่จะไม่เหมือนกัน ของที่หลวงพระบางก็แบบ หนึ่ง เชียงใหม่ก็อีกแบบหนึ่ง หรือที่ภูเก็ตก็ไม่เหมือนในเชียงใหม่ เพราะแต่ละที่จะได้รับอิทธิพลของช่างพื้นถิ่นเข้าไปผสมอยู่ด้วย"
ภายในห้อง เฟอร์นิเจอร์ที่ใช้เป็นสัญลักษณ์ของวัฒนธรรมกรุงสยามที่ขึ้นมามีอิทธิพล อยู่ในยุคเดียวกัน ซึ่งเป็นยุคที่เรียกว่าตื่นฝรั่ง เพราะเตียงที่ใช้เป็นเตียง 4 เสาแบบตะวันตก
ตามฝาผนังของห้องนอนและภายนอกอาคาร เขาไปซื้อรูปของเมืองเชียงใหม่สมัยเก่านำมาประดับไว้ทั่ว นอกจากนี้ยังมีของเก่าอีกหลายชิ้น ทั้งที่สะสมเอาไว้เองและ ซื้อเพิ่มประดับอยู่ตามมุมต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกอาคาร
ส่วนล็อบบี้ เป็นเรือนที่มีหลังคาหลายชั้นตามแบบวัฒนธรรมพม่า
"องค์ประกอบทุกอย่างล้วนมีเรื่องราวของตัวมันเอง สามารถบอกเล่าประวัติศาสตร์ให้กับแขกที่มาพัก เป็นประวัติศาสตร์ที่มีการผสมผสานกันของหลายเชื้อชาติที่เคยเข้ามามีอิทธิพลในเชียงใหม่"
ตรีญาณรสเริ่มเปิดบริการครั้งแรก เมื่อเดือนมิถุนายน 2547 เปิดได้เพียงเดือน เดียว อมรดิษฐ์ สมุทรโคจร ก็มาชวนวรวิทย์ให้เข้าไปร่วมอยู่ในกลุ่ม Hotel de Charm
|
|
|
|
|