Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2548








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2548
สวายเรียง ตัวแทนวัฒนธรรม             
โดย ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์
 

   
related stories

The Real Magnet
Tamarind หมู่บ้านล้านนากลางเวียง
บ้านน้ำปิง ความกลมกลืนโดยบังเอิญ
นอนฟังเสียงน้ำตกที่ สุกัณธารา
วัฒนธรรมที่หลากหลายใน "ตรีญาณรส"
แมนดาริน โอเรียนเต็ล ดาราเทวี
เมืองในจินตนาการ
สุเชฏฐ์ สุวรรณมงคล จากหาดใหญ่ กรุงเทพฯ ถึงเชียงใหม่
Four Seasons ต้นแบบ Magnet ล้านนา
เก๊าไม้ล้านนา ที่นี่มีเรื่องราว

   
www resources

Hotel de Charm Homepage
โฮมเพจ สวายเรียง เชียงใหม่

   
search resources

Hotel de Charm
สวายเรียง
ไพโรจน์ โกสุมขจรเกียรติ์
Boutique hotels




"สวายเรียง" เป็นตัวอย่างผู้ประกอบการรายแรกๆ ที่เข้าใจถึงคุณค่าของวัฒนธรรม แต่การขาดมุมมองด้านการตลาด ทำให้กิจการต้องล้มลุกคลุกคลาน จนกระทั่งได้เข้ามาเป็น 1 ในผู้เริ่มต้น Hotel de Charm

ไพโรจน์ โกสุมขจรเกียรติ์ แห่งสวายเรียง เป็นคนแรกที่อมรดิษฐ์ สมุทรโคจร ติดต่อเข้ามาหลังจากมีแนวความคิดที่จะรวมกลุ่มโรงแรมขนาดเล็กที่มีจุดเด่นและบุคลิกเฉพาะขึ้นเป็นกลุ่ม Hotel de Charm

"คนแรกที่คุณอมรดิษฐ์ยกหูโทรศัพท์มาคุยด้วยคือ สวายเรียง เพราะแกชอบสวายเรียงมาก่อน" ไพโรจน์เล่ากับ "ผู้จัดการ"

จะว่าไปแล้ว ไพโรจน์น่าจะเป็นผู้ประกอบการรายแรกๆ ที่มองเห็นถึงจุดขายซึ่งเป็นแม่เหล็กที่แท้จริงของเชียงใหม่ นั่นคือความเป็นธรรมชาติ มีประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม และด้วยความที่มีพื้นฐานทางสถาปนิก เมื่อมีโอกาสเขาจึงได้สร้างสวายเรียงขึ้นมาตั้งแต่เมื่อปี 2532

แต่คนที่เป็นแรงบันดาลใจของเขาจริงๆ นั้น ไพโรจน์บอกว่าคือ เล็ก วิริยะพันธุ์ เจ้าของเมืองโบราณ ที่เขาเคยไปทัศนศึกษาตั้งแต่ยังเป็นนักเรียนอยู่ที่โรงเรียนเซนต์จอห์น และประทับใจมาก จนตั้งใจไว้ว่าในอนาคตจะต้องสร้างสถานที่แบบนี้ขึ้นมาให้ได้

ไพโรจน์เป็นคนกรุงเทพฯ จบปริญญาตรีทางด้านสถาปัตยกรรมศาสตร์ จากสถาบันเทคโนโลยีเจ้าคุณทหารลาดกระบัง หลังเรียนจบได้ไปเป็นสถาปนิกอยู่กับ ม.ล.ตรีทศยุทธ เทวกุล อยู่ประมาณ 2 ปี

"โครงการที่ทำกับ ม.ล.ตรีทศยุทธ ที่ชัดเจนที่สุดคือที่ภูเก็ต ยอร์ช คลับ" เขาบอก

เมื่อสำนักงานของ ม.ล.ตรีทศยุทธได้รับงานออกแบบพระตำหนักเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ ไพโรจน์ซึ่งเป็น 1 ในทีมงานได้รู้จักกับนายทหารผู้หนึ่งที่ร่วมโครงการก่อสร้างพระตำหนักแห่งนี้ด้วย และนายทหารคนนั้นได้ชักชวนให้เขาขึ้นมาซื้อที่ดินที่เชียงใหม่ ถือเป็นจุดเปลี่ยนของชีวิตจากลูกจ้างมาสู่การเป็นผู้ประกอบการ เมื่อ 16 ปีก่อน

ที่ดิน 9 ไร่ ในอำเภอสารภี เนื้อที่ 2 ใน 3 หรือประมาณ 6 ไร่ ขุดเป็นบ่อน้ำ เพื่อนำหน้าดินไปถมเป็นถนนเข้าโครงการ คือพื้นที่ที่ไพโรจน์เลือกที่จะสร้างขึ้นเป็นร้านอาหาร และเกสต์เฮาส์ที่ชื่อ สวายเรียง

"สวายเรียงเป็นชื่อที่พระท่านหนึ่งตั้งให้ ท่านเอามาจากชื่อเมืองแห่งหนึ่งของเขมรที่อยู่ใกล้ชายแดนเวียดนาม ความหมายของสวายเรียงแปลว่าเจริญเติบโตไปอย่างธรรมชาติ"

และด้วยความที่เป็นสถาปนิกที่ชื่นชอบในประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เขาจึงเลือกออกแบบอาคารทั้งห้องพักและร้านอาหารของสวายเรียง ให้เป็นไปตามวิถีชีวิตดั้งเดิมของคนท้องถิ่น

"คำว่าตัวแทนของวัฒนธรรมคืออะไร สิ่งหนึ่งที่ทุกคนเวลาไปเที่ยวคือไปดูสถาปัตยกรรม คนไปที่ไหนก็ต้องไปดูสถาปัตยกรรม ดังนั้นสถาปัตยกรรมจึงเป็นตัวแทนของวัฒนธรรมที่แท้จริง"

ด้วยแนวคิดเช่นนี้ ไพโรจน์จึงตั้งใจให้สวายเรียง เป็น 1 ในตัวแทนของวัฒนธรรมพื้นถิ่นล้านนา

8 ปีแรกหลังเปิดดำเนินการสวายเรียงมีชื่อเสียงมาก เพราะนอกจากรสชาติของอาหาร สถานที่ที่สวยงาม สื่อถึงวัฒนธรรมดั้งเดิมของท้องถิ่นแล้ว ยังตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ แต่อยู่ใกล้กับเมืองประวัติศาสตร์คือเวียงกุมกาม ดังนั้นจึงมีบรรยากาศที่เงียบสงบ

แต่ปัจจัยสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือในช่วงนั้นร้านอาหารที่มีกลิ่นอายของความเป็นเชียงใหม่ยังมีน้อยมาก ประกอบกับเป็นช่วงที่เศรษฐกิจกำลังเริ่มเฟื่องฟูไปตามฟองสบู่ กิจการของสวายเรียงจึงดีขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจ โดยไม่ได้ใช้หลักวิชาทางการตลาดเข้ามาช่วย

เมื่อประเทศต้องประสบกับวิกฤติเศรษฐกิจ กิจการที่ฟูฟ่องมาพร้อมกับฟองสบู่อย่างสวายเรียง จึงได้รับผลกระทบไปด้วยโดยมิอาจหลีกเลี่ยง

"เราบูมขึ้นมาเพราะฟองสบู่ โดยไม่ได้ทำ marketing เลย เป็น marketing แบบปากต่อปาก พอประเทศมีปัญหาเศรษฐกิจมีปัญหา เราก็ down ไปพร้อมกับประเทศด้วย แต่เมื่อประเทศฟื้นตัวมา การที่เราขาด marketing เราก็เลยไม่ได้ขึ้นมาพร้อมกับความเจริญ อันนั้นแล้วยังมาโดนเรื่องซาร์ส หรืออะไรต่างๆ ที่เข้ามามีผลต่อการท่องเที่ยวเข้าไปอีก"

ไพโรจน์ใช้คำว่า "กำลังจะจมน้ำตาย" เมื่ออธิบายถึงสถานการณ์ที่ได้รับหลังจากต้องประสบกับปัญหา

เขาต้องดิ้นรนทุกรูปแบบ ทั้งการกู้เงินจากบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมมาเพื่อปรับปรุงสถานที่ใหม่ การจัดกิจกรรม ไม่ว่าจะเป็นกาดมั่ว ตลาดน้ำ และการแสดงแสงสีเสียงเรื่องแม่น้ำ ตั้งแต่ปี 2544 เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวที่เป็นกลุ่มใหญ่ ซึ่งก็ช่วยให้สถานการณ์กระเตื้องขึ้นมาบ้าง

แต่ยังไม่เท่ากับเมื่อเขาได้ร่วมกับอมรดิษฐ์ ตั้งเป็นกลุ่ม Hotel de Charm ขึ้นมา ซึ่งทำให้ผลประกอบการของสวายเรียง ใน 2 ปีที่ผ่านมา เปลี่ยนแปลงดีขึ้นจากแต่ก่อนอย่างเห็นได้ชัด

ทุกวันนี้ไพโรจน์มีบทบาทในการเสาะหาโรงแรม และธุรกิจท่องเที่ยวที่มีความโดดเด่น เตะตา และเข้ากับคอนเซ็ปต์ที่กลุ่มวางเอาไว้ เพื่อชักชวนให้มาเป็นสมาชิกของ Hotel de Charm   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us