Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2545








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2545
The Man Behind…             
โดย สุปราณี คงนิรันดรสุข
 





เจริญ สิริวัฒนภักดี เขาอยู่เบื้องหลังการซื้อลิขสิทธิ์ถ่ายทอดฟุตบอลโลก 2002 ด้วยมูลค่า 300 ล้านบาท โดยการถ่ายทอดสดจากประเทศเกาหลีใต้และญี่ปุ่น แบบไม่มีโฆษณาคั่น กลยุทธ์นี้ได้สร้างความนิยมอย่างสูงแก่แฟนบอลที่ต้องทนคับข้องใจกับภาวะจำยอมเดิมๆ

แต่ในโลกทุนนิยม ไม่มีอะไรที่ได้มาฟรีๆ เพราะการที่เจริญซื้อใจแบบ pay it forward ครั้งนี้ เขาสามารถหวังผลลูกโซ่ของการให้กลับคืนมาแบบคนไทยได้เลยว่า ส่วนแบ่งการตลาดจากยอดขายน้ำเมาจะเพิ่มขึ้น ไม่ว่า เบียร์ช้าง เบียร์คาร์ลสเบอร์ก เหล้าค่ายแสงโสม แสงทิพย์ และหงส์ทอง

ในฐานะเจ้าพ่อน้ำเมาที่กรำศึกแม่โขง สีเลือดและหงส์กระหายเลือดมาอย่างโชกโชน จนถึงจุดที่ทั้งสองฝ่ายต่างบอบช้ำจนต้องรวมกิจการกัน ซึ่งนิตยสาร "ผู้จัดการ" ฉบับเมษายน 2528, ฉบับกรกฎาคม 2531 และฉบับตุลาคม 2532 นี้ เจริญเป็นตัวอย่างของคนที่ดันตัวเองและธุรกิจสัมปทานผูกขาดนี้ขึ้นมา ด้วยเงิน อำนาจ และโอกาสที่จับต้องได้ โดยแสวงหาทุกช่องทางโอกาสจากโครงสร้างอำนาจทุกยุค ตั้งแต่ยุคเผด็จการทหารมาสู่ระบบเปิดเสรีธุรกิจน้ำเมา ที่มีมูลค่าตลาดสูงถึง 100,000 ล้านบาท ซึ่งประกอบด้วยตลาดสุรา 60,000 ล้านบาท ตลาดเบียร์ 46,000-48,000 ล้านบาท และตลาดไวน์ 1,500-2,000 ล้านบาท

ในชีวิตมหาเศรษฐีที่รวยเงียบๆ ของเจริญวันนี้ มีอยู่ 2 คนที่เขาต้องระลึกถึงบุญคุณตลอดเวลา นั่นคือ พ่อตา-กึ้งจู แซ่จิว ผู้มีแต่ให้ และเถลิง เหล่าจินดา ผู้เป็น role model ของเจริญ ในธุรกิจน้ำเมามูลค่ามหาศาลนี้

ปมความหลังที่ยากจนวัยเด็กของเจริญหรือชื่อจีน "เคียกเม้ง แซ่โซว" ได้เพาะบุคลิกอ่อนน้อม ถ่อมตน เป็นนักสู้ที่ขยัน อดทน และมีไหวพริบทางการค้า ขณะเจริญเรียนที่โรงเรียนเผยอิงถึง 8 ปี เขาก็ค้าขายของเล็กๆ น้อยๆ ไปด้วยจนจบ ป.4 ก็ออกมาขายแรงงาน รับจ้างเข็นรถแถวสำเพ็งและทรงวาด บางครั้งก็หาบของเร่ขายตามฟุตปาธ จนกระทั่งเป็นลูกจ้างร้านย่งฮะเส็งและห้างแพนอินเตอร์ จัดส่งของให้กับโรงสุราบางยี่ขัน ต่อมาตั้งร้านโชวห่วยขายของจิปาถะแก่บริษัทสุรามหาคุณ ที่ซึ่งเขาได้รับใช้ใกล้ชิดกับเถลิง เหล่าจินดา ได้รู้จักจุล กาญจนลักษณ์ ผู้ปรุงสุราแม่โขงในปี 2505 และได้พบรักกับวรรณา ลูกสาวกึ้งจู เศรษฐีเก่าชาวจีนที่รวยเงียบๆ จากธุรกิจซัปพลายโรงสุราบางยี่ขัน

ชีวิตของเจริญเปลี่ยนไป เมื่อกลุ่มเถลิง-เจริญแยกตัวจากบริษัทสุรามหาคุณ ตั้งแต่ปี 2518 เจริญได้เรียนรู้วิทยายุทธจากเถลิงเกี่ยวกับธุรกิจสัมปทานเหล้า และได้สร้างอาณาจักรธุรกิจของตนอย่างก้าวกระโดดด้วย การซื้อกิจการ

เจริญเป็นนักซื้อที่แท้จริง เขารู้ว่าอะไร มีค่าควรกับการจ่ายเพื่อซื้ออนาคต ไม่ว่าธุรกิจสัมปทานสุรา ที่ดิน ธนาคาร สถาบันการเงิน ตลาดหุ้น โรงงานน้ำตาล โรงงานกระดาษ แต่หลังจากวิกฤติการณ์เศรษฐกิจไทยล่มสลาย ปี 2540 เจริญสูญเสียอย่างประมาณมิได้ในรูปความรู้สึกที่ผูกพันกับมูลค่าสินทรัพย์ทั้งหมด ในกลุ่มของเขาที่ลดลงมหาศาล โดยเฉพาะการสูญเสีย บงล.มหาธนกิจ ซึ่งเป็นสมบัติเก่าของพ่อตา กึ้งจู และธนาคารมหานครที่เขาไม่สามารถรักษาเอาไว้ได้เลย

ภายใต้สถานการณ์ไม่แน่นอน เจริญได้พลิกฐานะจากวิกฤติเป็นโอกาส โดยปี 2541 เจริญปักหลักสู้ที่ฐานที่มั่นธุรกิจค้าเบียร์และเหล้าอย่างเต็มที่ ปรับตัวรับนโยบายเปิดเสรีน้ำเมา หลังจากหมดสัมปทานสุดท้ายของกลุ่มสุรามหาราษฎรในปี 2542 กลุ่มบริษัทของเจริญชนะประมูลที่แข่งกับค่ายบุญรอด บริวเวอรี่ และยังตั้งบริษัทแอลเอสพีวี ทำธุรกิจดูแลสต็อกเหล้าที่บรรจุขวดแล้ว ซึ่งสต็อกเหล้าจำนวน 4-5 หมื่นนี้ได้กลายเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันการออกหุ้นกู้ของกลุ่มบริษัทแสงโสม

ปลายปี 2544 กลุ่มบริษัทของเจริญเทกโอเวอร์บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์จากบริษัท เฟิร์ส แปซิฟิค ด้วยมูลค่า 125 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ด้วยเหตุผลที่ต้องการซื้อกิจการบริษัทอุตสาหกรรมเครื่องแก้วไทย ซึ่งผลิตขวดเบียร์และเหล้ารายใหญ่ นี่คือยุทธศาสตร์เติบโตของธุรกิจน้ำเมา ที่น่าจับตาในอนาคตว่า ค่ายเบียร์ช้างจะเป็นผู้ชนะชิงนำส่วนแบ่งตลาดได้ ใน 5 ปีข้างหน้าอย่างไร?

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us